Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มสาระคณิตฯ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
1. การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 1.1 นักเรียนระดับชั้น ป.1- ป.3 1.2 นักเรียนระดับชั้น ป.4 - ป.6 1.3 นักเรียนระดับชั้น ม.1 - ม.3 1.4 นักเรียนระดับชั้น ม.4 - ม.6 2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 2.1 แข่งขัน ประเภทเดี่ยว 2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ 1 คน 3. วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน 3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอนจำนวน 1 คน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด 3.2 กิจกรรมการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันต้องทำแบบทดสอบวัดสมรรถภาพ 4 สมรรถภาพ คือ - ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ - ทักษะการคิดเร็ว - ทักษะการคิดคำนวณ - ทักษะการแก้โจทย์ปัญหา 3.3 แบบทดสอบในแต่ละระดับชั้นใช้เนื้อหาคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และของ สสวท. นักเรียนที่เข้าแข่งขันทุกะดับชั้น ทำแบบทดสอบทั้งหมด 4 ฉบับ รายละเอียด ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ แบบ 4 ตัวเลือก วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ เวลา 30 นาที ฉบับที่ 2 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ วัดทักษะการคิดเร็ว จำนวน 20 ข้อ เวลา 10 นาที ฉบับที่ 3 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ วัดทักษะการคิดคำนวณ จำนวน 20 ข้อ เวลา 40 นาที ฉบับที่ 4 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ วัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาจำนวน 15 ข้อ เวลา 45 นาที 4. เกณฑ์การให้คะแนน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ แบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนนรวม 30 คะแนน ฉบับที่ 2 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ จำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 20 คะแนน ฉบับที่ 3 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ จำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 20 คะแนน ฉบับที่ 4 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ จำนวน 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 30 คะแนน หมายเหตุ แบบทดสอบฉบับที่ 3และฉบับที่ 4 ให้ผู้ออกข้อสอบระบุหน่วยไว้ด้วย เช่น บาท เซนติเมตร วา ฯลฯ 5. เกณฑ์การตัดสิน ถ้าคะแนนรวมเท่ากัน ให้พิจารณาตัดสินจากคะแนนแบบทดสอบฉบับที่ 4 ฉบับที่ 3 ฉบับที่ 2 และ ฉบับที่ 1 ตามลำดับ แล้วนำคะแนนรวมมาคิดเทียบเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้ ร้อยละ 80 - 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ร้อยละ 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ร้อยละ 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง ได้ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด 6. คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3 – 5 คน คุณสมบัติของคณะกรรมการ - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์ ข้อควรคำนึง - กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน - กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน - กรรมการควรมาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถาบันการศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย - กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3 สถานที่ทำการแข่งขัน ควรใช้ห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้ ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน หมายเหตุ 1. ในการสอบแข่งขันไม่อนุญาตให้นำเครื่องคิดเลขหรืออุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เข้าไปในห้องแข่งขัน 2. กรรมการคุมสอบแจกกระดาษทดให้ในห้องสอบ และห้ามนำออกจากห้องสอบ 7. การเข้าแข่งขันระดับชาติ การแข่งขันแต่ละระดับชั้น ผู้เข้าแข่งขันที่ได้ลำดับที่ 1-3 ระดับภูมิภาค เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันระดับประเทศ ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ 2. การแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 1.1 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6 1.2 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3 1.3 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6 2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 3 คน 2.2 เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม และเลือกเพียง 1 ประเภทโครงงานเท่านั้น 3. วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน 3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานทีมละ 2 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด 3.2 รายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน โครงงานที่เข้าร่วมแข่งขันมี 4 ประเภท ดังนี้ 1) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภททดลอง 2) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล 3) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ 4) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบาย 3.3 โรงเรียนสามารถส่งโครงงานเข้าแข่งขันประเภทใดก็ได้ โดยจะแข่งขันโครงงานประเภทเดียวกัน 3.4 ส่งรายงานโครงงานเป็นรูปเล่ม ล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน 1 สัปดาห์ โครงงานละ 5 ชุด 3.5 นำแผงโครงงานมาแสดงตามเกณฑ์มาตรฐาน 3.6 อุปกรณ์อื่นๆที่นำมาสาธิตอาจวางบนโต๊ะ โดยไม่ยื่นออกมาจากโต๊ะเกิน 60 ซม. 3.7 นำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการและตอบข้อซักถามใช้เวลาประมาณ 10 นาที 3.8 สื่อ ผู้ส่งโครงงานเข้าแข่งขันจัดเตรียมมาเอง 3.9 พื้นที่จัดวางแผงโครงงาน คณะกรรมการจัดให้เท่ากันไม่เกิน 1.50 ม. × 1.00 ม. 4. เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน 4.1 การกำหนดหัวข้อโครงงานสอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา 5 คะแนน 4.2 ความสำคัญของโครงงาน 10 คะแนน 4.3 จุดมุ่งหมาย และสมมติฐาน(ถ้ามี) 10 คะแนน 4.4 เนื้อหา ความสอดคล้องเหมาะสมถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ 15 คะแนน 4.5 วิธีดำเนินงานและผลที่ได้รับ 10 คะแนน 4.6 ขนาดแผงโครงงานและการแสดงผลงานตามเกณฑ์มาตรฐาน 10 คะแนน 4.7 การนำเสนอปากเปล่า 10 คะแนน 4.8 การตอบข้อซักถาม 10 คะแนน 4.9 การเขียนรายงานโครงงานถูกต้องตามรูปแบบ 10 คะแนน 4.10 การนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า 5 คะแนน 4.11 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5 คะแนน 5. เกณฑ์การตัดสิน ร้อยละ 80 - 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ร้อยละ 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ร้อยละ 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด 6. คณะกรรมการการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3 – 5 คน คุณสมบัติของคณะกรรมการ - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสามารถด้านโครงงาน - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์ ข้อควรคำนึง - กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน - กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน - กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย - กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3 สถานที่ทำการแข่งขัน ควรใช้ห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้ ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน 7. การเข้าแข่งขันระดับชาติ 7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน ในระดับชาติ 7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของการให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 4.1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 4.2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 4.2 มากกว่าถือเป็น ผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 4.2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และโครงงานคณิตศาสตร์ รายละเอียดในเล่มประกอบด้วย บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญตาราง สารบัญรูปภาพ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ ความยาวไม่เกิน 20 หน้า บทที่ 4 ผลการดำเนินการ บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินการ /อภิปรายผลการดำเนินการ ภาคผนวก ไม่เกิน 10 หน้า บรรณานุกรม หมายเหตุ 1. ขนาดของกระดาษเขียนรายงานให้ใช้กระดาษพิมพ์ ขนาดเอ 4 พิมพ์หน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 20 หน้า เฉพาะบทที่ 1-5 รวมสรุปผลการดำเนินการ อาจมีภาคผนวกได้อีกไม่เกิน 10 หน้า และทำรายงานส่งจำนวน 5 ชุด (ส่งให้กรรมการก่อนการแข่งขัน) 2. รายงานฉบับใดที่มีความยาวเกินกว่าที่กำหนดจะถูกตัดคะแนน 3. ผลงานสร้างสรรค์คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 1.1 นักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6 1.2 นักเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3 1.3 นักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6 2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน 2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม 3. วิธีดำเนินการแข่งขัน และรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน 3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน ทีมละ 2 คน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอน 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด 3.2 กำหนดโจทย์การแข่งขัน จำนวน 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 100 คะแนน 3.3 เวลาที่ใช้แข่งขัน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที 4. เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน กำหนดรายละเอียด ดังนี้ 4.1โจทย์แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ GSP จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวม 80 คะแนน ซึ่งแต่ละข้อใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ 1) ความสมบูรณ์และถูกต้องของผลงาน 10 คะแนน 2) ขั้นตอนไม่ซับซ้อน 5 คะแนน 3) ความสวยงาม (รูปร่าง รูปทรง สี และความสมดุลของภาพ) 5 คะแนน 4.2โจทย์กำหนดให้ใช้เครื่องมือที่กำหนดให้สร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ข้อ 20 คะแนน 1) มีความเป็นพลวัต(เคลื่อนที่ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้)มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 10 คะแนน 2) มีการนำเสนอที่สื่อความหมายได้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง 10 คะแนน 5. เกณฑ์การตัดสิน ร้อยละ 80 - 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ร้อยละ 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ร้อยละ 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด 6. คณะกรรมการการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3 – 5 คน คุณสมบัติของคณะกรรมการ - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - เป็นครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเชี่ยวชาญโปรแกรม GSP - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์ ข้อควรคำนึง - กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน - กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน - กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย - กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3 สถานที่ทำการแข่งขัน ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน 7. การเข้าแข่งขันระดับชาติ 7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน ในระดับชาติ 7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของการให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็น ผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และโปรแกรม GSP 4. การแข่งขันคิดเลขเร็ว 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 1.1 นักเรียนระดับชั้น ป.1- ป.3 1.2 นักเรียนระดับชั้น ป.4 - ป.6 1.3 นักเรียนระดับชั้น ม.1 - ม.3 1.4 นักเรียนระดับชั้น ม.4 - ม.6 2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 2.1 แข่งขันประเภทเดี่ยว 2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ 1 คน 3. วิธีดำเนินการและหลักเกณฑ์การแข่งขัน 3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอนระดับชั้นละ 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด 3.2 สุ่มตัวเลขจากโปรแกรม GSP เป็นโจทย์และผลลัพธ์ แล้วใช้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ถอดราก เพื่อหาผลลัพธ์ ในระดับชั้น ม.4- ม.6 ให้เพิ่ม ซิกมา และแฟกทอเรียล (ในการถอดราก ถ้าเป็นรากอื่น ไม่ใช่รากที่ 2 ต้องใส่อันดับของรากจากตัวเลขที่สุ่มมา) และต้องใช้ตัวเลขให้ครบทุกตัว โดยใช้ได้ตัวละ 1 ครั้ง ซึ่งตัวเลขที่สุ่มได้ต้องไม่ซ้ำเกิน 2 ตัว และเลข 0 ต้องมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น 3.3 จัดแข่งขัน 2 รอบ ดังนี้ ระดับชั้น ป.1-ป.3 รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 3 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก ระดับชั้น ป.4-ป.6 รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก ระดับชั้น ม.1-ม.3 รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก ระดับชั้น ม.4-ม.6 รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก 3.4.วิธีการแข่งขัน 3.4.1 กรรมการแจกกระดาษคำตอบตามจำนวนข้อ 3.4.2 กรรมการแจกกระดาษทดให้ผู้แข่งขันทุกคน 3.4.3 เมื่อหมดเวลาแต่ละข้อให้กรรมการเก็บกระดาษคำตอบ 3.4.4 เมื่อหมดรอบแรก ให้พัก 10 นาที 4. เกณฑ์การให้คะแนน 4.1 ผู้ที่ได้คำตอบเท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ได้คะแนนข้อละ 1 คะแนน 4.2 ถ้าข้อใดไม่สามารถหาคำตอบได้เท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ผู้ที่ได้คำตอบใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุด เป็นผู้ได้คะแนน 5. เกณฑ์การตัดสิน ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับที่ 1 – 3 มากกว่า 3 คน ให้กำหนดโจทย์แข่งขันใหม่เฉพาะลำดับที่ต้องการ โดยแข่งขันทีละข้อจนกว่าจะได้ผู้ชนะ คณะกรรมการ รวมคะแนนรอบที่ 1 และรอบที่ 2 แล้วนำคะแนนรวมคิดเทียบเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้ ร้อยละ 80 - 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ร้อยละ 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ร้อยละ 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด 6. คณะกรรมการการแข่งขัน 6.1 ระดับชั้น ป.1-ป.3 และ ป.4-ป.6 คณะกรรมการการแข่งขันเป็นชุดเดียวกัน จำนวน 5-7 คน 6.2 ระดับชั้น ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6 คณะกรรมการการแข่งขันเป็นชุดเดียวกัน จำนวน 5-7 คน คุณสมบัติของคณะกรรมการ - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - เป็นครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือโปรแกรม GSP - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์ ข้อควรคำนึง - กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน - กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน - กรรมการควรมาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย - กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3 สถานที่ทำการแข่งขัน ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์หรือห้องที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน 7. การเข้าแข่งขันระดับชาติ การแข่งขันแต่ละระดับชั้น ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ หมายเหตุ ไม่อนุญาตให้นำเครื่องคิดเลขหรืออุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เข้าไปในห้องแข่งขัน [b-004]
PS.  อยากให้เข้ามา...และเม้นเยอะๆ

แสดงความคิดเห็น

>