Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(เชิญถก) ความแตกต่างของปรัชญาตะวันตกและตะวันออก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เครดิตในเฟซบุค

ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก

๑.ปรัชญาตะวันตก หมายถึงความรู้เรื่องหลักคือหลักเกี่ยวกับโลกและชีวิต

ส่วนปรัชญาตะวันออก หมายถึงความรู้อันประเสริฐคือความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากโลกียะ

๒.ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามหาทางทำลายความสงสัย

ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้หลังจากหมดความสงสัยแล้ว

PS.  คำเตือน คห.นี้เกรียน และอาจนอกประเด็นมู้ ต้องขออภัย -..-

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

-Saber- 29 พ.ค. 55 เวลา 17:33 น. 1

ปรัชญาตะวันตก - เน้นการดำเนินชีวิตด้วยวัตถุ การทำความเข้าใจผู้อื่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยร่วมกับคนอื่นในสังคม

ปรัชญาตะวันออก - เน้นการดำเนินชีวิตด้วยธรรมชาติ ทำความเจ้าใจตัวเอง อยู่กับจิตใจตัวเอง และใช้ชีวิตโดยค้นหาความสุขจากภายใน


PS.  ถ้าเขาว่าผิดผมว่าไม่ผิดแล้วผมต้องผิดใช่ไหม ถ้าเขาว่าถูกผมว่าไม่ถูกแล้วผมต้องเชื่อหรือไง
0
MyLadyCate 29 พ.ค. 55 เวลา 18:28 น. 4

๑.ปรัชญาตะวันตก หมายถึงความรู้เรื่องหลักคือหลักเกี่ยวกับโลกและชีวิต

ส่วนปรัชญาตะวันออก หมายถึงความรู้อันประเสริฐคือความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากโลกียะ

- อันนี้ค่อนข้างเห็นด้วยนะ

๒.ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามหาทางทำลายความสงสัย

ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้หลังจากหมดความสงสัยแล้ว

- เป็นความรู้หลังจากหมดความสงสัยแล้ว < อันนี้เข้าใจยากอ่ะ คงต้องให้คนเขียนอธิบายเพิ่ม


อย่างเรื่องความตายเนี่ย บางครั้งแนวคิดแทบจะตรงข้ามกันเลย

คืนวันคริสต์มาสปี 2010 ป้าขับรถพาย่าซึ่งอาการร่อแร่ไปโรงพยาบาลตอนเที่ยงคืน เรานั่งอยู่ข้างหน้ากับป้า ย่านั่งข้างหลัง


ความคิดของย่า = ฉันแก่แล้ว อยู่มานานมากแล้ว เจ็บปวดทรมานเหลือเกิน ฉันหวังให้ความตายช่วยยุติความเจ็บปวดลงเสียที ฉันไม่อาลัยในชีวิตและร่างกาย แต่ฉันเป็นห่วงลูกๆที่ต้องเสียใจถ้าฉันตายไป ฉันจึงพยายามทนมีชีวิตอยู่แม้จะเจ็บปวด

ความคิดของป้า = ยื้อคนที่รักไว้ให้นานที่สุด ความตายคือการพลัดพราก คือความสูญเสีย ระหว่างทางไปโรงพยาบาล ป้าพูดซ้ำๆว่า อย่าตายนะแม่ ไม่ได้นะ พยายามหายใจเข้าไว้ อีกเดี๋ยวก็จะถึงโรงพยาบาลเล้ว แข็งใจไว้

 

เรา = คิดในใจว่าย่าป่วยมานานแล้ว อย่าเป็นห่วงลูกหลานเลย ไปเถอะถ้าไม่ไหวแล้วจริงๆ เราปลงได้นะ ไม่ใช่ว่าไม่รัก แต่เราเชื่อว่ารักแท้คือความปรารถนาให้คนที่รักมีความสุข ถ้าย่าตายแล้วสบายกว่าเก่าก็ไปเถอะ

หมอ = หน้าที่ของเราคือให้การรักษาทางกายภาพอย่างสุดความสามารถ

 

ย่าหยุดหายใจไปประมาณเจ็ดนาทีในรถ แต่สุดท้ายหมอก็ปั๊มหัวใจจนรอดตาย แต่สมองเสียหายเนื่องจากขาดออกซิเจนไปนาน จึงทำให้มีสภาพไม่ต่างจากเจ้าหญิงนิทรา ย่านอนอยู่บนเตียงอย่างไร้สติ มีชีวิตอยู่ด้วยสายออกซิเจนและอาหารเหลวเป็นเวลแปดเดือน มันคือปัญหาทางจริยธรรมที่ซับซ้อนอย่างมาก ว่าควรจะถอดสายออกซิเจนออกดีมั้ย ถ้าไม่มีโอกาสฟื้นขึ้นมาแล้ว แต่ป้ายืนยันว่าให้ใช้เครื่องช่วยหายใจไปเรื่อยๆ เขารักแม่มาก ไปเฝ้าร่างไร้สติที่โรงพยาบาลทุกวัน บางครั้งอาการหนักต้องเข้าไปรักษาในห้อง CCU หรือ ICU ป้าตายเข้าไปไม่ได้ ก็ยังเฝ้าอยู่หน้าห้อง

 

ญาติที่ต่างจังหวัดไม่เข้าใจว่าทำไมคนกรุงเทพ ต้องพยายามยื้อร่างคนป่วยไว้ขนาดนี้ด้วย เขามองว่าย่าน่าจะทรมาน ถูกต่อสายระโยงระยางแบบนั้น ต่างจากทวดเราที่นอนตายบนเตียนในบ้านอย่างเป็นธรรมชาติ ตอนอายุ 92 เราคิดว่าย่ามีชีวิตอยู่อย่างผิดธรรมชาติตั้งแต่ถูกหมอปั๊มหัวใจให้ฟื้นขึ้นมา หลังจากหยุดหายใจไปแล้วเจ็ดนาที

 

เราลองถามเพื่อนชาวยุโรปว่าเขาคิดยังไงกับกรณีนี้ เขาพูดเหมือนป้าเราว่าน่าจะยื้อชีวิตไปเรื่อยๆ เพราะย่าอาจจะมีโอกาสฟื้นขึ้นมาอีกก็ได้ แต่ทีนี้พ่อกับแม่และญาติคนอื่นก็คิดว่า ถ้าย่าฟื้นขึ้นมาได้จริง แต่ไม่เหมือนเก่าล่ะ ย่าไม่ยิ่งทรมานกว่าเดิมเหรอ

 

พ่อบอกเราว่าถ้าพ่อมีอาการแบบย่า ให้เอาสายออกซิเจนออกนะ ไม่อยากอยู่ในสภาพแบบนั้น เราคิดว่ามุมมองของป้า หมอและเพื่อนชาวสวีเดน เป็นมุมมองแบบตะวันตก ส่วนมุมมองของญาติต่างจังหวัด พ่อแม่ และเราเป็นมุมมองแบบตะวันออก เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสรุปแบบฟันธงได้ว่าใครถูกใครผิด การตัดสินใจต่างๆจึงเป็นไปตามความเชื่อ และภูมิหลังของคนๆนั้น

นอกจากนี้ยังมีมุมมองทางศาสนาซึ่งสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่ยังไม่พูดถึงละกัน (พิมพ์ซะยาวเลยกรู)



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 29 พฤษภาคม 2555 / 18:28
0
O-sign 29 พ.ค. 55 เวลา 18:33 น. 5

Philosophy (แปลไทยว่าปรัชญา) ตามรากศัพท์ของมัน หมายถึงการ "รักความรู้" ครับ
philos - ความรู้
sophia - ความรัก
ทางตะวันตก ปรัชญามักจะมีเอาไว้เพื่อตอบคำถามที่ตนเองสงสัย อย่างเช่น อะไรคือความจริง เรารู้ความจริงได้ไหม เราจะหาความจริงหรือความรู้ได้อย่างไร ถ้าเรารู้แล้วเราจะมีวิธีหรือปฏิบัติตัวอย่างไร คืออะไรที่สงสัยได้แล้วยังไม่มีคำตอบที่แน่นอน มันก็จะยังคงสภาพเป็นปรัชญาอยู่ ในขณะที่สิ่งไหนที่สงสัยแล้ว มีคำตอบที่แน่นอนแล้ว เลิกสงสัยแล้ว มันก็จะกลายเป็นสาขาวิชาอันใหม่ อย่างเช่นจิตวิทยาที่เพิ่งแยกออกมาจากปรัชญาไม่ถึงร้อยปี เพราะองค์ความรู้มันสมบูรณ์แล้ว หมายความว่าทางตะวันตก ขอเพียงมีความกระหายในความสงสัยเข้าไว้ พอตอบคำถามได้แล้วก็จบกันแค่นั้น

ส่วนทางตะวันออก ปรัชญาจะมีแนวโน้มเป็นปรัชญาแห่งชีวิตหรือปรัชญาเพื่อการปฏิบัติเป็นหลัก อย่างเช่นปรัชญาพุทธ หรือ ปรัชญาของขงจื้อ ที่มีเอาไว้เพื่อปฏิบัติเป็นหลัก ไม่ได้มีเอาไว้้เพื่อรู้แล้วจบกันแค่นั้น เพราะแค่รู้อย่างเดียวไม่ใช่เป้าหมายของปรัชญาตะวันออกส่วนใหญ่

เรียนมา 8 ปี ก็จับใจความได้ประมาณนี้แหละครับ

แต่จะว่าไป จริง ๆ แล้วมันอาจจะไม่ต่างกันก็ได้ เพราะปรัชญาตะวันตกอย่างพวก Existentialism ก็มีวิธีปฏิบัติตนตามความเชื่อของตนเองเหมือนกัน ไม่ได้แตกต่างกับปรัชญาตะวันออกเท่าไหร่


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 29 พฤษภาคม 2555 / 18:38

0
tongfar 29 พ.ค. 55 เวลา 19:02 น. 6

ตัวละครลับแอบมากดไลค์ ความเห็นหมูตรงดี เป็นจุดที่ต่างกันชัดเจนมาก ๆ

0
sillfai 29 พ.ค. 55 เวลา 22:22 น. 7

 ตะวันตก = ภายนอก

ตะวันออก = ภายใน


PS.  จะหลอกตัวเองได้นานสักแค่ไหน นิทราที่หอมหวานก็ไม่มีวันหวนคืน
0
Florenst 29 พ.ค. 55 เวลา 23:38 น. 8

ปรัชญาตะวันตก - การเอาชนะธรรมชาติ นำทรัพยากรมาใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์อยู่รอดได้ในธรรมชาติ เพราะเราคือชาติพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ หากจะช่วยเหลือธรรมชาติ มนุษย์ต้องรอดก่อน

ปรัชญาตะวันออก - การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เคารพในสิทธิ์ของ 'ชีวิต' ในธรรมชาติเทียบเคียงกับมนุษย์ ไม่ทำลายธรรมชาติเพียงเพื่อให้มนุษย์อยู่อาศัย แต่จะให้มนุษย์ปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ

0
valerie[วิฬารี] 30 พ.ค. 55 เวลา 10:40 น. 9

ทำไมที่เราเรียนมามันไม่ค่อยเป็นอย่างนี้เลยล่ะ

เอาเข้าจริงปรัชญาขั้นสูงของตะวันตกกับตะวันออกไม่ต่างกันนะ
อย่าง กรีก ซึ่งเป็นอู่เกิดของปรัชญาตะวันตก
สูงสุดของปรัชญากรีกก็คือ Harmony ความสมดุล
ซึ่งก็ไม่ต่างกับ "ทางสายกลาง" แบบพุทธเลย

แล้วไหงใครๆ แปะป้ายว่าปรัชญาตะวันตกคลั่งวัตถุกันแบบนั้น...

0
polarbee 30 พ.ค. 55 เวลา 14:49 น. 10

 ที่ผมเคยได้ยินมานะ
คนที่เรียนปรัชญาบอกผมว่า

ปรัชญานั้น เปิดโอกาสให้เราถกเเถียงกัน แต่ไม่มีผู้ใด มาตัดสินว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด
คนถกเถียงและคนฟังจะได้สาระจากการถกเถียงและนำไปตัดสินเอาเอง

ไม่ว่าปรัชญาตะวันตกหรือตะวันออก ก็ศึกษากันเพื่อหาสิ่งเดียวกัน คือความรู้ และปัญญา ไม่ว่าภายนอกหรือภายใน ไม่ว่าวัตถุ หรือจิตใจ

ถ้าคุณได้อ่านปรัชญาของนักปราชญ์มากหน่อยจะเห็นได้ว่า ไม่ว่า โสเครติส เพลโต คาริลยิบราล รพินทรนาถฐากูร หรือแม่แต่ ขงจื้อ เหล่าจื้อ จวงจื้อ พระพุทธเจ้า ก็มีหลายข้อที่แสดงความคิดเห็นตรงกัน

จริงแล้ว ถ้าคิดจะเปรียบเทียบน่าจะลองยกตัวอย่างความต่างที่ว่ามานั้นให้อ่านด้วยจะยิ่งดีมากเลยครับ

สำรับปรัชญาแล้วผมว่า เรื่องของความคิดมันไม่มีอะไรที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง หรือเหมือนกันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจหาใครมาตัดสินได้

ผมไม่ได้เรียนมาทางนี้ ก็มีความเห็นเช่นนี้ครับ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 30 พฤษภาคม 2555 / 14:58


PS.  ลมพัดจันทร์กระจ่างไร้คนบงการ น้ำไหลเขาตระหง่านล้วนเป็นเช่นนั้นเอง
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

สายลมหนาว[Blackcat] 30 พ.ค. 55 เวลา 23:02 น. 12

 ปรัชญาไม่มีสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดเพราะปรัชญาสามารถถกเถียงกันได้เพื่อให้ความเห็นลงตัว 
หากชีพท่าน ไร้ซึ่งความหวัง กายท่านนั้นคงอยู่เพื่อสิ่งใด ควันหลง LF ก๊ากกกกกก


PS.  จงฆ่าทุกความสงสัย และก้าวต่อไปด้วยความอำมหิต
0