Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

จบ ม.3 แล้ว ต่อไหนดี ? ToT

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 สวัสดีคะ เพื่อนๆ พี่ ๆ น้อง ชาวเด็กดีทุกๆคน
ตอนนี้ก็คงจะเป็นช่วงที่น้อง ๆ ม.3
หลายๆคนกำลังหาที่เรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่
หลายๆคนคงรู้แล้วว่าจะไปต่อสายไหนดี
แต่สำหรับน้องๆหลายคนที่ยังไม่รู้วันนี้
จขกท.ก็นำบทความมาให้อ่านและลองพิจารณาดูนะคะ 

เส้นทางสู่อนาคตเมื่อจบม.3

อันดับแรกนักเรียนต้องตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสายวิชาใดนั้น จะมีความสัมพันธ์และผลกระทบกับการประกอบอาชีพในอนาคต ตำแหน่งงานในบางสาขาอาชีพมีน้อยมาก สถานประกอบการต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยจะรับคนเข้าทำงานเพิ่มขึ้น หรือถ้าจะรับเพิ่มก็จะรับในอัตราที่น้อยมาก คนที่ทำงานอยู่เดิมก็จะพยายามทำงานให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะในสภาพปัจจุบันนี้ถ้าออกจากงานแล้วก็จะหางานทำได้ยากมาก ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสายวิชาใดหรือสาขาวิชาใดนั้น ควรจะได้พิจารข้อมูลต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจ ดังนี้

 1. ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง นักเรียนจะต้องสำรวจและทำความรู้จักตนเองให้ละเอียดในทุก ๆ ด้าน และควรพิจารณาด้วยว่าคุณสมบัติหรือความเป็นจริงที่ปรากฏกับตนเองในปัจจุบันเหมาะสมที่ไปศึกษาต่อในสายวิชาหรือสาขาวิชาใด เหมาะสมที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ หรือไม่ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองที่นักเรียนควรพิจารณามีดังนี้

1.1 ความสนใจ คือ นิสัยความเอาใจใส่ในเรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ นักเรียนต้องค้นให้พบว่าตนเองมีความสนใจหรือความชอบงานในลักษณะใดมากน้อยเพียงใด ถ้าจะไปศึกษา-ฝึกอบรมในสายงานนั้น ๆ จะศึกษา-ฝึกอบรมจนสำเร็จได้หรือไม่ ทำกิจกรรมหรือทำงานนั้น ๆ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานหรือทำเป็นประจำได้หรือไม่ สนใจเพียงแต่มองดู-หูฟัง หรือสนใจที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

1.2 ความถนัด คือ การที่จะทำอะไรดูเข้าที ทำด้วยความคล่องตัว คล่องแคล่ว ว่องไว ทำแล้วดูดีและเหมาะสม หรือมีความสามารถพิเศษในการปฏิบัติหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีถ้าฝึกปฏิบัติหรือทำกิจกรรมนั้นเสมอ ๆ ก็จะทำให้เกิดความชำนาญในสิ่งนั้น ๆ

   1.3 สติปัญญา คือ ความสามารถในการคิดค้นหาเหตุผล คิดได้เป็นเรื่องเป็นราวสามารถสื่อความหมายหรือแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ระดับสติปัญญาอาจใช้ผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิจารณาได้ในเบื้องต้น แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่าการเรียนที่ผ่านมาในอดีตนั้นตั้งใจเรียนมากน้อยเพียงใด มีอะไรที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรค์หรือไม่

1.4 ฐานะการเงินของผู้ปกครอง ในการศึกษา-ฝึกอบรมในสายวิชาหรือสาขาวิชาใดก็ตามจะต้องใช้เงินในการจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษา ค่าลงทะเบียนเรียน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนอีกมากมาย สำหรับในข้อนี้นักเรียนจะต้องพิจารณาด้วยว่า ถ้าจะศึกษา-ฝึกอบรมในสาขาวิชานั้น ๆ จะต้องใช้เงินมากน้อยเพียงใด ผู้ปกครองมีเงินพอที่จะส่งเสียให้ศึกษา-ฝึกอบรมได้จนจบหลักสูตรหรือไม่

1.5 สุขภาพและลักษณะของร่างกาย ในการศึกษาเล่าเรียนและการประกอบอาชีพนั้น สุขภาพและลักษณะของร่างกายนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าสุขภาพร่างกายและจิตใจผิดปกติหรือไม่เข็งแรงสมบูรณ์ จะมีผลกระทบต่อการศึกษาเล่าเรียนและการประกอบอาชีพไปในทางที่ไม่ดี การศึกษาเล่าเรียนในบางสาขาวิชาหรือบางอาชีพจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขภาพและลักษณะของร่างกายไว้อย่างชัดเจน เช่น มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สายตาปกติ ตาไม่บอดสี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 145 เซนติเมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า 45 กิโลกรัมเป็นต้น ฉะนั้นในการตัดสินใจที่จะศึกษาฝึกอบรมในสายวิชาหรือสาขาวิชาใดก็ตาม นักเรียนควรจะนำข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและลักษณะของร่างกายมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจด้วย

1.6 เพศและอายุ เพศและอายุจะมีความสัมพันธ์กับความคล่องแคล่วว่องไว ความชำนาญ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ความละเอียดรอบคอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ดังนั้นจะพบว่าการรับบุคคลเข้าทำงานในหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถานประกอบการของเอกชนบางแห่งจะกำหนดเพศและอายุในการรับบุคคลเข้าทำงาน เพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่การงาน

1.7 สัญชาติและเชื้อชาติ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดให้อาชีพบางอาชีพ เป็นอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทยที่มีสัญญาไทยโดยเฉพาะ เช่น ผู้สมัครเข้าศึกษา-ฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคคลออกมาเพื่อมีอาชีพเป็นทหาร ตำรวจ ต้องมีบิดามารดาที่มีสัญชาติและเชื้อชาติไทย เป็นต้น

 2. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่มุ่งหวังว่าจะเข้าศึกษาต่อ สำหรับข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วยชื่อสถานศึกษา สถานที่ตั้ง แผนการเรียนหรือสาขาวิชาที่เปิดสอน-ฝึกอบรม วันเวลาสมัครเข้าศึกษา ฝึกอบรม วันเวลาและวิชาที่จะสอบ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา-ฝึกอบรม คุณสมบัติของผู้สมัคร ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสถานศึกษานั้น ๆ ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น นักเรียนควรศึกษาล่วงหน้า เพื่อจะได้มีเวลาในการคิด-พิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ

 3. ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ มีนักเรียนหลายคนที่ยังไม่ทราบว่า อาชีพใด ทำงานอะไรมีรายได้มากน้อยเพียงใด และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพนั้น เช่น ความก้าวหน้าในอาชีพ แนวทางในการศึกษา-ฝึกอบรมเพื่อให้มีความชำนาญหรือมีทักษะในอาชีพเพิ่มขึ้น เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้จากงานแนะแนวของโรงเรียน ซึ่งนักเรียนอาจค้นคว้าได้จากเอกสารและ/หรือสอบถามจากอาจารย์แนะแนว

การศึกษาต่อเมื่อจบชั้นม.3

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นวิทย์ -คณิต

นักเรียนที่เลือกเรียนในกลุ่มนี้ควรมีความชอบความสนใจและมีพื้นฐานความรู้ที่ดีในวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์(ควรมีผลการเรียนเฉลี่ยในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3.00 ขึ้นไป) เพราะการเรียนในกลุ่มนี้จะเน้นหนักไปที่วิชาหลักคือคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ( ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) และควรมีอุปนิสัยเป็นคนช่างสังเกตชอบการศึกษาค้นคว้าทดลองวิเคราะห์และชอบแก้ปัญหาต่างๆมีความถนัดในการคิดคำนวณอย่างคล่องแคล่วควรมีพื้นฐานความรู้ที่ดีทางวิชาคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  มีอุปนิสัยเป็นคนช่างสังเกต  ชอบศึกษา  ค้นคว้า ทดลอง  วิเคราะห์  และชอบแก้ปัญหาต่างๆ  มีความถนัดในการคิดคำนวณอย่างคล่องแคล่ว 

สนใจจะศึกษาต่อสายวิทยาศาสตร์  สาธารณสุข  แพทย์  วิศวกรรมศาสตร์  สถาปัตยกรรมศาสตร์  สถิติศาสตร์  บริหารธุรกิจ  เศรษฐศาสตร์  เกษตรศาสตร์  ประมง  ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์(คหกรรม  วิทยาศาสตร์)  เป็นต้น

   2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นศิลป์ -คณิต

(แผนการเรียนศิลป์ -คำนวณ)

นักเรียนที่เลือกเรียนในกลุ่มนี้ควรมีพื้นความรู้ที่ดีในวิชาคณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษและสังคมศึกษาการเรียนในกลุ่มนี้จะเพ

เรียนคณิตศาสตร์ตัวเดียวกับนักเรียนกลุ่มวิทย์ -คณิตนักเรียนที่เลือกเรียนในกลุ่มนี้ควรมีอุปนิสัยเป็นคนรักการ

อ่านการสำรวจการวิจัยใส่ใจสภาพสังคมเศรษฐกิจการเมืองการปกครองชอบการวางแผนติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  มีความคล่องตัว  ในการเขียนหรือพูดโต้ตอบ  กล้าแสดงออก ถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึกได้ดี  การสำรวจ - วิจัย  ใส่ใจสภาพสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  การปกครอง  ชอบการวางแผน

สนใจศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์  บัญชี  บริหารธุรกิจ  ปรัชญา  นิเทศศาสตร์  วารสารศาสตร์  สื่อสารมวลชน  มนุษยวิทยา  สังคมวิทยา  รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์  อักษรศาสตร์  มนุษย์ศาสตร์  ศิลปศาสตร์  จิตวิทยา  สังคมสงเคราะห์  ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (ด้านธุรกิจ  พละศึกษา และการศึกษานอกระบบ)  โบราณคดี  บรรณารักษ์ศาสตร์  สารนิเทศน์  นิเทศศาสตร์  วารสารศาสตร์ - สื่อสารมวลชน  นิติศาสตร์  รัฐศาสตร์  ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์)  เป็นต้น

การเรียนสายอาชีพ

สายอาชีพ คือ สายการศึกษาเฉพาะทาง โดยเน้นให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรือสมัครงานตามสาขานั้น ๆ ได้ ซึ่งถือว่าผู้ที่เรียนจบสาขาวิชานั้น ๆ เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานสำหรับประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ เช่น

หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หลักสูตร ปวส. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

ระดับ ปวช. เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้น ๆ ซึ่งมีรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตามความรู้ที่เรียน

ส่วนระดับ ปวส. เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะมากขึ้นมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น


บทความนี่อาจจะยาวไปหน่อย ... แต่อยากให้ทุกคนลองอ่านดูเพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจนะคะ ... 

ปล.บทความทั้งหมดนี่จขกท.จัดทำขึ้นเองค้ะ ^^ 

หวังว่าบทความนี่อาจจะให้ประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยยนะคะ  

ถ้าใครสนใจจริงๆ จขกท.ยังมีข้อดีของแต่ละสายด้วยนะคะ แต่ที่ไม่ลงกลัวว่าไม่จะเยอะจนไม่มีใครอ่านนะคะ 

สุดท้ายแล้วจริงๆ ถ้าน้องๆคนไหน ที่กำลังเตรียมสอบอยู่ พี่ขอให้น้องโชคดี เรียนที่ไหนก็ได้เพียงแต่ขอให้เป็นคนดีของสังคมก็พอแล้วค้ะ ^^ 





แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น