Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เภสัช สาชาบริบาล กับ สาขาเภสัชกรรม ต่างกันอย่างไร?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 เภสัช สาชาบริบาล กับ สาขาเภสัชกรรม ต่างกันอย่างไร?
งง อ่ะค่ะ ใครทราบช่วยทีนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

PS.  - - " Dream Come True << ,,

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

aofyun ;&#039;) 9 เม.ย. 55 เวลา 11:44 น. 1
สาขาเภสัชศาสตร์ ? (เราเคยได้ยินชื่อสาขานี้ คิดว่าใช่)
เน้นทางด้านการผลิต การควบคุมคุณภาพยา การวิจัยเกี่ยวกับยา
ส่วนสาขาบริบาลเภสัชกรรม จะเน้นการใช้ยากับผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วย ก็คือการทำงานด้านคลินิกนั่นเอง


PS.  aofyun ;') >>>> Phamac' aofyun ;')
0
momo 9 เม.ย. 55 เวลา 20:34 น. 4

เภสัช-เภสัช : หรือที่เรียกว่า "pharm sci " จะเน้นเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ วิจัยตัวยา  การสังเคราะห์ตัวยาใหม่
เน้นการควบคุมคุณภาพ หรือ QC   , เมื่อจบมาก็มักจทำงานในสายงานวิจัย , ในแล็ป , หรือ ในโรงงานยา   
แต่สายนี้ก็สามารถทำงานใน รพ. ได้เหมือนกันนะครับ


เภสัช-บริบาล , เภสัชกรรมคลินิค : จะเน้นการทำงานกับผู้ป่วย เน้นการทำงานที่ร่วมกับทีมสาธารณสุขอื่น ๆ เช่น  แพทย์
ซึ่งการทำงานนอกจากจะทำงานก็จะมีการทำงานบนหอผู้ป่วย  ร่วมราววอร์ดกับแพทย์  เป็นต้น
นอกจากนี้ก็จะมีการเน้นการปรับ-ใช้ยาต่าง ๆ กับผู้ป่วย ประมาณนี้

cr : หญิงเบอะ  

1
Patadabbbb 2 มิ.ย. 60 เวลา 21:21 น. 4-1

แล้วถ้าจบสาขาบริบาลนี่สามารถบรรจุข้าราชการได้ไหมค่ะ

0
กิตติกานต์ 9 เม.ย. 55 เวลา 20:44 น. 5

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์


PS.  อ่านคำตอบแล้วช่วย กด เห็นด้วย หรือ ขอบคุณ สักนิดจะได้รู้ว่าอ่านแล้ว
0
ชาลิมา 6 พ.ค. 55 เวลา 14:44 น. 6

แวะมาตอบให้
ในฐานะที่ต้องทำงานและเป็นแหล่งฝึกให้สายการ บริบาลเภสัชกรรม เรียกเป็นภาษาต่างชาติว่า งาน Pharm Care&nbsp น้องๆจะต้องเรียนสาย การบริบาลเภสัชกรรม หรือ หลักสูตร Pharm D
น้องๆทั้ง 2สาขา ทั้ง บริบาล และ เทคโนโลยีเภสัชกรรม&nbsp หรือ อะไรก็แล้วแต่เรียกที่ไม่ใช่บริบาลเภสัชกรรม ทุกคน ต้องผ่านการเรียนความรู้เภสัชกรรมขั้นพื้นฐานเหมือนกันหมด ตั้งแต่ การเตรียมและปรุงยา การตรวจสอบคุณภาพยา การพัฒนายา ความรู้เรื่องสมุนไพร เภสัชวิทยา ( เรื่องยาล้วนๆ ยาไปทำอะไรกับร่างกายเรา ) เภสัชจลนศาตร์ ( ร่างกาย ทำอะไรกับยาบ้าง ) การจ่ายยา&nbsp การประเมินการแพ้ยา ทักษะต่างๆในทางเภสัชตามเกณฑ์สภากำหนด หาอ่านได้ เป้นต้น ทุกคนต้องมีความรู้พื้นฐานพวกนี้ทุกสาขา แล้วค่อยไปลงรายละเอียดแต่ละสาขากันอีกทีเช่น เทคโน หรือ การบริบาล&nbsp ในปี 4 หรือ ปี 5 อะไรก็แล้วแต่ เข้าใจก่อนนะ ทุกสาขาเรียนพื้นฐานเหมือนกันหมด

สาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม หลายคนมาตอบแล้ว ซึ่งก็ถูกต้อง น้องๆหาอ่านเอาได้ พี่จะขอตอบสาขา บริบาลก็แล้วกัน เพราะเป็นอะไรที่ยังใหม่อยู่และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่เยอะมาก

Pharm D จะได้เรียนเกี่ยวกับ การนำยามารักษาผู้ป่วยเฉพาะราย เน้นย้ำว่า เฉพาะราย เพราะแต้ละคนมีปัญหามีโรคมีข้อคำนึงแตกต่างกันออกไป ใช้ยาตามหลัก IESAC&nbsp ( จะอธิบายต่อไป ) น้องจะต้องถุกฝึกคิดให้เป็นระบบด้วย SOAP โดยมีเจ้า IESAC&nbsp  เป็นพื้นฐานการคิด จะออกฝึกงาน 5-6&nbsp ผลัด ผลัดละประมาณ 1.5 เดือน เวียนไปตามแหล่งฝึกต่างๆ เช่น รพ. ร้านยา หรือศุนย์มะเร็ง หรือ บริษัทต่างๆขึ้นกับแต่ละมหาลัยว่าจะเอาอะไีรบ้าง หลักๆ จะบังคับ อายุรกรรมผู้ป่วยใน คือ การราววอร์ดและให้ความเห็นการใช้ยากับทีมแพทย์ และงานผู้ป่วยนอก เทรนในคลินิกพิเศษต่างๆ เช่น HIV จะมีพี่เภสัชที่เป็นอ.แหล่งฝึกเป็นคนประเมินให้คะแนนน้อง บางมหาลัยคะแนนมาจากแหล่งฝึก 100 % หรือ บางแห่งคะแนนจะมาจากอ.แหล่งฝึก และ อ.ที่มหาลัยด้วย ตามส่วนเปอร์เซนต์ และบางมหาลัย ให้นำเคสกลับไปนำเสนอด้วย ก็ว่ากันไป

ใช้ยาตามหลัก IESAC ///////////

เช่น การใช้ลดความดันโลหิตในคนไข้ที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย ให้ถุกต้องตามข้อบ่งใช้&nbsp 
ใช้ยาตามหลัก IESAC&nbsp  ( I = Indication ) เช่น ยานี้ใช้ลดความดันต่อมลูกหมาก จะมาใช้ลดความดันหลักที่เส้นเลือดก็ไม่ถูก เพราะไม่ได้เป็นยาตัวแรกที่แนะนำกัน ต้องใช้ยาให้เหมาะสม แล้วประสิทธิภาพการรักษาหล่ะ&nbsp ( E = Efficacy ) มันมีประสิทธิดีมั้ย คนไข้เป็นเบาหวาร่วมด้วยอ่ะ ยาตัวนี้เหมาะมั้ย ลดความดันดีมั้ย ลดอัตราการตายระยะยาวดีเปล่า และปลอดภัยมั้ยจ้ะ S = Safety ไม่ใช่ ใช้ๆไป ไตวาย อันนี้ไม่ได้ เราต้องเลือกยาให้ให้การติดตามประวิทธิภาพและความปลอดภัยแก่คนไข้ด้วยนะ A = Aherance คนไข้ให้ความร่วมมือในการกืนยาดีมั้ย ไม่ใช่ไม่ยอมกินยา เพราะกินยา กินหลายครั้ง C= Cost ราคาต้องเหมาะสม ไม่ใช่ ยาแพงเวอร์ๆ แต่ประสิทธิภาพห่วย แบบนี้ไม่เอานะ

การบริบาลต้องรู้่เรื่องพวกนี้น่ะจ้ะเป็นพื้นฐาน จะไปออกทีม ราววอร์ดกะแพทย์หรือไม่ แล้วแต่ความเอื้ออำนวยของบริบทนั้น&nbsp แต่การที่น้องทำงานกับผุ้ป่วนอก ที่มาหาหมอแล้วกลับบ้านได้ น้องก้อทำ บริบาลได้น่ะ&nbsp น้องสามารถคุยการปัญหาการใช้ยาจากผู้ป่วย เสนอแนวทางการใช้ยากับแพทย์ได้ มีหลายรพ. เริ่มทำแล้ว โดยเฉพาะคลิกนิก HIV หรือ แม้แต่ร้านยา ก็ทำได้ ร้านยาที่อเมริกานะ เน้นการบริบาลเภสัชกรรมาก คนไข้เรื้อรังมักจะมีร้านยาไว้ refill เป็นของตัวเอง&nbsp เภสัชกรมีหน้าที่ให้การดูแลการใช้ยา ติดตามแทนแพทย์ได้แล้ว เภสัชพบปัญหาอะไรก็เขียนจม. หรือ เขียนคำแนะนำไปให้แพทย์ได้จากร้านยาเลยน่ะ&nbsp เพราะเมืองนอกจะไปพบแพทย์ต้องนัดกันก่อน และค่าบริการก็แพงมากๆ อันนี้คืองานคร่าวๆนะ ถ้าน้องชอบการเป็นหนึ่งในทีมรักษาคนไข้&nbsp ชอบพวกแนวๆชีวะ เคมี ก็สนุกนะจ้ะ การบริบาลเหมาะนะ

ทุกสาขา เปิดร้านยาที่มีเภสัชกรประจำร้าน ทำงานบริการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่รพ. ผู้แทนยา หรือ ทำงานพวกพัฒนาและวิจัยได้ทั้งนั้น หล่ะ ทุกอย่างพัฒนากันได้ เพียงแค่ ตอนแรกๆที่จบออกมาน้องอาจจะถนัดเฉพาะสาขาที่ตนเองเพิ่งจบมาเท่านั้น แต่พอทำไปนานๆ น้องก็จะเชี่ยวชาญในงานที่ทำประจำเองนะหล่ะค่ะ ^^

0
ชาลิมา 6 พ.ค. 55 เวลา 17:49 น. 7

สำหรับมหาวิทยาลัยที่ เปิดหลักสูตร Pharm D มานานและมีความพร้อมเรื่อง การจัดหาแหล่งฝึก จากประสบการณ์ของพี่เอง คือ นเรศวร สงขลา สารคาม และ เชียงใหม่
สำหรับอาจารย์ที่เรียนจบ เภสัชกรประจำบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญต่างๆขั้นสูงจาก USA กระจายไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆค่ะ รวมถึง อ.เภสัชกรที่เชี่ยวชาญงาน การบริบาลเภสัชกรรมจากรพ.ต่างๆ ก็จะเวียนไปสอนน้องๆทุกคนได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับว่า ทางมหาวิทยาลัย จะเชิญไปหรือไม่ อาธิ เช่น อ. อรัมษ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง หัวใจและหลอดเลือด สอนที่มน. แต่ได้รับเชิญไปบรรยายเป้นอาจารย์พิเศษที่ม.อื่นๆมากมายค่ะ ภก. อรรณพ จาก รพ.ประจวบ เชี่ยวชาญงาน บริบาลผู้ป่วย HIV ก็ไปบรรยายาเยอะเหมือนกัน ;-) ดังนั้น เลือก มหาวิทยาลัยไหนไม่สำคัญ ขอให้น้องตั้งใจทำงาน ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ ต่อคนไข้ ต่อตนเองและประเทศชาติเป็นพอแล้วค่ะ

0
Pharmfun 7 พ.ค. 55 เวลา 16:39 น. 8

เขียนไว้ ในมุมมองของพี่ครับลองอ่านดูนะ

http://writer.dek-d.com/Pharmfun/story/view.php?id=819344


PS.  จะอยู่ถิ่นใด ใจผูกพัน อันความรักนั้นไม่สร่างซา เปรียบดั่งสายธารา แห่งน้องพี่....
0