Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สถานที่น่าสนใจในจังหวัดเชียงใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่



   1. พระตำหนักดาราภิรมย์ สร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงย้ายกลับมาประทับที่เชียงใหม่หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าดารารัศมีทรงใช้พระตำหนักหลังนี้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันเป็นคุณูปการทั้งทางด้านเกษตร และศิลปะวัฒนธรรม อาทิ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมล้านนาให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเหนือ ทรงสร้างสวนทดลองการเกษตรชื่อ “สวนเจ้าสบาย” เนื่องจากทรงสนพระทัยในการเกษตรและทรงหวังที่จะช่วยการกสิกรรมของภาคเหนือ ทรงทดลองปลูกดอกกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทรงได้จากสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษที่ทรงเป็นสมาชิกและพันธุ์ที่โปรดที่สุดเป็นกุหลาบดอกใหญ่สีชมพู กลิ่นหอมเย็น จึงทรงตั้งชื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แต่พระบรมราชสวามีว่า “จุฬาลงกรณ์” และก่อนสินพระชนม์ เจ้าดารารัศมีได้ทรงทำพินัยกรรมประทานที่ดินนี้เป็นมรดกแก่ทายาท ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ซื้อที่ดินต่อจากทายาท โดยมีการมอบโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องในเวลาต่อมา เจ้าดารารัศมีเป็นเจ้าจอมที่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากองค์หนึ่ง เพราะนอกจากเจ้าดารารัศมีมีพระอัธยาศัยอันงดงามแล้ว ยังทรงเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าพระบรมราชวงศ์จักรีกับดินแดนล้านนา ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองแปรเปลี่ยนไปในทางที่ดียังประโยชน์แก่อาณาจักรสยามเป็นอย่างยิ่ง
ห้องต่างๆ ในพระตำหนักดาราภิรมย์
    ชั้นบน
   1.โถงทางเดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระปฐมวงศ์ พระประวัติ พระตำหนักที่ประทับในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระตำหนักดาราภิรมย์
   2.ห้องรับแขก จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเครื่องเรือนร่วมสมัย
   3.ห้องบรรทม จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเครื่องเรือนร่วมสมัย
   4.ห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ จัดแสดงจานชาม เครื่องเสวย ของใช้ส่วนพระองค์ และเครื่องดนตรี
   5.ห้องจัดแสดงพระกรณียกิจ ด้านการศาสนา ด้านการเกษตร และด้านศิลปะศาสตร์
   6.ห้องจัดแสดงชุดเครื่องทรง ผ้าทอที่พระราชชายาฯทรงออกแบบลวดลายและส่งเสริมการทอ ชุดการแสดงที่พระราชชายาฯได้ทรงฟื้นฟูและทรงดัดแปลงศิลปะภาคกลางให้เข้ากับศิลปะภาคเหนือ
   7.ห้องสรง
  ชั้นล่าง
   จัดแสดงเครื่องมือเกษตร ที่ทรงใช้ในการทดลองการเกษตรแผนใหม่ ในสวนเจ้าสบาย นอกจากนั้นยังมีเครื่องทอผ้า ซึ่งใช้ทอผ้าสำหรับพระราชชายาฯโดยเฉพาะ




     2. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร หรือ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “ วัดดอยสุเทพ ” นั้น เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ( สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ , ๐๕๑ ฟุต ) เลขที่ ๑๒๔ บ้านดอยสุเทพ หมู่ที่ ๙ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๖ ไร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ( ดูเพิ่มที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ) อนึ่ง วัดแห่งนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ชื่อของดอยสุเทพนี้เดิมเรียกกันหลาย ชื่อ นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีชื่อ อุจฉุบรรพต ดอยอ้อยช้าง และดอยกาละ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ” สันนิษฐานว่าเดิมมีฤาษีตนหนึ่งชื่อวาสุเทพหรือสุเทวฤาษี ( เชื่อกันว่ามีตัวตนจริง เพราะเป็นผู้สร้างนครหริภุญชัยเมื่อ พ . ศ . ๑๒๐๔ : อ้างตาม ชินกาลมาลีปกรณ์ ) มาบำเพ็ญตบะอยู่บนเขาลูกนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อภูเขาตามชื่อฤาษีตนนั้น



     3. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อ พ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่มอำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่) ดอยอ่างกา มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมายมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า "อ่างกา" และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา" แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว


     4. ปางช้างแม่สา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก ใช้เวลาขับรถจากตัวเมืองมาถึงปางช้างภายในเวลาประมาณ 20 นาที โดยคุณสามารถสัมผัสได้กับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ตลอดสองข้างทางไปจนถึงปางช้างแม่สาเลยครับ

จากประสบการณ์ที่มากกว่า 30 ปี และจำนวนช้างที่มีกว่า 70 เชือกที่อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูอย่างดี เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าปางช้างแม่สาแห่งนี้ กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญในด้าน การดูแลช้าง การสืบพันธุ์ช้าง รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
      
หาก มองย้อนกลับไปเมื่อช่วงหลายทศวรรษที่แล้ว เราคงจะคุ้นเคยกับภาพของการใช้ช้างในงานอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นส่วนมากในเขต ป่าของพื้นที่ภาคเหนือ แต่เนื่องด้วยการตระหนักถึงคุณค่าในความฉลาดและความสามารถที่มีมากของช้าง แล้ว "คุณชูชาติ กัลมาพิจิตร" จึงได้ก่อตั้งปางช้างแม่สาขึ้นในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่อยู่ติดกับลำน้ำ แม่สาในเขตหุบเขาแม่สาเมื่อปี พ.ศ. 2519 นับตั้งแต่นั้น คุณชูชาติได้ทำการซื้อช้างจากที่ต่างๆ มาเพื่อทำการฝึกและพัฒนาทักษะต่างๆ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถของช้างเหล่านี้ให้แก่ นักท่องเที่ยวผู้ที่หลงเสน่ห์ในความน่ารักของช้างและหวังว่านักท่องเที่ยว ที่มาเยือนจะเกิดความรักและตระหนักในคุณค่าของช้างไทย

ปางช้างแม่สาเป็นปางช้างแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9001 version 2008 เนื่องจากมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอปางช้างยุคใหม่ที่นักท่องเที่ยวสามารถ สัมผัสได้ถึงการดูแลเอาใจใส่ที่ดีต่อช้างทุกเชือกและมีความมั่นใจว่าช้างทุก เชือกอยู่อย่างอิ่มท้องและมีความสุข

พร้อมทั้งยังมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถและความฉลาดของช้างไทยรวมทั้งส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงความสามารถของช้างไทย





     5. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่จำนวน 3,500 ไร่ บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ท้องที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม ทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12 สายแม่ริม-สะเมิง

สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบ ๆ ได้

จุดที่แวะชมได้ คือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์เพาะกล้วยไม้ไทย อาคารพืชสมุนไพร พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร ศูนย์วิจัย และอาคารเรือนกระจก และ มีเส้นทางเดินเท้าที่จัดไว้ 3 เส้น คือ

Rock Garden - Thai Orchid Nursery (สวนหิน-ศูนย์อนุบาลกล้วยไม้ไทย) ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที

Arboreta (เส้นทางศึกษาพรรณไม้) รวบรวมพรรณไม้ไว้มากกว่า 10 วงศ์ เช่น กล้วย ปาล์ม ไซแคด เฟิร์น ขิง เป็นต้น ใช้เวลา 45-60 นาที

Climber Collection (เส้นทางขึ้นเขา) ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง

เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30-16.00 น.

ค่าธรรมเนียม

ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถรวมทั้งคนขับ 50 บาท


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ.เชียงใหม่


     6. อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เดิมมีชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติแม่หาดแม่ก้อ" มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก พื้นที่ป่าอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่าน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะพื้นที่ป่าที่ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง ตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล

อุทยานแห่งชาติแม่ปิงมีเนื้อที่ประมาณ 1,003 ตารางกิโลเมตร หรือ 626,875 ไร่ จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศไทย

สิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ยังไม่มีบริการบ้านพัก สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่ต้องการพักแรม ต้องนำเต็นท์และอาหารมาเอง ติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 597-5734

ลักษณะภูมิประเทศ :
สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ "ดอยห้วยหลาว" มีความสูงประมาณ 1,238 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย อาทิ ห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ซึ่งห้วยต่างเหล่านี้ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ และยังมีป่าดงดิบอยู่ตามหุบเขาและลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง มะค่าโมง ประดู่ รถฟ้า สมพง สลัดได หวาย เป็นต้น

สัตว์ป่าในอุทยานฯมีชุกชุม โดยเฉพาะตามป่าริมฝั่งแม่ปิง อาทิเช่น เก้ง กวาง เลียงผา วัวแดง หมีควาย หมูป่า และนกนานาชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญอีกด้วย

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

น้ำตกก้อหลวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯไปประมาณ 20 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ มีความสูงต่างระดับลดหลั่นกันลงมาทั้งหมด 7 ชั้น และเนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นหินปูนประกอบกับมีน้ำไหลตลอดปี จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยมากมาย มีความสวยงามตามธรรมชาติ

ทุ่งกิ๊ก ทุ่งนาง เป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติที่กว้างใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานฯ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและเนินเขา ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง มีทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวก เก้ง กวาง กระต่าย และไก่ป่าชนิดต่างๆมากมาย

ห้วยถ้ำ อยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวริมฝั่งแม่น้ำปิง สามารถมองเห็นทิวทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำดอยเต่าได้อย่างสวยงาม รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณนี้ได้

ผาดำ-ผาแดง มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง สภาพแวดล้อมยังเป็นป่าที่สมบูรณ์มาก จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ในระยะไกล การเดินทางต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น

ถ้ำยางวี เป็นถ้ำที่อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำจะมีป่าสนเขาขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีชื่อเรียกกันว่า "ป่าพระบาทยางวี" เหมาะสำหรับเป็นที่พักแรมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ

แก่งก้อ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมภูมิประเทศและสถานที่น่าสนใจต่างๆ เช่น น้ำตกอมเป น้ำตกอุมปาด เกาะคู่สร้างคู่สม ผาเต่า ผาพระนอน ผาคันเบ็ด แก่งสร้อย ถ้ำแก่งสร้อย พระธาตุแก่งสร้อย พระบาทบ่อลม เขื่อนภูมิพล เป็นต้น

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปอุทยานแห่งชาติแม่ปิง
จากอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1087 สายลี้-ก้อ ที่ทำการอุทยานฯจะตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 19-20 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางได้จากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านลำน้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก หรือจะเดินทางจากเขื่อนภูมิพลไปยังดอยเต่าก็ได้





     7. บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นแหล่งกำเนิดของงานแกะสลักไม้ในจังหวัดเชียงใหม่ จนผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งด้านคุณค่า และคุณภาพของสินค้า 
    จุดรวมความหลากหลายของงานหัตถศิลป์ที่โดดเด่น เช่น งานแกะสลักไม้ , งานเดินเส้น – แต่งลาย , งานลงรัก – ปิดทอง , แอนติค , เครื่องเงิน , เครื่องเขิน , ผ้าทอ , เครื่องจักรสาน และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น




     8. บ้านบ่อสร้าง สันกำแพง "ร่มบ่อสร้าง" เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมและเลือกซื้อร่มบ่อสร้าง ที่“บ้านบ่อสร้าง”เป็นที่ระลึกติดมือกลับมา ถือเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะ ทำร่มกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้น สะดุดตาผู้พบเห็น มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำ อย่างเดียวกัน  หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิต ไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม
     ชาวบ่อสร้างทั้งตำบลรวมไปถึงอีก 8 หมู่บ้านในตำบลใกล้เคียงของพื้นที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด ใน จังหวัดเชียงใหม่ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่างานทำมือของชาวบ้านได้กลายเป็นโรงงาน อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ หลายร้อยครัวเรือนในหลายๆหมู่บ้าน การผลิตชิ้นส่วนร่มเป็นหน้าที่ของแรงงานที่ เป็นชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านตั้งแต่รุ่น พ่อเฒ่าแม่เฒ่าลงมาจนถึงคนหนุ่มสาวนับพันๆคน ดังนั้นบ่อสร้างจึงเป็นเพียง หมู่บ้านประกอบร่มโดยมีชิ้นส่วนต่างๆของร่มเดินทางมาจากต่างหมู่บ้าน ซึ่งส่วนประต่างๆของร่มที่เกิดจากแรงงาน ใต้ถุน บ้านและกระจายกันอยู่ทั่วไปก็จะมารวมกันอยู่ที่นี่เป็นจุดสุดท้าย
     การทำร่มบ่อสร้างมีมานับร้อยปี ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีความถนัดในการทำร่มแตกต่างกันไปตามชิ้นส่วนที่ได้รับ มอบ หมายในการผลิต เช่น หมู่บ้านสันพระเจ้างาม ผลิตหัวร่มและตุ้มร่ม บ้านออนทำโครงร่ม บ้านหนองโค้งหุ้มร่ม และลงสี บ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ดผลิตด้ามร่ม บ้านต้นเปาผลิตกระดาษสาแต่การประกอบชิ้นส่วนของ ร่มทั้งหมดจะมารวมกันอยู่ที่บ่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายลวดลาย และสีสันบนผืนร่มที่ถือว่าเป็น สัญลักษณ์อันเลื่องชื่อของร่มบ่อสร้าง มีกลเม็ดเคล็ดลับในการทำร่มอยู่ที่การใช้แป้งเปียกผสมน้ำมะโก้ติดผ้า หรือกระดาษเข้ากับร่มทำให้ติดทนนานไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันควร และเวลาลงสีน้ำมันที่ต้องผสมกับน้ำมันมะมื้อ หรือน้ำมันตังอิ๊วที่ทำให้ร่มทนแดด ทนฝน และใช้งานได้จริงไม่ว่าหน้าฝนหรือหน้าร้อนเพราะฉะนั้น นอกจาก ร่มบ่อสร้าง จะเป็นของที่ ระลึกสวยงามแล้วยังสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี




     9. พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ณ ยอดสูงดอย "บวกห้า" ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระราชนิเวศน์ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2504 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และได้กลายเป็นที่ประทับในคราวที่เสด็จแปรพระราชฐาน เพื่อทรงเยี่ยมเยียนเหล่าพสกนิกรทางภาคเหนือเป็นประจำเสมอมา
พระสาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร (คือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ในกาลต่อมา) ได้ถวายชื่อเพื่อมีพระราชวินิจฉัย 2 ชื่อ คือ "พิงคัมพร" และ
"ภูพิงคราชนิเวศน์" เมื่อมีพระราชวินิจฉัยแล้วจึงพระราชทานนามว่า
"พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์"
พระตำหนักทรงไทย งามสง่า อยู่ท่ามกลางแมกไม้อันร่มรื่น ประดับประดาด้วยสวนหย่อม ลำธาร สระน้อยๆและโขดหิน แต่งแต้มด้วยไม้ดอกต่างชนิด ต่างสี หลากกลิ่น แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของพระราชนิเวศน์แห่งนี้ ก็คือ กุหลาบหลากหลายพันธุ์ที่เบ่งบานอวดสีสันให้ดอกโตชนิดที่ไม่เคยพบเห็นที่ใดมาก่อน
ผู้ใดที่ได้มีโอกาสไปชมภูพิงคราชนิเวศน์ในฤดูหนาว จะต้องตื่นตาตื่นใจกับกุหลาบหลากสี หลายร้อยพันธุ์ ที่ส่งกลิ่นหอมตลบและประชันขันแข่งความงามกันอยู่ทั่วบริเวณพระราชนิเวศน์แห่งนี้ ส่งผลให้ภูพิงคราชนิเวศน์สดสวยราวอุทยานสวรรค์

น้ำพุร้อนสันกำแพง


     10. บ่อน้ำพุร้อน สันกำแพง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในอำเภอสันกำแพง ภายในบริเวณจะมีน้ำพุร้อน 2 บ่อที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน นอกจากนี้ยังมีการสร้างสระเก็บน้ำร้อนเพื่อให้คนใช้ต้มไข่ และบริเวณที่อยู่นอกออกไปก็จะมีบริการแช่น้ำแร่ หรืออาบน้ำแร่ด้วย และมีสระว่ายน้ำสำหรับผู้รักการออกกำลังกาย บรรยากาศก็ร่มรื่นด้วยต้นไป มีธารน้ำร้อน(อุ่น)ไว้ให้แช่น้ำแก้เมื่อยด้วย ใครมีโอกาสลองแวะไปเที่ยวนะครับ ค่าบัตรผ่านก็ 20 บาทเท่านั้น จะไปรถยนต์หรือรถเครื่อง(มอเตอร์ไซด์)ได้ทั้งนั้น


     11. น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของอำเภอแม่ริม แบ่งเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามเชิงเขาถึง 8 ชั้น เป็นส่วนหนึ่งของวนอุทยานน้ำตกแม่สา ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ ทำให้สภาพอากาศร่มรื่นเย็นสบายตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนที่ได้รับความนิยมมากทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่น นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนหน่อยใจกันมาก เพราะว่าอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก น้ำตกแม่สาเป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงามและมีน้ำไหลตลอดปี



PS.  KYUMIN~YERYOE~HANHYUK~FOREVER LOVE

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

Jackie Chan 29 ต.ค. 54 เวลา 15:58 น. 5
เราไปมาแล้วสวนสัตว์เชียงใหม่ดูหลินปิง หลินฮุ้ย และช่วงๆ ขึ้น mono rail รอบสวนสัตว์ด้วย
PS.  time and tide wait for no man
0