Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คิดยังไงกับ สถาปัตย์ผังเมือง จุฬา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คิดไงกับ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ที่เปิดสอนป.ตรี ในจุฬา หรอครับ

จบมาแล้วมีงานมั้ย มีเงินมั้ย ทำไรได้บ้าง
แล้วที่ว่างานน้อยที่สุดในคณะ จริงมั้ย

คิดว่ามีโอกาสรุ่งมั้ยกับสาขานี้


ต้องการข้อมูลจริงๆจ้าา

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

ซ่อนนาม 4 ม.ค. 54 เวลา 21:42 น. 1

งานน้อยก็จริง
แต่เป็นสายที่มักจะขาดแคลนกันเลยล่ะ
เพราะที่จริง มันเป็นสายงานที่ควรประจำอยู่ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ เพื่อทำการวางผังเมือง

ในสิงคโปร์การวางผังเมืองสำคัญมากเลยนะ
แถมเขาวางผังเมืองกันเป็นสิบ ๆ ปีเลยแหนะ
ไปดูได้เลย เขามีภาพจำลองของทั้งเกาะอยู่เลย

แต่ในไทย ไม่มี....


PS.  เราไม่ได้สีแดงนะ แต่-สีเดียว-ต่างหาก
0
hla 4 ม.ค. 54 เวลา 21:53 น. 2

นอกจากเรียนต่อ ก็มีงานทำหมดนะ
แต่เงินเดือนเท่าไหร่ไม่รู้

เท่าที่เราเข้าใจ ผังเมืองจะคล้ายภูมิสถาปัตย์ ในบางส่วน&nbsp แต่สเกลใหญ่กว่า
ตอนนี้ก็เห็นคำว่า ผังเมือง จุฬา เริ่มปรากฏในสายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างเช่น ปรับปรุงภูมิทัศน์ แถวๆ สยาม กุฎีจีน ทำนองนี้นะ&nbsp 
แล้วก็งานเท่าที่รู้ก็งานพวกผังบ้านจัดสรร กลุ่มอาคาร อสังหาริมทัพย์ และอีกหลายๆอย่าง

โอกาสยังมีอีกมากสำหรับสายนี้นะเราว่า&nbsp เพราะพึ่งเริ่มในเมืองไทย

0
hla 4 ม.ค. 54 เวลา 21:55 น. 3

อีกอย่าง ^^ ตอนนี้มีกฏหมายสำหรับสถาปนิกผังเมืองแล้ว

เพื่อคุ้มครองไม่ให้ใครมาทำตรงนี้แทน

0
เราก็ถาปัตย์ 5 ม.ค. 54 เวลา 21:12 น. 4

คนจะเข้าถาปัตย์จริงๆก็น่าจะรู้นะว่าผังเมืองไม่ค่อยเวิร์คอ่ะ
ไม่มีใครเลือกเป็นอันดับหนึ่ง คนที่ติดส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่เลือกไว้อันดับสุดท้าย ไว้รองอ่ะนะ
คิดดูว่า ที่ไหนเค้าจะวางผังเมืองกันทุกวัน
งานที่ทำคล้ายแลน แต่สู้แลนไม่ได้อยู่ดี
รู้จักคนที่อยู่ผังเมือง คือปริ้นแผนที่มาแล้วระบายสี แทบจะไม่ได้ออกแบบอะไรเลย
งานที่พอจะทำได้ ก็คงเป็นราชการอ่ะ
ถ้าอยากเรียนจริงๆ(จริงๆก็ไม่รู้จะเรียนทำไม)ไปเรียนตอนปริญญาโทน่าจะดีกว่า ไม่ว่าจบอะไรมาก็เรียนโทผังเมืองได้
เราว่ารอแอดอีกที เข้าสาขาอื่นของจุฬา
หรือไม่ก็เอาสาขาอื่นมหาลัยอื่นก็ได้

0
ิิbbbb 5 ม.ค. 54 เวลา 22:40 น. 5

ผมก็เคยเรียนผังเมืองคับ
ซิ่วแล้ว .....คนน้อย ขาดแคลนก็จิง
แต่เป็นสาขาวิชาชีัพที่ไม่โตคับ

ถ้าจะเลือกเรียนผังเมือง แนะนำที่ ธรรมศาสตร์จะตรงกับสายงานในไทยมากกว่า
เพราะมันเป็นหลักสูตร Urban Planning (การวางผังเมือง)
การแก้ปัญหาของระบบเมือง

ส่วนที่ ฬ มันเป็นหลักสูตร Urban Design (การออกแบบเมือง)
เราคงไม่มาออกแบบเมืองกันทุกๆวันจิงมั้ยคับ ??

0
region 6 ม.ค. 54 เวลา 22:47 น. 6

ไม่ชอบจริงๆก็รอแอดไปครับ

รุ่นพี่ที่จบไปไม่ได้ทำผังเมืองจริงๆ
แต่ได้ทำเต็กแคดแทน

งานผังเมืองในไทยน้อยมากนะเออ

0
รุ่นพี่ 14 ม.ค. 54 เวลา 00:54 น. 8

เด๋วนี้ไม่ว่าอาชีพไหนก็หางานทำยากหมดครับ การที่จะมีงานทำมันอยู่ที่ว่าเราดีพอที่จะให้เขาเลือกเราไปทำงานหรือป่าว เรียนภาคไหนไม่สำคัญ ยิ่งเลือกในสาขาที่ต่างจากคนอื่น โอกาสที่เขาจะเลือกเราไปทำงานมันก็มีอยู่สูงครับ เพราะมีเพียงเราเท่านั้นรู้ในสาขาที่ต่างจากคนอื่น เนี้ยแหละคือโอกาส
อีกอย่างการที่ผังเมืองไทยมีปัญหาอย่างในสภาพปัจจุบัน เกิดจากการมองข้ามละเลยเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวนี้เองผังเมืองเกียวข้องกับวิถีชีวิตคนทุกคน แม้ทางเดินหน้าบ้าน ระบบรถต่างๆ หรือแม้เพียงป้ายรถเมล์ที่เราขึ้นอยู่ทุกวันมันก็อยู่ในงานของผังเมืองทั้งนั้น อยากให้คนไทยเห็นความสำคัญของสาขาวิชานี้

0
lyyn-y 3 ธ.ค. 57 เวลา 21:14 น. 10

เราก็เรียนอยู่นะ โอเคเรยแหละ เข้าง่ายกว่าภาคอื่นจริง แต่คนที่เรียนก็ไม่ได้ต่างจากภาคอื่นนะ เราก็เข้ารอบตรงมุ่งมาภาคนี้เรยไม่ได้ลงได้หลุดอะไรสักหน่อย สังคมก็ดี จบไปสามารถอแด็บได้หลายอย่างทำแลนก็ได้ ผังเมืองก็ได้ อสังหา ก็ได้นะ อีกอย่างที่จุฬาเป็นหลักสูตร ดีไซน์ ส่วนมากจบไปสถาปนิกทุกภาคแหละ แทบจะไม่ได้ทำงานเป้นสถาปนิกหรอกนะ ก็เอาความรู้พวกนี้แหละไปใช้ทำงานอย่างอื่น ดีไซน์มันไปได้หลายทางนะเออ คิดดูดีๆ รอร่วมสาขาที่คณะอยู่นะเออ :)

0
hamanawin 12 มี.ค. 58 เวลา 02:46 น. 12

ส่วนตัวผมจบจากสาขานี้มาครับ ขออนุญาตแชร์ข้อมูลให้น้องๆที่สนใจ
ลองนำไปพิจารณาดูครับ

เรื่องหลักสูตร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการเรียน ศาสตร์ผังเมือง ในระดับปริญญาตรี
แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรครับ คือ
1. urban and regional planning การวางผังเมืองและผังภาค
2. urban design การออกแบบชุมชนเมือง
ที่ จุฬา เป็นหลักสูตร urban design หรือ ออกแบบชุมชนเมืองครับ ในขณะที่ป.ตรีที่อื่นๆ เรียน urban planning 

จริงๆถ้าจะให้อธิบายในรายละเอียดคงใช้เวลานานมากกกกก
เลยขอสรุปความแตกต่างของทั้ง 2 ส่วนง่ายๆ คือ
urban planning คือการวางผังระดับเมือง กำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถนน โครงสร้างพื้นฐาน ประชากร สาธารณูปโภค/ปการ และอื่นๆ 

urban design คือการวางผังระดับโครงการ เช่นการวางผังกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ที่มีขนาดมากกว่า 30,000 ตร.ม. ผังโครงการสถานบันศึกษา ผังพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ เป็นต้น 

นอกเหนือจากวิชาการออกแบบที่เป็นวิชาหลักในหลักสูตร ป.ตรี แล้ว
ยังมีวิชาสหศาสตร์อีกหลายวิชา เช่น การจัดการเมือง เศรษฐศาสตร์เมือง
สังคมวิทยาเมือง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง ฯ รวมถึงในชั้นปีห้าก่อนทำวิทยานิพนธ์ จะต้องเรียนวิชา urban & regional planning หนึ่งเทอม 
ซึ่งน้องๆสามารถหารายละเอียดจากเว็บภาคได้ครับ cuurp 

สรุปก็คือ จบมาได้ทั้งดีไซน์ผังโครงการ ได้ทั้งวางผังเมือง ถ้าอยากเก่งเฉพาะทางก็ไปต่อโทได้ตามความสนใจครับ

ข้อดีของหลักสูตร

1.) กลุ่มอาจารย์ที่สอนอยู่ปัจจุบันดีมากครับ ใจกว้าง
แต่ละท่านจบมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น MIT, UofTokyo, UCL (London) และมหาลัยชั้นนำในเยอรมันและฝรั่งเศส
ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเว็บครับ หาชื่ออาจารย์ แล้วเสิชหาข้อมูลได้เลย 
ไม่มีประเภทเรียนเก่งแต่พูดไม่รู้เรื่อง ทุกคนผ่านงานจริงระดับชาติและนานาชาติมาแล้ว เป็นที่ปรึกษารัฐบาล หน่วยงานระดับสูงของไทย
ฉะนั้นประสบการณ์เเน่นปึ๊ก

2.) สหสาขา พี่ว่าถ้าตั้งใจเรียนหลักสูตรตอนเข้าภาคแล้วจริงๆ นอกเหนือจากดีไซน์แล้ว จะมีความรู้หลายด้านและเป็นคนที่คิดในภาพรวม ซึ่งเป็นข้อดีที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในประเทศนี้

3.) คอนเนคชั่นกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ
(สำหรับพี่คิดว่ามันสำคัญมาก ทั้งกับการเรียน และโอกาสในการเรียนต่อ)
ส่วนตัวแล้วตลอดห้าปี พี่ได้ร่วมทำงานกับนิสิตนักศึกษาจากหลายประเทศ ทั้งในไทย และเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยทุนสนับสนุนของภาควิชาและมหาวิทยาลัยต่างชาติ พี่ได้โอกาสไปร่วม workshop ออกแบบตลาดปลา tsukiji ที่ญี่ปุ่นกับนักเรียน urban engineering ที่โตได หรือ UofTokyo มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นและอันดับสองของเอเชีย (ฟรีตลอดโปรแกรม) 
อาจารย์หลายๆท่านจบมาจากที่ดีๆ ฉะนั้นคอนเนคชั่นระหว่างมหาวิทยาลัยค่อนข้างดีมากครับ

4.) ทริปดูงานต่างประเทศ และโอกาสในการฝึกงานที่ต่างๆ
ในช่วงปีสี่ขึ้นปีห้า ภาควิชาจะสนับสนุนเงินทุนให้นิสิตคนละ 20,000 บาท
เพื่อเข้าร่วมทริปดูงานประจำปี เนื่องจากในไทยไม่มีตัวอย่างการพัฒนาเมืองดีๆเท่าไหร่ เลยต้องลงทุนไปดูของจริง ที่เป็นผลผลิตจากวิชาชีพของเราที่ต่างประเทศ
ที่ผ่านมาได้ไป ญี่ปุ่น (โตเกียว+โยโกฮาม่า) / มาเลเซีย+สิงคโปร์ / เกาหลี / ฮ่องกง

ต้องขอบอกว่าสนุกโคตรๆ ฮ่าๆๆ (ส่วนตัวไปหน่อย)
อาจารย์จะตามไปดูแลสองท่าน พาเดินเมือง ดูเมืองกันอย่างเมามัน 
ความรู้แน่นปึ๊กแน่นอน

5.) คนน้อย  อาจจะฟังดูแย่ แต่พี่คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีมากๆสำหรับการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย
-ส่วนอาจารย์ต่อนิสิต กำลังพอดีครับ รุ่นพี่มีกัน 16 คนน้อยกว่ารุ่นอื่นๆ ส่วนใหญ่มีประมาณ 20-30 คน วิชาสตูดิโอ คนที่ได้ประโยชน์เต็มๆคือคนเรียน



ข้อเสียของหลักสูตร

1.) ไม่เหมาะสำหรับคนที่ตั้งใจจะเรียนออกแบบ แบบ 100% 
หลักสูตรไม่ได้เน้นหนักไปที่การออกแบบเพียงอย่างเดียว
แต่มี coursework ค่อนข้างเยอะและ comprehensive มากๆ 

2.) ความรู้เรื่องโครงสร้างต่ำ 
จากการที่ได้เรียนกับเพื่อนๆภาคอื่นน้อย ปีสองก็เข้ามาเรียนวิชาในภาคแล้ว
ทำให้มีความรู้เรื่องโครงสร้างและสถาปัตยกรรมไม่มากนัก 

3.) ความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของหลักสูตร
เนื่องจากเพิ่งตั้งมาได้ 10 ปี อาจจะยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในบางครั้ง 

เรื่องงาน เส้นทางอาชีพ ค่าตอบแทน

ต้องบอกก่อนว่าที่บอกว่าผังเมืองไม่ค่อยมีงาน เงินน้อย อาจจะดูไม่เป็นธรรมสักเท่าไหร่นะครับ จริงๆแล้วตลาดแรงงานมีความต้องการนักผังเมือง นักออกแบบชุมชนเมืองค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่เปิดภาคใหม่ๆ เรื่องค่าตอบแทนก็ไม่ได้แตกต่างมากนัก

พี่ๆที่จบไปที่ยังทำงานสายนี้อยู่ก็เจริญเติบโตไปตามลำดับขั้นและประสบการณ์

เพื่อนๆในรุ่นที่เพิ่งจบเริ่มทำงานกันหมดแล้วครับ แบ่งได้คร่าวๆ 3 กลุ่มครับ

กลุ่มที่ 1 ทำงานในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ 
ไม่ว่าจะเป็น บริษัทในเครือ TCC land (เบียร์ช้าง) สยามภิวัฒน์ พฤกษา
โนเบล land&house ฯ
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีที่ดินและโครงการพัฒนาจำนวนมากครับ 
เลยต้องการนักผังเมืองเข้าไปช่วยในส่วนของการวิเคราะห์โครงการ
คิดโปรแกรมการพัฒนาและวางผังออกแบบบ้างบางส่วน

กลุ่มที่ 2 เข้าทำงานในบริษัทออกแบบและบริษัทที่ปรึกษา ทั้งในและต่างประเทศ 
เช่น A7 , ฉมา SHMA (landscape), โชติจินดา มูเซล, AECOM singapore, belt collins international (thailand) co. ltd ฯ

กลุ่มนี้จะได้ทำงานตรงสายพอสมควรครับ ได้ออกแบบวางผัง+ลงชุมชน จัดงานต่างๆ งานหนักเหมือน สถาปัตย์หลัก สน. แลนด์สเคปครับ 

กลุ่มที่ 3 คือเรียนต่อและทำงานภาคการศึกษาครับ
มีจำนวนไม่น้อยที่ไปต่อต่างประเทศหรือต่อโทที่จุฬาฯ ในสายการวางผังเมือง urban planning หรือ housing & real estate ภาคเคหะการ เรียนเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย หรือออกแบบชุมชนเมือง urban design 

ถ้าเรียนต่อที่จุฬาฯ ต่อ urban design จะต่อปีเดียวครับ เป็นหลักสูตร 5+1 ได้โทเลย แต่ถ้าสาขาอื่นก็สองปีตามปกติ

ระหว่างเรียนต่อก็จะมีงานพิเศษเข้ามาต่อเนื่องครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยสอน
ผู้ช่วยวิจัย ช่วยงานพิเศษกับอาจารย์หลายๆท่านที่มีงานข้างนอกเข้ามา
นอกจากนี้ ที่ภาคเพิ่งตั้ง "ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง" หรือ Urban design and development center ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การพัฒนาเมืองตัวอย่างขึ้นครับ
โครงการดีๆเยอะแยะมากมาย มีรุ่นพี่เข้าไปทำงานหลายคน กำลังขยายหน่วยงาน นี่ก็เป็นอีกที่นึงที่รองรับบัณฑิตที่จบจากภาคผังเมืองครับ

ทั้งสามกลุ่มมีค่าตอบแทนใกล้เคียงกันครับ เงินเดือนก็มาตราฐานใกล้เคียงกับสาขาอื่นๆของถาปัด บริษัทอสังหาฯ ก็อาจจะมีแนวโน้มว่าจะได้โบนัสมากกว่าส่วนอื่นๆ ถ้าเก่งและขยันไม่แย่แน่นอนครับ 


สรุปก็คือ มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่น้องๆต้องการว่าอยากได้แบบไหน
พี่อธิบายรายละเอียดและเล่าประสบการณ์อย่างตรงไปตรงมาครับ
ไม่ได้เชียร์สาขาตัวเอง ถ้าสนใจเมลมาสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
anawin_c@yahoo.com 

ถ้าสนใจอันไหนพยายามหาข้อมูลครับ อย่าทึกทักเอาเองว่าดีไม่ดี
เราควรจะรู้ก่อนว่าอะไรดีไม่ดี "อย่างไร" 
แล้วค่อยตัดสินใจ

อยากจะฝากข้อคิดให้กับคนที่อยากเรียนถาปัดว่า
ถ้ารู้สึกว่าสาขาไหนมันตรงกับจริตและความเป็นตัวตนของเรา
อยากให้เลือกสาขานั้น จบมาถ้าทำได้ดี มีงานรออยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวตกงาน
พูดตรงๆคือคนที่ตกงานคือคนที่ไม่ได้ตั้งใจมากพอในตอนเรียน
ก็ต้องรับผลของการกระทำ

ปล. ได้ชื่อว่าเรียนถาปัดแล้ว หนักเหมือนกันทุกสาขาครับ
คำแนะนำก็คือถ้าอยากมาเรียน ยังไงก็ต้องทนครับ ความรักความชอบอาจจะไม่พอ ฮ่าๆๆ


1
phaopan 20 ก.ค. 59 เวลา 04:03 น. 12-1

เหตุผลดีครับพี่ ผมกำลังจะศึกษา ปี 59ครับได้สาระมากๆ

0