Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีในพุทธศาสนา_บัวไม่ได้มี ๔ เหล่า_พระพุทธองค์สวดมนต์บทไหน_ศาสนาพุทธที่แท้จริงเป็นอย่างไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อะไรคือสิ่งที่พุทธองค์กล่าวเมื่อสมัยพุทธกาล?  หลายสิ่งหลายอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลง
ไปตามกลไกทางสังคม  จึงเกิดผลตามมาหลายอย่าง  รวมไปถึงการเอาหลักธรรมที่แท้จริง
ของพระพุทธเจ้ามาดัดแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่

เรื่องแบบนี้มันเป็นสิ่งที่ดีแล้วหรือ?


 

แสดงความคิดเห็น

>

24 ความคิดเห็น

ด้วยความปราถนาดี 16 พ.ค. 55 เวลา 16:46 น. 3

http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3034

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/03/Y10380758/Y10380758.html

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10883983/Y10883983.html

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11062554/Y11062554.html

0
อืมม 16 พ.ค. 55 เวลา 17:00 น. 4

จำคำสั่งที่พุทธเจ้าให้ไว้ได้ไหมว่า ธรรมจะเป็นศาสดาของพวกเราต่อไป

คหที่ 2 พระอาจารท่านเอาธรรมของพุทธเจ้ามาบอกกล่าวไม่ให้เราลืมในสิ่งที่พุทธเจ้าตรัสไว้

ซึ่งเป็นสิงที่สงฆ์สาวกนั้นควรเดินตามคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้า

0
... 16 พ.ค. 55 เวลา 18:10 น. 5

คห4 แต่ผมดูๆแล้วท่านไม่ได้พูดเพื่อความดับทุกข์เลย ไม่ได้พูดเพื่อมรรค ผล นิพพาน แต่เห็นพูดเน้นหนักไปในทางอันนั้นผิด อันนี้ถูก ต้องของท่านอย่างเดียวที่มาจากพระโอษฐ์ ของคนอื่นไม่จริง  สรุปก็คือให้ทุกคนฟังท่านผู้เดียว ครูบาอาจารย์องค์อื่นผิดหมด มันไม่ใช่สาระสำคัญอะครับ ถ้าอยากจะสอนให้สาธุชนประสบความสุข พบความดับทุกข์ ก็สอนมาว่าให้ปฏิบัติตัวอย่างไร แนวทางในการปฏิบัติตน สอนแบบนี้จึงได้ชื่อว่า สงฆ์ใดสาวกศาสดารับปฏิบัติมาแต่องค์สมเด็จภควันต์ ไม่ใช่มาเพ่งแต่ว่าที่พูดกันมาผิดหมด ไม่มียกเว้นแม้แต่ครูบาอาจารย์องค์ใด

0
proteios 16 พ.ค. 55 เวลา 18:30 น. 6

คห.5 ก็ท่านต้องการชักชวนคนให้ศึกษาในสิ่งที่ถูกต้อง ท่านไม่ได้บอกว่าของท่านอย่างเดียวที่มาจากพระโอษฐ์ อีกอย่างท่านก็ไม่ได้บอกด้วยว่าครูบาอาจารย์ท่านอื่นผิดหมด ส่วนแนวทางเข้าสู่ทางดับทุกข์ ปฏิบัติตัวอย่างไรท่านก็สอนแต่คุณไม่รับรู้ ไม่ใส่ใจเอง

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 18:34
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 18:36

0
... 16 พ.ค. 55 เวลา 19:03 น. 7

ท่านจะไปกล้าพูดตรงๆอย่างงั้นได้ยังงัยอะครับคุณ คห6 แล้วสิ่งที่ถูกต้องที่เป็นสาระสำคัญอันควรจะนำมาเทศน์ อันจะทำให้ผู้ฟังได้รับความชุ่มเย็นเบิกบานก็มีเยอะแยะ แต่นั่งฟังท่านมาเป็นชั่วโมงก็มีแต่เรื่องยิบๆย่อยๆ ไม่ทราบว่าเข้าใจตรงนั้นถูกต้องแล้วจะหมดทุกข์ได้ไหม หรือจะพูดไปเพื่อว่าของท่านดีก็ไม่ทราบ

0
choco-mars 16 พ.ค. 55 เวลา 19:05 น. 8

เหมือนจับผิดพระไตรปิฎกรึเปล่า ว่าตรงนี้ผิดๆ
ถามว่ามีประโยชน์มั้ย มีประโยชน์นะ สำหรับมือใหม่ ไม่เคยศึกษามาก่อน
แต่ยิบย่อยมากๆๆๆๆๆ บางอันตีความไม่เข้าใจก็ควรถามบัณฑิตหลายๆ ท่าน
ปริยัติแล้ว ก็อย่าลืมปฏิบัตินะ ถึงจะได้ปฏิเวธ

                ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]               

               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โยคา เว" เป็นต้น.
               รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด               
               ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า "เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน เราจักยังเธอให้สังเวช." 
               จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า "มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่าไปแล้ว." 
               พระโปฐิละนั้นคิดว่า "เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า "คุณใบลานเปล่า" พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." 
               ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า "บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า "อาจารย์." พระเถระไปสิ้น ๑๒๐ โยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม." 
               พระสังฆเถระ. "ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉน ท่านจึงพูดอย่างนี้?" 
               พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.
               วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ               
               ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น พระมหาเถระส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า "ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน. พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
               พระโปฐิละหมดมานะ               
               พระโปฐิละนั้นมีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม." 
               สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต เหตุอะไรๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน 
               พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้. 
               สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้ ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน. 
               พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า "จงเข้าไปสู่ไฟ" ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.
               พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร               
               ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้." 
               จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. 
               แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น. 
               ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เ้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง, บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม นี้ไว้ในมโนทวาร." 
               ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. 
               พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลงในกรชกายปรารภสมณธรรม. 
               ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา               
               พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า "ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง) ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล, การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น 
               ตรัสพระคาถานี้ว่า :- 
                         ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ     อโยคา ภูริสงฺขโย
                          เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา     ภวาย วิภวาย จ
                          ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย     ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
                                   ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่ง
                          ปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความ
                          เจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญา
                          จะเจริญขึ้นได้.
               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘. 
               คำว่า "ภูริ" นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป. 
               สองบทว่า เอตํ เทวฺธา ปถํ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่ประกอบนั่น. 
               บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและความไม่เจริญ. 
               บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่ปัญญา กล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้. 
               ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้.


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 19:07
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 19:13
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 19:25
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 19:26
0
principia 16 พ.ค. 55 เวลา 20:00 น. 9

 คห. ๒

ในคลิปเนี่ยไม่ได้บอกว่าพระอาจารย์ครึกฤทธิ์ ถูกคนเดียว
แต่บอกว่าพระอาจารย์อยากให้ศึกษาคำของตถาคตเป็นหลัก

ในเมื่อพระทุกรูปในประเทศไทยไม่ได้เป็นพระอรหันต์กันทุกรูป
เราก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่ท่านสอนเราถูกหรือผิด  เราก็ควรจะหาอะไร
ที่พอจะมีความน่าเชื่อถือได้

ผมไม่ได้ให้ปฏิเสธพระเกจิท่านอื่นนะ  เพราะคำของท่านเป็นเรื่องของโลกุตระ
ซึ่งแน่ใจได้ว่า  หลักธรรมที่ท่านบอกมา  สามารถปฏิบัติเพื่อให้เห็นจริงได้
แต่หากเราศึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่พระอาจารย์ท่านนี้บอกว่าเป็นสายเอกด้วยแล้วเนี่ย
มันก็เป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรือ  ที่จะได้เห็นคำพูดของตถาคตว่ามีเนื้อหาแบบใด
มีลักษณะประการใด  และมีแนวทางแบบใด

โดยส่วนตัวจริงๆ ผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วย ร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก
และผมก็ไม่ค่อยได้ศึกษานิกายเถรวาทเท่าไหร่  มักจะไปทางเซ็น
มากเสียกว่า  เพราะรู้สึกว่าเซ็นมีความเป็นกลาง  ไม่ได้ยึดใครเป็นหลัก  
ไม่ติดตำรา(แต่ไม่ใช่ไม่ศึกษาตำราเลย)  ดูเหมือนเป็นปรัชญามากกว่า
ที่จะเรียกว่าศาสนา

แต่สิ่งนี้อาจจะทำให้บางคนที่ไม่เคยได้รู้หลักธรรมดั้งเดิมมาก่อน
ได้เข้าใจในแง่มุมของพุทธศาสนาที่นอกเหนือตำราเรียนในชั้นเรียน
นอกเหนือจากการที่สวดมนต์ไปโดยไม่รู้ว่าทำไปไม  ได้เปลี่ยนแนวคิดใหม่
เป็นสัมมาทิฏฐิ  เห็นถูกเห็นควร  ไม่หลงงมงายเหมือนแต่ก่อน

เมื่อเข้าใจดีแล้วการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงวิมุตตินั้น  คงไม่จำเป็นต้องใช้
ตำรามาก(ซึ่งก็มีในพระไตรปิฎกฉบับนี้)  เน้นปฏิบัติให้มากไม่ติดตำรา
หรือทิ้งตำราเลยก็ดี  เพราะตำราอาจเป็นเครื่องขัดขวางการทำงานของจิต
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สูงเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจได้  จะรู้ได้เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติมาแล้วเท่านั้น


ส่วนคห. ๓ ก็อย่างที่บอกไป

ก็เป็นเพราะเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่  ที่อยากจะดัดแปลงเพื่อให้ง่าย
ต่อความเข้าใจของตนเอง  แต่หากมันเลยเถิดออกไป  แล้วอะไรจะเรียกว่า
บรรทัดฐานของศาสนาพุทธ  อะไรคือสิ่งที่พุทธองค์ได้ตรัสสอนกับสาวก

เว้นเสียแต่จะนำเอาหลักธรรมส่วนหนึ่งมาประยุกต์ในรูปแบบใหม่  และตั้งเป็นลัทธิใหม่
เหมือนในนิกายเซ็นที่เอาพุทธ เต๋า ขงจื้อ สุขาวดีและแนวคิดอื่นๆ มารวมกัน
แล้วเรียกว่าเป็นนิกายเซ็น  อันนี้ก็เป็นสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตของนิกายเถรวาท


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 20:04

0
... 16 พ.ค. 55 เวลา 21:13 น. 10

"ก็เป็นเพราะเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่&nbsp ที่อยากจะดัดแปลงเพื่อให้ง่าย
ต่อความเข้าใจของตนเอง&nbsp แต่หากมันเลยเถิดออกไป&nbsp แล้วอะไรจะเรียกว่า
บรรทัดฐานของศาสนาพุทธ" คห.9

ก็นี่งัย จาก 227 เหลือ 150

ก็อย่างที่ผมบอก(ดู คห.7) ในคลิปพระอาจารย์ท่านไม่ได้พูดหรอกว่าท่านถูกคนเดียว แต่เข้าใจได้ว่าต่อแต่นี้คงไม่กล้าเชื่อคนอื่น คงยึดพุทธวจนะเป็นหลัก

แล้วก็อย่างที่เคยบอก ถ้าจะเอาคำของพระพุทธเจ้าจริงๆก็ศึกษาจากพระไตรปิฎกเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ไม่มีพุทธวจนะก็มีค่าเท่ากัน และอีกอย่างการที่ท่านพูดแบบนี้หมายความว่าต่อไปพระไตรปิฎกของมหาจุฬาก็คงหมดความหมาย เพราะท่านว่าเติมแต่งซึ่งอันนี้เรียกได้ว่าเป็นแม่แบบ ผู้จัดทำก็ล้วนแต่ครูบาอาจารย์ทั้งสิ้น แม้ตัวพระอาจารย์คึกฤทธิ์เองก็เป็นผู้เริ่มศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ แต่เปิดตัวมาทีทำเอาแบบฉบับเขาหมดความหมาย

"อะไรคือสิ่งที่พุทธองค์ได้ตรัสสอนกับสาวก"

คำตอบก็คือความพ้นทุกข์ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แล้วทำยังงัยถึงจะพ้นทุกข์ต้องอ่านพระไตรปิฎกครบหมดหรือถึงต้องทำพุทธวจน?

จริงๆก็ไม่ต้องถึงขนาดนั้น ก็อย่างที่ท่านพุทธทาสสอน

จริงๆพระไตรปิฎกฉบับปัจจุบันนี้ก็ถือว่าบริบูรณ์แล้ว ถ้าใครอยากจะเอาแต่คำของพระพุทธเจ้าก็ดูจากพระสุตตันตปิฎกก็ได้ จะมาบอกว่าเขาแต่งเติมอีก ก็เชิญไปประเทศอินเดีย นั่งอ่านภาษาบาลีเอาเลย

0
proteios 16 พ.ค. 55 เวลา 21:25 น. 11

พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐไม่ใช่หรอ ที่เป็นแม่แบบ

อีกอย่างคือท่านพุทธทาสเป็นคนริเริ่มแยกพุทธวจนออกจากพระไตรปิฎกเป็นหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ พระอาจารย์คึกฤกธิ์มาสานต่อเป็นหนังสือพุทธวจน

ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายๆพระสูตรเพราะอินทรีย์ของแต่ละคนไม่เท่ากัน พระองค์ทรงตรัสสอนไว้หลายๆแบบเพื่อรองรับคนแต่ละประเภท เพราะฉะนั้นคำที่พระองค์ตรัสสำคัญหมด ก็แล้วแต่แต่ละคนว่าจะศึกษาคำไหนแล้วจะเข้าถึงธรรมะได้


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 21:31
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 21:31
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 21:31
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 21:35

0
... 16 พ.ค. 55 เวลา 21:49 น. 12

คุณคห.11 ท่านพุทธทาสทำไปโดยมีเจตนา เอา มรรค ผล นิพพาน ท่านเจตนาจะหยุดไว้แค่นั้น อย่าเอาท่านไปปนกับพระอาจารย์คึกฤทธิ์ เทียบกันไม่ได้ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ท่านทำของท่านเอง ไม่ได้สานต่ออะไร สานต่ออะไรทำตั้งแต่เล่ม1ถึงเล่มที่เท่าไร สานต่อต้องต่อจากท่านพุทธทาส นี่ท่านทำเป็นเรื่องของท่านเองไม่เกี่ยวกับท่านพุทธทาส

พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐไม่ใช่แม่แบบ พระไตรปิฎกบาฬี จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อันนี้แม่แบบของไทย ต่อมาถึงจะเป็นบาลีสยามรัฐ แล้วก็มาเป็นของมหาจุฬาซึ่งเป็นฉบับแสตนดาร์ดในปัจจุบัน ถ้ากลัวแต่งเติม รู้จักส่วนพระสุตตันตปิฎกไหม นั่นแหละพุทธพจน์

ลองอ่านคำตอบที่8 จากอันนี้ดู>>>http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3034

0
proteios 16 พ.ค. 55 เวลา 22:00 น. 13

 ผมผิดเองที่เอาไปปน แต่ก็แสดงว่าการแยกออกมาก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน

0
choco-mars 16 พ.ค. 55 เวลา 22:42 น. 14
อย่างนี้จะปฏิเสธพระอภิธรรมมั้ยเนี่ย 
เพราะอภิธรรมไม่มีความว่าดูกร ดูก่อน........เลยนะ

พระไตรปิฎกถ้าศึกษาดีๆ จะรู้ว่าทุกๆ คำ ทุกๆ หน้า มีค่า และมีประโยชน์มากๆๆๆ
เราว่าพระไตรปิฎกบริบูรณ์ดีอยู่แล้วนะ จะทำให้ยุ่งยากกันทำไม

ถ้าอยากศึกษาพุทธวจนะ ก็เชิญศึกษาพระไตรปิฎก แค่นี้ก็ได้แล้ว
ไม่ต้องแยกให้มากมาย อรรถกถาท่านจะว่าเป็นคำสาวกรุ่นหลัง ก็แล้วแต่ แต่สำหรับเราแล้วถือว่ามีคุณ
ประโยชน์มากๆ และถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางพระพุทธศาสนารองจากพระไตรปิฎก

พระมหากัสสปะซึ่งเป็นประธานในการสังคายนาเองก็มีความเคารพรัก ยำเกรงในพระรัตนตรัยมากๆ
โดยการสังคายนา เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกัน ก็จะลงมติเป็นเอกฉันท์ โดยใช้หลักที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้  จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้วตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว  หาความเสื่อมมิได้"

ซึ่งเป็นแนวทางของคณะสงห์เถรวาท ศรีลังกา พม่า ไทย สืบกันเรื่อยมา ใช้หลักถึงเพียงนี้ พระธรรมจะบิดเบือนนั้นก็ย่อมเป็นเรื่องยาก


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2555 / 23:00
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 17 พฤษภาคม 2555 / 19:50
0
เป็ดน้ำ 17 พ.ค. 55 เวลา 20:59 น. 15

เราก็ใช้เฉพาะคำสอนส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราสิคะ
ถ้าพวกคุณจะโต้แย้งกันคงไม่ได้อะไรที่เป็นสาระหรอกค่ะ

ไม่ต้องยึดถือตรงตัวหรอกค่ะ แค่ปรับใช้ตามสถานการณ์


PS.  มีแสง...ก็ต้องมิเงา,มีขาว...ก็ต้องมีดำ
0
มนุสนิริโย 18 พ.ค. 55 เวลา 18:08 น. 16

           แล้วถ้าเป็นพระที่ทำโดยไม่มีเจตนาจะทำเรื่องพวกนั้นเลี้ยงชีพล่ะ ก็แสดงว่าไม่ผิดอ่ะดิ ย้ำเลยว่า "เลี้ยงชีพ" ด้วยเดียรัจฉานวิชานะ บางท่านก็ทำเพราะไม่อยากขัดศรัทธาคน หรือมีเจตนาจะช่วยจริงๆ รัตสูตร พระพุทธเจ้าก็เคยให้พระอานนท์ทำน้ำมนต์พรมที่แคว้นวัชชีมาแล้วนี่ ต้องดูไปเป็นคนๆ ไม่ใช่จะหลับหูหลับตาด่าพระที่พรมน้ำมนต์ เสียทุกท่าน


PS.  [ตรรกะที่ขาดจินตนาการก็เป็นเพียง ทิฐฐิ มานะ] [จินตนาการที่ขาดตรรกะก็เป็นเพียง อุธธัจจะ ดีๆ นี่เอง]
0
มนุสนิริโย 18 พ.ค. 55 เวลา 18:13 น. 17

แหม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีเนี่ย ใครฟังจบแล้วช่วยเขียนไว้ให้อ่านหน่อย มันยาวจัด


PS.  [ตรรกะที่ขาดจินตนาการก็เป็นเพียง ทิฐฐิ มานะ] [จินตนาการที่ขาดตรรกะก็เป็นเพียง อุธธัจจะ ดีๆ นี่เอง]
0
นภา 19 พ.ค. 55 เวลา 11:26 น. 18

ผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริงต่างเห็นประโยชน์ของอรรถกถา เปรียบเสมือนเป็น "ครู" ผู้อธิบายคำที่ยากในพระไตรปิฎก อุปมาอุปมัยให้เข้าใจง่ายขึ้น จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก แต่ทำไม พระรูปนี้จึงพูดว่า "เป็นคำที่ถูกแต่งขึ้น พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าไปฟังอย่าไปสนใจ" โดยอ้างพุทธวจนแบบนั้นของพระพุทธเจ้าอะ (ดูนาทีที่ 7.50)&nbsp นี่ไม่ใช่ความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า หากสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ใด สอนตามหลักศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว แม้จะไม่ได้ใช้คำศัพท์เหมือนอย่างในพระไตรปิฎก แต่มีความหมายอย่างเดียวกัน เห็นสัจธรรมได้เหมือนกัน แบบนี้ผิดด้วยหรือ พูดอย่างนี้ก็เหมารวมพระทั้งประเทศว่าผิดหมดนะสิ เพราะส่วนใหญ่เวลาพระท่านเทศน์ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย "ดูก่อน... " แต่เทศน์ออกมาจากความเข้าใจ เพราะท่านได้ปฏิบัติมาก่อนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมทย์โช, พระพยอมกัลยาโณ, พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล , ท่าน ว.วชิรเมธี, พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ,พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ หลวงปู่หลวงพ่อเหล่านี้ท่านไม่ได้อ่านพุทธวจนให้ญาติโยมฟังเหมือนอย่างพระรูปนี้ แล้วจะผิดไหมเนี่ย

0
มนุสนิริโย 19 พ.ค. 55 เวลา 17:58 น. 20

          เจ้าของกระทู้ทำคนอื่นเข้าใจผิดหมด "การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีในศาสนาพุทธ" พระท่านบอกว่า "วิญญาณไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด สัตว์ต่างหากที่เวียนว่ายตายเกิด" ตั้งสติก่อนตั้งชื่อกระทู้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีสติเจตสิก ใช้มันให้เป็นประโยชน์ ด้วยความหวังดีจากสัตว์นรกตัวเล็กๆ
          ป.ล. จขคห.ยังมีวิสัยแห่งสัตว์นรก โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และโปรดอภัยให้ความด้อยสติปัญญาของกระผมด้วย


PS.  [ตรรกะที่ขาดจินตนาการก็เป็นเพียง ทิฐฐิ มานะ] [จินตนาการที่ขาดตรรกะก็เป็นเพียง อุธธัจจะ ดีๆ นี่เอง]
0