Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำที่คนไทยมักเขียนผิด และวิบัติที่นิยมใช้กัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คำที่คนไทยมักเขียนผิด และวิบัติที่นิยมใช้กัน


1. สำอาง
แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สำอางค์" ...ควายการันต์(ค์) มาจากไหน?


2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "พากษ์" ที่เขียนกันผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)


3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เท่ห์" ...ติดมาจากคำว่า "สนเท่ห์" รึไงนะ?


4.โล่
แปลว่า เครื่องปิดป้องศัตราวุธ ชื่อแพรเส้นไหมโปร่ง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โล่ห์" สงสัยอยู่ในกรณีเดียวกับคำว่า "เท่"


5. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ผูกพันธ์" ไม่ใช่คำว่า "สัมพันธ์" นะเว้ย


6. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ลายเซ็นต์" ติดมาจาก "เปอร์เซ็นต์" รึเปล่า?


7. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ''อีเมล์" คำนี้ผมก็เขียนผิดบ่อยๆ -*- มันติดอ่ะ


8. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "แก๊งค์" หรือไม่ก็ "แกงค์"
เอ่อ...มันมาจากภาษาอังกฤษคำว่า gang นะ ควายการันต์มาจากไหน?

9. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า "อนุญาต" ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า "ญาติ" รึไง?รู้สึกเหมือนเราเคยอธิบายเกี่ยวกับคำนี้มาก่อนน ะในกระทู้นี้


10. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สังเกตุ" นี่ก็ผิดเยอะพอๆกับคำว่า "อนุญาต"
คงติดมาจากคำว่า "สาเหตุ" ล่ะมั้ง?

11. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า "ออฟฟิส" ไม่ก็ "ออฟฟิต" คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "office" แต่พอมาเป็นภาษาไทยอุตส่าห์ใช้ตัวอักษร "ศ" ให้เท่ๆแล้วเชียว
แต่ทำไมกลับสู่สามัญเป็น "ส" ล่ะ หรือไม่ก็เอาคำว่า "ฟิตเนส" มาปนมั่วไปหมด

12. อุตส่าห์
แปลว่า บากบั่น ขยัน อดทน
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อุดส่า" คำนี้พบไม่บ่อยมากนัก
แต่บางคนสะกดด้วย ต เต่า ถูกแล้วแต่ลืมใส่ บการันต์(ห์)

13. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า "โครต" คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า "เปรต" หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมมันเซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่ร ู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดตามาเป็น "โครต" ในปัจจุบัน

14. ค่ะ

แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า "คะ" คำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ถ้าจะพูดให้เสียงยาวก็เป็น "คะ" ใช้ต่อท้ายประโยคคำถาม แต่บางทีก็ใช้ "ค่ะ" ยัดลงไปเลย


15. เว็บไซต์
แปลว่า (ไม่รู้อ่ะ แต่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "web" แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ "site" แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เวปไซด์" คำว่า "เวป" อาจติดมาจาก "WAP" ซึ่งแปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้ -*-
แต่คำว่า "ไซด์" ที่เขียนผิดอาจมาจากคำว่า "side" ที่แปลว่า ด้านข้าง เห็นด้วย (เกี่ยวอะไรกัน?)

16.โอกาส
แปลว่า ช่อง จังหวะ เวลาที่เหมาะ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โอกาศ" สงสัยติดมาจากคำว่า "อากาศ"


17.เกม
แปลว่า การแข่งขันการละเล่นเพื่อนความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เกมส์"อันนี้เราไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าจะให้มีความหมาย
ในภาษาไทยต้องใช้ "เกม" เพราะมันมาจากคำว่า "game" ในภาษาอังกฤษ


18.ไหม
แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า เป็นคำถาม
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "มั้ย" ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะเพื่อให้เสียงสูงขึ้น
เพราะถ้าใช้คำว่า ไม้ มันจะกลายเป็นอีกคำถ้าใช้ ไม๊ นี่อ่านไม่ออกเลย -*-


อาทิเช่น
"อารัย" = อะไร ไม่ใช่ อาลัย
"ที่นั้น" = ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
"นะค่ะ" = นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
"คับผม" = ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
"หรอ" = เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก "ร่อยหรอ"
"แร้ว" = แล้ว ไม่ใช่ "แร้ว" ที่แปลว่ากับดักนก
"งัย" = ไง
"ครัย" = ใคร
"เกมส์" = เกม ไม่ต้องเติม ส์
"เดล" = เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า "Deal" อ่านว่า "ดีล"
"สาด" = สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
"กวย" = เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
"ไฟใหม้" = ไฟไหม้
"หวัดดี" = สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
"สำคัน" = สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ "สังคัง" ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
"หน้ารัก" = น่ารัก ไม่ใช่ รักเพราะหน้า
"ฆ้อน" = ค้อน ผู้ใช้อาจสับสนกับ "ฆ้อง" ที่เป็นเครื่องดนตรี
"สัสดี" = ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า "สวัสดี"
"555" = เสียงหัวเราะ มาจาก"ฮ่าๆๆ" ดัดแปลงมาเป็น"ห้าห้าห้า"

เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามห ลักภาษาไทย ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ...
ผมเคยเห็นคนเขียนคำเหล่านี้ลงในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า
คำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง




Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ?
เป็น ประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกร รมไทย กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอน

ตัวอย่างเช่น
: ) = ยิ้ม
XD = ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) = ยิ้มขยิบตา
-_- = ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; = ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, = ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL = ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้

orz = เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/gg = giggle หรือหัวเราะขำขัน
olo = อวัยวะเพศชาย
[๐ ๐] = C = เมก้าซาวะ 


เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด

เกม ออนไลน์ แมสเสจมือถือ หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียงและยอมรับภาษา Emotical กันอยู่ ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่ว ไปอ่าน ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลกหากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือ เป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใ หม่เลยทีเดียว

แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมข องประเทศ

ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศน ั้นๆ หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้นทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววัน 

ดั่งหลักการ "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป" การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่น่ากลัว ภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้ เสมอ

หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร 
การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ ต้องกระทำตั้งแต่ตอน นี้ 

สุดท้ายนี้
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบั ติๆ นะครับเพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก
โดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูก เดี๋ยวก็หายครับ


fw mail



แก้ขอสงสัย คห.2 นะคะ

สมมุติ กับ สมมติ ใช้คำใหน ถึงจะถูกต้อง

สมมุติ,สมมติ
                คำว่า สมมติ /สม-มุด/ มักใช้ร่วมกับคำว่า  ว่า  เพื่อเป็นคำเชื่อมแสดงเงื่อนไง คำว่า สมมติ(ว่า) มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า ถ้าหาก(ว่า)  เป็นอย่างมาก แต่เมื่อใช้คำว่า สมมติ(ว่า) จะแสดงน้ำเสียงที่เป็นทางการ จริงจัง หนักแน่นมากกว่าใช้คำเชื่อมอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน เช่น

๑. สมมุติว่า ป่าไม้ถูกทำลายจนหมด มนุษย์คงอยู่ไม่ได้

เปรียบเทียบกับ

๒.  ถ้าป่าไม้ถูกทำลายจนหมด มนุษย์คงอยู่ไม่ได้

  
ความแตกต่างระหว่างประโยคตัวอย่างที่ ๑ กับ ๒ อยู่ที่ ประโยคตัวอย่างที่ ๑ (ใช้คำว่า สมมุติว่า) แสดงความเป็นทางการ และแสดงน้ำเสียงหนักแน่น จริงจัง กว่าประโยคตัวอย่างที่ ๒ (ใช้คำว่า ถ้า)

อย่างไรก็ตาม บางกรณี คำว่า สมมุติ(ว่า) , ถ้า , หาก(ว่า), ถ้าหาก(ว่า), ก็สามารถใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ เช่น

๓. สมมุติว่าเขาไม่มาตามนัด ช่วยโทรแจ้งผมด้วย

๔.    ถ้าเขาไม่มาตามนัด ช่วยโทรแจ้งผมด้วย

๕.    หากเขาไม่มาตามนัด ช่วยโทรแจ้งผมด้วย

๖.     ถ้าหากว่าเขาไม่มาตามนัด ช่วยโทรแจ้งผมด้วย

  
ประโยคตัวอย่างที่ ๓-๖ สามารถใช้แทนกันได้

นอกจากนี้ คำว่า สมมุติ ยังสามารถใช้เป็นคำขยายคำนามได้ เมื่อใช้เป็นคำขยายคำนามจะมีความหมายว่า “สร้างขึ้น, กำหนดขึ้น, ไม่เป็นเช่นนั้นจริง” เช่น

  
บุคคลสมมุติ หมายถึง  “บุคคลที่ถูกปั้นแต่งขั้นมา ไม่มีตัวตนจริงๆ”

เช่น

-          นิติบุคคลคือ บุคคลสมมุติที่มีสิทธิ์เฉกเช่นบุคคลธรรมดาแต่ไม่มีหน้าที่อย่างบุคคลธรรมดา

เรื่องสมมติ หมายถึง “เรื่องที่กุขึ้นมา” เช่น

-          ภาพยนตร์แต่ละเรื่องเป็นเพียงเรื่องสมมุติ ไม่ควรยึดเป็นจริงเป็นจัง

  
บทบาทสมมุติ หมายถึง “บทบาทที่กำหนดให้มีขึ้นทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วไม่มี” เช่น

-          ครูให้นักเรียนออกไปแสดงบทบาทสมมุติเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ


             สมมุติเทพ หมายถึง “เทพโดยการยอมรับนับถือ, ไม่ใช่เทพจริงๆ”
-          ความคิดว่ากษัตริย์มีฐานะเป็นสมมุติเทพ เป็นความคิดที่หลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมาจากศาสนาฮินดู

  
คำว่า “สมมุติ” เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า สมมติ /สัมมะติ/ แปลว่า “ความคิดเห็น” นอกจากรูปคำ สมมุติ /สม-มุด/ ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางแล้ว ภาษาไทยยังใช้รูป สมมติ /สม-มด/ ด้วย

                รูป สมมติ  /สม-มด/ เป็นรูปที่ใกล้เคียงกับรูปในภาษาบาลี-สันสกฤตเดิมมากว่า สมมุติ ตามอักขรวิธีของไทย ถ้าเขียนว่า สมมติ ก็น่าจะอ่านว่า /สม-มด/ แต่เนื่องจาก สมมติ / สม-มด/ ทั้งพยางค์ ที่ ๑ และ ๒ ออกเสียงสระเหมือนกัน คือ สระ/โอะ/จึงเกิดการผลักดันเสียงสระ/โอะ/ในพยางค์ที่ ๒ ให้กลายเป็นสระที่แตกต่างออกไป กลายเป็นสระที่ลิ้นส่วนหลังยกสูงขึ้นไปอีก คือสระ /อุ/ คำว่า สมมติ /สม-มุด/ จึงออกเสียงเป็น /สม-มุด/ เมื่อออกเสียง/สม-มุด/ แล้ว จึงเขียนเป็น สมมุติ ไปด้วย

            พจนานุกรมฉบัยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ยอมรับทั้งรูป สมมติ และ สมมุติ เป็นรูปที่ถูกต้อง แต่คนทั่วไปเมื่อใช้คำนี้ในภาษาเขียนที่เป็นทางการมีกใช้รูป สมมติ มากกว่ารูป สมมุติ แต่ในการสนทนา แทบจะไม่มีใครออกเสียงว่า /สม-มด/ เลย ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น /สม-มุด/ กันทั้งสิ้น คำว่า สมมติ หรือ สมมุติ จึงกลายเป็นคำที่แปลกคำหนึ่งในภาษาไทย เวลาเขียน มักเขียนว่า สมมติ แต่เวลาพูดมักพูดว่า สมมุติ /สม-มุด/


สมมุติฐาน ,   สมมติฐาน


                เนื่องจากคำว่า  สมมติ /สม-มด/ กับ สมมุติ /สม-มุด/ เวลาเขียนอย่างเป็นทางการมักใช้คำว่า สมมติ แต่เวลาพูด คนทั่วไปมักพูดว่า /สม-มุด/ ทำให้คำที่เราสร้างขึ้นเพื่อใช้แทนภาษาอังกฤษว่า hypothesis มีรูปที่แตกต่างกันเป็น ๒ รูป คือ สมมติฐาน /สม-มด-ติ-ถาน/ กับ สมมุติฐาน /สม-มุด-ติ-ฐาน/ ไปด้วย และทำนองเดียวกัน เวลาเขียนนิยมเขียนว่า สมมติฐาน แต่เวลาใช้ในการสนทนามักพูดว่า สมมุติฐาน /สม-มุด-ติ-ถาน/

                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ยอมรับทั้งรูป สมมติฐาน และ สมมุติฐาน ว่าเป็นรูปที่ถูกต้อง

                สมมติฐาน หรือ สมมุติฐาน มีความหมายว่า “ข้อสันนิฐานเบื้องต้นที่ตั้งขึ้นจากการสังเกตก่อนลงมือวิเคราะห์ทดลองตาม หลักวิชา” ภายหลังจากวิเคราะห์ทดลองไปแล้ว ข้อสรุปไปได้อาจตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ก็ได้ สมมติฐานเป็นกระบวนการที่สำคัญประการหนึ่งในการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์   




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2553 / 21:02

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

sss 3 พ.ย. 53 เวลา 20:47 น. 1

โอกาส กับ หงส์ เจอบ่อยสุดละ ชอบเขียนเป็น โอกาศ ส่วน หงส์ชอบเขียนว่าหงษ์กัน สงสัยเอามาจากคำว่า หงษ์ทอง

0
Pretty Husky 3 พ.ย. 53 เวลา 20:50 น. 2

 งั้นผมก็ใช้ถูกเกือบหมดเลยอ่ะจิ


สงสัยคำว่า สมมติ อ่ะคับ เห็นบางคนก็ใช้ สมมุติ

ไม่ทราบว่า อันไหนถูกต้อง

0
123 8 พ.ย. 53 เวลา 11:37 น. 4

555 มันก็หยวนๆได้น่า จะให้พิมพ์ว่า ห้าห้าห้าหรอ?  = =
อย่างเช่น พี่ตุ๊กกี้ตลกมากเลย ห้าห้าห้า  คุณให้ความรู้สึกยังไง?

0
อุุฟ 1 ธ.ค. 57 เวลา 19:30 น. 5

ขอบคุณค่ะ ตอนเรียนอาจรย์ชอบเขียนว่า สมมุติ แต่ตัวเราชอบเขียน สมมติ จึงไม่แน่ใจว่า เรา หรือ อาจารย์เขียนผิดเยี่ยม

0
บาลาบา 25 ธ.ค. 57 เวลา 22:29 น. 6

เราว่าจริงๆ มันต้องมีคำไหนผวนมาอีกที =_=
อย่างเราว่ามันคือ สมมติ เป็นคำเเรก และอ่าน สม-มัด แต่พออ่านเร็วก็แปลไปเป็นสมมุติ
แต่ก็เป็นแค่เราคิดนะจริงๆ ไม่จริงต้องถามพ่อขุนรามอีกกที

0
Kradortork 29 ก.ค. 61 เวลา 22:09 น. 7

การให้คำแนะนำ คำไทยที่ถูกต้อง เจ้าของโพสต์ ควรตรวจทานสิ่งที่ตัวเองพิมพ์ด้วย ไม่ควรมีคำผิดเลยแม้แต่คำเดียวhttps://image.dek-d.com/27/0757/7145/127229086

0