Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไมเรียกญี่ปุ่นว่า"ยุ่น"เรียกอินเดียว่า"แขก"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 ตามนั้น



สวัสดี

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

ก๊อปเขามา 30 มี.ค. 54 เวลา 22:58 น. 5

แขก หมายถึง ผู้มาเยือน, ผู้มาหา, คนที่มาช่วยทำงาน; คำเรียกรวมๆถึงชนอาหรับ หรืออินเดีย; คำเรียกผู้นับถือศาสนาอิสลาม หรือฮินดู (พจนานุกรมฉบับมติชน) แต่ชาวสยามทั่วไปใช้เรียกเหยียดๆ หมายถึงคนอื่นผู้ต่ำต้อยกว่า

ในเพลงดนตรีไทยใช้คำว่าแขกนำหน้าชื่อทำนองมีจำนวนมากด้วยกัน มักหมายถึงชวา-มลายู มุสลิม เช่น แขกบันตน, แขกปัตตานี, แขกมัดตีนหมู, แขกสวด, แขกสาย, แขกไทร, แขกโศก, แขกหนัง, แขกยิงนกเขา, แขกซัมเซ (หรือแขกอะเดวังกา ใช้ออกแขกก่อนเล่นลิเก) ฯลฯ (แต่หมายถึงอย่างอื่นก็ได้ เช่น แขกพราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์)

ชื่อชาติพันธุ์นำหน้าชื่อเพลงอย่างนี้มีมาก่อนบ้าง แต่เริ่มนิยมมากในหมู่คนชั้นสูงสมัยรัชกาลที่ 4 มีความหมายเชิงดูถูกดูหมิ่นชาติภาษาอื่นที่ชาวสยามในราชสำนักกรุงเทพฯคุ้นเคยในยุคนั้น ราวหลัง พ.ศ. 2400 สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน


ส่วนคำว่า ญี่ปุ่น&nbsp (ซึ่งน่าจะเรียกตามภาษาจีนที่เรียกญี่ปุ่นว่า หยิบปิ้ง ยาตปุน ยิตปุน เป็นต้น)
น่าจะรู้อยู่ว่าพวกเราชอบทำภาษาเพี้ยนกันอยู่แล้ว เลยกลายเป็นญี่ปุ่น
และเราก็นำมาผวนอีก จากญี่ปุ่น==> ยุ่นปี่&nbsp  ไปๆมาเรียกยุ่นเฉยๆ ซึ่งในสมัย WW2 คนไทยจะเรียกทหารญี่ปุ่นว่า
ยุ่น&nbsp (เติม&nbsp  นำหน้า เพื่อเป็นการแสดงความดูถูก ประมาณนั้น) พักหลังเราก็ยังเรียกอยู่ แต่ดุเหมือนจะไม่ใช่คำเหยียดแล้วล่ะค่ะ
เหมือนเป็นฉายามากกว่า คล้ายกับคำว่า "แดนกิมจิ"

แต่คนญี่ปุ่นเรียกตัวเองว่า Nippon (นิปปอง หรือ นิฮอง นะ)

สาเหตุน่าจะมาจากรับอิทธิพลและเทคโนโลยีจากตะวันตก แล้วยกตนว่าทันสมัยกว่าเพื่อนบ้าน เลยดูถูกดูหมิ่นเพื่อนบ้าน

0
Guadeloupe 31 มี.ค. 54 เวลา 08:18 น. 8

ที่มาของคำว่า "ยุ่น" น่าจะมาจากความเกรงกลัว จะพูดอย่างไร
ไม่ให้ทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกรู้ว่ากำลังพูดถึงญี่ปุ่น จึงใช้การผวน
คำง่ายๆ เป็น "ยุ่นปี่" และเรียกสั้นๆ ว่า "ยุ่น" ในสมัยต่อมาก็
เป็นคำพูดแสดงความรังเกียจคนที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นในเมืองไทย ไม่ได้
เกิดจากการดูถูก แต่เกิดจากความเกรงกลัว

ส่วนแขก เป็นการเรียกชื่อกลุ่มคนที่มาจากต่างสังคม น่าจะตรงกับ
คำว่า 客 ในภาษาจีน ในสมัยนั้นก็คือแขกชาวอินเดีย อินเดียในยุค
แรกนับถือพราหมณ์ฮินดู แต่ในภายหลังก็ถูกปกครองโดยอิสลาม ก่อน
จะแยกพื้นที่เป็นอินเดีย กับปากีสถานและบังกลาเทศในปัจจุบัน ดังนั้น
ช่วงที่แขกอินเดียเข้ามา จึงพาลให้เรียกคนอิสลามทั้งหมดว่าแขก
การออกแขกในลิเก ก็หมายถึงพวกอาบัง เพราะลิเกพัฒนามาจาก
ศิลปะของอิสลาม ส่วนการลงแขก แขกในที่นี้เป็นความหมายเก่า
หมายถึงผู้มาเยือน ซึ่งก็คือเพื่อนบ้านที่มาช่วยเกี่ยวข้าวนั่นเอง

0
rang,believe 31 มี.ค. 54 เวลา 09:54 น. 9

 นิสัยคนไทยแอบแสบนิดๆแหะ
(จนบางครั้งเพื่อนบ้านเอือมระอา (ซ้ายมือของแผนที่ประเทศเราอะ))

0
spsygk 1 เม.ย. 54 เวลา 22:23 น. 12

 เฮ้ย จริงดิ เพิ่งรู้นะเนี่ย


PS.  เราทุกคนเป็นเพื่อนกันนะ เพื่อนรัก เพื่อนกิน เพื่อนตาย สุดท้ายเพื่อนร่วมโลก spsygk@hotmail.com
0