Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ในหัวข้อข่าว"กลุ่มหมอไม่หวั่นเข้าสู่อาเซียนหมอต่างชาติแห่ทำงานในไทย"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

กลุ่มแพทย์พร้อมรับมือก้าวสู่อาเซียน ไม่หวั่นหากหมอจากประเทศในกลุ่มเข้ามาทำงานในไทย ชี้ แพทยสภาวางหลักเกณฑ์รองรับแล้ว ระบุ คนต่างชาติมาเรียนหมอในไทยได้เฉพาะ ม.เอกชน เท่านั้น
       
       ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้สัมภาษณ์กรณีการเตรียมกำลังคนด้านการแพทย์เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2558 ว่า ในส่วนของ กสพท.ซึ่งมีโรงเรียนแพทย์ทั้งรัฐและเอกชนร่วมเป็นสมาชิก ไม่ค่อยมีความกังวลต่อการที่ประเทศจะเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ซึ่งเป็น 1 ใน 8 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะประเทศไทยสามารถผลิตแพทย์ได้อย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น เราจึงมองการผลิตแพทย์และการพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลก อย่างไรก็ตามหากถึงปี 2558 แล้วจะมีแพทย์จากประเทศในอาเซียนหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทย ก็ไม่เป็นห่วงเพราะเรื่องนี้แพทยสภาวางหลักเกณฑ์ไว้แล้ว
       
       ศ.นพ.อาวุธ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เสนอให้ กสพท วางหลักเกณฑ์พิจารณาการรับนักเรียนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งอาจจะมาเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย นั้น ว่า ผู้ที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ เมื่อจบแล้วมีข้อกำหนดว่า จะต้องรับราชการ และผู้ที่รับราชการได้ก็ต้องมีสัญชาติไทย ดังนั้นนักเรียนต่างชาติอาจจะไม่สามารถเรียนแพทย์ในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ แต่หากจะเรียนในโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยเอกชน ก็เปิดกว้างต้อนรับ เช่น วิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และในอนาคตอันใกล้นี้ มหาวิทยาลัยสยาม ก็กำลังจะเปิดสอนคณะแพทย์ ซึ่งขณะนี้แพทยสภาให้การรับรองหลักสูตรแล้ว คาดว่า น่าจะเปิดรับนักศึกษาได้ปีหน้า
       
       “ส่วนตัวมองว่า การที่เอกชนเปิดคณะแพทย์ เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ช่วยกันผลิตแพทย์ ทั้งจะเป็นการเปิดเสรีเมื่อมีการแข่งขันกันมากขึ้น ก็จะได้แข่งกันผลิตให้มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ” เลขาธิการ กสพท.กล่าว
Credit1 : Unigang
Credit2 : M
anager
ปล.คือได้ทางเลือกใหม่ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเอกชน แห่งที่2 สินะ ^^
ปล.2 ห้ามดราม่ากันนะ :D (คนไทยด้วยกัน :))
ปล.3 หากเห็นว่าไม่เหมาะสมที่นำข่าวนี้มาบอกล่าวก็ขออภัยล่วงหน้านะ และยินดีให้ลบกระทู้นี้ได้ 

ปล.4 ยินดีด้วยสำหรับหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณทิต มหาวิทยาลัยสยามที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้ว^^



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 กรกฎาคม 2555 / 18:14

แสดงความคิดเห็น

>

18 ความคิดเห็น

MDnews 18 ก.ค. 55 เวลา 16:46 น. 1

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ม.สยาม จะเปิดคณะแพทยศาสตร์จริง โดยมี รพ.ตำรวจเป็นแหล่งฝึกหลัก
"คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ ม.สยาม เยี่ยมชมและศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน&nbsp  ลงวันที่ 30 ม.ค. 55"
http://www.med.nu.ac.th/2008/newdetail_temp.php?IDn=02186

0
*-*-*- 18 ก.ค. 55 เวลา 20:03 น. 2

         ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดี ยินดีด้วยสำหรับหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณทิต มหาวิทยาลัยสยามที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้ว^^และยินดีกับชาวไทยที่จะมีแพทย์มากขึ้นครับ

        ในความคิดเห็นส่วนตัว การเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ซึ่งเป็น 1 ใน 8 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คิดว่าในประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์อันดับต้นๆของอาเซียนร่วมกับมาเลเซียและสิงค์โป
และหากเปรียบเที่ยบเงินเดือนแล้ว 55+ ของเราน่าจะต่ำกว่า แรงดึงดูดที่แพทย์ต่างชาติจะเข้ามานั้นคงจะน้อย
          สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ แพทย์ไทยที่ภาษาอังกฤษดี อาจจะ(ใช้คำว่าอาจจะนะ) เคลื่อนย้ายไปทำงานในสิงค์โป มาเลเซีย  2 ประเทศนี้อยู่บ้าง

0
bigblue9 19 ก.ค. 55 เวลา 17:09 น. 5

กลัวทำไมกับแพทย์ต่างชาติเข้ามาหากินในเมืองไทย

มีแต่หมอเมืองไทยจะไปต่างประเทศเพียบหละไม่ว่า เงินเดือนดีกว่า

ประเทศรอบ ๆ ยังขาดแคลนหมออีกเยอะ เดี๋ยวเมืองไทยจะขาดแพทย์ครั้งใหญ่อีกรอบต่างหาก

0
Nocebo-[D] 20 ก.ค. 55 เวลา 20:05 น. 6

สำหรับเราวิชาชีพด้านสุขภาพทั้งหลาย
แม้จะเปิด AEC แล้วก็ตาม แต่ประเด็นของภาษาเป็นเรื่องที่น่าคิดครับ

ในขณะที่ประเทศในอาเชียนสิบกว่าประเทศ(มั้ง) แต่กลับมีภาษาที่ใช้อยู่มากมาย
ยกตัวอย่างนะ ถ้าเราไม่สบายเราก็ไปโรงพยาบาลใช่ป่ะ ทีนี้ถ้าเป็นหมอชาวเวียดนามเค้าก็สื่อสารกับเราไม่ได้อยู่ดี เพราะเราใช้ภาษาไทย

แต่การจ้างงานน่าจะมีผลมากในตลาดสูง ๆ เช่นโรงพยาบาลเอกชนที่จะมีผู้ป่วยต่างชาติเยอะ ซึ่งส่วนนี้ต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร ตลาดแรงงานไม่ว่าชาติไหนก็ได้ขอเพียงคุณสื่อสารภาษาอังกฤษได้ก็พอ

0
tamm16 20 ก.ค. 55 เวลา 21:40 น. 7

เชียร์ให้เปิดเพิ่มครับ  ที่จีนมีเปิดเยอะ  และได้มาตรฐานเหมือนกันผมจึงเชียร์ไทยให้ทำมั่ง

แต่งานนี้ กสพท. ก็ต้องเหนื่อยตรวจหลักสูตรนิดนึงแหละ  สู้ๆครับ


PS.  คนเราจะรักกันจริง มันไม่มีเหตุผลใดใดมาห้ามได้หรอก....
0
SANTOS 20 ก.ค. 55 เวลา 21:56 น. 8

เงินเดือนแพทไช้ทุน สองสามปีแรกหมื่นต้นๆ เปิดคลีนิกก็ไม่ได้คงจะรั้งหมอเก่งๆไว้ไม่ไหว

เห็นโรงบาลเอกชนบางทีทุ่มซื้อสัญญาพวกหมอเฉพาะทางที่เก่งๆ เป็นล้านๆ

แถมเงินเดือนหลายแสน ทางรัฐคงหางบมารั้ง หมอเก่งๆไว้ไม่ไหวแน่ๆ


PS.  ผ่านพ้นวันเลวร้าย ร่างกายก็ยังมีแผลมากมาย ถึงแม้ไม่ตายก็เหมือนต้องตายทั้งเป็น วันนี้ยังจดจำ เรื่องราวที่กายบอบช้ำเจียนตาย ที่ล้มทั้งยืน แต่ฝืนให้กายสู้ไป
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

ฮวก 21 ก.ค. 55 เวลา 19:46 น. 10

คห9 ไม่รู้อะไรก็อย่าพูดครับ คนที่เค้าอยู่ในปลายแถวอย่างคุณว่า คิดได้มากกว่าคุณ มีอีกเยอะครับ

0
Hamcheese CIB 21 ก.ค. 55 เวลา 20:40 น. 11

โหวตลบคห เก้า ทำไรไม่ได้แล้วยังรั้งความเจริญ


PS.  ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยนะคะ
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

Think 21 ก.ค. 55 เวลา 22:29 น. 13

ก็คุณ OSK1xx ไปแต่ที่โรงแรมแบบนั้นน่ะสิครับ โลกก็เลยแคบแค่นั้น คุณรู้หรือว่าเด็กที่นั้นในอนาคต ความสามารถแค่ไหน อย่าลืมนะครับว่าแพทย์รับน้อย มันเป็นเรื่อง demand supply อยู่แล้ว บางทีอาจจะเก่งกว่าวิศวะของมหาลัยอันดับต้นๆของประเทศก็เป็นได้ แพทย์นะครับ ไม่ใช่คณะอื่นๆ ที่เปิดกันเกลื่อนกลาดทั่วประเทศ

0
OSK1xx 21 ก.ค. 55 เวลา 22:43 น. 14

คห 13 ครับ ผมพูดถึงตัวมหาวิทยาลัยนะครับ

ต่อให้เด็กเข้าไปเก่งยังไง แต่ถ้าตัวมหาวิทยาลัยแย่ เรียนไป 6 ปี จบออกมาก็โง่ได้ มหาวิทยาลัยเปิดมากี่ปีแล้วยังไม่มีสาขาไหนเด่นหรือมีชื่อเสียงเลย เด็กจบออกมาคุณภาพเป็นยังไง อยากได้ชื่อเสียงทางลัดก็เลยเปิดคณะแพทย์ซะ ต่อไปผลกรรมก็ตกอยู่กับคนไทย

0
Think 21 ก.ค. 55 เวลา 23:36 น. 15

คุณ OSK1xx โรงพยาบาลแพทย์ไม่ได้เปิดกันง่ายๆนะครับ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) เขาต้องรับรองก่อนถึงจะเปิดได้ ไม่งั้นเขาคงได้เปิดกันเยอะไปหมดแล้วครับ และกว่าจะจบมาเป็นแพทย์เขาก็ต้องไปทํางานที่โรงพยาบาล ต้องดูแลคนไข้กันจริงๆครับ ขึ้นวอด 3 ปี ไหนจะต่อเฉพาะทางอีก ซึ่งอาจารย์แพทย์ที่มาดูนักศึกษาเหล่านั้นก็จบมาจากโรงเรียนแพทย์หรือมหาลัยรัฐเนี่ยแหละครับ คณะแพทย์ไม่ได้เหมือนคณะอื่นๆนะครับ ที่ให้ไปฝึกงานภาคฤดูร้อน 3 แค่เดือน ก่อนจบ ซึ่งนักศึกษาบางคนที่ไปบางที่อาจได้ทําหน้าที่แค่ถายเอกสารเท่านั้น

0
แพทย์ 24 ก.ค. 55 เวลา 15:47 น. 16

ทุกวันนี้ไม่รู้ว่าจุดประสงค์ที่เปิดแพทย์เพิ่มในแต่ละสถาบันคืออะไร เพราะว่าแพทย์ขาดแคลนจริงหรือเปล่า? หรือเปิดเพื่อจุดประสงคือื่น จากสถิติแพทย์ต่อประชากรของคนในกรุงเทพคือ 1 ต่อ 700นั้นหมายความว่าประชากร 10ล้านคน จะมีแพทย์อยู่ 2หมื่นกว่าคนในกรุงเทพ&nbsp แต่ในขณะที่ตามต่างจังหวัดกลับขาดแคลนแพทย์อยู่มาก ไม่เข้าใจว่าสถาบันต่างจังหวัดทำไมไม่รับเฉพาะเด็กในพื้นที่จบมา แล้วก็ทำงานที่จังหวัดตัวเอง จะได้ลดปัญหาเรื่องนี้ ต่อไปไม่แน่ ในกรุงเทพ แพทย์ต่อประชากรอาจเป็น 1:500 หรือ 1:100 ก็เป็นได้

0
So* cUte 24 ก.ค. 55 เวลา 18:27 น. 17

ู^
^
^
ปัจจุบันก็ยังมีการเร่งผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทครับ

โครงการ CPIRD
โครงการ ODOD

ต้องใช้ทุนในพื้นที่จังหวัดนั้นๆครับ

0
นที ชลธารา 29 มี.ค. 56 เวลา 12:18 น. 18

ไม่รู้ว่าการประเมินให้เปิดคณะแพทย์ในม.เอกชนแห่งใหม่ปีการศึกษานี้&nbsp ประเมินอะไรบ้าง&nbsp ม.ที่ว่านี้มีคณะหลายคณะ&nbsp แต่ละคณะตอนนี้อาจารย์เก่ง ๆ ลาออกไปอยู่ี่ที่อื่นกันเยอะมาก เพราะระบบบริหารจัดการแย่&nbsp จำนวนนศ.ก็ลดลงไปเรื่อย ๆ&nbsp แล้วมาเปิดคณะแพทย์แบบนี้&nbsp กลัวว่าตอนสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ จะตกกันระนาว&nbsp ลองไปดูที่ม.นี้บ้าง เต็มไปด้วยควันบุหรี่ (ทั้ง ๆ ที่ในสถานศึกษาให้เป็นเขตปลอดบุหรี่)&nbsp ปลั๊กไฟตามชั้นของทุกอาคารถูกตัดไฟออกหมด จะเปิดคอมพ์ก็ได้แต่ใช้แบต ไม่นานก็แบตหมด&nbsp ห้องน้ำก็สกปรกและควันบุหรี่เพียบ&nbsp ในห้องเล็คเช่อร์ อาจารย์ที่สอนก็แสนลำบาก ต้องหิ้วลำโพงและคอมพ์มาเอง&nbsp ไม่อำนวยความสะดวกให้อาจารย์เอาแต่ handy drive มาก็พอ&nbsp อย่างนี้เปิดแพทย์จะไหวหรือ น่าเป็นห่วงจริง ๆ

0