Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประเทศมอญ ชาติที่ไม่มีเเผ่นดิน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
                                                                        https://www.facebook.com/suraridc.teenplus
กภูมิศาสตร์อาหรับบางท่านเรียกมอญว่า รามัญประเทศ (Ramannadesa) ซึ่งหมายถึง "ประเทศมอญ" คำนี้เพี้ยนมาจากคำศัพท์โบราณของ"มอญ" คือ Rmen (รามัญ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะของสิงหล ในสมัยพระเจ้าจานสิตาแห่งพุกาม พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย

ทุกวันนี้ ชนชาติมอญ ไม่มีอาณาเขตประเทศปกครองตนเอง เนื่องจากตกอยู่ในภาวะสงคราม และการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง และการรุกรานของพม่า ชาวมอญอยู่อย่างแสนสาหัส ถูกกดขี่รีดไถ การเกณฑ์แรงงานก่อสร้าง ทำไร่นาหาเสบียงเพื่อการสงคราม และเกณฑ์เข้ากองทัพ โดยเฉพาะสงครามในปี พ.ศ. 2300 เป็นสงครามครั้งสุดท้าย ที่คนมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างราบคาบ ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง เท่าที่มีการจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่อ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีหงสาวดีแตกใน พ.ศ. 2082 ชาวมอญจำนวนมากหนีเข้ามากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาชั้นนอก พระยาเกียรติพระยารามและครัวเรือน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองชั้นใน ใกล้พระอารามวัดขุนแสน และเมื่อถึง พ.ศ. 2084 ราชวงศ์ตองอูตีเมืองเมาะตะมะแตก มีการฆ่าฟันชาวมอญลงขนาดใหญ่ ก็เข้าใจว่ามีมอญหนีเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาอีก ถือเป็นระลอกแรกของมอญอพยพ

ครั้งที่ 2 เมื่อพระนเรศวรเสด็จไปพม่าเมื่อคราวพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ แล้วประกาศเอกราช ทรงชักชวนมอญที่เข้าสวามิภักดิ์ ให้อพยพเข้ามาพร้อมกัน ราว พ.ศ. 2127 ในการอพยพครั้งนี้ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ใด แต่คาดว่าคงเป็นย่านเดียวกับการอพยพคราวแรก

ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อหงสาวดีถูกยะไข่ทำลายใน พ.ศ. 2138 ครั้งนี้ก็มีการอพยพใหญ่ของ มอญ มาทางตะวันออกเข้าสู่ดินแดนของกรุงศรีอยุธยาอีก

ครั้งที่ 4 หลังจากที่ราชวงศ์ตองอูย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ หลังจากหงสาวดีถูกทำลายแล้ว พวกมอญ ตั้งอำนาจขึ้นใหม่ในดินแดนของตน ต่อมา ถึงรัชกาลพระเจ้านอกเปกหลุน พม่าจึงยกทัพมาปราบพวกมอญอีกใน พ.ศ. 2156 ทำให้เกิดการอพยพของมอญเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาอีก หลักฐานบางแห่งกล่าวว่า มอญ กลุ่มนี้ได้รับอนุญาตให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามแนวชายแดนไทย

ครั้งที่ 5 ใน พ.ศ. 2204 หรือ 2205 พวกมอญในเมืองเมาะตะมะก่อการกบฎขึ้นอีก แต่ถูกพม่าปราบลงได้ จึงต้องอพยพหนีเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกระลอกหนึ่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ เข้าใจว่ากลุ่มนี้สัมพันธ์กับกลุ่มมอญที่ตั้งอยู่ชายแดน

ครั้งที่ 6 หลังจากที่มอญสามารถตั้งอาณาจักรของตนขึ้นได้ใหม่ในปลายราชวงศ์ตองอู แล้วยกกำลังไปตีกรุงอังวะแตก อลองพญารวบรวมกำลังพม่าแล้วลุกขึ้นต่อสู้จนในที่สุดก็ตั้งราชวงศ์อลองพญาได้ และใน พ.ศ. 2300 ก็สามารถตีหงสาวดีได้อีก นโยบายของราชวงศ์นี้คือ กลืน มอญ ให้เป็นพม่าโดยวิธีรุนแรง จึงมีชาวมอญอพยพหนีมาสู่เมืองไทยอีกหลาย ระลอก รวมทั้งกลุ่มที่หนีขึ้นเหนือไปสู่ล้านนา และเรียกกันว่าพวก "เม็ง" ในปัจจุบันนี้

ครั้งที่ 7 ใน พ.ศ. 2316 ตรงกับแผ่นดินกรุงธนบุรี มอญก่อกบฎในย่างกุ้ง พม่าปราบปรามอย่างทารุณแล้วเผาย่างกุ้งจนราบเรียบ ทำให้มอญอพยพเข้าไทยอีก พระเจ้าตากสินทรงโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มมอญเก่า (พระยารามัญวงศ์) และมอญใหม่ (พระยาเจ่ง) คนที่นับตัวเองเป็น มอญ ในปัจจุบันล้วนอพยพเข้ามาจากระลอกนี้ หรือหลังจากนี้ทั้งนั้น ส่วน มอญ ที่อพยพก่อนหน้านี้กลืนหายเป็นไทยไปหมด แม้แต่กลุ่มที่อยู่ตามชายแดนแถบเมืองกาญจนบุรี

ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2336 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ยึดเมืองทวายได้ แต่รักษาไว้ไม่ได้ ต้องถอยกลับเข้าไทย ก็นำเอาพวกมอญโดยเฉพาะที่เป็นพวกหัวหน้าเข้ามาอีก

ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2357 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อ มอญ ไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระเจดีย์ ก่อกบฎที่เมืองเมาะตะมะ ถูกพม่าปราบ ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่มาก ราว 40,000 คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 4) เสด็จเป็นแม่กองพร้อมด้วยกรมหลวงพิทักษ์มนตรี ออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก (ปทุมธานี) ปากเกร็ดและพระประแดง มอญที่อพยพเข้ามาครั้งนี้เรียกกันว่ามอญใหม่[8]

[แก้]ชุมชนมอญ

ชาวมอญได้อพยพมาพำนักอยู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาเกียรติและพระยารามขุนนางมอญที่มีความดีความชอบในราชการและกลุ่มญาติพี่น้องได้รับพระราชทานที่ดินตั้งบ้านเรือน ณ บ้านขมิ้น ซึ่งได้แก่บริเวณวัดขุนแสนในปัจจุบัน มอญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งกลุ่มชาวมอญเก่าที่อยู่มาแต่เดิมและกลุ่มมอญใหม่ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งชุมชนอยู่ชานกรุงศรีอยุธยาบริเวณวัดตองปุและคลองคูจาม

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงกลุ่มชาวมอญที่มีอาชีพฆ่าเป็ดไก่ขายที่ตลาดวัดวัวควาย และมีตลาดมอญขายขัน ถาดทองเหลือง ซึ่งเป็นทั้งตลาดสดด้วย ตั้งอยู่ภายนอกกำแพงเมืองด้านใต้ บริเวณปากคลองเกาะแก้วมีชาวมอญบรรทุกมะพร้าว ไม้แสมทะล และเกลือมาจำหน่าย

ในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ผู้นำชุมชนชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาคือสุกี้พระนายกอง ได้อาสากองทัพพม่าทำสงครามกับอยุธยา และรวบรวมกองทัพมอญได้ถึง 2,000 คน[9] ในปัจจุบันแม้จะไม่มีชุมชนของผู้สืบเชื้อสายมอญภายในกรุงศรีอยุธยาอยู่ในบริเวณที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์แต่ก็ยังมีชุมชนมอญและกลุ่มวัฒนธรรมมอญกระจายอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากพระนครศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงเทพฯหลายชุมชน ชาวมอญได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงครามสมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ทางภาคอีสาน ได้แก่นครราชสีมา มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยมากเป็นแหล่งที่พระเจ้าแผ่นดินทรงโปรดฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 7 พฤษภาคม 2555 / 08:12

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

รักมอญ 7 พ.ค. 55 เวลา 11:12 น. 3

ใครบอกว่าไม่มีแผ่นดิน

แผ่นดินมอญ ก็คือ เกาะเกร็ดและพระประแดงไง

มาอยู่ใต้พระบารมีพ่ออยู่หัว ของเรา

0
... 7 พ.ค. 55 เวลา 11:26 น. 4

เรื่องราวรายละเอียดมีมากกว่านั้น มอญที่อพยพมาอยู่ที่เมืองไทยก็มีหลายรุ่น ประเพณีวัฒนธรรมที่พม่ารุกรานของมอญเอาไปเป็นของตน ประเพณีที่เมืองไทยได้รับอิทธิพล เรื่องอาหารการกิน ศิลปะวิทยาการ มอญเป็นชาติศิลปะ ดนตรี ไม่มีกำลังที่จะรบสู้พม่าได้ แต่เดิมที่ประเทศพม่าก็ไม่ได้มีแค่มอญกับพม่าเท่านั้น ก็มีหลายชนหลายเผ่า หลายเมืองที่ปกครองตนเองและมีกษัตริย์ สมัยแต่ก่อนมอญเป็นชาติที่เรืองอำนาจในพม่าเหมือนกับเป็นเมืองศุนย์กลางประมาณนั้น แต่หลังจากนั้นก็ถูกพม่ารุกรานเอาเมืองไปเป็นของตน มีชาวมอญบางคนอพยพไปอยู่เมืองอื่น แต่บางคนก็ยังอยู่ที่กรุงหงสา วัดมอญในประเทศไทยสังเกตได้จากเสาหงส์ หรือหงส์ มาจากหงสาวดี ประเพณีสงกรานต์ที่เมืองไทยและประเทศรอบๆก็ได้รับอิทธิพลจากมอญ ตอนนี้ก็ยังมีสงกรานต์มอญในกลุ่มคนมอญในประเทศไทยยังรักษาประเพณีแบบเดิมเอาไว้ มีการแห่ข้าวแช่ขึ้นวัด การเล่นทอยสะบ้า การแห่ธงตะขาบ การเผาศพสมัยก่อนวัดมอญจะไม่มีเมรุเอาไว้เผา แต่จะลอกเนื้อหนังมังสาออกเหลือแต่กระดูกเอาไปกองไว้สูงๆแล้วเผา เนื้อหนังต่างๆที่ลอกออกมาก็จะมีบ่อที่เอาไว้ไปทิ้งเรียกว่าบ่อน้ำเหลือง แต่การทำศพแบบนี้คาดว่าไม่น่าจะมีแล้ว และอื่นๆที่คนกลุ่มเล็กๆที่แทบไม่หลงเหลืองยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ปู่ทวดเราเป็นมอญ เป็นช่างสิปปหมู่สมัย ร.6 ความเป็นเลือดศิลปะก็ยังคงตกทอดลงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

0
Kitten Killer~~ 7 พ.ค. 55 เวลา 22:03 น. 5
เราก็มีเชื้อสายมอญ เราอยากให้วัฒนธรรมของชาวมอญคงอยู่ตลอดไป

PS.  ไอที่เรียนไม่ได้ใช้ ไอที่ใช้ไม่ได้เรียน จะเรียนทำเพื่อ...
0
7039 5 ก.ค. 57 เวลา 20:57 น. 6

เราคนหนี่งที่เป็นคนมอญ อยากรู้ทำไมพม่าทำกับเราชาวมอญอย่างน้ะที่อื่นมีไม่ไปตั้ง เราไม่ชอบคนพม่าเราไม่ชอบวัฒนธรรมชาวพม่าเศร้าจัง

2
เมนน้องยู<3 14 ก.พ. 60 เวลา 00:10 น. 6-1

เราไม่สามารถเอาความรุ้สึกในปัจจุบันไปตัดสินอดีตได้
จะคนประเทศไหนก็เคยไปรบกับชาติอื่นมาก่อนทั้งนั้น เอาประวัติศาสตร์ไปแค้นเขาแล้วเราจะได้อะไร เราเองก็เป็นคนเชื้อสายมอญ มีรุ่นน้องเป็นคนพม่า เราก็ไม่ได้โกรธเกลียดอะไรเขาเลย
คนพม่าที่รุกรานมอญเขาก็ทำเพื่อคนของเขา เขาอยากให้คนพม่าอยู่สบาย อยากให้คนพม่ามีแผ่นดินอยู่
ที่อื่นมีไม่ไปตั้ง? รู้มั้ยพูดแบบนี้เป็นการเห็นแก่ตัวมาก เขาไปตั้งที่อื่น คนที่อื่นก็จะเดือดร้อนแบบเรา เราจะผลักไสความทุกข์นี้ให้คนอื่นหรอ เห็นเขาทุกข์แทนเราแล้วเราจะมีความสุขรึไง
ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดดีกว่า มัวแต่มาจมปลักอยู่กับเรื่องที่ผ่านไปแล้ว สุดท้ายเรานั่นแหละที่ทุกข์ คนพม่าเขาไม่ได้มารู้สึกอะไรด้วยเลย

0
ชาติหงส์เสรี 24 ก.พ. 60 เวลา 20:10 น. 6-2

ผมก็เป็นคนมอญรุ่นนี้น่ะครับแต่คนมอญทุกคนไม่เคยชอบขี้หน้าพม่าสักเท่าไรกันรอกครับแต่ผู้ปกครองชนเผ่าสมัยนิมีไรที่ได้มาจากสังคมหรือเก็บค่าภาษีได้ไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ทำเพื่อชาติชนเผ่าของตัวเองมีแต่ยัดใสกระ


เก็บค่าภาษีได้ไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ทำเพื่อชาติชนเผ่าของตัวเองมีแต่ยัดใสกระม

0
มอญ สมุทรสาคร 17 ต.ค. 59 เวลา 23:45 น. 8

ผมก็มีเชื้อสายมอญ ซึ้งตรงที่ว่า รัชกาลที่ 4 ทรงไปรับถึงชายแดน คนกลุ่มนั้นอาจจะเป็นบรรพบุรุษของผมก็ได้ แต่เจ็บใจตรง นายสุกี้อาสาทําสงครามกับอยุธยา เลี้ยงไม่เชื่องจริงๆ ตอนนี้ผมเลิกกินสุกี้ละ เป็นคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์

0
Wadthai 30 ม.ค. 60 เวลา 22:16 น. 9

มันคงละเอียดอ่อนมากประวัติศาสตร์
เราไม่สามารถเอาความรุ้สึกในปัจจุบันไปตัดสินอดีตได้
ทั้งการศึกษา การกิน การอยู่ สังคม และการใข้ชีวิตก็ต่างกัน

0
puhs 18 ม.ค. 62 เวลา 01:46 น. 10

ประเทศนะมี แต่ไม่ได้ปกครอง ก็แค่นั้นเอง ต้องอยู่ภายไต้พม่าต่อไป จนกว่าจะได้อิสระภาพมา

0