Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไม? ต้องพอเพียง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

pl.y 9 ม.ค. 54 เวลา 19:25 น. 1

ถูกต้องแล้วค่ะ เพราะถ้าเราไม่พึ่งพา ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วเราคงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมัความสุขได้

0
pl.y 9 ม.ค. 54 เวลา 19:25 น. 2
ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

          1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
          2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
          3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

          " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"
0
pl.y 9 ม.ค. 54 เวลา 19:27 น. 3
เป็นกระทู้ที่ทำให้ เรารู้ว่าเราควรใช้ชีวิตอย่างไรในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัวแบบนี้ ขอบคุณมากค่ะ^^
0
นศท. 24 ม.ค. 56 เวลา 10:06 น. 4

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต&nbsp รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน&nbsp เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง&nbsp  สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม&nbsp แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว&nbsp จากวารสารชัยพัฒนา

“เศรษฐกิจพอเพียง... จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้&nbsp  แต่ต้องมีความเพียร&nbsp  แล้วต้องอดทน&nbsp ต้องไม่ใจร้อน&nbsp ต้องไม่พูดมาก&nbsp ต้องไม่ทะเลาะกัน&nbsp ถ้าทำโดยเข้าใจกัน&nbsp เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว&nbsp พระราชทาน&nbsp ณ&nbsp วันที่&nbsp ๔ ธันวาคม&nbsp ๒๕๔๑

0