Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร...

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้ากรรมนายเวร

"..เจ้ากรรมนายเวรหมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ในอดีตชาติก็ดีในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง เราทำร้ายเขาบ้างเขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้วแต่ตัวบาปที่เราทำไว้ อย่างคนที่ไปขโมยของเขาเจ้าของเขาไม่ติดใจแต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยากตาม แต่กฎหมายให้ตาม



ฉะนั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติในขั้น สุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโช (วิชา๓) ขึ้นไปเขาเห็นดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้



เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๗คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญพอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่

พอเข้ามาใกล้ก็บอกว่า "ผมกับท่านหมดเรื่องกัน"
อาตมาก็ถามว่า "หมดเรื่องอะไร"
เขาก็บอกว่า "หมดเรื่องที่จะต้องติดตามจองล้างจองผลาญกัน"
ก็ถามอีกว่า "จองล้างจองผลาญฉันทำไม"
เขาก็บอกว่า "เปล่าครับผมไม่ได้จองล้างจองผลาญ"
ก็ถามว่า "แล้วเข้ามาทำไม"

เขาก็เลยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า "ในอดีตนับเป็นสิบๆ ชาติ ท่านกับผมรบกันมาเรื่อย" เป็นคู่สงครามกันตัวเขาเก่งขวานทุกชาติ ส่วนอาตมาเก่งดาบสองมือทุกชาติ ถ้าเวลาให้รบตัวต่อตัวต้องเอาคู่นี้มารบกัน ถ้าคนอื่นหัวขาด พอถึงเวลากินข้าวก็บอกว่า "พักรบก่อนกินข้าวเสร็จมารบกันใหม่" วันนั้นทั้งวันไม่มีใครเสียท่ากัน


อาตมาถามว่า "มันมีเวรกรรมอะไรกันล่ะ"
เขาบอกว่า "กฎของกรรมเขาถือว่ามีแต่เวลานี้กฎของกรรมสลายตัวแล้ว"
ก็เลยถามว่า "เวลานี้ไปเกิดที่ไหน"
เขาก็บอกว่า "ผมเป็นพรหมครับ"


ถามว่า "พรหมยังจองกรรมหรือ"
เขาตอบว่า "ผมไม่ได้จองแต่กฎของกรรมมันจอง เรื่องของกรรมหนักๆระหว่างสงครามหมดกันแค่นี้"


เราอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขาจะได้รับหรือไม่ได้รับก็ตาม บุญที่เราทำเป็นผลให้เกิดความสุข กรรมต่างๆที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไปแล้ว เราไปยับยั้งมันไม่ได้แต่ทว่าถ้าเราทำกรรมดีให้มีกำลังเหนือบาป บาปต่างๆ ก็จะตามเราไม่ทันเหมือนกันเรียกได้ว่า เป็นการทำบุญหนีบาปไม่ใช่ทำบุญล้างบาปทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ที่ไม่ทำความชั่วเลยน่ะไม่มีดังนั้นถ้าเราจะชดใช้บาปก็คงจะชดใช้กันไม่ไหวมีทางเดียวในกิจของพระพุทธศาสนาคือหนีบาปด้วยการปฏิบัติดังนี้


๑) การคิดถึงคุณพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณพระธรรมคุณ และพระอริยสงฆคุณ

๒) ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

๓) มี พรหมวิหาร ๔ให้ครบถ้วน

๔) มี อิทธิบาท ๔ ทรงตัว

๕) มีการภาวนาให้จิตทรงตัว

๖) พยายามรวบรวม บารมี ๑๐ ประการให้มีในจิตให้ครบถ้วน

๗) พยายามตัด สังโยชน์ ๑๐ประการให้หมด

๘)จรณะ ๑๕ ปฏิบัติให้ครบถ้วน


เมื่อมีการทรงตัวดังกล่าวมาแล้วนี้ได้ทั้งหมดก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดกันอีกต่อไปนั่นคือตายเมื่อใดก็ไปพระนิพพานอันเป็นแดนที่มีความสุขที่สุด.."




ที่มาhttp://www.pranippan.comและhttp://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=83397

ขอบคุณค่ะ


PS.  "ถึงจะรบชนะ ข้าศึกนับพัน ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล ต่อเมื่อใดชนะใจตน จึงนับเป็นยอดขุนพลโดยแท้"

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

por 24 เม.ย. 53 เวลา 15:31 น. 4

อภัยทาน

พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช)

จากหนังสือ “ อภัยทาน ”

การผูกอาฆาตพยาบาท จองเวร ให้ผลข้ามภพข้ามชาติ ถ้าเราเปรียบภพชาติเหมือนคืนวัน การนอนหลับเหมือนการตาย การตื่นนอนเหมือนการเกิด ภพชาติก็ใกล้ตัวเราเข้ามา การผูกอาฆาตพยาบาทเหมือนการเข้านอนโดยไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกาย หลับก็ไม่เป็นสุข ตื่นขึ้นมาก็ไม่สดชื่น

ในแต่ละวัน จิตของเราเก็บเกี่ยวเฉี่ยวโฉบอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉา นินทา อาฆาต พยาบาท ขุ่นแค้น ขัดเคือง นานาชนิดเอาไว้ ถ้าไม่มีวิธีชำระก็จะเกิดสนิมใจขึ้นมา กระทั่งไม่อาจนอนได้อย่างมีความสุขหากไม่ชำระร่างกายฉันใด ใจที่ไม่ถูกชำระจะทำให้ฝันร้าย อารมณ์หงุดหงิดหลับไม่สนิท ฉันนั้น

การแสดงอภัยทานเป็นการชำระใจ แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยากหากไม่ฝึกทำจนเป็นปกติ เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้ ขอให้เรามาพิจารณาเหตุผล ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่มีผลข้ามภพข้ามชาติว่า ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด และยังเป็นผลที่เราหนีไม่ได้อีกด้วย

เราต้องถามตนเองก่อนว่า เราต้องการยุติการเผล็ดผลของกรรมกันคน ๆ นั้นเพียงภพนี้ หรือต้องการจะพบเขา จะเจอเขาอีกในชาติต่อ ๆ ไป เราต้องการจะยุติปัญหาเหล่านี้เพียงภพชาตินี้ หรือต้องการลากยาวไปถึงภพชาติข้างหน้า เรามีสิทธิเสรีในตัวเราที่จะหยุดหรือสร้างเหตุต่อไปอีก

บางคน รักมาก หลงมาก เพราะเขาดีมาก ก็ปรารถนาให้พบกันทุกภพทุกชาติ บางคนก็อธิษฐานไม่ขอร่วมเดินทาง แต่ก็ไม่ยกโทษ ในที่สุดผลของการไม่ยกโทษ คือไม่ยอมให้อภัย ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบไว้ที่เอวตนเองตลอดเวลา

การให้อภัย จะทำให้เราสามารถยุติปัญหาต่าง ๆ ได้ เหมือนคนล้างแก้วน้ำสะอาด ทำให้เหมาะสมที่จะรองรับน้ำบริสุทธิ์ที่เทลงไปใหม่เหมือนการโยนของที่เราไม่ชอบทิ้งเสีย โดยไม่ต้องเสียดาย

การให้อภัยคือการแสดงกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ อภัยทานนั้นเวลาจะให้ไม่ต้องไปขอใคร ไม่เหมือนใครมาขอเงินเรา เราต้องควักกระเป๋าให้ แต่ให้อภัย เราไม่ต้องหาจากไหน และไม่รู้สึกว่าเป็นการสูญเสีย

ขอให้เราภูมิใจเถิด เมื่อมีใครมาขอโทษ เมื่อมีใครให้อภัยเรา หรือเมื่อสำนึกได้ว่า เราได้ทำอะไรผิดพลาดไป ก็ขอโทษกัน การขอโทษ หรือการให้อภัย มิใช่การเสียหน้า หรือเสียรู้ มิใช่การได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด หากแต่เป็นการชำระใจให้สะอาด เหมือนภาชนะสกปรก ก็ชำระล้างให้สะอาด

ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ อาจจะดูเหมือนยาว แต่มีใครบอกได้ว่าเราจะอยู่ได้ปลอดภัยถึงวันไหน เราต้องการความทรงจำที่เลวร้าย หรือต้องการความทรงจำที่ดีในชีวิต

เราต้องการนั่งนอนอย่างมีความสุข มีชีวิตอยู่ด้วยความอิ่มเอิบหรือต้องการมีชีวิตอยู่ด้วยการถอนหายใจด้วยความทุกข์และกังวลใจ สิ่งเหล่านี้กำหนดได้ที่ตัวเราเอง กำหนดวิธีคิดให้ถูกต้อง

ความคิดเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก สุขหรือทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่วิธีคิด คิดเป็นก็พ้นทุกข์ คิดไม่เป็น แม้แต่เรื่องมิใช่เรื่อง ก็อาจเกิดเรื่องได้ ขอให้เรามาคิดดูว่า ในชีวิตของเราคนหนึ่ง อย่างเก่งก็อยู่ได้ ๗๕ ปี เกินนี้ไปถือเป็นกำไรชีวิต ทำไมเราจะเสียเวลามาครุ่นคิดเรื่องไร้สาระ ทำไมเราจะต้องเสียเวลามาทำเรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์

การยอมกันเสียบ้าง ก็เป็นความสุขได้ไม่ยาก เราอาจคิดว่า การให้อภัยบ่อย ๆ แก่คนบางคน เขาอาจจะไม่ปรับตัว ยังก่อเหตุอยู่เสมอ ๆ งานก็ไม่สำเร็จ ยังเหลวไหลอยู่เหมือนเดิม นั่นอาจเป็นเหตุผลในการทำงานแต่สำหรับเหตุผลของใจนั่น เมื่อให้อภัย ใจเราก็เบา การยกโทษ อาจดูเหมือนเรายอม เราไม่ติดใจ ไม่เอาเรื่อง แล้วจะทำให้เขากำเริบ ส่วนเราเสียเปรียบ ความจริงไม่ใช่ เรากำลังบำเพ็ญบารมีขั้นสูง คือ “ อภัยทาน ” อันเป็น “ ทานบารมี ” ที่สูงส่ง การยอมแพ้อาจเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ข้ามภพชาติ

ขอให้สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เวลาเราโกรธ เกลียด พยาบาทใคร สีหน้าของเราจะเปลี่ยนไป เลือดในร่างกายจะผิดระบบ เช่น เวลาโกรธจัด จิตที่ถูกครอบงำโดยอารมณ์ร้าย ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือ ความรุ่มร้อนไม่พอใจ ทำอะไรก็กังวลเป็นทุกข์ แต่พอยกโทษให้ ก็จะรู้สึกทันทีว่า ยิ้มได้ จิตเบาสบาย ที่เปรียบกันว่าเหมือนยกภูเขาออกจากอก รู้สึกจิตเป็นอิสระทันทีเพราะหมดห่วง หมดทุกข์ หมดสนิมที่จะกัดกร่อนจิตใจ

วิธีคิด มีความสำคัญมากสำหรับชีวิตของคน เรามักได้ยินเสมอ ๆ ว่า แพ้หรือชนะอยู่ที่กำลังใจ แท้จริงแล้ว คำว่า “ กำลังใจ ” ก็คือวิธีคิดนั่นเอง พลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือการที่ใจมีกำลัง

มนุษย์เราจึงต้องสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน กำลังใจเป็นสิ่งที่ให้ไม่รู้จักหมด ยิ่งเราให้คนอื่นได้มากเท่าไหร่ กำลังใจก็จะยิ่งเกิดขึ้นแก่เรามากเท่านั้น เหมือนวิชาความรู้ ยิ่งให้ยิ่งพอกพูน ยิ่งหวงไว้เฉพาะตัวก็ยิ่งหดหาย

การให้อภัย อาจพูดง่าย แต่ทำยาก แม้จะเป็นเรื่องยาก เพราะใจไม่อยากทำ แต่ก็สามารถทำได้เมื่อเราฝืนใจทำ และจะเป็นความสุขใจในภายหลังเมื่อครวญคำนึงถึง

การตอบรับซึ่งกันและกัน ถ้าเป็นความดี เป็นความรัก ความอบอุ่นก็ดีไป แต่ถ้าเป็นความเกลียด ความโกรธ สิ่งที่จะตามมา คือการรับรู้และเก็บอารมณ์ทั้งโกรธและเกลียดนั้นไว้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

เมื่อรู้แล้วก็ควรสละอารมณ์นั้นด้วยตัวเราเองก่อน เพื่อป้องกันจิตเรามิให้เป็นทุกข์เพราะคนนั้นเป็นเหตุ เราอาจคิดเสมือนหนึ่งไม่ได้มีเขาอยู่ในโลกนี้เลยก็ได้ การให้อภัยเขา คือคิดถึงเขาในฐานะเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่สมควรจะไปยึดเป็นรักเป็นชัง

ก็เมื่อแม้แต่รัก ท่านยังสอนให้เราละทิ้ง มิให้ยึดติด แล้วทำไมเราจะยังมองเห็นโกรธเป็นสิ่งที่จะต้องยึดมั่นอยู่ได้

0
quiz 24 เม.ย. 53 เวลา 15:34 น. 5

ลักษณะของคนที่น่ารัก

ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย

คนบางคนในโลกนี้ เป็นที่เคารพรักใคร่ของคนทั้งหลายแม้เพียงพบเห็นครั้งแรก จึงมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้มาก เพราะเขามีคุณธรรมอันเป็นลักษณะของคนที่น่ารักอยู่ในตัว คนประเภทนี้มีอยู่ไม่น้อยในสังคมปัจจุบัน แต่บางคนเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย แม้เมื่อพบเห็นหรือรู้จักกันครั้งแรก ไม่อาจมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้ เพราะมีลักษณะนิสัยไม่ดี ขาดคุณธรรม คนประเภทนี้ก็มีอยู่มากเช่นกันในสังคม

ดังนั้น ความประพฤติหรืออุปนิสัยใจคอ จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าและความเสื่อมของคนเรา

ตามหลักในพระพุทธศาสนานั้นคนที่น่ารัก ซึ่งเป็นที่รักพอใจของคนทั้งหลายเมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้วมีลักษณะ ๙ ประการ คือ

•&nbsp ไม่เป็นคนอวดดี

•&nbsp ไม่พูดมากจนเขาเบื่อ

•&nbsp เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน

•&nbsp รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว

•&nbsp พูดจาอ่อนหวาน

•&nbsp เป็นคนเสียสละ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น

•&nbsp เป็นคนกตัญญูกตเวที

•&nbsp เป็นคนไม่มีนิสัยริษยาเสียดสีผู้อื่น

•&nbsp เป็นคนมีนิสัยสุขุม รอบคอบ ไม่ยกตนข่มท่าน

&nbsp 

ลักษณะของคนที่น่ารัก

•&nbsp ไม่เป็นคนอวดดี คือใครก็ตาม ถ้าชอบเป็นคนอวดดี เช่น อวดรวย อวดเก่ง อวดยศศักดิ์ตำแหน่งของตน ชอบคุยอวดคนโน้นคนนี้ถึงความดีเด่นของตนอย่างโน้นอย่างนี้ หรืออวดสมบัติของตน จนทำให้คนอื่นเบื่อฟังและรู้สึกหมั่นไส้ คนเช่นนี้แม้ตนเองจะมีคุณสมบัติหรือความดีเด่นจริง ก็เป็นที่ชิงชังและเบื่อระอาของคนทั้งหลาย เพราะเขาไม่ชอบคนอวดดี ยิ่งถ้าตนไม่มีคุณสมบัติอันใดก็ยิ่งเป็นที่ชิงชัง ของคนทั้งหลายยิ่งขึ้น แต่คนที่มีนิสัยดีน่ารักนั้น เขาจะไม่โอ้อวด แม้จะมีดีอวดแต่เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน และบางคนถึงกับปกปิดคุณความดีของตน ถ้าใครจะทราบก็ค่อยรู้เอาเอง คนเช่นนี้ย่อมเป็นที่รักใคร่ เอ็นดู หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย และย่อมมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองในชีวิตได้มาก เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลทั่วไป

&nbsp 

•&nbsp เป็นคนไม่พูดมากจนเขาเบื่อ คือใครก็ตามถ้าไม่รู้จักประมาณตนในการพูด พูดพล่ามพูดไร้สาระหรือพูดมากจนเกินไป จนคนทั้งหลายเบื่อฟังและรู้สึกรำคาญไม่อยากฟัง อยากออกไปเสียให้ห่าง เมื่อคนนั้นพูด คนเช่นนี้แม้จะมีความรู้ความสามารถดี ก็หาเป็นที่รัก แลเป็นที่เคารพของคนทั้งหลายไม่ ถ้ายิ่งเป็นคนต่ำต้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลายยิ่งขึ้น ฉะนั้น คนที่ฉลาดและน่ารักจึงพูดแต่พอประมาณไม่พูดมากจนเขาเบื่อ แต่พูดมีสาระน่าฟัง เช่นพูดแนะนำหรือพูดสร้างสรรค์ เป็นต้น และเมื่อพูดสิ่งใดก็คิดใคร่ครวญก่อนแล้วจึงพูด คนเช่นนี้ย่อมเป็ฯที่รักใคร่เคารพนับถือของคนทั้งหลายและย่อมได้รับความเอ็นดู ความเกื้อกูลจากคนทั่วไป ฉะนั้น คนที่มีลักษณะนิสัยที่น่ารัก จึงไม่พูดมากจนเขาเบื่อแต่เป็นผู้พูดพอประมาณ

&nbsp 

&nbsp 

•&nbsp เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน คือบางคนขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนแข็งกระด้าง ขาดสัมมาคารวะชอบดูหมิ่นดูถูกคนอื่น เป็นคนไม่ยอมก้มหัวให้แก่ใครคนประเภทนี้หาความเจริญได้ยาก ย่อมเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย เหมือนต้นไม้ที่ยืนต้นตาย หรือเหมือนรวงข้าวที่ลีบไม่มีเมล็ด ไร้ค่า ยืนชูรวงโด่อยู่ไม่โน้มลง แต่คนที่น่ารักนั้นย่อมมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิสัยมีสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง เคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่ที่เจริญกว่าตน ทั้งโดยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และชาติวุฒิ คนเช่นนี้ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตได้มาก สมดังพุทธพจน์ แปลความว่า ธรรมะ ๔ ประการ คือมีอายุยืน ๑ มีผิวพรรณผ่องใส ๑ มีความสุขกายสุขใจ ๑ มีกำลังกายกำลังใจ ๑ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ ฉะนั้นผู้หวังให้ผลดีทั้ง ๔ นี้เกิดขึ้นแก่ตน ก็ต้องสร้างเหตุคือนิสัยที่น่ารักด้วยการเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิจ

&nbsp 

•&nbsp รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว คือใครก็ตาม รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวในปัญหาต่าง ๆ ในข้อตกลงหรือปรึกษาหารือต่างๆ ไม่ดึงดันเอาแต่ความเห็นหรืออำนาจตามอำเภอใจของตนฝ่ายเดียว ย่อมรู้จักประนีประนอมในปัญหาต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งรุนแรงยืนยันขันแข็งในท่าที หรือจุดประสงค์ของตนก็ผ่อนปรนลงบ้าง ไม่ยืนกระต่ายขาเดียว ไม่ว่าปัญหาครอบครัว การทำงานหรือในข้อขัดแย้งต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อความสามัคคีถนอมน้ำใจกัน และความสงบสุขในครอบครัว ในหน่วยงานหรือในสังคม ถ้าเมื่อฝ่ายหนึ่งหย่อนยานเกินไป อันอาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายได้ ก็มีทีท่าเข้มงวดเข้าไว้ให้ถูกระเบียบและกฎเกณฑ์ก็จะทำให้เกิดความพอดีขึ้น คนเช่นนี้ สามารถดำเนินชีวิตไปอย่างสงบสุข ราบรื่นไม่ค่อยมีความขัดแย้งกับใคร จึงทำให้เป็นคนมีนิสัยน่ารักเพราะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว การรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวนี้ ทำให้เกิดความพอดี ไม่เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและความขัดแย้งกับใคร ๆ เพราะไม่ตึง ไม่หย่อน จนเกินไป เหมือนคนที่เล่นว่าว ถ้าเล่นว่าวเป็น ว่าวก็จะไม่ตกและกินลมได้ดี คือเมื่อลมแรงเกินไป ก็ปล่อยสายป่านให้ยาวออกไป เพราะถ้าดึงไว้สายป่านก็จะขาดทำให้ว่าวตก หรือเมื่อลมอ่อนเกินไปก็พยายามดึงสายป่านเอาไว้ ว่าวก็จะกินลมได้ดีและไม่ตก การดำเนินชีวิตก็เหมือนกัน ถ้าจะให้ราบรื่นก็ต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวในปัญหาขัดแย้งต่าง ๆ ถ้าไม่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวแล้ว ก็จะขัดแย้งกับคนอื่นอยู่เสมอ ไม่ว่าในปัญหาครอบครัวหรือปัญหาใด ๆ ฉะนั้น การรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวจึงเป็นลักษณะนิสัยที่น่ารักประการหนึ่ง

&nbsp 

•&nbsp พูดจาอ่อนหวาน การพูดจาอ่อนหวานเป็นเสน่ห์ประการหนึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ เพราะทำให้ผู้ฟังชื่นใจ สบายใจ ทำให้เป็นกันเอง ทำให้ผูกมิตรไมตรีไว้ได้ จึงเป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย ผู้ที่พูดจาไม่น่าฟัง พูดขาดสัมมาคารวะ พูดไม่รู้ที่ต่ำที่สูงหรือพูดส่อเสียด ย่อมเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย การพูดจาอ่อนหวานนี้ จัดเป็นวาจาสุภาษิตประการหนึ่ง

&nbsp 

วาจาสุภาษิตมีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ

•&nbsp เป็นคำจริง

•&nbsp เป็นคำอ่อนหวาน

•&nbsp เป็นคำมีประโยชน์

•&nbsp พูดถูกกาลเทศะ

•&nbsp พูดประกอบด้วยเมตตา

0