Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นิสิต & นักศึกษา ??

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือเรา ก็สงสัยมานานแล้วอะนะ

ถามใครก็ไม่มีใครช่วยเราได้เลย T-T

เราอยากรู้ว่า ทำไม บาง มหาวิทยาลัย เรียก นิสิต
แต่ บาง มหาวทิยาลัย เรียก นักศึกษา

แล้วเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ ตัดสินหรอว่า มหาวิทยาลัยนี้ นิสิต นะ มหาวิทยาลัยนี้ นักศึกษา นะ


ใครรู้บอกเราที โง่มานานและ !!

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

111 19 ต.ค. 54 เวลา 14:40 น. 2

นิสิต

นิสิต เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยที่แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยทักษิณ รวมทั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังใช้ในมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งเช่น มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, โดยเมื่อก่อน ใช้คำว่า "นิสิต" สำหรับผู้ชาย และ "นิสิตา" สำหรับ ผู้หญิง

นิสิต มีความหมายว่า "ผู้อยู่อาศัย" สืบเนื่องมาจากในช่วงที่เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยถือว่าอยู่นอกเมือง การคมนาคมเพื่อมาศึกษาเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องพักภายในหอพักของมหาวิทยาลัย และก็เรียกบุคคลที่อาศัยในห้องปฏิบัติการว่านิสิตเช่นเดียวกันด้วย ซึ่งในภายหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้เปิด อยู่นอกเมือง และผู้ที่มาศึกษาก็จำเป็นต้องอยู่หอพักเช่นเดียวกัน จึงได้ใช้คำว่า "นิสิต" เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า ผู้ที่มาเรียนจะไม่ได้พักในหอพักเหมือนในสมัยก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังนิยมเรียกว่า "นิสิต" สำหรับมหาวิทยาลัยดังกล่าว

ที่มา :http://www.qoolive.com/show_blog/1122/us/student

สำหรับ นักศึกษา&nbsp จะใช้เรียกผู้เรียนในมหาวิทยาลัยแบบไปกลับไม่ได้ค้างอยู่หอ

แต่ในปัจจุบันจะใช้การอยู่หอหรือไม่อยู่หอเป็นเกณฑ์คงไม่ได้ เพราะเกือบทุกมหาวิทยาลัยจะมีหอพักเป็นของตัวเองและจะมีบางส่วนอยู่หอบางส่วนไม่ได้อยู่

ถ้ายังสับสนไม่รู้จะเรียกว่าอะไร&nbsp ก็ให้เรียกตามคนในสถานศึกษานั้นๆ ครับ ขอมูลใน google เยอะแยะ
พยายามอย่าเรียกผิดนะครับเพราะส่วนใหญ่จะยึดการเรียกตามแบบฉบับเดิมซึ่งถือเป็นการให้เกียรติ์
ผู้ที่นำคำนั้นๆมาใช้

0