Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

**พี่ๆที่เรียน มนุษยศาสตร์ จิตวิทยา เข้าหน่อยค๊า!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คืออยากรู้ว่า คณะนี้เค้าเรียนวิชาอะไรมั้งอ่าคะ
เรียนยังไง ถ้าทราบรายละเอียดช่วยอธิบายหน่อยนะคะ
พี่ๆที่เรียน มช. ยิ่งดีค๊า


thxxx ค๊า!

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

libertymay 27 ก.ย. 53 เวลา 16:16 น. 1

จิตวิทยา เรียนเกี่ยวกับพฤกรรมมนุษย์ว่าเกิดจากอะไรบ้าง จิตใจของมนุษย์ ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ไอคิว เล็กน้อย การเรียนรู้ของมนุษย์ ความผิดปกติทางจิตใจ การให้คำปรึกษา และที่มช.ก็จะแยกวิชาเอกเป็น จิตคลินิก และจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร ค่ะ
อาจจะอธิบายไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่นะ

เพิ่มเติม เอามาจากกระทู้เก่าๆในเด็กดีค่ะ
มี น้องๆ สงสัยมาเยอะมากๆ ว่าการจะเป็นจิตแพทย์ต้องเรียนจิตวิทยาหรือแพทยศาสตร์ แล้วนักจิตวิทยากับจิตแพทย์เหมือนหรือต่างกันยังไง อยากให้คุณหมอช่วยชี้แจงค่ะ?
คุณหมอไปป์: ข้อนี้ขออนุญาตนำข้อมูลจากน้องเชอรี่ นิสิตคณะจิตวิทยา จุฬาฯ มาช่วยแชร์คำตอบเพื่อความชัดเจนนะครับ

-จิตแพทย์คือแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์แล้ว (ซึ่งต้องใช้เวลาเรียน 6 ปี) มาศึกษาต่อในสาขาจิตเวชศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาเฉพาะทางอย่างหนึ่งของแพทยศาสตร์ โดยหน้าที่หลักของจิตแพทย์ทั่วไป คือการเป็นผู้ให้การวินิจฉัยและบำบัดรักษาผู้ที่มีอาการทางจิตประสาท โดยการใช้ยา และ/หรือการช่วยเหลือทางด้านจิตสังคม เช่น ทำจิตบำบัด
-นัก จิตวิทยานั้นคือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะหรือสาขาทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตของมนุษย์ โดย มีเป้าหมายหลักเพื่อหาคำอธิบายและทำนายพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้จิตวิทยายังสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขา และไม่ใช่ทุกสาขาที่จะต้องทำงานในโรงพยาบาลอย่างที่เข้าใจกัน บางสาขาทำงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร บางสาขาไปเป็นนักวิจัย บางสาขาทำงานอยู่ในโรงเรียน เป็นต้น ส่วนสาขาที่มีการทำงานร่วมกับจิตแพทย์ก็เช่น สาขาจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ เป็นต้น

ทั้งนี้แม้ว่าจะทำงานร่วมกัน แต่หน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบ ของนักจิตวิทยาในโรงพยาบาลจะต่างกับจิตแพทย์โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ นักจิตวิทยาจะรับผิดชอบในส่วนของการทำแบบทดสอบและการบำบัดที่ไม่เกี่ยวข้อง กับยา เช่น การดำเนินการทดสอบผู้ที่มารับการรักษาโดยใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆตลอดจนการแปร ผลที่ได้จากแบบทดสอบนั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของจิตแพทย์ นอกจากนี้การบริการให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด การกระตุ้นพัฒนาการ และการปรับพฤติกรรม ก็จัดอยู่ในสายงานของนักจิตวิทยาเช่นกัน

แม้ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างศาสตร์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอาชีพนี้ก็มีจุดร่วมกันอยู่บ้าง เช่น ในด้านการเรียนการสอน จิตแพทย์แต่ละสาขาก็จะได้เรียนเนื้อหาวิชาทางจิตวิทยาบางส่วนที่เกี่ยวข้อง กับสาขาของตน และนักจิตวิทยาบางสาขา เช่น นักจิตวิทยาคลินิกก็จำเป็นจะต้องผ่านการเรียนเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิต ประสาทในประเภทต่างๆ เช่นเดียวกับจิตแพทย์เช่นกัน

0