Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หัวใจ...โดยปกติอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ทั่วไปโดยเฉลี่ยประมาณ 50-100 ครั้งต่อนาที ไม่ควรช้าหรือเร็วมากเกินไปหรือเต้นสดุด เรียกว่า “ภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนมีอาการรุนแรงจะส่งผลร้ายตต่อสุขภาพและอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
โดย ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงภาวะโรคหัวใจผิดจังหวะว่า เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือภาวะหัวใจเต้นช้า และภาวะหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นกับอัตราเร็วผิดปกติ ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งสภาพหัวใจ อาการโรคหัวใจผิดจังหวะที่เกิดกับผู้ ป่วยอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล หรือกลัวจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ และบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำว่าอาการทั้งหมดเกิดจากความเครียด และได้รับยาคลายวิตกกังวล หรือยานอนหลับมารับประทานเป็นระยะเวลานาน แต่อาการของผู้ป่วยกลับไม่ดีขึ้นจนรู้สึกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ป่วยที่การทำงานของหัวใจปกติ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งอาการโรคหัวใจผิดจังหวะทั้ง เต้นช้าหรือเร็วเกินไปจะทำให้ความดันลดลง ส่งผลให้เลือดสูบฉีดไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการมึนงง หวิว วูบ หรือหมดสติร่วมด้วย โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบได้หลายรูปแบบ พอจะแยกตามลักษณะอาการของโรคหัวใจผิดจังหวะได้ดังนี้
•    หัวใจเต้นช้าเกินไป มีอาการมึนงง หวิว วูบ หมดสติ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือหัวใจเต้นแรงผิดปกติ
•    หัวใจเต้นเร็วแบบมีวงจรลัดไฟฟ้า มีอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้นโดยทันที ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เป็นลม
•    หัวใจเต้นสดุด จะมีอาการหัวใจเต้นๆ หยุดๆ ตกวูบคล้ายกับตกที่สูง หรือมีอาการคล้ายจะเป็นลมเจ็บหน้าอก
•    หัวใจเต้นแบบสั่นพลิ้วที่หัวใจช่องบน นอกจากมีอาการใจสั่น ยังทำให้เกิดเป็นอัมพาตได้จากการเกิดลิ้มเลือดในหัวใจ ซึ่งถือว่าอันตายมาก
•    หัวใจเต้นแบบสั่นพลิ้วที่หัวใจช่องล่าง จะมีความรุนแรงกว่า เพราะหัวใจช่องล่างทำหน้าที่สูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยตรง หากหัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปได้เพียงพอ อวัยวะที่จะเป็นอันตรายมากที่สุดคือ สมอง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือภายใน 4-5 นาที อาจทำให้เซลล์สมองเสียหายอย่างถาวรกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้
สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
•    ความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ
•    การนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
•    ทั้งสองอย่างรวมกัน หรืออาจสัมพันธ์กับโรคหลายชนิด เช่นลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง หรือความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งทำให้วินิฉัยได้ยากเพราะว่าผู้ป่วยไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติขณะที่ทำ การตรวจ
      ภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจ เกิดจากการกระตุ้นจากสารต่างๆ เช่น กาแฟ ชา แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vejthani.com/web-thailand/Healthcare-hart.php

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

?o K? 24 มิ.ย. 57 เวลา 12:54 น. 1

สวัสดีค่ะ คือเราเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอ่ะค่ะ ปัจจุบันนี้ ผ่านการรักษาโดยการ จี้ไฟฟ้าที่หัวใจมาแล้ว หมอบอกว่า จะหายแน่นอนถาวร แต่หลังจากรักษา มา เรายังรู้สึก วูบที่หัวใจอยูอ่ะค่ะ คือก่อนหน้าได้รับการรักษา ถ้ามีอาการวูบที่หัวใจแล้วจะมีอาการใจสั่นอย่างแรงตามมาคือแทบจะขาดใจเลยค่ะ แต่ทีนี้หลังจากรักษามาแล้ว เรายังมีอาการวูบอยู่แต่ใจไม่สั่นแรงแล้ว แต่เรามีอาการเหนื่อย ในเต้นเร็ว แต่เบา คลำหาแทบไม่เจอต้องให้เพื่อนเอาหูแนบฟังที่หน้าอกอ่ะค่ะ เวลานอน พอนอนได้สองชั่วโมง เราจะรู้สึกเหมือนโดนผีอำอ่ะค่ะ แต่ไม่ได้มีผีใดๆนะคะคือความรู้สึกเป็นเเบบนั้น เราวูบที่หัวใจเหมือนจะขาดใจตายไปเลยอ่ะค่ะ แต่เหมือนเรารู้สึกตัวเราอยากตื่นแต่ตื่นไม่ได้ ต้องพยายามร้องเพื่อให้เเฟนที่นอนข้างๆกันปลุก หรือต้องทำให้เราตื่นค่ะ พอตื่นขึ้นมา เรารู้สึกเหนื่อยมาก หัวใจเต้นเร็วแต่เบา จนเราไม่กล้าหลับต่อเลยค่ะ ช่วงนี้เป็นมาติดกัน 3-4 คืนแล้ว เราไปรักษา วันที่ 8/6/2557 ค่ะ หลังจากนั้น ก็มีอาการอย่างนี้ ประปราย แต่พักหลังมานี้เป็นบ่อยมากค่ะ จนเรานอนไม่ได้ เราเลยคิดที่จะไปหาหมอ แต่เราควรจะอธิบายให้หมอฟังยังไง แล้วที่เราเป็นอยู่นี่มันอันตรายมั้ย เรารู้สึกเหนื่อย เรารู้สึกเลยว่ามันไม่ปกติ เราควรทำอย่างไรดี

0