Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรงเรียนต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


    โรงเรียนดาราวิทยาลัย  เป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกของภาคเหนือ ก่อตั้งโดยมิชชั่น คณะอเมริกัน เพรสไบทีเรียน คือ นางโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารี จุดประสงค์ของการจัดการศึกษาในระยะแรก คือ การให้การศึกษาแก่เยาวชนสตรีโดยในปี พ.ศ.2421 นางโซเฟีย แมคกิลวารี  ได้นำเด็กผู้หญิง 5 - 6 คนมาเรียนหนังสือที่บ้านของท่าน โดยเปิดสอนการเย็บปักถึกร้อย การร้องเพลง การอ่าน - เขียนภาษาไทย และคริสต์จริยธรรม ต่อมาจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มัชชันนารีจึงได้รายงานไปยังคณะมิชั่น และทางสำนักเงานใหญ่ได้ส่งมิชชันนารีมาช่วย จนสามรถตั้งโรงเรียนอย่างเต็มรูปแบบ ได้ชื่อว่า "โรงเรียนสตรีอเมริกัน" สถานที่ตั้งคือ บริเวณเชิงสพานนวรัฐ ปัจจุบันคือที่ตั้งของคริสตจักรที่หนึ่งเชียงใหม่

       ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพระราชชายา" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ได้ย้ายสถานที่ตั้งไปอยู่ที่หมู่บ้านหนองเส้ง ตำบลวัดเกต และได้ชื่อว่า "โรงเรียนดาราวิทยาลัย" ตามพระนามของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปี พ.ศ. 2483 โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาคณะมิชชั่นได้โอนมอบกิจการ และทรัพย์สินทั้งหมดของโรงเรียนดาราวิทยาลัยให้กับ มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ปัจจุบันโรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6


ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

           

 ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนที่ถูกต้อง

ธงประจำโรงเรียน


การแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)









ประวัติโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย



มงฟอร์ตโรงเรียนที่เรารัก
ขอสมัครรักจนชีพสลาย
อันนามนี้ ปักอยู่มิรู้คลาย
ดังเครื่องหมายประทับบนดวงใจ





นักบวชในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
นักบวชในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีเฉพาะนักบวชชายเท่านั้น เรียกกันทั่วไปว่า "บราเดอร" (BROTHER) หรือ "ภราดา" ในภาษาไทย บราเดอร์ทุกคนมีศีล เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่
  1. การถือความยากจน (Poverty) คือ ไม่เป็นเจ้าของในทรัพย์สิน มีความประหยัดและความอดทนต่อความเป็นอยู่
  2. การถือศีลพรหมจารี (Chastity) คือ รักษาความบริสุทธิ์ ไม่มีครอบครัว
  3. การถือความนบนอบ (Obedience) คือ เชื่อฟังผู้ใหญ่ถือเสมือนเป็นตัวแทนของ พระผู้เป็นเจ้า เป็นการมอบกายถวายชีวิตต่อพระเจ้า ไม่ย่อท้อต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมาย สละตัวเองทำงานเพื่อมวลมนุษย์ และพระผู้เป็นเจ้า

ภาพรวมของโรงเรียน (School Profile)

ประวัติความเป็นมา

ประวัติคณะเซนต์คาเบรียล ในประเทศไทย
นักบุญ หลุยส์ มารี กรียอง เดอมงฟอร์ต เกิดที่ตำบลมงฟอร์ต ประเทศฝรั่งเศส ท่านรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ใน ปี พ.ศ.2243 และสิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 2255 เป็นที่รู้จักทั่วไปในนาม "คุณพ่อ มงฟอร์ต"
ตลอดเวลา 16 ปีแห่งชีวิตงาน ท่านเด็ดเดี่ยวมานะมุ่งนำวิญญาณมนุษย์ไปสู่สวรรค์ ตัวอย่างที่ท่านเทศน์สอน รับใช้คนเจ็บป่วยและคนยากจน ได้ดลใจผู้สืบสานงานขึ้น 2 กลุ่ม คือ สงฆ์คณะ ข้าบริการพระแม่มารี และภคินีคณะธิดาพระปรีชาญาณ
เพื่อให้เยาวชนและคนด้อยโอกาสได้เข้าสวรรค์โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาคุณพ่อ มงฟอร์ตได้เปิดโรงเรียนขึ้นใน ปีพ.ศ.2257 โดยให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ติดตามกลุ่มที่ 3 คือ คณะภราดา ซึ่งต่อมาภายหลังได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล" คณะภราดา จัดการศึกษาที่เน้นคติธรรมแห่งชีวิตของคุณพ่อ มงฟอร์ต "God Alone" แปลว่า "พระเจ้าเท่านั้น" (พระเจ้าเท่านั้น = สัจธรรม หรือ ความรักสากล)
เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)
บี้ สุกฤษฎิ์






ปริ้นส์รอยแยลวิทยาลัย (ตัวเท่าบ้าน)
อยากบอกว่าโกรธมากที่เราโพสไว้ตั้งแต่แรกแล้วคุณไม่ยอมดูกันให้ดีๆ เราไม่ได้ "ข้าม" ค่ะ รู้ว่าเป็น ร.ร. เก่าแก่
ปล.สำหรับชุดยูนิฟอร์มที่หาในอินเตอร์เน็ตไม่ได้นั้นต้องขอโทษจริงๆ ไม่คิดว่าจะทำให้เป็นเรื่องขนาดนี้ 
ไว้เราจะไปขอถ่ายใครสักคนที่เดินอยู่แถวหน้าดุริยางค์ศิลป์พายัพฯ แล้วเอามาลงให้นะค่ะ(หลังจากกล้องมีสภาพปกติแล้ว)
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ตั้งอยู่ ณ ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอ เมือง เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแบบตะวันตกสำหรับเด็กชายแห่งแรกในล้านนา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1887 โดยศาสนาจารย์เดวิด กอร์มเลย์ คอลลินส์ มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ที่บ้านวังสิงห์คำ เรียกว่า "Chiangmai Boys' School" หรือเป็นที่รู้จักกันในนามโรงเรียนชายวังสิงห์คำ ทำการสอนโดยใช้ภาษาล้านนาเป็นหลัก มีการเรียนพระคัมภีร์ควบคู่กันไป มีครูรุ่นแรกประกอบด้วย ครูโอ๊ะ ครูบุญทา ครูแดง และครูน้อยพรหม
ในปี 1899 ศาสนาจารย์คอลลินส์ ลาออกไปเปิดโรงพิมพ์อเมริกามิชชัน ศาสนาจารย์ ดร.วิลเลียม แฮรีส ซึ่งเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1896 ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่แทน ท่านได้พัฒนาโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น แต่เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบ จึงได้ย้ายมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้นยังทรงเป็นสยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯทรงวางศิลารากอาคารบัทเลอร์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1906 และพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "The Prince Royal's College" นอกจากนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานสีประจำพระองค์คือ น้ำเงิน-ขาวเป็นสีประจำโรงเรียนอีกด้วย
ศาสนาจารย์แฮรีส ได้พัฒนาด้านอาคารสถานที่และการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ.1912 ได้เริ่มใช้ภาษาไทยเป็นหลักในการสอนแทนคำเมือง เพื่อสนองต่อกระแสการรวมชาติ และเน้นการสอนภาษาอังกฤษเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถทั้งการพูดและการอ่าน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมครูให้มีการศึกษาสูงขึ้น จนกระทั่งได้รับรองฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลในปี ค.ศ.1921
นอกจากนี้ แม่ครูคลอเนลเลีย ภรรยาของศาสนาจารย์แฮรีส ยังเป็นผู้มีบทบทาสำคัญในการช่วยพัฒนาโรงเรียนและการก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าฯ ของโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1926
เมื่อศาสนาจารย์แฮรีส เกษียณอายุในปี ค.ศ. 1939 ศาสนาจารย์ ดร.เคนเนธ เอลเมอร์ แวลส์ ได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่แทนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) โรงเรียนถูกยึดเป็นของรัฐบาล โดยใช้สถานที่ทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเรียกว่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ศาสนาจารย์ ดร.เคนเนธ เอลเมอร์ แวลส์ จึงได้กลับมารับมอบโรงเรียนฯ คืนจากทางรัฐบาล โดยรับตำแหน่งผู้จัดการ และอาจารย์หมวก ไชยลังการณ์เป็นอาจารย์ใหญ่ ทางโรงเรียนฯ ได้มีการปรับปรุงอาคารเรียนและการเรียนการสอน ตั้งแผนกมัธยมศึกษา ในสมัยที่ ดร.คอนรัด คิงส์ฮิลล์ รับผิดชอบ ได้มีการจัดตั้ง "แผนกสหเตรียมอุดมศึกษาปรินส์-ดารา" ปี ค.ศ.1956 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของชั้นเรียนแบบสหศึกษาของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1927 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1928 สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร Powers Hall และในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1958 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยี่ยมโรงเรียน นับเป็นเกียรติประวัติและพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีเจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนอีกหลายท่าน นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และเสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลารากอาคารเพชรรัตน-สุวัทนา เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1986
ปัจจุบันโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เดิมรับเฉพาะนักเรียนชาย ต่อมาในปี ค.ศ.1957 ได้จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมปลายเป็นแบบสหศึกษา และในปีค.ศ. 1993 ได้เริ่มรับนักเรียนหญิงในชั้นอนุบาล 3 เป็นรุ่นแรก
เครื่องแต่งกาย
(หาไม่ได้จริงๆ ใครมีช่วยลงด้วยนะค่ะ)


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 13 มิถุนายน 2554 / 23:52
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 13 มิถุนายน 2554 / 23:55

PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE

แสดงความคิดเห็น

>

58 ความคิดเห็น

PrAeW_CapuhinoKUNG 11 มิ.ย. 54 เวลา 14:27 น. 1


คลิกเพื่อดูเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการ

    โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2442 ตามพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการ ศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก"ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2441 ความว่า "…ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดแต่ความประพฤติชอบ และการเลี้ยงชีวิตโดยชอบเป็นที่ตั้ง ครั้นทั้งหลายจะประพฤติชอบ แลจะหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบนั้นเล่า ก็ย่อมอาศัยการได้ศึกษาวิชา ความรู้ ในทางที่จะให้บังเกิดประโยชน์ มาแต่ย่อมเยาว์ และฝึกซ้อมสันดานให้น้อยในทางสัมมาปฎิบัติและเจริญปัญญา สามารถในกิจการต่างๆ อันเป็นเครื่องประกอบการหาเลี้ยงชีพเมื่อเติบใหญ่ จึงเชื่อว่าได้เข้าสู่ทางความเจริญ… บัดนี้การฝึกสอนในกรุงเทพฯเจริญแพร่หลายมากขึ้นแล้ว สมควรจะจัดการฝึกสอนให้หัวเมืองได้เจริญขึ้นตามกัน…" สำหรับเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ของมณฑลพายัพนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชประสงค์ จะให้จัดเป็นโรงเรียนตัวอย่างและฝึกอบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้รู้ธรรมเนียมการหนังสือ และฝึกหัดลายมือ ให้ใช้เป็นเสมียนได้ วิชาคิดเลขและวิชาช่างที่เป็นประโยชน์ และธรรมเนียมต่างๆ ที่เป็นคุณแก่แผ่นดิน ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ก็ยังมีพระราชประสงค์จะปลูกฝังคุณสมบัติ ให้นักเรียนเป็นคนขยันขันแข็ง สะอาดทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ซื่อสัตย์สุจริตมีอุปนิสัยใจคอดี และเป็นพลเมืองดีในที่สุด

    เครื่องแต่งกาย
    (หาไม่ได้เช่นกัน -*-)










    ประวัติโรงเรียนพระหฤทัย



    ในปี พ.ศ. 2475 มีคณะบาทหลวงของโรมันคาทอลิก ขึ้นมาเผยแพร่ศาสนาคาทอลิกที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการสร้างวัดพระหฤทัย ขึ้น ณ ตำบลช้างคลาน ถนนเจริญประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันตก (อันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนพระหฤทัยในปัจจุบัน) ซึ่งเริ่มต้นด้วยนักเรียนจำนวน 40 คน เก็บค่าเล่าเรียนเดือนละ 2 สลึง ขณะนั้นพระสังฆราชเรอเนแปรโรส หัวหน้าคณะบาทหลวงเห็นว่าลูกหลานของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์สมัยนั้นส่วนมากเป็นผู้มีฐานะค่อนข้างยากจน จึงได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณวัดพระหฤทัย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยให้ชื่อว่า “ โรงเรียนพระหฤทัย ” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sacred Heart College โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กๆ ที่ยากจนได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษา โดยมีบาทหลวงมีราแบลเป็นผู้จัดการและครูใหญ่ ในชั้นแรกที่เปิดทำการสอนมีนักเรียนชาย-หญิง 40 คน เก็บค่าเล่าเรียนคนละ 2 สลึงต่อเดือน




    พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9002 ทั้งองค์กร ในขอบเขตระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากบริษัท BUREAU VERITUS QUALITY INTERNATIONAL (BVQI) จากประเทศอังกฤษ

    เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานการศึกษาเอกชน เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 – 2546

    เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลจากกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2541 จำนวน 3 รางวัล คือ รางวัลสถานศึกษาที่จัดกิจกรรม จริยธรรมระดับยอดเยี่ยมและรางวัลผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมจริยธรรมระดับยอดเยี่ยม ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดกลาง ได้รับประกาศนียบัตรโรงเรียนสะอาดตามมาตรฐานจากหน่วยงานสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครเชียงใหม่

    พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดกลางแก่โรงเรียนพระหฤทัย อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน


ความหมายของสัญลักษณ์โรงเรียน

ตราโรงเรียนมีรูปร่างลักษณะเป็นรูปโล่ มีหัวใจอยู่ตรงกลาง มีไม้กางเขนอยู่ในเปลวไฟ
ซึ่งอยู่เหนือหัวใจ และมีรัศมีรอบๆ หัวใจ ทั้งสองข้างของโล่ประดับด้วยกิ่งโอลีฟ


หัวใจ
เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของความรักหมายถึง ความรักของพระเจ้าที่มอบให้แก่มนุษย์ เราทุกคนจะมีความรักให้แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และทุกคนในพระหฤทัยจะรักกันและกัน โดยถือว่าเราเป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน
เปลวไฟ
ที่อยู่เหนือหัวใจ หมายถึง พลัง คนเราทุกคนมีพลังอยู่ในตัวเอง ซึ่งเราจะใช้พลังที่เรามีอยู่นั้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เป็นพลังของความขยัน ความเพียรพยายามในการเรียน นักเรียนทุกคนต้องพยายามศึกษาหาความรู้ ใส่ตัวอยู่เสมอ
ไม้กางเขน
หมายถึง ความเสียสละ ซึ่งเป็นความเสียสละของพระเยซูคริสตเจ้าที่มีต่อมนุษย์เรา เมื่อนำเปลวไฟและกางเขนมารวมกันก็หมายถึง เราจะต้องมีพลังความขยันหมั่นเพียรอยู่ในหัวใจของเราเสมอ พร้อมกันนี้ ในพลังนั้นจะต้องมีความเสียสละประกอบอยู่ด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ
หนาม
หมายถึง อุปสรรคและความยากลำบาก ในชีวิตของคนเรานั้นจะต้องพบกับอุปสรรคและความยากลำบากมากมาย
เลือด
หมายถึง การต่อสู้เพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรค ถ้าร่างกายปราศจากเลือดก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อเอาหนามและเลือดมารวมกัน หมายถึง เราจะต้องต่อสู้ และเอาชนะอุปสรรค รวมทั้งความยากลำบากทั้งหลายด้วยความอดทน
รัศมี
หมายถึง ประกายแสงสว่างของสิ่งที่มีค่าและความปรีชาสามารถ เมื่อเรามาอยู่ในครอบครัวพระหฤทัย เราจะต้องเป็นแสงสว่างของสังคม เพื่อให้โลกของเราจรรโลงไว้ซึ่งความสว่างและความสงบสุขของชีวิต
ิ่กิ่งโอลีฟ (มะกอกเทศ)
หมายถึง สัญลักษณ์ของชัยชนะ หรือ ความสำเร็จ DULCISSIMUM เป็นภาษาลาติน หมายถึง ความอ่อนหวาน อ่อนโยนเอื้ออารี ซึ่งควรจะเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของกุลสตรีและเป็นบรรยากาศภายในโรงเรียนพระหฤทัย COR JESU เป็นภาษาลาติน หมายถึง หัวใจของพระเยซู รวมความแล้วก็คือ ดวงฤทัยที่อ่อนหวานของพระเยซูเจ้า
เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)








ในปี 1976 อาจารย์วารี ภัทราวณิชย์ ได้เริ่มต้นก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลวารี ที่ต่อมา ได้เป็นหนึ่งในโรงเรียนต้นแบบ ในการเรียนการสอนในรูปแบบ child-centre หรือการให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ในการเรียนรู้ ทำให้มีคณะครูอาจารย์และ ผู้บริหารสถานศึกษา จากทั่วประเทศ เดินทางมาเชียงใหม่เพื่อเยี่ยมชม และขอศึกษาระบบการเรียนการสอน ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียน เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ร่วมทั้งที่โรงเรียนได้รับการประกันคุณภาพ การศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ ก็เป็นสิ่งที่ยืนได้ว่า กระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียน อนุบาลวารีนั้นโดดเด่น และสามารถขยายฐานแห่งความสำเร็จได้โดยในปี 2002 อาจารย์วารี ได้มอบทางเลือกใหม่อีกครั้งให้กับชาวเชียงใหม่ และชาวต่างประเทศ ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ใน เขตอำเภอเมือง และอำเภอใกล้เคียง ด้วยการเปิดตัว โรงเรียนวารีเชียงใหม่ เพื่อเป็นการขยายฐานการศึกษา จากระดับอนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษา
เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)
หญิงmissteenthailandในชุดนักเรียน : ที่โรงเรียน





ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนวชิรวิทย์ [ History and foundation of Wachirawit School ]

โรงเรียนวชิรวิทย์ เป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 168/1 ถนนช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ปัจจุบันฝ่ายมัธยมได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่เลขที่ 93/111 หมู่ 5 ตำบล หนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โรงเรียนวชิรวิทย์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยนายวัชระ ตันตรานนท์ นักธุรกิจผู้สนใจการจัดการศึกษาของเยาวชนใน จังหวัดเชียงใหม่ มานานกว่า 30 ปี ได้รับความร่วมมือ สนับสนุนจากบุคลากรในแวดวงวิชาการ เปิดการสอน เป็นโรงเรียนเอกชน สอนตามหลักสูตรของ กระทรวงศึกษาธิการประเภทสามัญศึกษา แบบสหศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นับได้ว่า โรงเรียนวชิรวิทย์เป็นโรงเรียนมิติใหม่บนเส้นทางการปฏิรูปการศึกษา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเยาวชนและผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานได้ศึกษาในโรงเรียนสายสามัญ หรือมุ่ง ระดับอุดมศึกษา ที่เน้นการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์ไห้ผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุมีผล มีจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนวชิรวิทย์ ได้รับอนุญาตไห้เปิดดำเนินการสอน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ตั้งอยู่เลขที่ 168/1 ถนนช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ 8 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา โดยมีนายวัชระ ตันตรานนท์ เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ และอาจารย์เจษฎา บุญรติวงค์ เป็นครูใหญ่เปิดทำการสอน ในปีแรกเพียง 3 ชั้น คือ ประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 รวม 15 ห้องเรียน มีนักเรียนรวมกันประมาณ 600 คน

โรงเรียนวชิรวิทย์ ตั้งอยู่ในเขตชุมชนมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ศูนย์การค้า และแหล่งการศึกษา โรงเรียนได้ใช้พื้นที่บริเวณสถานศึกษาอย่างมีคุณค่าที่เอื้ออำนวยต่อการจัด กิจกรรมทุกประเภททั้งด้านวิชาการ คอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ศาสนา วัฒนธรรม อาชีพและเทคโนโลยีรวมทั้ง กิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกสถานศึกษา เช่น การทัศนศึกษา การเข้าค่าย การฝึกอบรม และการแข่งขัน ผลงานของนักเรียนในระยะ 6 ปีที่ผ่านมา ประจักษ์แก่ชุมชนชาวเชียงใหม่ได้ว่า วชิรวิทย์ เป็นทางเลือก ของการศึกษาแบบใหม่ในยุคนี้

ปัจจุบันโรงเรียนวชิรวิทย์มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,780 คน โดยแบ่งเป็นฝ่ายอนุบาล และประถม จำนวน 983 และฝ่ายมัธยม 1,797 และเพื่อให้ความพร้อมในการจัดการศึกษาฝ่ายมัธยมให้มีศักยภาพ และประสิทธิภาพสูงสุด ดร.วัชระ ตันตรานนท์ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต พร้อมด้วย ดร.มานิตย์ ศรีพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายมัธยม มี รศ.นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม และ นายทองหล่อ ธงชัย อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รวมทั้งทีมคณะผู้บริหารที่ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งคณะครูวัยรุ่นหนุ่มสาวที่มีศักยภาพการดำเนินงานด้านการศึกษาและที่สำคัญในปัจจุบัน โรงเรียนวชิรวิทย์ได้แบ่งหลักสูตรเป็นสองหลักสูตรตามความต้องการ และศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
หลักสูตรปกติและหลักสูตรพิเศษ โดยแบ่งหลักสูตรปกติได้ดังนี้
1. หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีอัจฉริยภาพ
2.หลักสูตรพัฒนาศักยภาพ
3.หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพ
4.หลักสูตรมุ่งสู่มหาวิทยาลัย ม.4-ม.6

และ หลักสูตรพิเศษ ESP หรือ English Special Program ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ คือหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสือในวิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ และสังคม ศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนสู่ระดับสากล บนพื้นฐานเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

ซึ่งทั้งสองหลักสูตร จะมีการระดมทรัพยากรด้านนวตกรรมที่จะมาใช้ในการเรียนการสอนมีการเรียนหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และคุณธรรมจริยธรรม ภาวะผู้นำ ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นนำระบบการเรียนการสอน E – Learning สอดแทรกในแต่ละวิชา และในการเรียนการสอนๆ ทุกรายวิชาได้สอดแทรกฐานความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ Science Skill เข้าไป เพื่อให้นักเรียนรู้จักคิดเป็น การคิดวิเคราะห์ การพัฒนาความคิด โดยนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตได้

เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)

PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE
0
PrAeW_CapuhinoKUNG 11 มิ.ย. 54 เวลา 14:32 น. 2




       โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย ตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2521 เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านต้นขาม ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ทั้งหมด67ไร่2งาน67ตารางวาที่ดินที่เป็นที่ตั้ง ของโรงเรียนเดิมเป็นที่ดิน
ของค่ายกาวิละ หรือจังหวัดทหารบกเชียงใหม่ นางสวาท รัตนวราท ผู้อำนวยการโรงเรียน วัฒโนทัยพายัพได้รับมอบหมายจากกองการมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ ให้เป็นตัวแทนดำเนินการเจรจาขอที่ดินดังกล่าว จากพลตรีจวน วรรณรัตน์ ผู้บังคับการ จังวหัดทหารบกเชียงใหม่ในปีพ.ศ.2518ทางกระทรวงกลาโหมก็ได้อนุญาตให้กรมสามัญ ศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ยืมที่ดินนี้ตังโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่ 3 ของจังหวัดเชียงใหม่ และปี พ.ศ.2519
      กรมสามัญศึกษาได้กำหนดแผนผังของโรงเรียนเสนอกรมธนารักษ์สำหรับชื่อของโรงเรียนได้
ตั้งตามนามของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คือ พระเจ้ากาวิละ จึงได้ชื่อว่า "โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย"
     โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2521 เปิดสอนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 4 ห้องเรียน โดยทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนคำเที่ยงอนุสรณ์ และชั้น ม.1จำนวน 4 ห้องเรียน ทำการสอนอยู่ที่วัดท่าสะต๋อย มีครูทำการสอน 18 คน ภารโรง 2 คน
     ปัจจุบันโรงเรียนกาวิลัวิทยาลัยเปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดเป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่

เครื่องแต่งกาย
(เป็นอีกโรงที่หาไม่เจอ -*-)





                                                          สีแดง                    หมายถึง                 ชาติ

                                                          สีขาว                     หมายถึง                 ศาสนา

                                                          สีน้ำเงิน                  หมายถึง                 พระมหากษัตริย์

                                                         สีเขียว                     หมายถึง                 การสร้างสรรค์

                                                         สีเหลือง                   หมายถึง                 ผู้ชนะ

                                                         รังผึ้ง                        หมายถึง                 การเป็นผู้สร้าง

                                                         ราชินีผึ้งและผึ้งงาน    หมายถึง                 ความเป็นผู้มีวินัยสะอาด ขยัน อดทน กล้าหาญ และสามัคคี

สีประจำโรงเรียน


               สีขาว     หมายถึง     การถือหลักคุณธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นนักพัฒนาตามรอยครูบาศรีวิชัย

              สีชมพู    หมายถึง     การมีความรักต่อคนรอบข้าง และการมีบุคลิกภาพที่ดี

ประวัติโรงเรียนวชิราลัย

          ปี  พ.ศ. 2542  นายคนอง  ตนเล็ก  ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนวรานีกูล พิจารณาเห็นว่า จำนวนนักเรียนในโรงเรียนวรานีกูล  มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพราะเป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครองจึงเกิดแนวคิดที่จะขยายโรงเรียน  โดยได้มอบหมายให้นางราตรี ตนเล็ก ผู้จัดการโรงเรียนวรานีกูลไปติดต่อขยายพื้นที่โดยขอซื้อที่ดินบริเวณ หมู่ที่ 7  ตำบลหนองผึ้ง   อำเภอสารภี  ขนาดพื้นที่จำนวน 3  ไร่ เป็นเงิน  3,600,000 บาท  เพิ่มเติมจากที่ดินของตน

          ปี  พ.ศ. 2543 หลังจากที่มีการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวเพิ่มเติมแล้ว นายคนอง ตนเล็ก ได้ศึกษาข้อมูลโครงการ     ขอรับการสนับสนุนเพื่อจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยได้ดำเนินการ ดังนี้

          ออกแบบแผนผังการจัดสร้างโรงเรียนวชิราลัย (Master Plan) ประกอบด้วย อาคารเรียน อาคารอำนวยการ โรงอาหาร ทั้งนี้ ได้ดำเนินการขออนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดย

               เทศบาลตำบลยางเนิ้ง  ได้อนุญาตให้โรงเรียนก่อสร้างอาคารเรียนตามที่เสนอ

               จังหวัดเชียงใหม่อนุญาตให้โรงเรียนใช้แบบแปลนก่อสร้างอาคารเรียนตามที่ได้รับอนุมัติ

               จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนเพื่อจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนตามโครงการเงินกู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และธนาคารออมสิน

          ในปี พ.ศ. 2544  โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอำนวยการ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระรูปหล่อครูบาเจ้า-ศรีวิชัย  ในอาคารอำนวยการ  ประกอบด้วย ห้องครูใหญ่  ห้องธุรการ  ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องซาวด์แลป  และ ห้องเอนกประสงค์  ต่อมาในปลายปี  2544  ได้รับการอนุมัติโครงการสนับสนุนเงินกู้  จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และธนาคารออมสิน  ก่อสร้างอาคารเรียน  3  ชั้น  18  ห้องเรียน  เป็นเงิน  7,000,000  บาท

           เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)



PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE
0
PrAeW_CapuhinoKUNG 11 มิ.ย. 54 เวลา 14:35 น. 3


     นางสาวกาลันต์ กรโกวิท ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่ โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ เกิดที่ตำบลบ้านหม้อ ถนนอัษฎางค์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๔๖๗ อายุ ๘๑ ปี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เป็นธิดาของนายกวย และนางลออ กรโกวิท

     เมื่อเป็นเด็กได้เข้าเรียนที่โรงเรียนภักดีวิทยา เขตราชเทวี ตำบลมักกะสัน กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ต่อมาจึงได้ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนศรีสุริโยทัย เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และเรียนต่อที่โรงเรียนการช่าง – สตรีพระนครใต้ จนจบหลักสูตร และได้รับวุฒิประกาศนียบัตรพิเศษมัธยม จากการสมัครสอบ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๑๓ (วุฒิการศึกษา พ.ม.)

     ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ คุณพ่อได้เริ่มทำกิจการค้า
และเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

     นางสาวกาลันต์ กรโกวิท ได้เริ่มเป็นครูที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๔๙๘ จึงได้ออกมาช่วยกิจการของครอบครัว และเริ่มตั้งโรงเรียนอนุบาลโกวิทธำรงเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ต่อมาชื่อของโรงเรียนจึงเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่” ปัจจุบันมีนักเรียน ๒,๑๖๑ คน มีครู ๑๐๘ คน

     นางสาวกาลันต์ กรโกวิท เป็นคนใจบุญและมีเมตตาสูง ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  และมีตำแหน่งต่างๆ ทางสังคมดังนี้

                                                                                                                                                                                                                
๑.
เป็นนายกยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดเชียงใหม่
๒.
เป็นกรรมการมูลนิธิครูบาศรีวิชัยจังหวัดเชียงใหม่

เป็นกรรมการบริหารสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดเชียงใหม่
๔.
เป็นที่ปรึกษาฝ่ายประถมสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดเชียงใหม่
๕.
เป็นกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายอุปถัมภ์ศูนย์เผยแผ่ธรรมจังหวัดเชียงใหม่
๖.
เป็นกรรมการมูลนิธิวัดสวนดอกจังหวัดเชียงใหม่
๗.
เป็นกรรมการอุปถัมภ์ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดลอยเคราะห์ จ.เชียงใหม่
๘.
เป็นกรรมการมูลนิธิครูบาศรีวิชัย


      นางสาวกาลันต์ กรโกวิท ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และประกาศเกียรติคุณต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
๑.
 

ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ ชื่อ เบญจมาภรณ์
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

๒.
 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ ชื่อ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์
เมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

 ได้รับเสาเสมาธรรจักรในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่ออพระพุทธศาสนา ๒๕๔๕

     นางสาวกาลันต์ กรโกวิท มีโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงประจำตัวจึงได้รับความดูแลจากแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญ และ นางสาวกาลันต์ กรโกวิท ได้จากไปอย่างสงบที่บ้าน (โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่) ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๘ เวลา ๑๕.๓๐ น.
เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมศึกษา)







 

   
 

      ในปี คริสตศักราช 1957 ศาสนาจารย์บุญยืน นะตะเนติ์ ศิษยาภิบาลคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ เดินทางไปดูงานคริสตจักรในประเทศสหรัฐอเมริกา คณะธรรมกิจของคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ จึงแต่งตั้งให้อาจารย์พิษณุ อรรฆภิญญรักษาการแทนศิษยาภิบาล เวลานั้น อาจารย์พิษณุ อรรฆภิญญ์ เห็นว่าโต๊ะเก้าอี้ของคริสตจักรที่มีอยู่จำนวนมากนั้น ใช้ประโยชน์ก็เฉพาะเรียนรวีวารศึกษาในวันอาทิตย์เท่านั้น วันอื่น ๆ มิได้ใช้การอะไรอีกทั้งศาลาก็ทิ้งว่าง จึงมีแนวคิดที่จะตั้งโรงเรียนขึ้นในคริสตจักร ได้ปรึกษากับคณะสตรีคริสตจักรแต่มีปัญหาหลายประการ  
      จึงเปลี่ยนความคิดเป็นตั้งโรงเลี้ยงเด็กของคริสตจักรแทนการตั้งโรงเรียน เมื่อได้รับการสนับสนุนจึงตั้ง โรงเลี้ยงเด็กในคริสตจักร  
        
โดยให้อยู่ในความดูแลของคณะสตรีคริสตจักร  
ซึ่งมี นางบุญปั๋น สิงหเนตร เป็นประธาน และให้นางเถาวัลย์ วรศรี เป็นครูสอนเด็กเล็กคนแรกของโรงเลี้ยงเด็ก ต่อมานางลออ สิงหเนตร ได้ปิดสถานรับเลี้ยงเด็กที่บ้านซึ่งอยู่ติดกับคริสตจักร แล้วนำเด็กเล็กจำนวนหนึ่งมารวมกับโรงเลี้ยงเด็กของคริสตจักรพร้อมทั้งช่วยดูแลโรงเลี้ยงเด็กด้วย

          คริสตศักราช 1961 เด็กเล็กรุ่นแรกจะมีอายุครบเกณฑ์เข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 เด็กเล็กบางส่วนผู้ปกครองไม่อยากย้ายไปเรียนที่อื่นเพราะหาที่เรียนลำบากดังนั้น เมื่อต้น ปี คริสตศักราช 1962 คณะธรรมกิจคริสตจักรที่ 1 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการก่อตั้งโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย นายแพทย์จินดา สิงหเนตร   ผป.ศิวิไล สิงหเนตร   ผป.คำรบ บุญศิริ    ผป.อำนวย ทะพิงค์แก    ผป.ธวัช เบญจวรรณ    นางสมทรง แก้ววรรณรัตน์ และ .เจย์ จีน จอห์นสัน       มีการประชุมเตรียมการเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 1962 ณ บ้านพักหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลแมคคอร์มิค   โดยมีนโยบายในการจัดตั้งโรงเรียนดังนี้ คือ

 
 1.  เพื่อเป็นการถวายเกียรติยศแด่องค์พระเยซูคริสต์
2.  เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักเรียนคริสเตียนที่ยากจนขาดแคลน
3.  เพื่อเป็นการเพาะผู้นำคริสเตียนสำหรับอนาคต
4.  เพื่อเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาอย่างดีที่สุดแก่ลูกหลานคริสเตียน
5.  ให้โรงเรียนเลี้ยงตัวเองได้และขยายงานจนถึงขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
6.  ควรจะรับครูที่เป็นคริสเตียน เพื่อเป็นการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมของคริสเตียนและควรจะเป็นครูที่มี
     ประสิทธิภาพ
 

          คริสตศักราช 1962   มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ได้มอบหมายให้ นางเสงี่ยม ช.สิงหเนตร เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต  
ดำเนินการ
ขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ    จัดตั้งโรงเรียน  โดยใช้ชื่อว่า

"โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน"
"The Chiangmai Christian School"
อักษรย่อ ช.ค.
 
ประจำโรงเรียน คือ  สีชมพู - สีขาว


เครื่องแต่งกาย
(หาไม่ได้อีกตามเคย -*-)



ประวัติโรงเรียนหอพระ

     โรงเรียนหอพระ ตั้งอยู่ที่ ถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา เดิมเป็นโรงเรียนประถมศึกษาของเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้เปิดทำการสอนครั้งแรกใน วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2484 เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง ณ บริเวณที่ดินซึ่งเป็นวัดร้าง 2 วัด คือ วัดหอพระ และ วัดพันแจ่ม กับที่ดิน ของทางเทศบาลนครเชียงใหม่อีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนอง ความต้องการด้านการศึกษา แก่ชุมชนในตำบลศรีภูมิ และบริเวณใกล้เคียง ให้ชื่อว่า “ โรงเรียนเทศบาล 11 (หอพระ) ” โดยมี นายอุ่นเรือน เลปนานนท์ ทำหน้าที่เป็นครูคนแรก

    ครั้งถึง พ.ศ. 2496กระทรวงศึกษาธิการได้รับโอนโรงเรียนหอพระเข้าสังกัดในกรมสามัญศึกษา และในปี พ.ศ. 2500 ขณะที่นายยุทธ เดชคำรณ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนเมืองเชียงใหม่” สังกัดกองการศึกษาพิเศษ

    จนถึงสมัย นายเวทย์กาวิล ครูใหญ่ในระยะต่อมาได้พิจารณาเห็นว่าชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเปิดสอนอยู่ กำลังจะเปลี่ยนเป็นชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 5-7 ) ตามหลักสูตรที่เปลี่ยนไป จึงขออนุญาตกรมสามัญศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนหอพระ ” ในปี พ.ศ.2504โรงเรียนหอพระได้พัฒนาโดยลำดับและหลังสุดเปิดทำการสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521

    ปี พ.ศ. 2523 กรมวิชาการได้พิจารณาได้พิจารณาคัดเลือกโรงเรียนหอพระ ให้เข้าโครงการโรงเรียนผู้นำ การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 และปี พ.ศ. 2533ให้ตั้งโครงการโรงเรียนพัฒนาการใช้หลักสูตรเพื่อ ใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533

    ในปี พ.ศ. 2536 โรงเรียนหอพระได้เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย เป็นปีแรก โดยรับนักเรียนเดิมเป็นส่วนส่วนใหญ่ โรงเรียนพัฒนาขึ้นตามลำดับ

    จนถึงปี พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน โดยเฉพาะการสอนคอมพิวเตอร์นักเรียนทุกคนนักเรียนต้องมีความรู้ สามารถนำมาใช้งานได้ โรงเรียนได้รับเลือกเป็น โรงเรียนในการปรับเปลี่ยน ระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting

ตราประจำโรงเรียน

ประกอบด้วยหอพระไตรปิฏก
เป็นสัญลักษณ์ของความสว่างทางปัญญา อยู่ในวงกลมของลายกนก

สีประจำโรงเรียน




ปรัชญาและคำขวัญ

สุขา สสงฺฆสฺส สามัคคี ล้ำเลิศคุณธรรม หนุนนำสังคม
ความสามัคคี นำมาซึ่งความสุข อุดมความรอบรู้ กอบกู้สิ่งแวดล้อม

 เครื่องแต่งกาย
(ไม่มี วานใครก็ได้ช่วยลงให้ที)


PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE
0
PrAeW_CapuhinoKUNG 11 มิ.ย. 54 เวลา 14:36 น. 4
โรงเรียนสตรีของรัฐบาลแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่
เปิดทำการสอนวันที่ 25 มีนาคม 2449 (ร.ศ.125)
โดยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8
(ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. 2444-2452) เป็นผู้อุปการะ
ได้ให้ขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์
ข้าหลวงธรรมการมณฑลพายัพ
และนายพันตรีเจ้าไชยสงคราม กรมการเมืองเชียงใหม่
ติดต่อขอใช้คุ้มเจ้าเรือนคำ ถนนแม่ข่า เป็นที่ตั้งโรงเรียน
มีนางเชย เป็นครูใหญ่ วันแรกเปิดมีนักเรียน 70 คน
 
พ.ศ.2457 ย้ายไปตั้งบริเวณ เรือนพักธรรมการจังหวัด ข้างวัดดอกเอื้อง
ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลตั้งแต่นั้นมา นางจำรัส หงสกุลเป็นครูใหญ่
 
พ.ศ. 2458 ย้ายไปอยู่แทนที่โรงเรียนชายที่
ข้างวัดดวงดี เปิดสอนวันที่ 1 พฤษภาคม 2459
ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพายัพ
“ยุพราชวิทยาลัย”รองอำมาตย์โทขุนอาจวิชาสรร
เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2461 ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่
ถนนพระปกเกล้า(ที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัจจุบัน)
วันที่ 1 กรกฎาคม 2464 หลวงวิสณฑ์ดรุณการ
ธรรมการมณฑลพายัพ มีคำสั่งประกาศที่ 771
แยกโรงเรียนจากโรงเรียนสตรีประจำมณฑลพายัพ
“ยุพราชวิทยา” ที่มีครูใหญ่คนเดียว
(รองอำมาตย์โทขุนอาจวิชาสรร)
ให้นางเพิ่ม วิสณฑ์ดรุณการ ทำการแทนครูใหญ่
 
พ.ศ. 2470 พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงเปิดอาคารเรียน
 
พ.ศ. 2471 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพได้ขอพระราชทานชื่อ
โรงเรียนจากสมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า
(พระราชอิสริยยศปัจจุบัน คือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) จากพระนามเดิม “ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา” ว่า “โรงเรียนวัฒโนทัย” และได้เสด็จ พระราชดำเนินมาเปิดป้ายชื่อโรงเรียน
วันที่ 7 มกราคม 2471

ต่อมาได้เติมคำว่า “พายัพ” ท้ายนามโรงเรียน เพื่อรักษาประวัติว่า เคยเป็นโรงเรียนสตรี
ประจำมณฑลพายัพมาก่อนและเติมคำว่า “สตรี หัวนามโรงเรียน จึงมีชื่อทางการว่า
โรงเรียนสตรีวัฒโนทัยพายัพ”

วันที่ 6 สิงหาคม 2481 เริ่มสร้างตึกตัว โรงเรียนบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้าง (วัดสีเสียด และวัดป่าตาล)
สร้างเสร็จและประกอบพิธีเปิดโรงเรียน วันที่ 12 มกราคม 2482
โดยนายพันโทประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีสั่งราชการ กระทรวงธรรมการ
เป็นประธานเปิดโรงเรียน

พ.ศ. 2484-2488 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุนเข้าพักในโรงเรียน
จึงต้องย้ายโรงเรียน ไปทำการสอนที่โรงเรียนฮั่วเอง โรงเรียนฮั่วเคี้ยว
และโรงเรียนประชาบาล “จันทราราษฏร์ประสาท”

วันที่ 9 มีนาคม 2501
พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียน

 เครื่องแต่งกาย
(ไม่มีอีกตามเคย -*-)

 

 

 

 ตราโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.gif

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยส่งเสริมและบริหารงานด้านวิชาการ อยู่ในความควบคุมและอำนวยการสอน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • พ.ศ. 2511 เริ่มเปิดดำเนินการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สายสามัญ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2511 มีนักเรียนทั้งหมดจำนวน 70 คน เป็นชาย 33 คน เป็นหญิง 37 คน ทำการสอนโดยอาจารย์ และครู ในคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 14 คน อาจารย์พิเศษ 5 คน อาจารย์ชาวต่างประเทศ 2 คน ในปีแรกได้อาศัยวิทยาลัยที่ 1 อาคาร 1 ( ว.1 อ.1) เป็นอาคารเรียนชั่วคราว
  • พ.ศ. 2512 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน ขณะก่อสร้างได้ย้ายสถานที่เรียนเดิม มาใช้อาคารคณะศึกษาศาสตร์เป็นการชั่วคราว ในปีการศึกษานี้ มีนักเรียนทั้งหมด 158 คน เป็นชาย 66 คน เป็นหญิง 92 คน
  • พ.ศ. 2513 อาคารเรียนยังสร้างไม่เสร็จ จึงต้องอาศัยเรียนที่อาคารเรียนคณะศึกษาศาสตร์ต่อ โดยมีจำนวนนักเรียนเพิ่มเป็นทั้งหมด 245 คน
  • พ.ศ. 2514 โรงเรียนสาธิตฯ ได้ย้ายมาใช้อาคารเรียนของโรงเรียน และได้ขยายชั้นเรียนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา

ตอนปลาย โดยเปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แยกเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลป์ และแผนกทั่วไป แผนกละ 1 ห้อง

  • พ.ศ. 2515 เป็นปีแรกที่โรงเรียนสาธิตฯ ได้เปิดชั้นเรียนสายสามัญ ครบตามหลักสูตร 5 ปี คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  • พ.ศ. 2521 ได้ปรับหลักสูตร ตามกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้เรียนในชั้น ม.ต้น 3 ปี และเรียนในชั้น ม.ปลาย 3 ปี
  • พ.ศ. 2533 ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนมาใช้ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ซึ่งเปลี่ยนมาจากหลักสูตร ม.ต้น ปี 2521 และหลักสูตร ม.ปลาย ปี 2524 โดยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้นเปิดสอน 3 แผนการเรียน ได้แก่ แผนวิทย์-คณิต, แผนศิลป์-คณิต กข. และแผนศิลป์-ภาษาฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2537 ได้เปิดห้องเรียนเพิ่มในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จาก 3 ห้องเรียน เป็น 5 ห้องเรียน จนกระทั่งปัจจุบัน ทุกระดับชั้นมีจำนวนครบชั้นละ 5 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนสาธิตฯ มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,157 คน โดยเป็นนักเรียนชั้นม.ต้น 602 คน และนักเรียนชั้น ม.ปลาย 555 คน มีครู-อาจารย์ประมาณ 90 คน
  • ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตฯ มีนักเรียน รวมทั้งสิ้น 1,188 คน โดยเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 621 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 567 คน มีบุคลากร ประมาณ 88 คน

 สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ตราประจำโรงเรียน ได้แก่ ตราประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ช้างชูคบเพลิง
  • สีประจำโรงเรียน ได้แก่ สีประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ สีม่วง สีประจำโรงเรียน คือ สีน้ำเงิน
  • คติพจน์ของโรงเรียน คือ "วิชาเป็นครูของมวลชน" (วิชชา นรานํ ครุ)

เครื่องแต่งกาย

 

 

 







                  โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ( สช.) ตั้งอยู่เลขที่ 6 / 1 ถ. ช้างเผือก ต. ศรีภูมิ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ บนเนื้อที่ 4 ไร่ 97 ตารางวา เปิดดำเนินการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ในลักษณะการลงทุนร่วมกันระหว่าง นายประกอบ สื่อกระแสร์ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ( ในฐานะผู้รับใบอนุญาต ) กับผู้ร่วมลงทุนภายใต้กำหนดระยะเวลา 25 ปี ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินกิจการใหม่โดยทายาทของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ซื้อโอนกิจการ ทั้งหมดมาดำเนินการแต่ฝ่ายเดียวซึ่งมี ดร.อุทัย สื่อกระแสร์ เป็นผู้รับใบอนุญาต

                       นับตั้งแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงกิจการเป็นต้นมา ผู้ดำเนินการได้ยึดนโยบายที่จะพัฒนาสถาบันการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมายด้านคุณภาพและมาตรฐานในทุกด้าน โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหารการจัดการหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนการสอน อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาใช้ตามลำดับ และในปี 2544 ได้จัดให้มีการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก
                      ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายที่จะให้เป็นสถาบันการศึกษาที่สามารถรองรับและให้บริการเยาวชนทั้งจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)






โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย

Our $erviam.jpg
อบรมเสริมคนให้ครบ ประสบธรรมอันสูงส่ง ปัญญาแตกฉานมั่นคง เสริมส่งให้เป็นคนจนสมบูรณ์

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนเรยีนาเชรีวิทยาลัย เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2474 โดยอธิการเจ้าคณะโรงเรียนมาแตร์เดอีเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ ตามความต้องการของมิซซังคาทอลิกไทย ภายใต้คำร้องขอผ่านทางคณะชีอุร์สุลินที่กรุงโรม จากปี พ.ศ. 2472 โรงเรียนเรยีนา ได้ก่อสร้างตึกรูปตัวแอล ยาว 86 เมตร กว้าง 9 เมตร ประกอบไปด้วย ห้องนอนนักเรียนประจำ ห้องอาหาร ห้องประชุม และห้องน้ำ โดยแล้วเสร็จต้นปี พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่ 166 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100

เครื่องแต่งกาย
(ระดับมัธยมปลาย)

(ได้แค่ครึ่งบนค่ะ ใครมีชุดเต็มตัวก็ลงให้ด้วยก็ดีนะค่ะ)


และอีกหลายๆ โรงที่ยังไม่ได้เอ่ยนาม


PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE
0
jjjjjjjjjjjjjj 13 มิ.ย. 54 เวลา 02:09 น. 6

แล้วข้ามโรงเรียนรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยไปหรอ เก่าแก่+มีชื่อเสียง จขกท โพสใหม่นะ

0
`nan.kuku?` 13 มิ.ย. 54 เวลา 19:07 น. 9
ปรินส์รอยแยลส์ รู้สึกจขกท.ลงไว้แล้วนะ (ณ ตอนนี้)
แต่มันไม่มีรูป = =' ตรงด้านล่างสุดของหน้าเนื้อหาเลยอ่ะ


PS.  BELIVE IN URSELF , BELIVE IN UR IMAGINE ★
0
HoLyNe 13 มิ.ย. 54 เวลา 22:42 น. 14

มีแต่ของเชียงใหม่ งิ
ไม่มีโรงเรียนเราเลย =w=


PS.  คนน่ามองแต่ไม่น่ารัก คนน่ารักแต่ไม่น่ามอง ฉันนี่แหละคือคนนั้นที่ไม่น่ารักและไม่น่ามอง
0
~Hi_KyoYa~ 13 มิ.ย. 54 เวลา 22:47 น. 15

กาวิละ > <b


(ม.ปลาย)


หารูปยากจริงๆนั่นล่ะ 555


PS.  แอนตี้นอมอลท่านฮิ แอนตี้18All BUT .. บิรัก All18 Only ~~!!!!!!!!!!!!
0
PrAeW_CapuhinoKUNG 13 มิ.ย. 54 เวลา 23:37 น. 16
เราไม่ได้ข้ามปริ้นส์นะ เราลงไว้ตั้งแต่แรกแล้ว
ร.ร. ที่สามต่อจากมงฟอร์ตข้างบนสุดเลยค่ะ
หรือว่าหมายถึงชุดนักเรียนปริ้นส์เราก็เห็นบ่อยนะ
แต่ว่าในอินเตอร์เน็ตแม้แต่ในเว็บ ร.ร. เราก็หาที่ชัดๆ ไม่ได้
และเราก็โพสบอกไว้แล้วด้วยว่า ถ้าใครพอจะมีกรุณาลงรูปให้ด้วยค่ะ
เพราะเราหาไม่เจอเอง
แต่ในเมื่อไม่มีใครมีรูปชุดยูนิฟอร์มและลงในกระทู้นี้ให้
เราก็ทำได้เพียงแค่นี้จริงๆ
ไม่ได้มีแค่ปริ้นส์นะที่เราหาเครื่องแบบมาโพสให้ดูไม่ได้
ลงเรียนอื่นก็ด้วยเช่นกัน
เราใช้เวลาในการตั้งกระทู้นี้ตอนช่วงเจ็ดโมงเช้า
เพราะอยากให้คนที่อยู่ต่างถิ่นได้รับรู้ถึงสถานศึกษาในจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือ
แต่โรงเรียนทั้งหมดที่เราโพสเราใช้เวลาในการหาเครื่องแต่งกายจนครึ่งค่อนวัน
เมื่อหาไม่เจอแล้วจริงๆ ก็จำเป็นต้องโพสไว้แบบนี้แหละค่ะ
แต่ถ้าหากอยากรู้ว่าการแต่งกายเป็นอย่างไรนั้น
ไว้หลังเลิกเรียนเราจะลองเดินข้ามถนนไป ร.ร.ตรงข้าม
แล้วขอถ่ายรูปใครสักคนมาโพสให้แล้วกันนะค่ะ
แต่คงต้องรอสักหน่อยเพราะกล้องเราเข้าอู่อยู่
ขอบคุณที่ให้ความสนใจกับกระทู้นี้ค่ะ
จขกท.


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 13 มิถุนายน 2554 / 23:42

PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE
0
พีโอว่า 14 มิ.ย. 54 เวลา 09:57 น. 17
วารี มีโรงเรียนเราด้วยตั้งสามโรงเรียน
เชียงใหม่คริสเตียน
เรยีนา ถึงมอสาม
เเละ
วารี เรียนอยู่


PS.  ^____________^
0