Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทอร์เนอร์ ซินโดรม โรคพันธุกรรมของเพศหญิง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สิ่งที่พ่อแม่ภาวนามากที่สุด ในยามที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลกก็คือ ขอให้ลูกน้อยมีอาการครบ 32 แต่ทว่า...ยังมีพ่อแม่โชคร้ายหลายคู่ ที่ลูกกลับมีความผิดปกติทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด และ โรคเทอร์เนอร์ ก็คือหนึ่งในความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่พบได้ในเพศหญิง

          สำหรับ โรคเทอร์เนอร์ (Turner's syndrome) หรือในทางการแพทย์เรียกว่า "กลุ่มอาการเทอร์เนอร์" เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติที่โครโมโซมเพศ โดยโรคเทอร์เนอร์ จะเกิดเฉพาะกับเพศหญิงเท่านั้น พบครั้งแรกในปี ค.ศ.1938 โดยนายแพทย์ Henry Hubert Turner และพบเด็กเป็นโรคนี้ตั้งแต่แรกเกิดในอัตรา 1 ต่อ 2,000 คน

          สาเหตุของการเกิด โรคเทอร์เนอร์ ก็คือ โครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมระบุเพศหญิง หายไป 1 แท่ง จากปกติที่คนทั่วไปจะมีโครโมโซม 23 คู่ 46 แท่ง และในเพศหญิงจะมีโครโมโซมเพศ XX (ในผู้ชายคือ XY) แต่สำหรับในเด็กผู้หญิงที่เป็น โรคเทอร์เนอร์ จะเหลือโครโมโซมเพศเพียง X ตัวเดียว และมีคารีโอไทป์ เป็น XO


 

คารีโอไทป์ ของผู้เป็น โรคTurner's syndrome

คารีโอไทป์ ของผู้เป็น โรคTurner's syndrome



          นั่นเท่ากับว่า เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคเทอร์เนอร์ จะมีโครโมโซมในเซลล์ร่างกายเพียง 45 แท่ง จึงทำให้รังไข่ของเด็กผู้หญิงคนนั้น มีการพัฒนาที่ไม่ปกติ คือมีอาการฝ่อ เมื่อเด็กโตขึ้นต่อไป รังไข่จะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เข้าสู่วัยสาวได้ จึงไม่มีประจำเดือน และเป็นหมัน

          นอกจากเด็กหญิงที่เป็นโรคเทอร์เนอร์ จะเป็นหมันแล้ว ลักษณะภายนอกที่เห็นได้ชัดของผู้ป่วยโรคนี้ก็คือ จะมีอาการปัญญาอ่อน ที่บริเวณคอมีพังผืดกางเป็นปีก (Web Neck) หน้าอกแบนกว้าง เต้านมเล็ก หัวนมอยู่ห่างกัน เหยียดแขนได้ไม่ตรง เพราะปลายแขนจะกางออก มือเท้าบวม และตัวเตี้ยแม้มีอายุเท่ากับคนปกติทั่ว ๆ ไป

 

Turner's syndrome

Turner's syndrome
 



          สำหรับการสังเกตว่า เด็กที่คลอดออกมาเป็นโรคเทอร์เนอร์หรือไม่นั้น อาจสังเกตได้จากมือเท้าของเด็กดูอูม ๆ คอเป็นแผง บริเวณข้อศอกมีการโค้งงอออกมาก มือเท้าสั้น ช่วงอกดูกว้าง หรือบางรายอาจไม่มีความผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นเลยก็ได้ นอกเสียจากตัวเตี้ยเพียงอย่างเดียว


 

Turner's syndrome

Turner's syndrome
 



          นอกจากนี้ ในบางรายอาจแสดงอาการผิดปกติเมื่อโตขึ้นมา เช่น ตัวเตี้ยผิดปกติ ไม่มีอาการเข้าสู่วัยสาว คือ เต้านมไม่โตขึ้น ไม่มีประจำเดือน ฯลฯ ซึ่งแพทย์จะรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน แต่สำหรับการฉีดฮอร์โมนเจริญเติบโตให้กับเด็กนั้น แพทย์ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะยามีราคาค่อนข้างแพง ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยที่ปรารถนาจะตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีเทคโนโลยี และวิธีการทางการแพทย์บางอย่างที่ช่วยให้หญิงที่เป็นโรคเทอร์เนอร์ตั้งครรภ์ได้แล้ว

          อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีลักษณะของกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะผู้ที่เป็นโรคเทอร์เนอร์ จะมีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบไต ระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ทำให้เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคไทรอยด์ และเมื่อโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม จึงไม่มีหนทางใดจะรักษาอาการให้หายขาดได้ ได้แต่เพียงการบรรเทาอาการต่าง ๆ ให้เป็นน้อยลงเท่านั้น


PS.  โรคจิต ซาดิส เถื่อน นี่แหล่ะตัวฉัน

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น