Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การกู้ยืมเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มาตรา 653 บัญญัติว่า
      การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
     ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
การนำสืบการใช้เงิน (การชำระเงินให้ผู้ให้กู้) (มาตรา 653 วรรคสอง)
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ (การจ่ายเป็นเงินสดให้ผู้ให้กู้) ต่อเมื่อ
ก. มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม (เช่น ใบเสร็จรับเงิน)
ข. หลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้ว (ผู้ให้กู้คืนสัญญากู้ให้ผู้กู้)
ค. ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว (เช่น ทำเครื่องหมาย x ลงที่สัญญากู้)


ตามมาตรา 653 วรรคสอง
    การนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ บทบัญญัติดังกล่าวห้ามนำสืบเฉพาะการใช้เงินสดเท่านั้น แต่ไม่ห้ามการนำสืบกรณีใช้ทรัพย์สินอย่างอื่นชำระหนี้แทนเงิน เช่น
    การมอบสมุดเงินฝากธนาคารและบัตร เอ.ที.เอ็ม. ให้ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินฝากของผู้กู้เป็นการชำระหนี้เงินกู้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ฎ. 4643/2539,

    การโอนเงินทางโทรศัพท์หรือโทรเลขเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ให้กู้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 653 วรรคสอง ฎ. 6028/2539,


      การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนที่ดินให้เจ้าหนี้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่เงิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ศาลก็ฟังพยานบุคคลได้ ฎ. 1178/2510

  
      การออกเช็คใช้หนี้เงินกู้ ถือเป็นการชำระหนี้ด้วยของอย่างอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับและได้รับเงินตามเช็คแล้ว หนี้ก็ระงับ จำเลยนำสืบการใช้เงินด้วยพยานบุคคลได้ ฎ. 182/2518


    การนำสืบการใช้เงินตามมาตรา 653 วรรคสอง หมายถึง การชำระเงินต้นเท่านั้นไม่บังคับถึงการนำสืบการชำระดอกเบี้ยด้วย ฎ. 1332/2531, 1345/2532


    ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอน
ลงในเอกสารนั้นแล้วมาตรา 653 วรรคสอง
   1.ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
   2.บังคับเฉพาะนำสืบการใช้เงิน
หากเป็นการชำระด้วยอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 582/2524 จำเลยนำสืบได้ว่าเอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ได้ แม้ไม่มีหลักฐานตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 1452/2511 การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ แล้วนำมาหักใช้หนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น
คำพิพากษาฎีกา 182/2518 การออกเช็คใช้หนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น
คำพิพากษาฎีกา 2965/2531 จำเลยชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรเลขเข้าบัญชีของโจทก์ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 5689/2537 จำเลยชำระหนี้เงินกู้โดยมอบสมุดเงินฝากพร้อมทั้งมอบฉันทะให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีไปชำระหนี้โจทก์เป็นรายเดือน เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามมาตรา 321
การนำสืบการชำระดอกเบี้ย ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ   การนำสืบการใช้เงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงนั้น หมายถึง การนำสืบการชำระเงินต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ย(คำพิพากษาฎีกา 1332/2531 , 936/2504)

      การเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 2657/2534 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเพราะไม่ใช่เอกสารที่แสดงในตัวเองว่ามีการกู้ยืมเงิน การที่โจทก์คืน น.ส.3 ดังกล่าวให้จำเลย ไม่ใช่การเวนคืนหลักฐานการกู้   การมอบโฉนดหรือ น.ส.3 ให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ดังกล่าว แม้จะเขียนไว้ในสัญญากู้ว่า เพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินขอมอบโฉนดหรือ น.ส.3 ให้ผู้ให้กู้ไว้เป็นประกัน ก็ไม่ถือว่าโฉนดหรือ น.ส.3 ดังกล่าวเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง

การแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
   การแทงเพิกถอนตามมาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการทำลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืม เช่น การขีดฆ่าสัญญากู้ แก้ไขจำนวนเงินกู้ให้ลดลง เขียนข้อความลงไปว่าเพิกถอน การแทงเพิกถอนนี้อาจทำเองโดยเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายก็ได้ (คำพิพากษาฎีกา 1254/2505)

คำถาม

1.นายเอกยืมเงินนายโทมา 10,000 บาท ต่อมาโทฟ้องเอกขอเรียกเงินยืมคืน ดังนี้ เอกจะต่อสู้ว่าได้โอนรถจักรยานยนต์ชำระหนี้แทนเงินไปแล้ว โดยขอนำสืบพยานบุคคลคือนายตรี ผู้อยู่ด้วยขณะที่นำรถจักรยานยนต์มามอบให้ จะได้หรือไม่ เพราะเหตุ


  วินิจฉัย

       การที่ นายเอกยืมเงินนายโท 10,000 บาท และถูกนายโทฟ้องเรียกเงินคืนนายเอกต่อสู้ว่าได้โอนรถจักรยานยนต์ชำระหนี้แทนเงิน โดยขอนำสืบพยานบุคคลผู้อยู่ด้วยขณะชำระหนี้คือนายตรี กรณีนี้สามารถขอนำสืบพยานบุคคลได้ เพราะเอกมิได้นำสืบการใช้เงินต้นจึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาลตามมาตรา 653 วรรคสอง แต่อย่างใด

  สรุป นายเอกนำพยานบุคคลมานำสืบได้
  



        สัญญายืมในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสองประเภท คือ สัญญายืมใช้คงรูป กับ สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง แต่ลักษณะของสัญญายืม คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ส่งมอบทรัพย์สิน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมสัญญาว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น
ประการที่หนึ่ง เป็นสัญญา เกิดได้เมื่อมีคำเสนอ คำสนองตกต้องตรงกัน สมบูรณ์เมื่อ มีความสามารถ ไม่ขัดต่อความสงบ ถ้าคู่สัญญาเป็นนิติบุคคล ก็ต้องไปดูข้อบังคับของนิติบุคคลด้วย แต่นิติบุคคล ถ้าไปยืมเงินแล้วก็มักจะอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ แต่ถ้าเป็นเรื่องค้ำประกันอาจจะมีปัญหาในเรื่องทำนอกขอบวัตถุที่ประสงค์ ซึ่งจะทำให้ไม่ผูกพันนิติบุคคล แต่อย่างไรก็ตามแนวกาว่าถ้านิติบุคคลนั้นได้ประโยชน์ไปจากสัญญานั้นแล้ว ศาลฏีกาไม่ให้บุคคลที่ได้รับประโยชน์ ปฏิเสธความไม่สมบูรณ์เพราะขอบวัตถุประสงค์
     เรื่องของเงินทดรองราชการ การที่เรายืมเงินทดรอง ไปต่างประเทศก็ดี มีสิทธิเบิก เอาเงินราชการไปล่วงหน้า เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องส่งใบสำคัญ ภาษาที่ใช้ทั่วไปคือยืมเงินทดรองราชการ แต่มาภายหลังเราไม่ได้ส่งหลักฐาน ก็เป็นเรื่องผิดสัญญา ก็มีฏีกาเป็นบรรทัดฐาน ตั้งแต่ห้าสิบปีที่แล้ว 499/2545 การยืมต้องเกิดโดยสัญญา สำคัญประการหนึ่งคือเจตนาของคู่สัญญาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ แต่การยืมเงินทดรองราชการไม่ได้มีเจตนา เป็นเพียงระเบียบข้อบังคับ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะสมัครใจ มันมีกฎมีระเบียบการยืมเงินทดรองราชการไม่ได้มีลักษณะเป็นการยืมตามประมวลกฎหมายแพ่ง


การกู้ยืมบริสุทธิ์เมื่อ ?

      การกู้ยืมเงินกว่า 2000 บาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 653 วรรคหนึ่ง) ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว (มาตรา 653 วรรคสอง)

การกู้ยืมเงิน มีหลักเกณฑ์สำคัญดังนี้
ก. การกู้ยืมเงินกว่า 2000 บาทขึ้นไป
ข. ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ (สัญญากู้ยืม)
ค. ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
ง. จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 653 วรรคหนึ่ง)


การส่งมอบโดยตรงและปริยาย

         เนื่องจากการกู้ยืมเงินถือเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า การกู้ยืมจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ที่ยืม ซึ่งหมายความว่า หากการกู้ยืมเงินหากไม่ได้มีการส่งมอบเงินให้แก่ผู้ยืม ก็จะทาให้การยืมไม่บริบูรณ์ อันมีผลเท่ากับไม่มีการกู้ยืมเงินเกิดขึ้น ผู้ให้ยืมก็ไม่อาจนำสัญญากู้ที่ทำกันมาฟ้องคดีต่อศาลได้ และในกรณีนี้ผู้ที่ถูกฟ้องก็สามารถนาพยานบุคคลมาสืบต่อศาลได้ แต่อย่างไรก็ตามการส่งมอบเงินที่ยืมนี้อาจถือว่ามีการส่งมอบโดยปริยายก็ได้ เช่น ก.ได้ตกลงซื้อรถจาก ข.ราคาสามแสนบาท แต่ไม่มีเงินจึงได้ทาสัญญากู้ให้แก่ ข.ไว้ ดังนี้ถือว่า ข.ได้ส่งมอบเงินให้แก่ ก.จานวนสามแสนบาทแล้ว ซึ่งหมายความว่าการกู้ยืมมีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย ก.จะกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ได้



หลักฐานการกู้ยืมเงิน

        สัญญายืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่งที่ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมและหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จึงมีลักษณะเด่น ๓ ประการ คือ
๑. ผู้ให้กู้โอนกรรมสิทธิ์ในเงินนั้นให้แก่ผู้ยืม
๒. ผู้ยืมต้องคืนเงินที่ยืมไป
๓. สัญญายืมเงินสมบูรณ์เมื่อส่งมอบเงินที่ยืม



1. มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ

        การกู้ยืมเงินกว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ ถ้าเป็นหนี้ตามมูลหนี้อื่นอื่นก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้ตามเช็คซึ่งมีมูลหนี้จากการกู้ยืมเงินไป เป็นต้นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินข้างต้นอาจเป็นหลักฐานที่มีข้อความที่แสดงว่าผู้กู้หรือผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้กู้ได้รับเงินไปและจะใช้คืน หรือเป็นเอกสารหรือจดหมายที่ผู้กู้มีไปถึงผู้อื่น ไม่จำเป็นว่าหลักฐานการกูยืมต้องทำเป็นเอกสารในรูปแบบสัญญาเพียงอย่างเดียว เช่น บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่เปรียบเทียบ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความในคดีอาญาด้วยความสมัครใจ สัญญาค้ำประกันที่แสดงถึงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน เป็นต้น
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนี้เงินกู้ แต่ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่า ผู้กู้มีหนังสืออันจะพึ่งต้องชำระแก่ผู้ให้กู้ กล่าวคือ จะต้องมีข้อความที่แสดงว่ารับเงินไปและจะใช้คืนให้ ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเช็คไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน แต่เช็คนั้นถ้ามีเอกสารอื่นประกอบให้เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันและมีข้อความว่าผู้กู้เอาเงินผู้ให้กู้ไว้และจะใช้คืน


การลงลายมือชื่อในหลักฐานการกู้ยืมเงิน จะเป็นลายมือชื่อหรือเป็นลายเขียนหรือชื่อเล่นก็ได้ ถ้าผู้กู้มีเจตนาใช้เป็นลายมือชื่อ แต่จะต้องเป็นลายมือของผู้กู้จริงๆ ดังนั้น แม้เจ้าของลายมือชื่อจะยินยอมให้ลงลายมือชื่อแทนก็จะทำไม่ได้การที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อในช่องพยานในสัญญากู้ ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้แล้ว แต่ถ้าผู้กู้เขียนชื่อไว้ในหัวกระดาษที่มีข้อความแสดงการกู้ยืมเงิน ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน
ถ้าลายมือชื่อผู้ให้กู้ในหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง หนังสือสัญญากู้ดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
กรณีบุคคลธรรมดาไปลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในฐานะเป็นผู้แทนหรือประธานของคณะกรรมการที่ไม่ใช่นิติบุคคล ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้จะต้องรับผิดชอบตามสัญญากู้ยืมนั้นตามลำพัง
กรณีผู้กู้ใช้วิธีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องรู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือนั้นจริงๆ พยานจะลงลายมือชื่อรับรองในภายหลังได้ต่อเมื่อผู้กู้รู้เห็นและยินยอมด้วย มิฉะนั้น จะไม่มีฐานะเป็นพยาน แต่ถ้าพยานได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้ก่อนแล้วจึงพิมพ์นิ้วมือในภายหลังโดยพยานไม่รู้เห็นด้วย ดังนี้ใช้ไม่ได้
ข้อสังเกต พยานผู้รับรองไม่จำเป็นต้องบรรลุนิติภาวะและผู้ให้กู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองได้ด้วย





หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ไม่จำเป็นต้องมีในขณะทำสัญญากู้ อาจมีภายหลังการทำสัญญาก็ได้ แต่จะต้องมีก่อนฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้
กรณีที่หลักฐานการกู้ยืมเงินหาย ในกรณีที่ผู้ให้กู้เคยมีหลักฐานการกู้ยืมเงินลงลายมือชื่อผู้กู้ แต่ตอมาหลักฐานสูญหายไป ผู้ให้กู้มีสิทธินำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๔/๒๕๓๙ การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนเมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่องถือได้อนุญาตโดยปริยายการสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๙๓ (๒)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๓/๒๕๔๖ การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์คืนสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลย โดยจำเลยนำสัญญาดังกล่าวไปฉีกทำลายแล้วนั้น แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับเช็คพิพาทอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่ประการใด จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๙ วรรคหนึ่ง และหนี้เดิมจะระงับก็ต่อเมื่อจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คแล้ว



2. ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ

       ต้องลงลายมือผู้กู้เป็นสำคัญ โดยมีเฉพาะลายมือชื่อผู้กู้เท่านั้น มาตรา 653 มิได้กำหนดให้ลงทั้งสองฝ่าย ดังนั้น สัญญากู้แม้ลงเฉพาะลายมือชื่อผู้กู้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อเล่นก็แล้วแต่ ก็เป็นการลงลายมือชื่อตามมาตรา 653 แล้ว และในการที่ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมนั้น นอกจากผู้ให้ยืมจะลงลายมือชื่อเองแล้วอาจจะให้ตัวแทนลงลายมือชื่อก็ได้ (คำพิพากษาฎีกา 2207/2535) แต่ตัวแทนต้องมีหนังมอบอำนาจหรือหนังสือมอบฉันทะมีอำนาจให้ลงลายมือแทนได้ เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการเป็นตัวแทนตามมาตรา 798 ด้วยมีคำพิพากษาหนึ่งที่หน้าสนใจว่า นามบัตรใช้เป็นหลักฐานการตั้งตัวแทนได้ คำพิพากษาฎีกา 2740/2535


3. มิฉะนั้นจะฟ้องร้องคดีหาได้ไม่

      ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักการสำคัญไว้ว่า ในการกู้ยืมเงินจำนวนกว่าสองพันบาทขึ้นไป หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
ซึ่งหมายความว่า
ในการให้ผู้อื่นยืมเงินเกินสองพันบาทจะต้องทำหลักฐานการกู้ยืมโดยให้ผู้ยืมลงลายมือชื่อไว้ด้วย มิเช่นนั้นหากมีการผิดสัญญาผู้ให้ยืมจะไม่สามารถฟ้องผู้ยืมให้ชาระหนี้คืนได้ เพราะการกู้ยืมเงินเกินสองพันบาทเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ผู้ให้ยืมไม่อาจที่จะนำพยานบุคคลที่รู้เห็นการยืมมาสืบเป็นพยานต่อศาลได้ สาหรับหลักฐานลงลายมือชื่อผู้ยืมนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำในขณะที่มีการกู้ยืม ดังนั้นผู้ยืมอาจทำหลักฐานกันในภายหลังก็ได้ แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คู่สัญญาควรทาหลักฐานกันในขณะที่มีการรับเงิน





คำถาม-โจทก์เรื่องสัญญากู้ยืมเงิน
    
         1. นาย ก. กู้ยืมเงินจากนาย ข. จำนวน 3,000 บาท โดยทำสัญญากู้ยืม ลงรายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย แต่นั้นต่อมา นาย ข. ได้แอบลักลอบเติม 0 ลงไปอีก 2 ตัว โดยที่นาย ก. ไม่รู้ และยังไม่ได้รับความยินยอมจำนวนเงินในสัญญากู้จึงกลายเป็น 300,000 และต่อมานาย ข. ได้นำสัญญากู้ฉบับดังกล่าวที่ตนได้แอบเติม 0 ลงไปนั้นไปฟ้องให้นาย ก. รับผิดในจำนวนเงิน 300,000 ดังนั้น นาย ก. จะต้องรับผิดจากนาย ข. หรือไม่เพราะเหตุใด

           กรณีตามปัญหาการที่นาย ก. กู้ยืมเงินจากนาย ข. ไปนั้น เป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท ได้ทั้งคู่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกันและลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่ายโดยมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันตาม ม. 653 ว.1 เพราะเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท จึงต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินจึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้
           แต่ต่อมานั้นนาย ข. ผู้ให้กู้ได้แอบเติม 0 ลงไปอีก 2 ตัว ในสัญญากู้จากเดิมในสัญญาเงิน 3,000 บาท เป็น 300,000 บาท และนาย ข. ได้นำสัญญากู้ดังกล่าวนั้นไปฟ้องในนาย ก. รับผิดในจำนวนเงิน 300,000 บาท
          การกระทำของนาย ข. ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ให้กู้เงินนั้นเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตที่ว่าได้แอบเติม 0 ลงไปในสัญญากู้ฉบับดังกล่าวคือสัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฝ่าย จะทำถูกต้องตามแบบ ม. 653 ว.1 ก็ตาม นาย ข. จะฟ้องให้นาย ก. รับผิดในจำนวนเงิน 300,000 บาท ที่นาย ข. ได้แอบเติม 0 ลงไปนั้นไม่ได้เพราะ นาย ข. ไม่สุจริตในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว





รายชื่อกลุ่ม

น.ส.สุดธิดา อ้นอารี 51023428
นาย ธีระ จิระศักดิ์ 51024714
น.ส. พรสวรรค์ เพชรสัมฤทธิ์  51039446
นาย ไกรสิทธิ์ สานุจิตต์ 51061099







แสดงความคิดเห็น

กระทู้นี้ถูกปิดการแสดงความคิดเห็น

38 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

Mook 9 เม.ย. 57 เวลา 13:39 น. 5

อยากรู้ว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน เราสามารถที่จะพิมพ์หรือว่าเขียนเองได้มั้ยคะ
งง

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

อิอิ 16 ต.ค. 57 เวลา 19:46 น. 7

การกู้ยืมเงินต้องทำตามแบบที่กำหนดหรือไม่ และให้อธิบายเรื่อง "แบบ" คืออะไรมีไรบ้าง

ตอบไงอ่าค่าาาา งง

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น