Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องเจ็บๆของเล็บขบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เรื่องเจ็บ ๆ ของเล็บขบ


ภาพจาก http://progressivepodiatrynj.com/images/Ingrown_toenails.gif

เล็บขบเป็นอีกโรคหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีความทุกข์ทรมานมากจนถึงกับต้องไปพบแพทย์ จากการเก็บสถิติพบว่า มีคนไข้เล็บขบมากถึงหนึ่งในห้าของผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับเท้าทั้งหมดที่ไปพบแพทย์เลยทีเดียว

เล็บขบเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อด้านข้างเล็บ ซึ่งถูกเล็บแข็ง ๆ กดหรือจิกจนอักเสบ มีอาการปวดบวมแดง และหากการอักเสบนั้นมีการติดเชื้อซ้ำเติมก็จะเป็นหนองทำให้ปวดมาก

เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดโรคเล็บขบแล้ว พบว่าเล็บขบเกิดได้จากสองปัจจัยคือ ลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคของเล็บเอง และวิธีการดูแลเล็บ

ในเรื่องโครงสร้างของเล็บนั้น ผู้ที่มีขอบเล็บโค้งมาก อย่างที่เรียกว่า pincer nail (ตามรูป)




ภาพจาก http://hardinmd.lib.uiowa.edu/pictures22/dermnet/25pincernails121304.jpg


มีโอกาสเป็นเล็บขบได้มากกว่าผู้ที่มีเล็บปกติ ทั้งนี้เพราะความโค้งของขอบเล็บทำให้เล็บจิกเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเล็บ ก่อให้เกิดความเสียดสี การบาดเจ็บ และเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบตามมาได้โดยง่าย

ในเรื่องวิธีการดูแลเล็บนั้น ผู้ที่ดูแลไม่ถูกวีธีก็อาจทำให้เป็นเล็บขบได้

ที่เป็นปัญหาอยู่บ่อย ๆ คือการตัดเล็บ ดังที่เคยได้เรียนมาแล้ว คุณครูสอนว่าการตัดเล็บเท้าที่ถูกต้องนั้น ควรตัดให้ขอบเล็บตรง ไม่ตัดจนสั้นเกินไป อีกทั้งไม่ควรคว้านขอบด้านข้างของเล็บ ซึ่งจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้



ภาพจาก http://www.aafp.org/afp/2009/0215/afp20090215p303-f1.gif


การสวมใส่รองเท้าที่ปลายคับเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของเล็บขบได้ เนื่องจากแรงบีบจากรองเท้าที่คับมากนั้น จะทำให้เล็บเสียดสีกับเนื้อเยื่อข้างเล็บให้ถลอก หรือไม่ก็เป็นแผลเล็ก ๆ ซึ่งทำให้มีการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ง่ายขึ้น

โรคเล็บขบแบ่งออกตามความรุนแรงของโรคเป็น ๓ ระดับคือ

  1. ระดับเล็กน้อย ในระดับนี้ผู้เป็นเล็บขบจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย อาการปวดอาจเพิ่มขึ้นไปอีกไม่มากนักถ้าหากว่าบีบหรือกดที่เล็บ เนื่อเยื่อข้างเล็บมีลักษณะบวมแดงเล็กน้อย ไม่มีหนอง
  2. ระดับปานกลาง ผู้เป็นเล็บขบจะปวดมากขึ้น เนื้อเยื่อข้างเล็บบวมแดง และอาจพบแผลตื้น ๆ มีน้ำเหลืองซึมตรงบริเวณนั้นได้
  3. ระดับรุนแรง มีอาการปวดมากจนกระทั่งเดินลำบาก เนื้อเยื่อบริเวณนั้นบวมแดงมาก และมีหนองไหลออกมา ในรายที่เป็นเล็บขบมาก และเป็น ๆ หาย ๆ มานานจะพบว่าเนื้อเล็บหนาขึ้น และผิดรูปได้ ในกรณีที่เป็นเล็บขบอย่างรุนแรง ก็ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

ในกรณีที่เป็นเล็บขบน้อย ๆ นั้น ท่านสามารถดูแลตนเองอย่างง่าย ๆ ด้วยการแช่เท้าในน้ำอุ่น ล้าง และทำความสะอาดแผล
น้ำยาล้างแผลนั้น หากเป็นสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จะมีข้อดีคือ ฟองฟู่ของสารละลายจะช่วยชำระความสกปรกที่ตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อร่วมกับการฆ่าเชื้อ อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หากต้องการฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่นานขึ้น ก็ควรเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อประเภทไอโอดีน


ภาพจาก http://www.freebeautytips.org/images/gf-ingrown.jpg

การใช้ก้านไม้ขีดงัดข้างเล็บ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เชื่อกันว่าสามารถบังคับไม่ให้เล็บงอกจิกลงไปในเนื้อข้างเล็บได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่ได้ยอมรับการรักษาด้วยวีธีนี้ เนื่องจากว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลในแค่บางคนเท่านั้น

เนื่องจากว่าสาเหตุของเล็บขบส่วนใหญ่มาจากการตัดเล็บไม่ถูกวิธีและการสวมรองเท้าที่คับเกินไป ดังนั้นเราจึงควรป้องกันเล็บขบ ด้วยการกลับมาทบทวนว่าที่ผ่านมาเราตัดเล็บ(เท้า)ถูกต้องแล้วหรือยัง “เล็บเท้าตัดตรง และไม่ตัดจนสั้นเกินไป” จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักอยู่เสมอครับ

(บทความนี้ลงพิมพ์ในวารสาร "วิทยาจารย์" ปีที่ ๑๐๙ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือน เมษายน ๒๕๕๓)

บทความโดย นพ.ธีรวรรธน์ ขันทอง (admin@drnui.com)


ที่มา

http://drnui.com/node/7
http://www.google.co.th/ 

             หมั่นตรวจเช็คสุขภาพเล็บมือ-เล็บเท้าด้วยนะ...คิดยังไงกับกระทู้นี้เเสดงความคิดเห็นได้ อย่าป่วนกระทู้ ป่วนลบ
PS.  ไม่มีน้ำตาไหลออกมาหรอกนะ “จบแล้ว”ซะที่ไหน มันเพิ่ง “เริ่มต้น” ต่างหากล่ะ...เพราะนึกถึงเธออยู่ตลอด จะสัญญาอะไรเราไม่ต้องการหรอกนะ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

Amoris 27 ส.ค. 54 เวลา 18:52 น. 3
เราก็เป็นมันอยู่นั่น
พี่ที่ร้านตัดเล็บยังบอกเลย
ปลงเหอะค่ะน้อง
เล็บน้องมันลายสามเหลี่ยม
ตัดไม่เข้าลาย เล็บจะหลุดเอา
เบื่อเซ็ง แต่ก็ต้องรักษาไว้ให้ไม่มีกลิ่นพอ


PS.  ▬Donec semper ligula▬
0