Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ไม่เเข้ใจและสับสน !! ระหว่างคณะ แพทย์กายอุปกรณ์ กับ วิศวะชีวการแพทย์ค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือ เราไม่เข้าใจแหละว่า2คณะนี้ต่างกัยยังไง เปิดหาในเวปอื่นก้ไม่ค่อยเห็นความแตกต่างค่ะ

ต่างในที่นี้หมายถึง คณะ2คณะนี้จบไปแล้วทำอะไรคะ การเรียน แล้วใช้วิชาอะไรเป็นหลัก

ปล. ได้ใช้เคมีบ้างไหมคะ พอดีแอบปลื้มวิชาเคมีกับชีวะ

ปล2.พอจะแนะนำคณะที่เหมาะกับเด็กวิทย์หัวใจศิลป์และอยากช่วยเหลือคนเจ็บป่วยได้มั่งไหมคะ แหะๆ

ขอบคุณค่ะ^ ^


ปล.3 คนตอบน่ารักจิงจัง

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

ฐิติรัตน์ แสงทอง 9 พ.ค. 53 เวลา 02:12 น. 1

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือบางที่เรียกว่า ชีวเวช (biomedical engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (medical engineering)&nbsp เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความรู้กลศาสตร์ของไหล นำมาใช้กับการทำหัวใจเทียม หลอดเลือดเทียม , แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical modeling) ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น นำมาอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง, ความรู้ทางกลศาสตร์และคอมพิวเตอร์ใช้ในการหุ่นยนต์นำการผ่าตัด เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ การออกแบบสร้างอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษา การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ไปจนถึงการสังเคราะห์โพลิเมอร์นำส่งยาเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการศึกษาและวิจัยอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ ต่างๆ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ นาโน วัสดุ หรือแม้แต่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาก็มีประโยชน์ในสาขานี้ค่ะ รวมถึงความรู้ในสาขาแพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะ

1
-LilacFox- 18 ส.ค. 64 เวลา 22:36 น. 1-1

อยากจะลองให้ช่วยคิดเห็นหน่อยอ่ะค่ะ พอดีอยากเรียนแพทย์ แต่อีกใจก็อยากเรียนวิศวกรรมทางการแพทย์ค่ะ เลยเลือกไม่ถูกว่าจะเอาแบบไหนดีค่ะ ตัวเราเองก็อยากเป็นจิตแพทย์รักษาผู้ป่วยทางจิต แต่อีกใจก็อยากจะสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ก็ไม่ทราบว่าแบบไหนจะเหมาะกับตัวเรามากกว่ากัน แต่ก็คิดว่าแพทย์น่าจะเหมาะกว่า เพราะเราเป็นคนที่ถนัดวิชาชีวะกับคณิตค่ะ ส่วนฟิสิกข์ก็กำลังทำความเข้าใจให้มากขึ้น ส่วนเคมีนี่ก็ยากพอสมควรเลยค่ะ แต่เป็นคนชอบชีวะอยู่แล้วค่ะ

""เลยอยากสอบถามดูว่าคณะไหนใช้ชีวะมากกว่ากันอ่ะคะ???""

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-03.png

0
ฐิติรัตน์ แสงทอง 9 พ.ค. 53 เวลา 02:21 น. 2

กายอุปกรณ์
คณะเราเปิดตอนนี้มี 7 รุ่น จริงๆควรจะเปิดมาก่อนหน้านั้นซัก 20ปีอ่ะนะ เพราะดูจากความต้องการบุคลากรแล้ว ถือว่าเข้าขั้นขาดแคลนมากๆถึงมากที่สุด...

&nbsp ชื่อ เต็มๆคือ..คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขากายอุปกรณ์(คณะเรายังเล็กครับเลยต้องไปสังกัดแพทย์ศิริราช แต่เราไม่ใช่หมอครับ)...จบมาแล้วจะได้ วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากายอุปกรณ์ หรือ Bachelor of Science (Prosthetics and Orthotics) ...ชื่อที่พวกเรา รวมทั้งเด็กมหิดลอื่นๆเรียกพวกเราก็คือ PO ครับ.(มาจากProsthetics and Orthotics).

เรื่อง รายละเอียดแบบวิชาการมากๆๆๆๆ พี่ว่าน้องคงหาอ่านได้ในหน้าเวปของมหาวิยาลัยมหิดล หรือเวปอื่นๆ แต่พี่ก็จะเล่าเรื่องทั่วไปให้ฟังคร่าวๆแล้วกันนะครับ เผื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในภายภาคหน้า..

เพื่อ เป็นการไม่ให้น้องเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นไป+ทิศทาง+ลักษณะงานของคณะนี้ เหมือนที่มีหลายคนที่ผ่านมา เข้าใจผิด แล้วต้องเสียเวลา1 ปี ซิ่วไปเรียนที่ใหม่ พี่จะขอสาธยายดังนี้...

&nbsp เริ่มแรกถ้าน้องคิดว่าโอววว..ฉันต้องเป็นหมอ หรือไม่ก็..ต้องคล้ายหมอแน่นอน...อันนี้ไม่ควรคิดอย่างยิ่งครับถ้าจะมาเรียนคณะเรา

แล้ว ก็..ถ้าน้องคิดว่า โอววว...หนูอยากทำ หัวใจเทียม ปอดเทียม ตาเทียม เครื่องในเทียมต่างๆนานา ซึ่ง..น้อง..ในฐานะนักคิด นักประดิษฐ์ รุ่นใหม่ไฟแรงสูง มีสิทธิ์ที่จะคิดได้นะครับ แต่....ทางคณะเราไม่สอนนะครับ...

และ ยิ่งถ้าน้องคิดว่า อยากเข้าหมอ ทันตะ เภสัช อารายก็ได้ แต่....คะแนนไม่ถึง เลยขอจบที่คณะเราแบบเป็นทางผ่านก็ ...คงจะแย่แน่ครับ เพราะคณะเราเรียนไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเค้าเท่าไรครับ เว้นแต่ว่าน้องชอบเรียนแบบเราจริง ชอบด้วยใจจริง พี่ๆก็ยินดีต้อนรับล่วงหน้านะครับ...

เรื่องวิชาเรียนตอนปี 1 จะ เรียนรวมกับบางคณะที่ศาลายาทั้งปีเลยครับ เทอมแรกเรียนวิทย์+เลข ทั่วไป พวก เคมี ฟิสิกส์(อันนี้หนักหน่อยนะ&nbsp มีแล็บด้วยนะ) ชีวะ สถิติ(ซึ่งสามารถฆ่านักศึกษาได้ครับ) แคลคูลัส ว่ายน้ำ เขียนแบบวิศวกรรม อังกฤษ ส่วนเทอมสองเรียน Basic Engineering practice, Engineering Graphic (AutoCAD + SolidWork), ฟิสิกส์(ทำแล็บเหมือนเทอมแรก) อังกฤษและสังคม (อันนี้หลายตัวหน่อย)

ปี2 จะเรียนที่ศาลายา และที่ ศิริราช ไปๆมาๆ สลับกันสนุกและเวียนหัวดีพิลึก น้องจะเริ่มได้เรียน Anatomy(กายวิภาคศาสตร์) และ Physiology ก็ ปีนี้แหล่ะครับ ถ้าน้องกลัวศพหรือที่เราเรียกว่าอาจารย์ใหญ่ก็จงหลีกหนีครับ..แต่ถ้าน้องชอบ ก็สนุกครับ(..แต่ถ้าน้องชอบมากๆถึงขั้นคลั่งไคล้ก็ควรไปเรียนหมอละกันนะ ครับ).. และก็จะมี Biomechanics Kinesiology Rehabilitation และ วิชาคณะอื่นๆประเดประดังเข้ามาอีกมากๆมาย ซึ่งน้องเข้ามาแล้วจะรู้เองนะครับ และแน่นอน..ก็ยังไม่พ้นวิชาแบบสังโค้ม...สังคม มาเสริมความมันส์อยู่อย่างต่อเนื่อง...

ปี3 ก็ ลาก่อนศาลายาครับ มาเรียนที่ศิริราชแบบเต็มๆ และบางวิชาก็ไปเรียนที่ศูนย์ศิรินธรเพื่อการฟื้นฟู...(ชื่อยาวอ่ะ)..กระทรวง สาธารณสุข ครับ ซึ่งจะเป็นวิชาเฉพาะทางมากๆ ซึ่งจะเรียนกับอ.นักกายอุปกรณ์ชาวต่างประเทศ และกับหมอผู้วชาญครับ

ปี 4 ก็หนักพอดูครับทั้ง Theory และ Practice works ต้องแน่นเพราะจะมีฝึกงานต่างสถานที่ในเทอมสุดท้าย มันส์สุดๆ..

จริงๆแล้ว ...เรื่องการเรียนก็ไม่ง่ายไม่ยากครับ ถ้าขยันก็ โอเค ค่อนข้างจะหนักทาง ฟิสิกส์ ชีวะ anatomy Biomechanics งานทางช่าง งานฝีมือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ENGLISH ครับ เพราะถ้าน้องเรียนสูงขึ้นเช่นปี 3-4 ก็ อย่างที่บอกแหล่ะครับ ว่าต้องเรียนกับ อ. นักกายอุปกรณ์ชาวต่างประเทศ แบบเต็มรูปแบบ&nbsp (..ไม่ใช่ฝรั่งแบ็คแพ็ค ดุ่มๆมาสอนภาษานะน้อง อ.ต่างประเทศทุกคนเป็นนักกายอุปกรณ์ผู้วชาญ ที่ถูกคัดเลื่อกมาโดย มูลนิธินิปปอน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งคณะเราอ่ะครับ ซึ่ง อ. แต่ละคนเก่งมากๆๆๆขอยอมรับ!!!!) ดังนั้น ทั้งเล็คเชอร์ พรีเซนต์งาน ถามเรืองเรียน ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมดครับ(คล้ายๆหลักสูตรอินเตอร์ครับ แต่ข้อได้เปรียบคือค่าเทอมเราอยู่ในอัตราปกติอ่ะครับ...) จริงๆแล้ว ปี1-2 ยังเรียนปกติอยู่นะครับ แต่พอปีสูงๆก็จะเริ่มไม่ค่อยปกติเท่าไรนัก...พี่พูดจริงๆนะ&nbsp ในฐานะที่เจอมากับตัวเองแล้ว..

การเรียนสนุกครับ คนก็น้อย สนิทกันดี เฮฮาบ้าง เครียดบ้างเป็นธรรมดา แป็ปเดียว 4 ปีก็จบแล้วครับ

จบ มา หลังจากสอบใบประกอบโรคศิลปะได้แล้ว น้องก็จะได้เป็น...นักกายอุปกรณ์.อย่างเต็มภาคภูมิ..ทำงานได้ทั้งโรงพยาบาล รัฐ เอกชน ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่พอควรครับ เช่นโรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ โรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ...หรือไม่ก็ องค์กรที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิที่เกี่ยวข้องต่างๆ หรือแม้กระทั่งประกอบธุรกิจส่วนตัว ก็ทำได้เช่นกันนะครับ...

เนื่องจากคณะเราเปิดได้ไม่นาน ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก บางอย่างเลยอาจดูยุ่งยากไปนิด นี่ก็เป็นธรรมดาครับ ต้องสู้ๆกันต่อไป

1
a.aom(จขกท.) 9 พ.ค. 53 เวลา 04:01 น. 3

ขอบคุณค่ะ&nbsp 
คือ เคยเห็นข้อมูลเหล่านี้ในเวปอื่นๆแล้วน่ะค่ะ
ไม่มีข้อมูลนอกเหนือจากนี้แล้วหรือคะ


ปล.&nbsp ยังไงก็ขอบคุณมากๆค่า ^ ^

1
แดง 9 พ.ค. 53 เวลา 08:47 น. 4

คำถามที่พบบ่อย

&nbsp &nbsp ๑)&nbsp นักกายอุปกรณ์ คือ หมอใช่มั้ย?

&nbsp &nbsp ตอบ&nbsp &nbsp  ไม่ใช่ค่ะ&nbsp นักกายอุปกรณ์คือผู้ที่ทำอุปกรณ์เสริมและเทียมให้กับผู้ป่วยเท่านั้น&nbsp  ถ้าให้เปรียบก็ประมาณนักกายภาพบำบัดที่ช่วยฟื้นฟูบำบัดผู้ป่วย หรือนักเทคนิคการแพทย์&nbsp ซึ่งเรียนสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่ไม่ใช่แพทย์ค่ะ

&nbsp &nbsp ๒)&nbsp กายอุปกรณ์นี่ทำเครื่องการแพทย์ใช่มั้ย?

&nbsp &nbsp ตอบ&nbsp &nbsp  ไม่ใช่อีกเช่นกันค่ะ&nbsp อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า&nbsp เราทำอุปกรณ์เสริมและเทียมสำหรับผู้ป่วย&nbsp  ถ้าสนใจด้านนั้น ชีวการแพทย์จะตรงมากกว่า

&nbsp &nbsp ๓)&nbsp เงินเดือนดีมั้ย?

&nbsp &nbsp ตอบ&nbsp &nbsp  ขึ้นอยู่กับความสามารถบุคคลค่ะ&nbsp  หากทำงานในหน่วยงานรัฐ เรทจะอยู่ที่พันถึงหมื่นต้นๆ&nbsp ส่วนบริษัทเอกชนจะเริ่มที่หลักหมื่นขึ้นไป&nbsp &nbsp ถ้าหวังเงินเดือนสูงมาก ๆ&nbsp เราไม่แนะนำสาขานี้ค่ะ&nbsp เลือกสายงานอื่นจะดีกว่านะ

&nbsp &nbsp ๔)&nbsp ทำงานที่ไหนได้บ้าง?

&nbsp &nbsp ตอบ&nbsp &nbsp  โรงพยาบาลรัฐและเอกชน บริษัท โรงเรียนกายอุปกรณ์ หรือเปิดธุรกิจส่วนตัว เช่น รับส่งส่วนประกอบ อุปกรณ์ วัสดุเกี่ยวกับสายงานกายอุปกรณ์

&nbsp &nbsp ๕)&nbsp เรียนต่อในระดับสูงได้มั้ย?

&nbsp &nbsp ตอบ&nbsp &nbsp  ได้ค่ะ&nbsp แต่สำหรับสายกายอุปกรณ์ระดับปริญญาโทในไทยยังไม่มีค่ะ&nbsp จะมีก็หลักสูตร์ Biomedical Engineering&nbsp  เราเห็นพี่บัณฑิตเรียนต่อเยอะเลย&nbsp หรือจะเลือกเรียนต่อต่างประเทศก็ได้ค่ะ&nbsp (แต่ต้องได้รับการรับรองจาก ISPO ก่อนค่ะ&nbsp คาดว่าในปี 2010 นี้แหละ)

&nbsp &nbsp  ** ISPO = The International Society for Prosthetics andOrthotics

&nbsp &nbsp ๖)&nbsp ทำไมรับนักศึกษาน้อย?

&nbsp &nbsp ตอบ&nbsp &nbsp  คิดว่าเพราะงบประมาณแต่ละปีนั้นค่อนข้างจำกัดน่ะค่ะ&nbsp การที่จะรับนักศึกษาเยอะขึ้น&nbsp ทางโรงเรียนต้องมีเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนที่เราเรียนเพิ่มตาม&nbsp  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละคอร์สตกคนละแสนบาทได้ค่ะ&nbsp (ซึ่งจริง ๆ เราเสียค่าเทอมประมาณหมื่นต้นเท่านั้น)&nbsp และการที่ชั้นเรียนหนึ่งมีเด็กน้อย&nbsp ทำให้การสอนและทำความเข้าใจในบทเรียนได้ง่ายขึ้นค่ะ

0
แดง 9 พ.ค. 53 เวลา 09:09 น. 6

ศูนย์สิรินธรฯ เป็นศูนย์กลางฟื้นฟูฯคนพิการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กายอุปกรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
&nbsp &nbsp &nbsp องค์การอนามัยโลกคัดเลือก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ให้เป็นศูนย์กลางร่วมในการศึกษาดูงาน และฝึกอบรมบุคลากรด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้แก่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้&nbsp  โดยที่ ขณะนี้ ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่วชาญการผลิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ทั่วประเทศมีช่างกายอุปกรณ์ ๑๖๔ คน&nbsp  ศูนย์สิรินธรฯ จึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ตั้งโรงเรียนกายอุปกรณ์&nbsp หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากายอุปกรณ์&nbsp  จะผลิตนักกายอุปกรณ์ให้ได้ปีละ ๒๐ คน&nbsp ขณะนี้มีนักศึกษา&nbsp ๕๓ คน&nbsp  (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๙)

รายละเอียดคณะ PO ลองไปดูตาม Link หรือข้างล่างนี่ได้ครับน้อง Wink
http://www.si.mahidol.ac.th/department/rehabilitation/home/News/news01.htm

ความเป็นมาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากายอุปกรณ์

&nbsp &nbsp &nbsp หลักสูตรกายอุปกรณ์เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล&nbsp มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ&nbsp กรมการแพทย์&nbsp กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของมูลนิธินิปปอน&nbsp  ประเทศญี่ปุ่น

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  :&nbsp วิทยาศาสตร์บัณฑิต&nbsp สาขากายอุปกรณ์

ภาษาอังกฤษ&nbsp &nbsp &nbsp  :&nbsp Bachelor of Science Program in Prosthetics and Orthotics

ชื่อปริญญา&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  :&nbsp ชื่อเต็ม&nbsp วิทยาศาสตรบัณฑิต&nbsp สาขากายอุปกรณ์

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp :&nbsp ชื่อย่อ&nbsp วท.บ.&nbsp (กายอุปกรณ์)

ภาษาอังกฤษ&nbsp &nbsp &nbsp :&nbsp ชื่อเต็ม&nbsp Bachelor of Science&nbsp (Prosthetics and Orthotics)

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp :&nbsp ชื่อย่อ&nbsp B.Sc. (Prosthetics and Orthotics)

&nbsp หน่วยงานที่รับผิดชอบ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp :&nbsp ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู&nbsp คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล&nbsp มหาวิทยาลัยมหิดล

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp :&nbsp ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ&nbsp กรมการแพทย์

หลักการและเหตุผล
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เนื่องจากประเทศไทยมีจำนวนประชากรมากขึ้น&nbsp และมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ เช่น&nbsp การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว&nbsp การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมมาเป็นสังคมเกษตรกรรมสมัย ใหม่และอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นทำให้มีผู้บาดเจ็บมาก ขึ้น&nbsp และผู้บาดเจ็บนี้ส่วนหนึ่งจะมีความพิการเหลืออยู่&nbsp ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคต่างๆ มีช่วงชีวิตที่ยืนยาวขึ้น&nbsp แต่มักมีปัญหาความบกพร่องหรือความพิการต่างๆร่วมด้วยทำให้จำนวนผู้พิการใน ประเทศมีเพิ่มขึ้นมาก&nbsp ดังนั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ&nbsp (Rehabilitation) เพื่อให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวตนเองและประกอบอาชีพได้&nbsp จึงเป็นสิ่งสำคัญมากทั้งต่อตัวผู้พิการ&nbsp ครอบครัว&nbsp สังคม&nbsp และประเทศชาติ&nbsp ซึ่งงานกายอุปกรณ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ&nbsp การฟื้นฟูสมรรถภาพจึงมีความสำคัญด้วย

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตนักกายอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติ&nbsp ดังนี้

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp - มีความรู้ความสามารถในด้านการประดิษฐ์ ดัดแปลงกายอุปกรณ์และพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ&nbsp ลักษณะอาชีพของประชากรและเศรษฐานะของประเทศ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp -&nbsp มีความสามารถในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ใฝ่หาความรู้และสามารถติดตามความก้าวหน้าของวิชาชีพ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขของชาติในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู&nbsp และสามารถเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมกับสภาวะของประเทศ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp -&nbsp เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม&nbsp รักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด&nbsp รวมทั้งเคารพและป้องกันสิทธิของผู้รับบริการ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp -&nbsp มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย&nbsp ผู้พิการ&nbsp ผู้ร่วมงานตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

&nbsp &nbsp &nbsp คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย&nbsp หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติเฉพาะตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล&nbsp เรื่องการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต&nbsp สาขากายอุปกรณ์&nbsp ไม่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา


ระบบการศึกษา

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล&nbsp ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีและตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา&nbsp (สกอ.) เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี

-&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ใช้ระบบการศึกษา&nbsp แบบหน่วยกิตทวิภาค

ระยะเวลาการศึกษา

ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร&nbsp 4&nbsp ปีการศึกษา&nbsp และอย่างมากไม่เกิน&nbsp 8&nbsp ปีการศึกษา

&nbsp &nbsp &nbsp หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรประมาณ&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 140&nbsp หน่วยกิต

โครงสร้างหรือองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์&nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp กลุ่มวิชาภาษา&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ข.หมวดวิชาเฉพาะ&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ค.หมวดวิชาเลือกเสรี&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp สถานที่และอุปกรณ์การสอน

สถานที่

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp : วิทยาเขตศาลายา&nbsp มหาวิทยาลัยมหิดล

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล&nbsp มหาวิทยาลัยมหิดล

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp : ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp กรมการแพทย์&nbsp กระทรวงสาธารณสุข

อุปกรณ์

การ สอนของคณะและหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าวไว้ในหัวข้อสถานที่&nbsp เช่น&nbsp ตู้อบควบคุมอุณหภูมิ,อุปกรณ์จัดแนวขาเทียม,ราวหัดเดินทำด้วยเหล็กปลอดสนิม, เครื่องขึ้นรูปรองเท้า,เครื่องพิมพ์ภาพฝ่าเท้า,สว่านแท่นไฟฟ้า,จักรเย็บ อุตสาหกรรม,เครื่องทำเบ้าขาเทียมพร้อมเครื่องดูดสูญญากาศ เป็นต้น

หลังสำเร็จการศึกษา

สามารถปฏิบัติงานด้านกายอุปกรณ์ตามโรงพยาบาลได้
สามารถปฏิบัติงานด้านกายอุปกรณ์ตามบริษัทเอกชนได้
สามารถศึกษาต่อได้

0
แดง 9 พ.ค. 53 เวลา 09:30 น. 7

คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ เปิดสอนที่ใดบ้าง
&nbsp&nbsp&nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

&nbsp &nbsp  * ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

&nbsp &nbsp &nbsp  เปิดทั้งระดับปริญญ่าตรี ระดับปริญญาตรีโทและระดับปริญญาตรีเอก
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp  2. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
&nbsp &nbsp &nbsp  เปิดทั้งระดับปริญญาตรี&nbsp ไม่เปิดระดับปริญญาโท และเปิดระดับปริญญาเอก
&nbsp &nbsp &nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp  3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์&nbsp เปิดระดับปริญญาตรี
&nbsp &nbsp &nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp  4.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ&nbsp เปิดระดับปริญญาตรี
&nbsp &nbsp &nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp  5.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่&nbsp ไม่เปิดระดับปริญญาตรี เปิดแต่ระดับปริญญาโท
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp * สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ)

0
คนทำขา 11 ก.พ. 54 เวลา 19:46 น. 8

ตอนนี้ตำแหน่งของหน่วยงานรัฐในเมืองไทยในระดับ ป.ตรี มีอยู่ 1-2 คนเป็นของกรมการแพทย์
ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข มีมากประมาณ1++ตำแหน่ง แต่เป็นในระดับ ปวส.ของพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ประกาศนียบัตรของกรมการแพทย์ ที่ รพ.เลิดสิน&nbsp อย่างที่น้องๆ หลาย คห.ตอบมันไม่ได้เป็นแค่การเรียนทางการแพทย์อย่างเดียว ทางวิศวกรรมด้วย&nbsp 


ปล.มีบุคลากรทางด้านนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี ในเมืองไทย&nbsp นั้งรถเข็นมาแต่ตอนกลับเดิน.......ความสุขอยู่ที่ใจ

0