Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ ม.เกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
What is it?

หลายคนคงจะรู้จักถึงหลักสูตรการออกแบบ สร้าง และซ่อมเครื่องบินของภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์   จากบนฟ้ามาสัมผัสกับผิวน้ำกันบ้าง นั่นก็คือหลักสูตรวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ (Naval Architecture and Marine Engineering) ของวิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ (International Maritime College) ซึ่งเทียบได้กับคณะๆ หนึ่งของ ม. เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (Kasetsart University, Si Racha Campus) โอ้... ม. เกษตรอีกแล้วครับท่าน วิศวะของเขาหลากหลายจริงๆ นะเนี่ย



สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ เป็น 1 ใน 2 หลักสูตรที่วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติเปิดสอน โดยอีกหลักสูตรหนึ่งก็คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ (Nautical Science) ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กัน เอาไว้จะนำมาเสนอในคราวต่อๆ ไปนะ ตอนนี้เรามาเรียนที่จะสร้างเรือกันก่อนดีกว่า



ปัจจุบันมีสถาบันที่เกี่ยวกับพาณิชยนาวีหลายแห่ง แต่ก็เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเดินเรือทั้งนั้น หรืออาจมีสอนเรื่องเครื่องกลเรือบ้างนิดหน่อย ส่วนหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิศวกรรมต่อเรือโดยเฉพาะนั้นมีเพียงที่วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติที่นี่ที่เดียว และถึงจะใช้ชื่อวิทยาลัยว่าเป็นนานาชาติ แต่หลักสูตรที่เป็นนานาชาติจริงๆ คงต้องรอกันหน่อย แต่จะว่าไม่มีการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเลยก็ใช่ที่ เพราะมีบางวิชาที่เชิญอาจารย์ต่างชาติมาสอนด้วย



• What do they learn?

หลักสูตรวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือใช้เวลาเรียน 4 ปี โดยเริ่มจากวิชาพื้นฐานทั่วไปที่น้องๆ หลักสูตรปริญญาตรีทุกคนต้องเรียนในปีแรก ในขณะเดียวกันก็จะได้เรียนการเขียนแบบเรือแบบง่ายๆ ตั้งแต่เขียนด้วยมือไปจนถึงเขียนด้วยคอมพิวเตอร์
เมื่อขึ้นปี 2 จึงจะปูพื้นฐานด้านวิศวกรรม ฟิสิกส์ระดับแอดวานซ์ และยังมีวิชาด้านกลศาสตร์วิศวกรรม ที่พูดถึงแรงที่มากระทำกับวัตถุ และการเคลื่อนที่ซึ่งทำให้เกิดแรง วิชาด้านการวิเคราะห์วัสดุต่างๆ วิชาอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) ซึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของความร้อนในส่วนของต้นกำลัง และในภาคฤดูร้อนของปีนี้ น้องๆ ยังได้เติมความมันให้กับชีวิตด้วยการฝึกภาคปฏิบัติบนเรือ หรือก็คือเรียนรู้การใช้ชีวิตบนเรืออีก 160 ชั่วโมง

หากรอดชีวิตจากปี 2 มาสู่ปี 3 (เพราะมีเกือบ 50 เปอร์เซนต์ที่ไม่ผ่านและต้องโบกมือบ๊ายบายจากวิทยาลัยไป หรือไม่ก็ต้องอยู่เก็บวิชาเหล่านั้นให้ผ่านก่อน) ก็จะเป็นการเข้าสู่ศาสตร์ของการต่อเรือให้เป็นรูปเป็นร่าง น้องๆ จะได้เรียนคำนวณรูปทรงเรือ การทรงตัวของเรือ ต่อเนื่องด้วยโครงสร้างเรือ รวมไปถึงวิศวกรรมไฟฟ้าในเรือ การออกแบบเครื่องจักรกลเรือ หรือวิชาเลือกอย่างการออกแบบใบจักร และไฮโดรฟอยล์ (Hydrofoil) ที่เหมือนปีกเครื่องบินแต่ติดอยู่กับเรือเพื่อช่วยยกเรือให้แตะน้ำน้อยลง จนกระทั่งถึงภาคฤดูร้อนก็จะเป็นการฝึกงานตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งทางวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ เช่น บริษัทต่อเรือ อิตาเลี่ยน-ไทย อู่ซ่อมเรือ บริษัทเดินเรือระหว่างประเทศ RCL แม้แต่บริษัทน้ำมันอย่าง ปตท. เชลล์ และทีพีไอ น้องๆ ก็จะได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสด้วย เพราะนี่เป็นการฝึกงานด้าน Offshore Engineering น่ะ คือดูแลเรื่องท่อส่งน้ำมันไง

คราวนี้เมื่อถึงปี 4 น้องๆ จะเริ่มว่างมากขึ้นแล้ว เพราะรายวิชาที่ต้องลงทะเบียนมีน้อยลง แต่ถึงวิชาน้อยก็ใช่ว่าจะง่าย ตามหลักสูตรน้องๆ ต้องทำโครงงานทางวิศวกรรมส่งอาจารย์ด้วยชิ้นหนึ่ง ในปีสุดท้ายนี้นักศึกษาหลายคนที่มีผลงานเข้าตาบริษัทที่เคยฝึกงานยังได้รับเลือกให้เข้าไปทำงานที่บริษัทนั้นๆ อีกต่างหาก แบบว่าเรียนด้วยทำงานด้วยน่ะ


• Job opportunities

นั่งดูคลื่นที่ออกจากท้ายเรือเวลาเรือวิ่ง แล้ววิเคราะห์ว่าเรือลำนี้มีจุดดีจุดด้อยตรงไหน อ๊ะ...ไม่ใช่ (แต่ขอบอกว่าน้องๆ สามารถทำอย่างนี้ได้จริงเมื่อเรียนจบแล้ว) ส่วนใหญ่น้องๆ ในสาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือเกือบทั้งหมดจะได้งานทำทันทีหลังเรียนจบ เพราะตลาดงานด้านนี้ยังมีที่ว่างอีกเยอะ อาชีพที่ทำได้ก็มีทั้งออกแบบ ต่อเรือ ซ่อมเรือ ทำงานในเรือ หรือไม่ก็เป็นวิศวกรชายฝั่ง นอกจากบริษัทในบ้านเราแล้ว บริษัทจากต่างประเทศอย่างเช่นที่ ดูไบ อินเดีย บรูไน หรืออินโดนีเซีย ก็ติดต่อขอบัณฑิตจากที่นี่ไปทำงานมากมาย แต่น้องๆ คงต้องทำใจหน่อยเพราะต้องจากบ้านไปทำงานไกลโพ้น ยิ่งถ้าเป็นอาชีพเดินเรือ มีโอกาสที่ต้องลอยอยู่ในทะเลนานเป็นเดือนๆ ใครมีแฟนอยู่ล่ะก็ ได้เวลาพิสูจน์ใจกันล่ะคราวนี้ แต่เอาน่า...เงินดีมากๆ แค่ท่องประโยคนี้ให้ขึ้นใจก็พอว่า "Make money!"


• How to apply

จะชายหรือหญิงก็สามารถเรียนได้ ขอให้จบ ม. 6 สายวิทย์ การรับสมัครมีทั้งผ่านระบบแอดมิชชั่นส์และรับตรง ขอให้มีความตั้งใจและความรับผิดชอบเป็นใช้ได้ เพราะการสร้างซ่อมเรือก็หมายถึงน้องๆ ต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้คนที่จะต้องโดยสารอยู่บนเรือด้วย ดังนั้นห้ามมีคำว่าพลาด ที่สำคัญหากเป็นน้องผู้ชาย ต้องผ่านการเรียน ร.ด. มาแล้วเพื่อประโยชน์ของตัวน้องเอง เพราะหากเรียนจบแล้วต้องไปเกณฑ์ทหาร จะเสียเวลาไปโดยใช่เหตุส่วนค่าใช้จ่าย ไม่ได้มากมายใหญ่โตตามขนาดของเรือ ที่นี่ใช้ระบบเหมาจ่ายเทอมละประมาณ 22,000-25,000 บาทแล้วแต่เทอม



รายละเอียดเพิ่มเติม

สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ

วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
www.imc.src.ku.ac.th

แสดงความคิดเห็น

>

21 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

นำรูปถ่าย หรือข้อมูลของผู้อื่น ที่มิได้เป็นบุคคลสาธารณะมาลง โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม หรือมีลงเบอร์โทรศัพท์/ที่อยู่จริง

Te_avviare 30 มี.ค. 60 เวลา 19:56 น. 13

ถามหน่อยครับ ท่าเป็นเด็กสายอื่นที่ไม่ใช้ เด็กวิทย์ จะสามารถสอบเข้าได้ป่าวครับ

0
นุชจรินทร์ 25 ธ.ค. 60 เวลา 14:30 น. 17

ต้องการรับสมัครงาน


1.ตำแหน่ง ผู้จัดการแผนกช่าง (งานซ่อมเรือ)

2.ตำแหน่งช่าง (งานซ่อมเรือ)


ความรับผิดชอบ : ควบคุมดูแลงานช่างซ่อมบำรุงเรือ ที่ลูกค้านำมาซ่อม // และคอยตอบข้อซักถามต่าง ๆ ที่ถูกค้าต้องการข้อมูล เป็นการซัพพอร์ดทีมงานขาย // ควบคุมการทำงานของช่าง ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้งานเสร็จตามแผน สามารถเข้าชมเว็ปไซด์ และผลิตภัณฑ์ ได้ที่ https://www.functionmarine.com/


- ส่งใบสมัครทาง E-mail : nuchjarin.pl@functioninter.com หรือสมัครด้วยตนเอง

-------------------------------------------

นุชจรินทร์ พลายแก้ว

งานสรรหาว่าจ้าง

บ.ฟังก์ชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จก.

313 ถ.เจริญพัฒนา แขวงบางชัน

เขตคลองสามวา จ.กรุงเทพฯ 10510,

E-Mail : nuchjarin.pl@functioninter.com

Tel. 02-540 6263 ต่อ 1113 หรือ 081-934 4194

0
Cha_pnp 30 ก.ค. 62 เวลา 01:33 น. 19

อยากทราบว่า คณะนี้ต้องใช้โน๊ตบุคด้วยไหมครับ

พอดีเครื่องเก่าสภาพโทรมแล้ว

ถ้าไม่จำเป็นมากรึมีโปรเจคในนี้ยังไงช่วยบอกทีครับ

เพราะจะเตรียมตัวเข้าเรียนคณะนี้ครับ

0
กยด 26 ม.ค. 65 เวลา 18:18 น. 20

อยากทราบว่าภาคปกตินี้การเป็นอยู่เหมือนวิศวะทั่วไปรึป่าวครับไปเจอมาการเป็นอยู่เหมือนทหารเลยครับกินข้าวถาดหลุมหรือที่เห็เป็นของภาคปฎิบัติงานบนเรือครับ

0