Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ราชสกุล "ณ อยุธยา" เป็นมาอย่างไร???

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 ราชสกุล  อยุธยา – เป็นมาอย่างไร

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล ..2456 ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ..2455 บัญญัติว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้ และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด

สำหรับพระราชวงศ์นั้น ผู้ใดสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรสพระองค์ใดของพระมหากษัตริย์ ก็โปรดให้ใช้พระนามของพระราชโอรสพระองค์นั้นเป็นชื่อราชสกุล เช่น ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระองค์เจ้าชายดารากร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นราชสกุลดารากร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระองค์เจ้าชายกล้วยไม้ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นราชสกุลกล้วยไม้ เป็นต้น

และทรงพระราชดำริว่าเพื่อให้นามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายจากราชตระกูลให้คงอยู่ตลอดไปทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าบรรดานามสกุลสำหรับราชตระกูลให้มีคำว่า " กรุงเทพเพิ่มท้ายนามสกุลนั้นๆ นับแต่วันที่ 1 มกราคม ..2458

ต่อมาทรงพิจารณาว่า คำว่า " กรุงเทพเป็นคำนำหน้ามหานครอันเป็นราชธานี คือนามของพระนครศรีอยุธยา และเมื่อพระราชวงศ์เดิมก็เป็นสกุลหนึ่งในพระนครศรีอยุธยาเมื่อเป็นพระราชธานีเห็นควรจะใช้นามให้ตรงกับมูลเหตุแห่งพระราชพงศาวดาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนาม" กรุงเทพเป็น " อยุธยาแทน

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริว่าในชั้นต้นผู้สืบเชื้อสายราชตระกูลที่ยังมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง สามารถทราบได้ว่าสืบเชื้อสายจากราชตระกูลนั้นๆ จึงไม่ต้องใช้สร้อย " อยุธยาต่อท้าย เพราะมีคำแสดงศักดิ์ในราชตระกูลปรากฏอยู่แล้ว

แต่ผู้ที่สืบราชตระกูลต่อจากหม่อมหลวงลงไปไม่มีฐานันดรศักดิ์อันใดเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายราชตระกูล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้สืบราชตระกูลต่อจากหม่อมหลวงลงมาเพิ่มคำว่า "อยุธยาต่อท้ายนามสกุลนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ..2472 เพื่อให้ราชตระกูลดำรงอยู่ตลอดไป

สำหรับผู้ใช้นามราชสกุลตามมารดา หรือการขอร่วมใช้นามสกุลที่เป็นราชสกุล จะไม่ต่อท้ายด้วย" อยุธยา"

ทั้งนี้ ราชสกุล หมายถึง สกุลที่สืบเนื่องมาจากพระเจ้าแผ่นดินทุกรัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี คือตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ลงมาถึงปัจจุบัน

รัชกาลที่ ราชตระกูล หมายถึง ตระกูลที่สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งโดยตรง และจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นโอรสธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกด้วยกัน สำหรับสายพระพี่พระน้อง หรือเรียก ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือพระปฐมบรมราชวงศ์ คือมิได้สืบสายโดยตรงลงมาจากรัชกาลที่ มี ราชสกุล คือ "เจษฎางกูล,เทพหัสดิน,นรินทรกุล,นรินทรางกูล,มนตรีกุล,อิศรางกูร"

 รัชกาลที่ 1 มี ราชสกุล คือ "ฉัตรกุล,ดวงจักร, ดารากร,ทัพพะกุล,พึ่งบุญ,สุทัศน์,สุริยกุล, อินทรางกูรบวรราชสกุล (วังหลัง-สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขในรัชกาลที่ มี ราชสกุล คือ "ปาลกะวงศ์, เสนีวงศ์บวรราชสกุล (วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ มี ราชสกุล คือ "นีรสิงห์, ปัทมสิงห์, สังขทัต, อสุนี"

รัชกาลที่ 2 มี 20 ราชสกุล คือ "กปิตถา-กล้วยไม้- กุญชร- กุสุมา-ชุมแสง- เดชาติวงศ์- ทินกร- นิยมิศร-นิลรัตน์- ปราโมช –พนมวัน- ไพฑูรย์-มรกฎ-มหากุล-มาลากุล –เรณุนันทน์-วัชรีวงศ์- สนิทวงศ์-อรุณวงศ์- อาภรณ์กุลบวรราชสกุล (วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ มี 10 ราชสกุล คือ "บรรยงกะเสนา- พยัคฆเสนา- ภุมรินทร –ยุคันธร- รองทรง –รังสิเสนา- รัชนิกร- สหาวุธ –สีสังข์- อิศรเสนา"

รัชกาลที่ 3 มี 13 ราชสกุล คือ "โกเมน- คเนจร- งอนรถ –ชมภูนุท- ชุมสาย-ปิยากร- ลดาวัลย์ -ลำยอง –ศิริวงศ์- สิงหรา-สุบรรณ- อรณพ-อุไรพงศ์บวรราชสกุล (วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพในรัชกาลที่ มี ราชสกุล คือ "เกสรา- กำภู- นันทิศักดิ์- อนุชะศักดิ์ -อิศรศักดิ์"

รัชกาลที่ 4 มี 27 ราชสกุล คือ "กมลาศน์-กฤดากร- เกษมศรี- เกษมสันต์- คัคณางค์-จักรพันธุ์–จันทรทัต-จิตรพงศ์ –ชยางกูร-ชุมพล -ไชยันต์ -ดิศกุล –ทวีวงศ์- ทองแถม –ทองใหญ่- เทวกุล -นพวงศ์ -ภาณุพันธุ์ –วรวรรณ-วัฒนวงศ์ -ศรีธวัช –ศุขสวัสดิ์- โศภางค์ –สวัสดิกุล- สวัสดิวัตน์- สุประดิษฐ์ -โสณกุล"บวรราชสกุล (วังหน้า-พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ มี 11 ราชสกุล คือ "จรูญโรจน์-โตษะณีย์- นวรัตน์- นันทวัน-พรหเมศ -ภาณุมาศ –ยุคนธรานนท์-วรรัตน์- สายสนั่น-สุธารส-หัสดินทร์"

รัชกาลที่ 5 มี 15 ราชสกุล คือ "กิติยากร-จักรพงษ์ -จิรประวัติ –จุฑาธุช- ฉัตรไชย-บริพัตรประวิตร- เพ็ญพัฒน์- มหิดล- ยุคล-รพีพัฒน์- รังสิต-วุฒิชัย –สุริยง- อาภากรบวรราชสกุล (วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญในรัชกาลที่ มี ราชสกุล คือ "กาญจนวิชัย- กัลยาณวงศ์-รัชนี –รุจจวิชัย- วรวุฒิ -วิบูลยพรรณ -วิสุทธิ์ –วิไลยวงศ์- สุทัศนีย์"

รัชกาลที่ 7 มี 1ราชสกุล คือ "ศักดิเดชน์ภาณุพันธ์"

(คัดจากคอลัมน์ “รู้ไปโม้ด” นสพ.ข่าวสดรายวัน ฉบับวันที่ 12-13  กันยายน .. 2549 ปีที่ 16ฉบับที่ 5766-5767 โดย nachart@yahoo.com ซึ่งมีผู้ถามมาว่านามสกุลที่มีคำว่า " อยุธยาต่อท้ายมีที่มาอย่างไร มีนามสกุลอะไรบ้าง )

ศึกษาประเทศไทยเพิ่มเติมจาก Wikipedia http://en.wikipedia.org/wiki/Thailand



เครดิต :: http://www.apacnews.net/spreport/king297.htm

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

forgetmenot!!~ 30 ก.ย. 53 เวลา 10:55 น. 1

เคยอ่านในหนังสือถ้าจำชื่อไม่ผิดหน้าจะเป็น'สกุลหลวง' รึอะไรซักอย่าง
ประมาณว่าถ้าใช้ฐานันดรศักดิ์นำหน้าแล้วก็ไม่ต้องใส่ ณ อยุธยา ลงท้าย
แต่ถ้าไม่ได้ใส่ก็เติม ณ อยุธยาเราคิดว่านะ เช่น
คุณปลื้มใส่ฐานันดรฯ ก็ไม่ได้ใส่ ณ อยุธยาอะไรประมาณนั้นมั้ง ><'

0