Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Broadcast BB เรื่องโครงการแก้มลิง [บทความประกอบการตัดสินใจ]

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โครงการแก้มลิงคืออะไร...

จากการที่มีปัญหาน้ำท่วมล้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ๕ แนวทางคือสร้างคันกั้นน้ำ, จัดให้มีพื้นที่สีเขียว เพื่อกันการขยายตัวของเมือง, ให้มีการขุดลอกคลอง และขุดคลองใหม่, สร้างที่เก็บน้ำตามจุดต่างๆ และขยายช่องทางรับน้ำผ่านทางรถไฟและทางหลวง

     ทั้งนี้ในการสร้างคันกั้นน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกัน มิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านในการก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามา ให้ออกไป การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามพระราชดำริ "แก้มลิง"

     วิธีการของโครงการแก้มลิง คือดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ ที่บริเวณชายทะเล เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

      หลักการที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการ ด้วยกัน คือ

• โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
• โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
• โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน



โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ
 โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ

          พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างเป็น พื้นที่ลุ่ม มีระดับพื้นดินต่ำ บางแห่งมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งท้องกระทะ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ พื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นพื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ จึงเป็นสถานที่รองรับการขยายตัวจากความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองหลวง การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทางน้ำหลาก ทำให้สูญเสียพื้นที่รองรับน้ำกว่า 20,000 ไร่ การสร้างและการขยายถนน โครงการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การสูบน้ำบาดาล ตลอดจนการปลูกสร้างที่พักอาศัย โรงเรือนต่าง ๆ รวมถึงการขยายตัวและการพัฒนาพื้นที่อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นไปตามผังเมืองรวมอย่างเป็นระบบ ย่อมจะส่งผลต่อสาธารณะเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดสภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ส่วนนี้ต่อเนื่อง ลึกเข้าสู่พื้นที่ชั้นกลางและชั้นในของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล

           ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขประการหนึ่งก็คือ การระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมบริเวณโดยรวมรอบสนามบินและพื้นที่ส่วนใต้สนามบินถึงฝั่งทะเลอ่าวไทย เพราะบริเวณที่ทำการก่อสร้างสนามบินเป็นบริเวณที่ลุ่มต่ำ และเป็นแหล่งรับน้ำปริมาณสูง พร้อมกับเป็นทางน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน และปริมาณน้ำหลากจากบริเวณด้านตะวันออกไหลเข้ามารวมตัวเป็นเสมือนแก้มลิง

         กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อจะแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ และการจัดการน้ำหลากในพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน และการจัดการน้ำหลากในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออกตอนล่างเป็นแบบ บูรณาการทั้งลุ่มน้ำ โครงการก่อสร้างคลองระบายน้ำสายใหม่เพื่อเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรง และน้ำหลากบริเวณด้านเหนือคลองสำโรงไปยังชายทะเล และสูบระบายน้ำออกทะเลโดยตรง นอกจากนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำหลากทั้งพื้นที่เร่งด่วน และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเร่งดำเนินการวางและติดตั้งระบบโทรมาตรอุทกวิทยา เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสภาพน้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูบน้ำด้วย

โดยใช้งบประมาณทั้งโครงการ 8,409.740 ล้านบาท แยกเป็นรายละเอียดการก่อสร้าง ดังนี้

  1. คลองระบายน้ำ เป็นคลองดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีอัตราการไหล 100 ลบ.ม./วินาที ขนาดท้องคลองกว้าง 48 เมตร ความลาดเอียงด้านใน 1 : 3.5 ลาดความยาวของคลอง 1 : 25,000 ความเร็วในการไหล 0.50 ม./วินาที
  2. ถนนคันคลอง เชื่อมจากถนนสุขุมวิทไปจนถึงถนนบางนา-ตราด จำนวน 2 ช่องการจราจร และเตรียมไว้รองรับการขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรในอนาคต ถนนทั้งสองฝั่งของคลองระบายน้ำเป็นผิวจราจรแบบ Asphaltic Concrete หนา 7 ซม. กว้าง 11 เมตร ทั้งสองฝั่งของคลองระบายน้ำ รวมความยาวประมาณ 23.60 เมต
  3. อาคารสะพานน้ำ (Flume) ยกระดับและอาคารทิ้งน้ำ เป็น อาคารรับน้ำจากสถานีสูบน้ำ โดยยกระดับให้น้ำไหลไปตามสะพานน้ำ อัตราการไหล 100 ลบ.ม./วินาที ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ให้ลงสู่ทะเลโดยตรง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กยกระดับ รูปตัวยู ท้องคลองกว้าง 25.00 ม. กำแพงสูงข้างละ 3.15 ม. สูงจากถนนสุขุมวิทประมาณ 6.00 ม.
  4. สะพานรถยนต์ สะพานประกอบด้วย สะพานทางหลวงข้ามถนนเทพารักษ์ สะพานรถยนต์ ก.ม.9+300 สะพานข้ามคลองชายทะเล สะพานข้ามคลองสำโรง
  5. สถานีสูบน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบ Concrete Volute Pump ขนาด 25 ลบ.ม./วินาที จำนวน 4 เครื่อง สูบน้ำได้สูงสุด 100 ลบ.ม./วินาที ควบคุมการสูบน้ำด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  6. อาคารระบายน้ำด้านข้างคลองระบายน้ำ เป็นประตูระบายน้ำบริเวณที่คลองระบายน้ำตัดกับคลองธรรมชาติ ขนาด 2.8 x 4.56 ม. จำนวน 22 แห่ง
  7. อาคารรับน้ำคลองสำโรง เป็นอาคารเชื่อมทางน้ำจากคลองสำโรงไหลเข้าคลองสายใหม่
  8. สถานีไฟฟ้าย่อย ขนาด 115 KV Substation
  9. ระบบควบคุมระยะไกล เป็นระบบควบคุมการเปิดปิดบานระบายของประตูระบายน้ำด้านข้างคลอง และควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำ
  10. ระบบโทรมาตรอุทกวิทยา สถานีหลัก จำนวน 1 สถานี สถานีหลักรอง จำนวน 1 สถานี สถานีสนามที่ใช้ระบบ Fiber Optic จำนวน 23 สถานี สถานีสนามที่ใช้ระบบวิทยุสื่อสาร จำนวน 12 สถานี สถานีสนามที่ใช้ระบบ GPRS จำนวน 14 สถานี


Read more: http://www.paknam.com/thai/drainage-canal.html#ixzz1bRJrhUw2

คำถาม : โครงการสร้างที่ระบายน้ำเสร็จหรือยัง ?

สนามบินสุวรรณภูมิขวางทางน้ำไหล!!

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สมัยปี2526 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพครั้งใหญ่!! ในหลวงท่านทรงแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยทรงรับสั่งให้ทำแก้มลิง ที่บึงพระราม9 บึงมักกะสัน อีกทั้งสร้างประตูระบายน้ำหลายจุดช่วยผันน้ำลงทะเลได้อย่างเป็นระบบ

และตอนนั้นยังไม่มีสนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่เดิมนั้นเป็นทางไหลของน้ำลงทะเลมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5

แต่เมื่อปี2538 น้ำท่วมหนักอีกครั้ง นั่นเพราะเริ่มมีการถมที่ดินสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ปิดกั้นทางไหลของน้ำเหนือทางฝั่งตะวันออกลงทะเล

ในหลวงเคยทรงรับสั่งว่า ควรไปสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในที่ดอนตัวอย่างเช่นอู่ตะเภา หรือกำแพงแสนเป็นต้น ไม่ควรสร้างในที่ลุ่มต่ำแถวบางพลี บางบ่อ ในสมุทรปราการเช่นนี้เพราะเป็นที่รับน้ำเหนือ และเป็นทางผ่านของน้ำ

แต่ปีต่อมารัฐบาลพลเอกชวลิตกลับไม่นำพาพระราชดำริ เดินหน้าหน้าสร้างสนามบินสุวรรณภูมิด้วยการถมทรายลงบ่อ ถมดินเพื่อสร้างสนามบิน

และนับจากนั้น กรุงเทพฯด้านฝั่งตะวันออกและพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบินก็มักจะน้ำท่วมหนักแทบทุกปี

---------------------------

ถ้าไม่มีเขื่อนป่าสัก ปี53กรุงเทพจมน้ำไปแล้ว

เมื่อเดือนกรกฎาคม53 ที่ผ่านมา น้ำในเขื่อนป่าสักแห้งขอดเหลือเพียง7%ของปริมาณความจุน้ำ วัวลงไปกินหญ้าในเขื่อนได้

แต่ช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนตุลาคม

น้ำกลับล้นเขื่อนป่าสัก ทั้งๆที่ไม่มีพายุเข้า

ลองนึกดูหากไม่มีเขื่อนป่าสักแล้ว น้ำอีกจำนวนกว่าพันล้านลบ.ม. จะไปไหน ถ้าไม่มาท่วมกรุงเทพฯ

ลพบุรีจะถูกน้ำกลืนยิ่งกว่่าที่โดนทุกวันนี้


ขอบคุณพี่น้องต่างจังหวัดทุกท่าน ที่เสียสละรับน้ำไว้เพื่อปกป้องกรุงเทพฯไม่ให้จมน้ำ

--------------------------

แนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมตามแนวทางพระราชดำริ เป็นแนวทางที่ยั่งยืน แต่เพราะคนไทยและรัฐบาลไทยไม่สนใจทำตามพระราชดำริเท่าที่ควรทำ

รัฐบาลดื้อด้านสร้างสนามบินในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ที่ๆเป็นที่รับน้ำฝั่งตะวันออก ที่ระบายน้ำลงทะเล แต่พอสร้างสนามบิน ถมที่ดินสูงขึ้น สร้างเขื่อนกั้นน้ำเข้าสนามบิน บ้านเรือนชาวบ้านเลยท่วมหนักท่วมนาน

ประชาชนรุกล้ำคูคลอง ไม่ช่วยดูแลคูคลอง ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ช่วยกันปลูกต้นไม้ สร้างบ้านเรือนโดยไม่คำนึงถึงทางไหลของน้ำ สร้างถนนปิดกั้นทางน้ำ ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ได้ย้อนกลับมาทำร้ายเราแล้ว

และเมื่อเราไม่รักธรรมชาติเท่าที่ควรทำ ธรรมชาติก็เลยลงโทษพวกเราไง...
credit:http://akelovekae.blogspot.com/2010/10/blog-post_27.html

บทความอื่นๆ
http://dds.bangkok.go.th/king/king_project3_5.htm
http://www.raorakprajaoyuhua.com/bio/gen02.htm
-------------------------------------------------------------------------------------------------
จากเจ้าของกระทู้: เรื่องทั้งเกิดจากความสงสัยที่ได้รับหลังจากอ่าน broadcast ของบีบี ว่าด้วยเรื่องแก้มลิง

กระทู้นี้สร้างขึ้นมาเพื่อ เทิดทูนและสำนึกในรักจากในหลวงค่ะ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่มีใครอยากให้เกิด
สิ่งที่ทำได้คงเป็นเพียงการแก้ปัญหา
และประคับประคองคนไทยทุกคนไปด้วยกันค่ะ 

เป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกท่าน 


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 22 ตุลาคม 2554 / 01:18

PS.   Open up your mind and see like me :))

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น