Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[กว่าจะเป็นหนังสือ]2. หมึก และเครื่องจักรในโรงพิมพ์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
แน่นอนว่าเมื่อเรามีกระดาษแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพิมพ์ตัวอักษร รูปภาพเนื้อหาทั้งหลายให้กลายมาเป็นหนังสือเล่ม มีขั้นตอนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนหลายกระบวนการ หากแต่ปัจจุบันได้มีเครื่องจักรที่สามารถรวบขั้นตอนทั้งหมดในครั้งเดียวได้แล้ว

ประวัติศาสตร์ของหมึกและการพิมพ์แบบคล้ายคลึงกับปัจจุบันเกิดขึ้นในประเทศจีนเช่นเดียวกับกระดาษเดิมทีการเขียนตัวอักษรจะใช้สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติเช่น สีจากครั่ง, ถ่าน หรือแม้กระทั่งเลือดสัตว์ หรือใช้เหล็กเผาไฟจารลงบนวัสดุบันทึก แต่ในราวปี 256 ก่อนคริสตกาล ยุคเลียดก๊ก ปราชญ์แห่งแคว้นฉู่ได้คิดค้นทำหมึกแท่งขึ้นโดยใช้รากไม้ที่ให้สีดำ ผงถ่านและกาวหนังสัตว์ ผสมแล้วปั้นให้ขึ้นรูป เมื่อใช้ก็ละลายน้ำแล้วจึงเขียนหรือพิมพ์

โครงสร้างของหมึกที่ใช้ในงานพิมพ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลงมานับแต่นั้น อันประกอบด้วย
1. สารให้สี (Colorant) ได้แก่ เม็ดสี(Pigment), สีย้อม(Dye) เพื่อให้สีต่างๆแก่หมึก
2. สารยึดเหนี่ยว(Vehicle/binder) ได้แก่ กาว, พลาสติก เพื่อให้หมึกยึดตัวกับพื้นผิววัตถุที่ต้องการให้หมึกติด
3. สารเพิ่มเติม (Additive) เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆเช่น การแข็งตัว, กันบูดเน่า, กลิ่นหอม
4. ตัวกลางนำ (Carrier substance) เพื่อทำให้สารทั้งหมดรวมตัวกันและใช้งานได้ เช่น น้ำ น้ำมัน ไขมัน

สารให้สีของหมึกประกอบด้วยสารประกอบของโลหะหนักหลายชนิดที่ให้สีสันแตกต่างกันไป เช่น แคดเมียม โครเมียม ซึ่งแร่โลหะหนักที่ใช้ทำหมึกเหล่านี้จะถูกขุดขึ้นจากเหมืองต่างๆในทวีปแอฟริกา เช่น แทนซาเนีย ซูดาน หรือในทวีปอเมริกาใต้เช่นที่โบลิเวีย ชิลี ก่อนที่จะถูกขนส่งไปผลิตผสมกับสารประกอบส่วนอื่นๆในโรงงานผลิตหมึก โดยมากบริษัทผลิตหมึกชื่อดังจะเป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน หรือญี่ปุ่น เช่น สเต็ดเลอร์, มิตซูบิชิ ปัจจุบันโรงงานหมึกอุตสาหกรรมเพื่อการพิมพ์จำนวนมากได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่ประเทศจีน

เนื่องจากอุตสาหกรรมหมึกพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมหนักที่ก่อมลภาวะ และส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการพิมพ์ ทำให้ทุกวันนี้มีความพยายามคิดค้นหมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ คือหมึกพิมพ์ที่ผลิตจากถั่วเหลืองขึ้นด้วยวิธีการคล้ายคลึงกับการผลิตซีอิ๊ว แต่เพิ่มสารยึดเหนี่ยวและกันเสียลงในหมึกถั่วเหลืองเหล่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ในอนาคตหากไม่ถูกระบบดิจิตอลตีตลาดจนหมดเสียก่อน

เมื่อมีหมึกแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการพิมพ์หนังสือก็จะเข้าสู่แท่นพิมพ์หรือเครื่องพิมพ์ แม้ว่าการพิมพ์จะคิดค้นขึ้นครั้งแรกในจีนและแพร่ขยายเข้าไปสู่ประเทศญี่ปุ่น ดังปรากฏหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกคือ ปรัชญาปารมิตา วัชรเจติยญาณสูตร ในสมัยราชวงศ์ถังราวศตวรรษที่ 5 และใบปลิวบทสวดป้องกันโรคห่าของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 12 แต่การพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนตัวอักษรได้ ซึ่งตัวพิมพ์สามารถเรียงพิมพ์ ถอดซ่อมแซม หลอมและสร้างใหม่ เกิดขึ้นในเยอรมันยุคต้นเรอเนสซองส์ จากผลงานของโยฮันเนส กูเตนแบร์ก ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลฉบับกูเตนแบร์กนั้นถือเป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทั้งทางราคาและประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากกูเตนแบร์กได้ทำให้คัมภีร์ศาสนาหรือตำราความรู้ใดๆถูกเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปโดยไม่ถูกผูกขาดจากชนชั้นขุนนางหรือวัดวาอาราม เป็นปัจจัยหนึ่งของการปฏิรูปศาสนาโดยมาร์ติน ลูเธอร์ ในที่สุด

ประเทศไทยรับเอาการพิมพ์มาใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยสั่งแท่นพิมพ์นำเข้าจากประเทศอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งมิชชันนารีอเมริกันใช้พิมพ์ทั้งคัมภีร์ศาสนาและเรื่องทั่วไป บิดาของการพิมพ์ไทย นพ. แดน บีช บรัดเลย์ หรือหมอปลัดเล ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่วัดเกาะ (บางคอแหลม ปทุมวัน ปัจจุบัน) ออกหนังสือพิมพ์บางกอกเรคอร์เดอร์ และต่อมานพ. สมิธ ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์กลอนของสุนทรภู่ขายให้ประชาชนอ่านจนเป็นธุรกิจสร้างความร่ำรวย ส่วนสมเด็จพระจอมเกล้าฯเองก็นำเข้าแท่นพิมพ์มาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก และออกราชกิจจานุเบกษาเพื่อกระจายข่าวสารทางราชการ

ทุกวันนี้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าเครื่องจักรกลการพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ โดยมากจากประเทศเยอรมนี, เดนมาร์ก และอเมริกา แท่นพิมพ์ตามโรงพิมพ์ใหญ่ๆเช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้อ เมน โรแลนด์ ของประเทศเยอรมนี ซึ่งเราจะเห็นข่าวดารานักแสดงไปเยี่ยมชมแท่นพิมพ์บ่อยๆ

แท่นพิมพ์อาจแบ่งประเภทได้ใหญ่ๆ 3 ประเภท ได้แก่
1. แท่นพิมพ์ฉับแกระ (Letterpress) เป็นแท่นพิมพ์แบบโบราณพัฒนาจากแท่นพิมพ์ของกุเตนแบร์ก ใช้น้ำหนักของแท่นพิมพ์กดทับหมึกลงไปให้เกิดอักษร ปัจจุบันหายากแล้ว เหลือเฉพาะตามโรงพิมพ์เล็กๆในต่างจังหวัด
2. แท่นพิมพ์ออฟเซ็ต (Off-set) เป็นแท่นพิมพ์ที่ใช้ระบบลูกกลิ้งสองม้วน ลูกกลิ้งม้วนหนึ่งจะมีน้พุหมึกพ่นใส่เพลท ส่วนอีกลูกหนึ่งจะเป็นตัวนำหมึกบนเพลทนั้นถ่ายเทสู่กระดาษหรือวัตถุที่ต้องการพิมพ์ แท่นพิมพ์แบบนี้จะมีช่องใส่หมึกเฉพาะที่ต้องผสมสารตัวนำ เช่นน้ำหรือน้ำมันสังเคราะห์ ช่างผสมหมึกในเครื่องพิมพ์ถือเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและอันตรายจากโลหะหนักในหมึกมาก แท่นพิมพ์แบบนี้ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ส่วนใหญ่ เนื่องจากสามารถนำเพลทกลับมาใช้ได้อีก และต้นทุนต่อหน่วยต่ำหากพิมพ์ปริมาณมาก
3. แท่นพิมพ์ดิจิตอลเลเซอร์(Laser digital) เป็นแท่นพิมพ์ที่สั่งการโดยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแก้ไขงานพิมพ์ได้สะดวกและรวดเร็ว แต่มีต้นทุนต่อเล่มสูง โดยมากใช้ในงานพิมพ์จำนวนน้อย หรืองานพิมพ์ on-demand

กระดาษจะถูกป้อนเข้าสู่แท่นพิมพ์เป็นม้วนๆ พ่นหมึกหรือพิมพ์ข้อมูลตามที่ตั้งค่าเรียงพิมพ์ไว้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการตัดหน้า ซึ่งจะกล่างถึงในตอนต่อไป

PS.  In omnibus requiem quaesivi, et nusquam inveni nisi in angulo cum libro.

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

จิ้ง 22 ธ.ค. 53 เวลา 14:47 น. 1

มีรายละเอียดเพิ่มเติมของเพลทอีกไหมครับ *-*


PS.  ARTHUR FLY : อาเธอร์ ฟลาย ฝากนิยายทำมือเรื่องที่ 3 ของผมด้วยครับ
0
shiroro 22 ธ.ค. 53 เวลา 15:02 น. 2


รูปนี้ถ่ายมาจาก พิพิธภัณฑ์ที่ัวัดเกตการาม เชียงใหม่
เครื่องปรุกระดาษไขชนิดมือหมุน ยี่ห้อ เก็สเต็ตเนอร์ ในเวลานี้  บริษัทนี้ ได้ถูกเทคโอเวอร์ไปแล้ว

มายุคนี้ ดิจิตอล ใช้หมึกหลอด กระดาษไขเป็นมัวนเป็นแม่พิมพ์ หน้าตาคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร


ที่มา http://www.risosa.co.za/riso.aspx

เช่นเครื่องพิมพ์สำเนาระบบดิจิตอล ยี่ห้อ ริโซ่ เป็นต้น พิมพ์ขาว-ดำ ถ้าจะพิมพ์สี ก็ต้องอาศัยลูกโมในการเปลี่ยนสี (ลูกโม เป็นตัวทำต้นฉบับ ทำเอกสารลงในกระดาษมาสเตอร์)

ต้นทุนต่อครั้งถูกกว่าเครื่องถ่ายเอกสาร ในกรณีที่พิมพ์จำนวนมากๆ แต่ในขณะเดียวเครื่องถ่ายเอกสาร ก็มาแรงใช่ย่อย






PS.   vbvb World of Warcraft Classes Rogue Hail~ Megatron!
0
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ 22 ธ.ค. 53 เวลา 15:03 น. 3

@1

เพลทการพิมพ์ พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1970 เมื่อการพิมพ์แบบเล็ตเตอร์เพรสใช้ตะกั่วในการเรียงพิมพ์จำนวนมากและยุ่งยาก ใช้เวลาเรียงพิมพ์นาน อีกทั้งยังำพบว่าตะกั่วเป็นสารก่อมะเร็ง ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ตโดยใช้เพลทจึงเข้ามาแทนที่

เพลททำจากโลหะผสม โดยมาทำจากอลูมิเนียมดัดให้เป็นแผ่นโค้ง แล้วเคลือบวัสดุกันน้ำลงไป เมื่อจะจัดทำเพลทในการพิมพ์แต่ละครั้ง จะใช้ความร้อน กรด หรือเลเซอร์กัดให้เพลทนั้นขึ้นรูปตัวอักษรหรือภาพที่ต้องการ ก่อนจะนำไปม้วนเข้ากับลูกกลึงในเครื่องพิมพ์

เมื่อเพลทสัมผัสกับหมึกพิมพ์ ส่วนที่กันน้ำจะรีดเอาน้ำหมึกออก เหลือเพียงหมึกติดอยู่บริเวณที่เป็นตัวหนังสือ เพลทจะหมุนเข้าไปพิมพ์ในลูกกลิ้งรอง ก่อนจะพิมพ์ลงบนกระดาษอีกหนหนึ่ง การพิมพ์แบบนี้ทำให้เพลทไม่ต้องทำสลับซ้ายขวาเหมือนในกระจกเพราะเป็นการพิมพ์ถ่ายทอดสองหน จึงเรียกว่า ออฟ-เซ็ต

@2

ขอบคุณคุณ shiroro ที่เข้ามาเพิ่มเติมภาพให้ครับ
โม ที่ว่านี้เป็นศัพท์เฉพาะในวงการพิมพ์ ซึ่งมาจาก Mold หรือแม่แบบพิมพ์นั่นเอง โมในเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตคือลูกกลิ้งอันรองที่รับน้ำหมึกจากเพลทก่อนจะลงกระดาษครับ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 22 ธันวาคม 2553 / 15:17


PS.  In omnibus requiem quaesivi, et nusquam inveni nisi in angulo cum libro.
0
shiroro 22 ธ.ค. 53 เวลา 15:36 น. 4

บริษัท ที่ทำงานอยู่ขายเครื่องแนวนี้อยู่พอดี แถมพ่อก็เคยเป็นพนักงานบริษัทเก็สเต็ตเนอร์มาก่อน ก็เลยคุ้นเคยกับยี่ห้อนี้อยู่บ้าง

  ลูกโม (ลูกดรัม สร้างภาพ)

แถมกระดาษไขมาสเตอร์กะหลอดหมึกให้ดู



กระดาษไขนี่มองดูแล้วจะคล้ายกับกระดาษห่อทุเรียนในความคิดของเรานะ แต่อย่าไ้ด้เอาไปห่อเชียวละ ม้วนหนึ่งทำต้นฉบับได้ 250 ต้นฉบับ



หมึกพิมพ์สีดำ หลอดหนึ่งพิมพ์ได้ 25000 แผ่น หลอดเปล่า บ.ริโซ่รับไปรีไซเคิลมาเป็นโต๊ะเก้าอี้ให้น้องๆนร.ต่างจ.ได้ใช้


ตอนนี้เครื่อง ริโซ่ เรียกว่า Comcolor สามารถพิมพ์สี่สี่ได้ในเวลาเดียวกัน โดยใช้ระบบพ่นหมึกคล้ายระบบพิมพ์อิงค์เจ็ท ตัวใหญ่สุดของรุ่นนี่เข้าเล่มเย็บแม็คได้ด้วย (อยากได้แต่ไม่มีตังค์ซื้อ แพงกว่ารถยนต์อีก)


PS.   vbvb World of Warcraft Classes Rogue Hail~ Megatron!
0
Scheherazade 22 ธ.ค. 53 เวลา 15:41 น. 5

วิดิโอคลิปค่ะ ถ้าเว็บบอร์ดแชร์ได้สะดวกๆ เหมือนใน fb ก็ดีเนอะ

สาธิตการใช้เครื่องพิมพ์สี่สี (ทดลองเพลท)


PS.  Who has never tasted what is bitter does not know what is sweet.
0
จิ้ง 22 ธ.ค. 53 เวลา 15:56 น. 6

#4 เครื่องข้างล่างนั้นประมาณราคาให่หน่อยได้ไหมครับ (ไม่มีเงินซื้อหรอกครับ แต่อยากรู้ -w-)


PS.  ARTHUR FLY : อาเธอร์ ฟลาย ฝากนิยายทำมือเรื่องที่ 3 ของผมด้วยครับ
0
shiroro 22 ธ.ค. 53 เวลา 16:23 น. 7

ตัวเล็กของรุ่นคอมคัลเลอร์ ถ้าจำไม่ผิด หกแสนหรือสี่แสนราวๆนี้ รุ่นใหญ่ตามรูปนั่น ถ้าจำแบบพลาดๆ ล้านอัพ อย่างแน่นอน

แต่ที่เจ๋งคือ หมึกสี่สีพิมพ์ตามธรรมชาติ คิดจากขนาดเนื้อที่ 40% ตกแผ่นละบาท


PS.   vbvb World of Warcraft Classes Rogue Hail~ Megatron!
0
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ 22 ธ.ค. 53 เวลา 16:54 น. 8

เดี๋ยวนี้มีบริการให้เช่าอุปกรณ์สำนักงานพวกเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ด้วยนะ ไม่ต้องซื้อเอง จ่ายค่าเช่าเอา

ส่วนแท่นพิมพ์ระดับโรงพิมพ์ใหญ่ๆนั่น.. 10 ล้านอัพ


PS.  In omnibus requiem quaesivi, et nusquam inveni nisi in angulo cum libro.
0
shiroro 22 ธ.ค. 53 เวลา 17:10 น. 9

นั่นแหละ ให้เช่า เครื่องมือสอง ที่บริษัทก็ทำอยู่

มือหนึ่งก็มี แต่บอกเลยว่าไม่คุ้ม ต้องระยะยาว ช่วงนี้ถือว่าคนใช้คุ้ม


PS.   vbvb World of Warcraft Classes Rogue Hail~ Megatron!
0
~r@kIa~ 22 ธ.ค. 53 เวลา 19:42 น. 11

เข้ามาอ่านตอนสอง และรอตอนสามค่า


PS.  There's no logic in your arguments, if one doesn't listen, doesn't open up, we can't find the answer. Drifting never ends.
0