Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การกู้ยืมเงินที่ถูกต้องตามกฏหมาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มาตรา 653 บัญญัติว่า

การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
     ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
การนำสืบการใช้เงิน (การชำระเงินให้ผู้ให้กู้) (มาตรา 653 วรรคสอง)
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ (การจ่ายเป็นเงินสดให้ผู้ให้กู้) ต่อเมื่อ
ก. มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม (เช่น ใบเสร็จรับเงิน)
ข. หลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้ว (ผู้ให้กู้คืนสัญญากู้ให้ผู้กู้)
ค. ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว (เช่น ทำเครื่องหมาย x ลงที่สัญญากู้)







ตามมาตรา 653 วรรคสอง
      
         การนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ บทบัญญัติดังกล่าวห้ามนำสืบเฉพาะการใช้เงินสดเท่านั้น แต่ไม่ห้ามการนำสืบกรณีใช้ทรัพย์สินอย่างอื่นชำระหนี้แทนเงิน เช่น
การมอบสมุดเงินฝากธนาคารและบัตร เอ.ที.เอ็ม. ให้ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินฝากของผู้กู้เป็นการชำระหนี้เงินกู้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ฎ. 4643/2539,

   การโอนเงินทางโทรศัพท์หรือโทรเลขเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ให้กู้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 653 วรรคสอง ฎ. 6028/2539,


      การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนที่ดินให้เจ้าหนี้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่เงิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ศาลก็ฟังพยานบุคคลได้ ฎ. 1178/2510

  
      การออกเช็คใช้หนี้เงินกู้ ถือเป็นการชำระหนี้ด้วยของอย่างอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับและได้รับเงินตามเช็คแล้ว หนี้ก็ระงับ จำเลยนำสืบการใช้เงินด้วยพยานบุคคลได้ ฎ. 182/2518


    การนำสืบการใช้เงินตามมาตรา 653 วรรคสอง หมายถึง การชำระเงินต้นเท่านั้นไม่บังคับถึงการนำสืบการชำระดอกเบี้ยด้วย ฎ. 1332/2531, 1345/2532





การนำสืบตามสัญญากู้

         ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอน
ลงในเอกสารนั้นแล้วมาตรา 653 วรรคสอง
   1.ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
   2.บังคับเฉพาะนำสืบการใช้เงิน
หากเป็นการชำระด้วยอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 582/2524 จำเลยนำสืบได้ว่าเอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ได้ แม้ไม่มีหลักฐานตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 1452/2511 การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ แล้วนำมาหักใช้หนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น
คำพิพากษาฎีกา 182/2518 การออกเช็คใช้หนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น
คำพิพากษาฎีกา 2965/2531 จำเลยชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรเลขเข้าบัญชีของโจทก์ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 5689/2537 จำเลยชำระหนี้เงินกู้โดยมอบสมุดเงินฝากพร้อมทั้งมอบฉันทะให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีไปชำระหนี้โจทก์เป็นรายเดือน เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามมาตรา 321
การนำสืบการชำระดอกเบี้ย ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ   การนำสืบการใช้เงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงนั้น หมายถึง การนำสืบการชำระเงินต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ย(คำพิพากษาฎีกา 1332/2531 , 936/2504)

การเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 2657/2534 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเพราะไม่ใช่เอกสารที่แสดงในตัวเองว่ามีการกู้ยืมเงิน การที่โจทก์คืน น.ส.3 ดังกล่าวให้จำเลย ไม่ใช่การเวนคืนหลักฐานการกู้   การมอบโฉนดหรือ น.ส.3 ให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ดังกล่าว แม้จะเขียนไว้ในสัญญากู้ว่า เพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินขอมอบโฉนดหรือ น.ส.3 ให้ผู้ให้กู้ไว้เป็นประกัน ก็ไม่ถือว่าโฉนดหรือ น.ส.3 ดังกล่าวเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง

การแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
   การแทงเพิกถอนตามมาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการทำลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืม เช่น การขีดฆ่าสัญญากู้ แก้ไขจำนวนเงินกู้ให้ลดลง เขียนข้อความลงไปว่าเพิกถอน การแทงเพิกถอนนี้อาจทำเองโดยเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายก็ได้ (คำพิพากษาฎีกา 1254/2505            




สัญญายืมในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสองประเภท คือ สัญญายืมใช้คงรูป กับ สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง แต่ลักษณะของสัญญายืม คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ส่งมอบทรัพย์สิน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมสัญญาว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น
ประการที่หนึ่ง เป็นสัญญา เกิดได้เมื่อมีคำเสนอ คำสนองตกต้องตรงกัน สมบูรณ์เมื่อ มีความสามารถ ไม่ขัดต่อความสงบ ถ้าคู่สัญญาเป็นนิติบุคคล ก็ต้องไปดูข้อบังคับของนิติบุคคลด้วย แต่นิติบุคคล ถ้าไปยืมเงินแล้วก็มักจะอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ แต่ถ้าเป็นเรื่องค้ำประกันอาจจะมีปัญหาในเรื่องทำนอกขอบวัตถุที่ประสงค์ ซึ่งจะทำให้ไม่ผูกพันนิติบุคคล แต่อย่างไรก็ตามแนวกาว่าถ้านิติบุคคลนั้นได้ประโยชน์ไปจากสัญญานั้นแล้ว ศาลฏีกาไม่ให้บุคคลที่ได้รับประโยชน์ ปฏิเสธความไม่สมบูรณ์เพราะขอบวัตถุประสงค์
        เรื่องของเงินทดรองราชการ การที่เรายืมเงินทดรอง ไปต่างประเทศก็ดี มีสิทธิเบิก เอาเงินราชการไปล่วงหน้า เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องส่งใบสำคัญ ภาษาที่ใช้ทั่วไปคือยืมเงินทดรองราชการ แต่มาภายหลังเราไม่ได้ส่งหลักฐาน ก็เป็นเรื่องผิดสัญญา ก็มีฏีกาเป็นบรรทัดฐาน ตั้งแต่ห้าสิบปีที่แล้ว 499/2545 การยืมต้องเกิดโดยสัญญา สำคัญประการหนึ่งคือเจตนาของคู่สัญญาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ แต่การยืมเงินทดรองราชการไม่ได้มีเจตนา เป็นเพียงระเบียบข้อบังคับ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะสมัครใจ มันมีกฎมีระเบียบการยืมเงินทดรองราชการไม่ได้มีลักษณะเป็นการยืมตามประมวลกฎหมายแพ่ง

  

การกู้ยืมเงินสมบูรณ์เมื่อ ?

การกู้ยืมเงินกว่า 2000 บาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 653 วรรคหนึ่ง) ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว (มาตรา 653 วรรคสอง)

การกู้ยืมเงิน มีหลักเกณฑ์สำคัญดังนี้
ก. การกู้ยืมเงินกว่า 2000 บาทขึ้นไป
ข. ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ (สัญญากู้ยืม)
ค. ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
ง. จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 653 วรรคหนึ่ง)




รายชื่อกลุ่ม
น.ส.สุดธิดา อ้นอารี 51023428
นาย ธีระ จิระศักดิ์ 51024714
น.ส. พรสวรรค์ เพชรสัมฤทธิ์  51039446
นาย ไกรสิทธิ์ สานุจิตต์ 51061099

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

แสดงความคิดเห็น

>