Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หมอ บรัดเลย์ บิดาแห่งการพิมพ์สยาม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เอาเป็นว่า ทุกคนที่เรียนวิชาสังคมมา ไม่มีใครไม่รู้จัก "หมอบรัดเลย์" แต่เฮนรี่เชื่อว่า จะมีใครสักกี่คนที่รู้จักความเป็นมาก่อนที่ท่านหมอมิชชันนารีท่านนี้ และ ท่านหมอท่านนี้สร้างคุณูปการอะไรบ้างให้กับแผ่นดินสยาม วันนี้เฮนรี่ได้รวบรวมมาได้ส่วนหนึ่่ง ซึ่งข้อมูลของ หมอบรัดเลย?นั้นมีเยอะแยะมากมายค้าบ.....
หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเลหมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ แบลคลี บรัดเลย์

คนไทยกับคนอเมริกันได้พบเห็นหน้าอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ในครั้งนั้นประธานาธิบดีแย็กสัน (Andrew Jackson) ได้แต่งตั้งให้เอมินราบัดหรือ เอดมันด์ รอเบิต (Edmond Roberts) เป็นทูตขี่เรือกำปั่นเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ (ภายหลังประเทศอังกฤษ) และต่อจากนั้น ๓ ปี หมอบรัดเลย์ก็นั่งเรือใบเข้ามา

        หมอบรัดเลย์เป็นคนเมืองมาร์เซลลุส (Marcellus) ในมลรัฐนิวยอร์ก เป็นเมืองที่บิดามารดามาตั้งครอบครัวอยู่หลังจากอพยพมาจากนิวฮาเวน (New Haven) บิดาชื่อ แดน บรัดเลย์ มีอาชีพเป็นศาสนาจารย์, เกษตรกร, ผู้พิพากษา และบรรณาธิการวารสารทางเกษตรกรรม มารดาชื่อ ยูนิซ บีช บรัดเลย์ (Eunice Beach Bradley) เมื่อนางให้กำเนิดหมอบรัดเลย์เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ แล้ว นางก็สิ้นชีวิตในวันต่อมา หมอบรัดเลย์เป็นบุตรคนที่ ๕ ชื่อแรกมาจากชื่อของบิดาคือ แดน และชื่อกลางมาจากชื่อสกุลมารดาคือ บีช รวมเป็นแดน บีชบรัดเลย์

        ต่อมาบิดาของท่านได้แต่งงานใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาเลี้ยง และมีน้องที่เกิดจากแม่คนใหม่อีก ๕ คน แม้กระนั้นก็ได้ให้ความรักความเมตตาแก่ท่านเป็นอย่างดี ทำให้ไม่รู้สึกว้าเหว่แต่อย่างใด

        ท่านเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เป็นเด็ก จึงอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านสนใจในการพิมพ์หนังสือในสมัยต่อมา และอยากให้คนไทยอ่านหนังสือกันมาก ๆเผอิญสิ่งแวดล้อมในอเมริกาครั้งนั้นเป็นผลดีแก่เมืองไทย ที่จะได้คนดีอย่างหมอบรัดเลย์เข้ามา คือในสมัยนั้นทางฝ่ายเผยแผ่ศาสนาคริสต์มีความต้องการมิชชันนารีที่เป็นแพทย์จำนวนมาก หมอบรัดเลย์จึงได้ตัดสินใจเข้าศึกษาวิชาแพทย์แทนที่จะทำงานทางศาสนา และเนื่องจากขณะนั้นสุขภาพไม่ค่อยดี ในระยะแรกท่านจึงศึกษากับนายแพทย์โอลิเวอร์ (Dr. A.F. Oliver) ที่เมือง Penn Yan แบบตามสบายเพื่อรอให้สุขภาพดีขึ้น

เมื่ออยู่ในวัยรุ่น ท่านมีข้อบกพร่องอยู่อย่างหนึ่งคือพูดติดอ่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการเผยแผ่ศาสนาที่จะต้องพูดหรือบรรยายธรรม ฉะนั้นท่านจึงต้องรีบแก้ไขโดยการเข้ากลุ่มฝึกพูด ซึ่งก็เป็นผลดี

ในหนังสือ ๕๐ ปีโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน นายแพทย์คทาวุธ โลกาพัฒนา ได้กล่าวถึงการเรียนวิชาแพทย์ของหมอบรัดเลย์ไว้ตอนหนึ่งว่า

        "การศึกษาวิชาแพทย์ในสมัยนั้นเป็นการศึกษาแบบปฏิบัติกับแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ จนกระทั่งมีประสบการณ์เพียงพอจึงจะสอบเพื่อรับปริญญา ท่านเคยไปฟังบรรยายทางการแพทย์ที่ Harvard ในปี ค.ศ. ๑๘๓๐ และกลับไปฝึกปฏิบัติงานการแพทย์สลับกับการเป็นครูในหมู่บ้าน เมื่อสะสมเงินได้เพียงพอ จึงไปที่โรงเรียนแพทย์ในกรุงนิวยอร์กเพื่อเรียนและสอบได้ปริญญาแพทย์ในเดือนเมษายนค.ศ. ๑๘๓๓

        ระหว่างอยู่ในนิวยอร์กยังได้ปฏิบัติงานหาความชำนาญ และระหว่าง ๒ ปีนั้นอหิวาตกโรคกำลังระบาดอยู่ในนิวยอร์ก โดยระบาดมาจากเมืองควิเบก ขณะศึกษาอยู่ในนิวยอร์กได้สมัครเป็นแพทย์มิชชันนารีกับ ABCFM (American Board of Commissioners of Foreign Missions) เพื่อทำงานในอาเซีย

ที่นิวยอร์ก หมอบรัดเลย์ได้รู้จักกับบุคคลสองคนซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะต่อมา คนแรกคือ Charles Grandison Finneyซึ่งเป็นนักเทศน์และอาจารย์จาก Oberlin College มีความเชื่อว่า มนุษย์ควรจะดำรงชีวิตโดยไม่มีบาป คือดำรงชีวิตของตนเช่นเดียวกับพระคริสตเจ้า ความเชื่อนี้มีผลต่อการปฏิบัติงานของหมอบรัดเลย์ในเมืองไทย คนที่สองคือ Reverend Charles Eddy แห่งคณะ ABCFM ซึ่งแนะนำว่าการทำงานมิชชันนารีในต่างแดนควรจะมีผู้ช่วย"

        ในที่สุดหมอบรัดเลย์ได้เข้าศึกษาที่ College of Physicians ที่เมืองนิวยอร์ก และได้รับปริญญา Doctor of Medicine เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๓๓ (พ.ศ. ๒๓๗๖) พร้อมที่จะเป็นมิชชันนารีต่อไป

        ในช่วงเวลาที่หมอบรัดเลย์เกิดจนถึงรุ่นหนุ่ม สังคมอเมริกันได้เกิดความเคลื่อนไหวที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดและวัฒนธรรมอเมริกัน คือการฟื้นสำนึกทางศาสนาครั้งใหญ่ เป้าหมายสำคัญคือการฟื้นฟูหลักธรรมของศาสนาคริสต์โปรเตสแตนต์ โดยมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอบายมุข การเคลื่อนไหวเพื่อการเลิกทาส และการรณรงค์เพื่อเดินทางออกไปเผยแพร่ศาสนายังประเทศต่างๆทั่วโลก การฟื้นสำนึกทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อหมอบรัดเลย์โดยตรง หมอบรัดเลย์ในวัยหนุ่มตั้งใจจะศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ แต่ต้องประสบปัญหาทางด้านการพูดออกเสียงและมีอายุมากเกิน จึงต้องเบนเข็มเข้าเรียนทางด้านการแพทย์แทน โดยเริ่มเข้าศึกษาชั้นต้นกับคลินิกแพทย์คนหนึ่งที่ออเบิ์รน แต่ต้องพักการเรียนระยะหนึ่งเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ต่อมาเมื่อสุขภาพแข็งแรงแล้วก็คิดจะเรียนต่อทางด้านศาสนา เพื่อเป็นผู้สอนศาสนา แต่ก็ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินและอายุอีก จึงหันกลับมาเรียนต่อ ทางด้านการแพทย์อีกครั้ง โดยมุ่งหวังว่าจะทำให้สามารถทำงานเผยแพร่ศาสนาได้ ในที่สุด หมอบรัดเลย์ก็เรียนสำเร็จ ได้รับปริญญาทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ในปี 2376

เมื่อได้ปริญญาทางการแพทย์แล้วหมอบรัดเลย์จึงสมัครเป็นมิชชันนารี กับคณะ เอ บี ซี เอฟ เอ็ม (American Board of Commissioner Foreign Mission) คือคณะมิชชันนารีเพื่อพันธกิจต่างชาติ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า "คณะอเมริกันบอร์ด" คณะอเมริกันบอร์ดอนุมัติให้หมอบรัดเลย์เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในเอเชียได้ จุดหมายปลายทางคือ ประเทศสยาม ซึ่งกำลังเป็นที่รู้จัก ตามธรรมเนียมของการเดินทางมายังประเทศห่างไกลเช่นนี้ มิชชั่นนารีจำเป็นต้องมีคู่แต่งงานเดินทางมาด้วย หมอบรัดเลย์จำเป็นต้องหาผู้หญิงที่พร้อมจะเป็นคู่ชีวิตและยอมเป็นคู่ชีวิตและยอมเดินทางไปทำงานไกลบ้านเกือบครึ่งโลกด้วยความเต็มใจ ไม่นานหมอบรัดเลย์ก็ได้พบผู้หญิงคนนั้น เธอคือ เอมิลี่ รอยซ์

        1 กรกฎาคม 2377 หมอบรัดเลย์ออกเดินทางจากบอสตันมุ่งหน้าสู่สยาม โดยเรือ "แคชเมียร์" ใช้เวลารอนแรมในทะเลเป็นเวลา 6 เดือน หมอบรัดเลย์ก็มาถึงสิงคโปร์ในวันที่ 12 มกราคม 2378 และแวะพักอยู่ที่สิงค์โปร์อีก 6 เดือน ก่อนจะเดินทางเข้าสู่สยามในวันที่ 18 กรกฎาคม 2378 เป็นวันเกิดปีที่ 31 ปีพอดี

        เมื่อมาถึงสยามหมอบรัดเลย์ได้อาศัยพักรวมอยู่กับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน ที่ย่านวัดเกาะ โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแผ่ศาสนากับชุมชนชาวจีนก่อนเป็นลำดับแรก ที่บ้านพักย่านวัดเกาะนี้ หมอบรัดเลย์ได้เปิดโอสถสถาน ขึ้น เพื่อทำการรักษา จ่ายยา และหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้

        แต่ไม่นานกิจการนี้ก็ถูกเพ่งเล็ง ว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงมีการกดดันเจ้าของที่ดินคือนายกลิ่นไม่ให้มิชชันนารีเช่าที่ต่อไปอีก หมอบรัดเลย์จึงต้องย้ายมาเช่าที่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ที่บริเวณหน้าวัดประยูรวงศาวาส เป็นที่ทำการแห่งใหม่

ที่อยู่แห่งใหม่นี้เองที่หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย คือการตัดแขนพระภิกษุรูปหนึ่งที่ได้รับอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตกในงานฉลองที่วัดประยูรวงศาวาส หมอบรัดเลย์ต้องตัดแขนพระภิกษุรูปนี้เพื่อรักษาชีวิตไว้ ทางการแพทย์ถือว่าเป็นการผ่าตัดแผนปัจจุบันครั้งแรกของไทย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2380

        ผลงานชิ้นสำคัญทางการแพทย์อีกเรื่องหนึ่งคือ การริเริ่มปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในเมืองไทยทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือในการหาซื้อเชื้อหนองฝีโค ซึ่งต้องสั่งนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามาใช้เพื่อปลูกฝีให้ชาวสยาม และยังทรงให้แพทย์หลวงมาศึกษาวิธีการปลูกฝีจากหมอบรัดเลย์เพื่อขยายการปลูกฝีให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย

        หลังจากที่หมอบรัดเลย์ประสบความสำเร็จอย่างมากในทางการแพทย์ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบางกอก แต่นั่นกลับไม่ช่วยให้กิจกรรมทางด้านศาสนาประสบความสำเร็จไปด้วย ตลอดชีวิตของหมอบรัดเลย์ในสยามซึ่งกินเวลาเกือบ 40 ปีนั้น ทำให้กลับใจเปลี่ยนศาสนาได้ไม่กี่คน หรือเรียกว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทุกสิ่งที่หมอบรัดเลย์ทำนั้นล้วนแต่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางศ่าสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์หรือการพิมพ์ก็ตาม

        ส่วนงานที่หมอบรัดเลย์ทำและพัฒนาขึ้นตลอดเวลาคือ การพิมพ์ สิ่งที่น่าสนใจในงานพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา เป็นสิ่งสนับสนุนทางการแพทย์ และยังเป็นรายได้เพื่อจุนเจือครอบครัวอีกด้วย

การพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ในสยามเริ่มต้นขึ้นเมื่อหมอบรัดเลย์เดินทางจากสิงคโปร์มาสยามและได้ซื้อตัวพิมพ์อักษรไทยและแท่นพิมพ์ไม้ติดตัวมาด้วยตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ไม้ชุดแรกที่เข้าสู่สยามพร้อมกับหมอบรัดเลย์ถูกนำมาตั้งเป็นโรงพิมพ์ขึ้นที่ตรอกกัปตันบุช อันเป็นที่ตั้งของคณะ เอ บี ซี เอฟ เอ็ม และได้ดำเนินการพิมพ์ใบปลิว หนังสือต่างๆในระยะแรก ตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ไม้นี้หมอบรัดเลย์กล่าวถึงไว้ว่า เป็นสิ่งที่อัปลักษณ์มาก

        จนกระทั่งในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2379 โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์จึงได้รับแท่นพิมพ์ใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น ยี่ห้อโอติส และสแตนดิ้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์การพิมพ์สยาม เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการพิมพ์สูงขึ้น และสวยงามขึ้นอย่างมาก

        หมอบรัดเลย์ได้ให้กำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในประเทศคือ หนังสือบัญญัติสิบประการ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2379 หลังจากนั้นกิจการโรงพิมพ์ภายใต้การดูแลของหมอบรัดเลย์ก็เริ่มต้นพิมพ์เกี่ยวกับศาสนาออกมาอีกมากมาย

        ต่อมาในปี 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ นับเป็นสิ่งตีพิมพ์เอกสารทางราชการฉบับแรกในประวัติศาสตร์สยาม และถือเป็นหมายสำคัญว่ายุคแห่งการคัดด้วยลายมือกำลังจะหมดไป เป็นการเริ่มต้นยุคสมัยแห่งการพิมพ์สยาม

        ในที่สุดพัฒนาการของการพิมพ์ในสยามก็มาถึงจุดสำคัญที่สุดคือ หมอบรัดเลย์และคณะสามารถหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 2384 ตัวพิมพ์ชุดนี้หมอบรัดเลย์ยังได้ทำขึ้นอีกเพื่อทูลเกล้าฯถวายเจ้าฟ้ามงกุฎ สำหรับใช้ที่โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหาร

        ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2387 หมอบรัดเลย์ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยามขึ้นในชื่อว่า หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ กิจการโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะในระยะหลังเมื่อหมอบรัดเลย์ได้รับพระราชทานที่ดินให้เช่าบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ งานพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่จำกัดวงเฉพาะงานทางด้านศาสนาอีกต่อไปแต่ได้พิมพ์หนังสือหลากหลายประเภท ทั้งนิยาย ประวัติศาสตร์ กฎหมาย วรรณคดี เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลที่สนใจทั่วไป

เกือบ 40 ปีที่อยู่ในสยาม หมอบรัดเลย์ได้ทุ่มเททำงานอย่างหนักตลอดเวลา มีโอกาสเดินทางกลับบ้านเกิดเพียงครั้งเดียว เป็นช่วงเวลาที่ เอมิลี บรัดเลย์ เสียชีวิตลงในสยาม การเดินทางกลับบ้านครั้งนี้กินเวลา 3 ปี คือระหว่างปี 2390-2393 เมื่อกลับมาสยามอีกครั้ง หมอบรัดเลย์ก็มาพร้อมกับภรรยาคนใหม่ คือซาราห์ แบลชลี หลังจากนั้นก็ลงหลักปักฐานอยู่ในสยามจนเสียชีวิตที่นี่ทั้งสองคน หมอบรัดเลย์มีบุตรกับเอมิลี 5 คน และกับซาราห์ 5 คนหมอบรัดเลย์มีชีวิตอยู่ในสยามผ่านเวลามาถึง 3 แผ่นดิน คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 รัชการลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 โดยที่ไม่มีโอกาสร่ำรวยและสุขสบายเลย หมอบรัดเลย์เสียชีวิตลงในปี 2416 ขณะมีอายุได้ 69 ปี อนุสรณ์สถานของครอบครัวบรัดเลย์อยู่ที่สุสานโปรเตสแตนท์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง

        แต่สิ่งที่เป็นอนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของหมอบรัดเลย์ต่อชาวไทยก็คือการพิมพ์และการแพทย์ แม้ว่าหมอบรัดเลย์จะไม่ได้รับการยกย่องให้เป็น"บิดา"ทั้งทางด้านการพิมพ์และการแพทย์แผนใหม่ของไทย แต่สิ่งที่หมอบรัดเลย์ได้ริเริ่มบุกเบิกไว้เป็นคนแรกนั้นก็ไม่อาจลบเลือน

ภาพ:Nnnnnnnnnnnn.JPG

ท้ายสุดเฮนรี่ได้ สรุปผลงานของท่านหมอ บรัดเลย์ ที่ทรงคุณูปการไว้ในแผ่นดินสยามค้าบ.....

ในด้านการแพทย์ 

          เป็นผู้เริ่มต้นการแพทย์ตะวันตกในเมืองไทย 
ในเรื่องของการผ่าตัด 
ผ่าตัดเนื้องอกที่หน้าผากของชาวบ้านคนหนึ่ง 
                          
ตัดแขนคนไข้ที่บาดเจ็บ จากเหตุการณ์ปืนใหญ่ระเบิด

-          รักษาโรคต้อกระจก และที่สำคัญที่สุด คือ

-          การปลูกฝึ ป้องกันไข้ทรพิษ 

ในด้านการพิมพ์ 

หมอบรัดเลย์กระทำมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากเรียบเรียงคัมภีร์ครรภ์ทรักษา 

-         ให้ความรู้เรื่องการคลอด และ รณรงค์ให้เลิกอยู่ไฟ

-          ๑๐ ปีแรกพิมพ์หนังสือเผยแพร่ศาสนา เป็นหนังสือเล่มแรกที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เขียนเมื่อปี ค.๑๘๓๗ 
เขียนเกี่ยวกับการสร้างโลกของพระเยซู
หมอบรัดเลย์กลับไปที่อเมริกานานถึง ๒ ปี และกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง ครั้งนี้จึงทำธุรกิจโรงพิมพ์
(คณะ American Missionary Association A.M.A. )พิมพ์หนังสือ วรรณคดี ตัวอย่างเช่น

-         สามก๊ก

-         นิราษเมืองลอนดอน

-          แบบเรียนจินดามณี

-        หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย คือ บางกอกรีคอเดอร์
สรุปผลงานที่ถูกจัดพิมพ์และจำหน่ายของหมอบรัดเลย์

-    ตำราปลูกฝีโคหรือปลูกฝีดาษ เป็นหนังสือเล่มแรกที่เกี่ยวกับการแพทย์สมัยใหม่

-    คัมภีร์ครรภ์ทรักษา เป็นผลงานเกี่ยวกับการแพทย์เล่มที่สอง

-    หนังสืออักขราภิธานศรับท์ หนังสือเล่มนี้หมอบรัดเลย์ไม่ได้เป็นคนทำ แต่เป็นคนคิดให้ผู้ทำและจัดพิมพ์

-    นิราศเมืองลอนดอน เป็นหนังสือบทกลอนขนาดยาวเรื่องแรกที่หมอบรัดเลย์จัดพิมพ์จำหน่าย

เป็นการบุกเบิกด้านวรรณกรรมให้แพร่หลายมากขึ้น และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นครั้งแรกที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์วรรณกรรมไทย

-     สามก๊ก เป็นพงศาวดารจีนเรื่องแรกที่หมอบรัดเลย์พิมพ์จำหน่าย

-     พงศารดารฝรั่งเศส เป็นผลงานที่หมอบรัดเลย์แปลที่ถือว่ายาวที่สุด ทั้งที่ยังไม่จบ

-    ประถม ก กา แจกลูกอักษร แลจินดามนี กับ ประถมมาลา และประถมทานุกรม

-     หนังสือระยะทางเมืองลอนดอน

-    ตำราโหร

-     เรื่องพิชัยสงครามพม่า

-     หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงเก่า

-     กฎหมาย ๒ เล่ม

-       ราชาธิราช



สุดท้ายจริงๆๆๆ เฮนรี่ได้นำเรื่องราวที่น้อยคนจะรู้ว่า หมอ บรัดเลย์ก็เคยถูกฟ้องศาล เนื่องจากได้ลงข่าวเป็นปากเป็นเสียงให้้กับประชาชน จนไปขัดขวางผู้มีอิทธิพลในสยามด้วยนะค้าบ....



ในช่วงนี้หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอ อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มออกฉบับภาษาอังกฤษก่อน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ส่วนฉบับภาษาไทยออกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ก็เหมือนเมื่อครั้งก่อน คือเพื่อเสนอข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ แจ้งราคาสินค้าพืชผลต่างๆ แจ้งกำหนดเวลาเรือกำปั่นเข้ามายังกรุงเทพฯ และออกจากกรุงเทพฯ รวมทั้งบทความที่ให้ความรู้ทางวิชาการทั่วๆไป เช่น วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ที่สำคัญ ผู้เป็นบรรณาธิการคือหมอบรัดเลย์เองนั้นได้ทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้แก่ประชาชนระดับล่าง โดยการบอกกล่าวให้ทางราชการทราบถึงการปฏิบัติที่ไม่ชอบธรรมของข้าราชการบางคน หรือแม้แต่เจ้านายบางพระองค์ รวมถึงการเขียนบทความต่อต้านชาวต่างประเทศบางคนที่เป็นภัยแก่ประเทศไทยด้วย การทำหน้าที่อย่างหลังสุดนี้เป็นที่มาของการที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาทเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

            มูลเหตุของการฟ้องร้องมาจากการที่หมอบรัดเลย์ตีพิมพ์รายละเอียดของสนธิสัญญกลับที่มองซิเออร์ โอบาเร (Monsieur Aubaret) กงสุลฝรั่งเศส กับเจ้าพระยาพระคลังของไทย ร่างขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๘ เกี่ยวกับการปกครองประเทศกัมพูชา โดยที่สนธิสัญญานี้มีข้อความที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ นอกจากนี้ หมอบรัดเลย์ยังตีพิมพ์สัญญาอีกฉบับหนึ่งที่กงสุลฝรั่งเศสแอบทำกับนายอากรสุราของไทย เพื่อให้ขายสุราของฝรั่งเศสในกรุงเทพฯได้ โดยที่กงสุลฝรั่งเศส และนายอากรสุราร่วมกันออกใบอนุญาตและควบคุมดูแล ซึ่งก็ขัดกับสัญญาที่ทำไว้กับชาติมหาอำนาจชาติอื่นๆ การตีพิมพ์ทั้งสองครั้งนี้ทำให้กงสุลฝรั่งเศสโกรธมาก และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปิดหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอเสีย แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมตาม ต่อมา มองซิเออร์ โอบาเร ได้กระทำสิ่งที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ส่งบันทึกกราบบังคมทูลเชิงบังคับให้พระองค์ทรงถอดถอนข้าราชการไทยผู้หนึ่งที่ท่านกงสุลรังเกียจ ออกจากตำแหน่ง และเมื่อทางรัฐบาลไทยส่งหม่อมราโชทัย ในฐานะของผู้พิพากษาศาลระหว่างประเทศของไทยไปชี้แจง โอบาเรก็กลับทำร้ายท่านเสียอีก ในวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๐๙ กงสุลโอบาเรบังอาจกราบทูลเชิงบังคับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้เพื่อให้พระองค์ทรงถอดถอนข้าราชการไทยอีกคนหนึ่งที่โอบาเรไม่ชอบ ออกจากตำแหน่ง เมื่อหมอบรัดเลย์ตีพิมพ์เรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอ กงสุลโอบาเรก็ฟ้องร้องท่านต่อศาลกงสุลอเมริกันด้วยข้อหาหมิ่นประมาท

            ศาลกงสุลอเมริกันได้นัดไต่สวนพยานในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๐ และได้ตัดสินในอีก ๓ วันต่อมา ให้หมอบรัดเลย์แพ้ความ และให้เสียค่าปรับเป็นเงิน ๑๐๗ ดอลลาร์ ๗๕ เซ็นต์ เงินค่าปรับนี้ บรรดาเพื่อนๆของหมอบรัดเลย์ได้เรี่ยไรกันช่วยจ่ายให้ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้พระราชทานเงินอีกจำนวนหนึ่งช่วยหมอบรัดเลย์ด้วย เมื่อจบคดีความกับกงสุลฝรั่งเศสแล้ว หมอบรัดเลย์ก็ได้ประกาศเลิกพิมพ์หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอไว้ในเล่มที่ ๒ ใบที่ ๒๔ (วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๐) ของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเพราะขาดทุน และรัฐบาลไทยไม่สนับสนุนอย่างแต่ก่อน

            หลังจากปิดหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอแล้ว หมอบรัดเลย์ยังคงเลี้ยงชีพด้วยการทำงานพิมพ์ และขายสิ่งพิมพ์อื่นๆ ต่อมา จนกระทั่งถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ช่วยงานฝังศพและทำรั้วล้อมหลุมศพของหมอบรัดเลย์ที่สุสานโปรเตสแตนต์ในกรุงเทพฯ


อ้อ!! เฮนรี่ลืมบอกไปว่ามีการซื้อขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในประเทศไทย ในสมัยหมอ บรัดเลย์

ซึ่งหมอบรัดเลย์ซื้อลิขสิทธิ์จากอดีตศิษย์ที่เรียนภาษาอังกฤษกับท่าน คือหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เป็นเงิน ๔๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๔

ขอขอบคุณ

wikipedia.org

sakulthai.com 

ส.พลายน้อย.  (2547, กรกฎาคม).  ๒๐๐ ปีหมอบรัดเลย์ชีวิตและ

งานอันยิ่งใหญ่ของชายผู้หนึ่ง.  สารคดี20(233, 82-112).  

สารคดีดอทคอม

สมาคมการพิมพ์ไทย

สำหรับข้อมูลดีๆค้าบ

เฮนรี่ขอฝากเวปไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาสาระไว้มากมาย

เข้าไปอ่านกันได้ฟรีๆค้าบผม.......

 

จิ้ม>>คลับของคนมีคลาส

 

จิ้ม>>Facebook ของ คลับคนมีคลาส

 

ไว้ในอ้อมใจด้วยนะค้าบผม ^_^ 

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

Fo N K i e ❤ 20 ก.ย. 53 เวลา 13:45 น. 2
ตอนแรกเราอ่าน หมด บรัดเลย์

เป็น หมอบ-รัดเลย์ 555

แต่อ่านข้อมูลในชีสของครูเลยรู้ว่าอ่านผิด

แหะ ๆ อายจัง ดีนะเราไม่อ่านให้คนอื่นฟัง ไม่งั้น จบ .

PS.  รั ก เ จ้ า ช า ย แ ก้ ม บุ๋ ม [ G u n N a p a t ]
0
sunisa reaktang 21 ก.ค. 57 เวลา 14:09 น. 6

พี่เฮ็นรี่เข้าใจเด็กมากๆในเรื่องของการเรียนอธิบายระเอียดมากกกกกกกกกกกกขอบคุณค่ะสู้สู้

0