Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

งานวิจารณ์ภาพยนตร์ 2499 ทฤษฎีการวิจารณ์การเล่าเรื่อง ตามรูปแบบนิยม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เรื่อง   2499 อันธพาลครองเมือง  DangBireley And Young GangSter  
ทฤษฎีการวิจารณ์ของ ( Genre )
 
1.ตัวละคร ( characters )
 - เรื่องราวมักเกี่ยวกับคนกลุ่ม ยุค ก่อนปี พศ. 2500 มีลักษณะบุคลิกที่ออกแนวเรียกโก๋  ลักษณะที่โด่ดเด่นชัดเจน  ตัวละครผู้ดำเนินเรื่องหลักๆ  จะเป็น พระเอกหรือ(แดง)และเพื่อนของพระเอก เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเรื่องราวระหว่างกลุ่มวัยรุ่น
2.ฉาก – เหตุการณ์ ( setting )
 - ตัวละครอยู่ในสถานที่ย่านใกล้เคียงกัน ตรอกไบเลย์  ย่านพระนคร หรือ กรุงเทพ ในปัจจุบัน และ อู่ตะเภา เรื่องราวโดยส่วนร่วมของเรื่องนี้จะเกิดระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ระหว่าง กลุ่ม ไบเลย์ และ กลุ่มระเบิดขวด เพราะบาปหมางกัน จะนำเสนอเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่นยุคนั้น
3.การสื่อสารความหมายด้วยภาพ ( iconography )
-  มีเหตุการณ์ที่สร้างความ ดุดัน คือ แดง ไบเลย์ ได้แทงคนตายในสมัยเด็กๆ ระหว่างไปรอแม่ เพื่อสร้างการดึงดูดแก่ผู้ชม ถึงความเป็นคนใจกล้า แต่เด็ก แต่ละฉากจะแสดงถึงลักษณะการแต่งตัวของวัยรุ่นสมัยนั้น และ การฟังเพลงของกลุ่มวัยรุ่นและท่าเต้น
- มีฉากที่เรียกว่า Love Scecne ระหว่างที่พระเอก หรือแดง ไปงาน เจมส์ดีน รำลึก ได้ไปเจอ กับนางเอก (วัลลภา)  ทั้งคู่ได้พบกัน และมีความชอบ เจมส์ ดีน เป็นการส่วนตัวเหมือนกัน  และแดง ได้แสดงความเป็นโก๋ โดย ไป ช่วยเพื่อน ระหว่างเพื่อนมีเรื่อง
4. การเล่าเรื่อง ( narrative )
- ในแต่ละฉากจะเล่าถึง อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลมายังกลุ่มวัยรุ่นเมืองไทย จะมีความคืบหน้า ระหว่างทั้ง 2แก๊ง เพื่อให้ผู้ชม ได้รับรู้ ถึงวัยรุ่นสมัยนั้น การเคารพ พระสงฆ์ การติดคุก การเล่าเรียน การเคารพ พ่อแม่ การฟังเพลง ของยุคนั้น และการตีกัน ได้สร้างความตื่นเต้นให้ผู้ชม ที่อาจชอบเพราะ ความมันส์  และประสปการณ์ต่างๆและการ ระหว่างการเล่าเรื่อง โดย (สุริยัน ศักดิ์ไธสง) หรือ เปี๊ยก วิสุทกษัตย์ เพื่อนสนิทของแดง  โดยเล่าผ่านความทรงจำ และในยุคนั้น รัฐบาล มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น นายกรัฐมนตรี ทำให้มีการสั่งเก็บนักเลงอีกด้วย
 5. รูปแบบ ลีลา ( style )
- ความคืบหน้าของเรื่องราวจะผ่านจารการเล่าเรื่องผ่านความทรงจำ เปี๊ยก วิสุทกษัตย์  และการพูดคุย ระหว่าง พระเอก และเพื่อนพระเอก และการวางแผน การทะเลาะวิวาทระหว่าง แก๊งระเบิดขวด
 
การวิจารณ์ตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง ( Narrative Theory )
 
1.โครงสร้าง (Plot)
 - โครงเรื่องแบบ Classical Design เป็นโครงเรื่องที่พบบ่อยที่สุดสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชม ผู้ฟังในวงกว้างได้อย่างมากตัวละครเอกของเรื่องมักจะต่อสู้กับอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับชีวิต ตัวละครที่เป็นอุปสรรคของเค้าเองโดยการทำทุกวิธีทางให้ตัวเองเป็นผู้นำ  เหตุการณ์ในเรื่องมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ไปจนถึงบทสรุปตอบจบของต่ละฝ่าย ในชีวิตระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ที่ทำให้ชีวิตของแต่ละคนเปลี่ยนไป
2.ความขัดแย้ง ( Conflict )                                                         
-  ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ความขัดแย้งเช่นนี้พบบ่อยที่พระเอกจะเป็นฮีโร่โดย พระเอกจะออกแนวบุคลิกที่เรียกว่าใจเย็นมีน้ำใจกว่า เปรียบเหมือนเป็นฝ่ายธรรมะ ไม่ต่อยหาเรื่องใครก่อน ส่วนเพื่อน อีกฝ้านเปรียบเหมือนฝ่าย อธรรม ที่ชอบทะเลาะวิวาท หาเรื่องคนไปทั่ว
3.ตัวละคร ( Character )
- ตัวละครมีบุคลิกกลม ( Round Character ) เป็นตัวละครที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว มีความลึกซึ้งและเข้าใจได้ยากกว่าตัวละครที่มีบุคลิกแบน มีลักษณะคล้ายชีวิตจริงของคนในสังคม เพราะพระเอก จะรักเพื่อนมาก ช่วยเหลือเพื่อน พิชิตพาล อภิบาลคนดี แต่ในอีกมุมนึงบางครั้งก้อ ลืมคนรักของเค้าไปชั่วคณะ แต่เค้าก็รักและเคารพแม่ ถึงแม้จะมีเหตุการทะเลาะวิวาทอยู่บ่อยครั้ง
 4.แก่นเรื่อง ( Theme )
- เป็นแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต  มุ่งนำเสนอเรื่องจริงของชีวิต ประสปการณ์การณ์ธรรมชาติ ของมนุษย์  และจุดจบของความเป็นนักเลง และ อันธพาล
 5.ฉาก ( setting )
- ตรอกไบเลย์  ย่านพระนคร หรือ กรุงเทพ ในปัจจุบัน และ เพราะ ที่อยู่อาศัยของพระเอก และเพื่อนๆของเค้าอยู่ย่านนั้นกันหมด และ มีฉากที่อู่ตะเภาด้วย เพราะ พระเอก หรือ แดง และพวกเพื่อนๆ ถูก รัฐบาล สั่งจับตาย
6. สัญลักษณ์พิเศษ ( Symbol )
- มีการใช้สัญลักษณ์พิเศษทางภาพ คือ ล๊อกเกต เจมส์ดีน ของพระเอกกับนางเอก เพลง Elvis Presley ที่เปิดประกอบฉาก และ น้ำยี่ห้อ ไบเลย์  และปืนคู่กายของพระเอก และ กางเกงยีน Wrangler  ที่นิยมกันในสมัยนั้น
7. ,มุมมองในการเล่าเรื่อง  ( Point of view )
- มีการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของบุคคลที่ 3 ( The third – person narrator ) โดยการเล่าเรื่องผู้เล่าเป็นเพื่อนสนิทของพระเอก จะเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เล่าเรื่อง ชีวิตวัยโก๋  เพราะบุคคลผู้เลานสี้ เป็นคนสนิทของพระเอกในเรื่อง
 
 การวิจารณ์ตามแนวคิดรูปแบบนิยม ( Formal Criticism )
1.ขนาด (ระยะ) ภาพ ( The shots )
- มีการใช้ขนาดภาพครบถ้วน เรียงจากภาพระยะไกลไปจนถึงภาพระยะใกล้  , LS , MS , CU , ECU แต่ในบางฉากจะมีการนำเสนอภาพที่โดดเด่น จะเป็นการนำเสนอภาพในระยะใกล้ที่จะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียด แสดงถึงอารมณ์ของนักแสดงทำให้เข้าถึงอารมณ์ของนักแสดง
2.มุมกล้อง ( The Angles )
- มักจะใช้มุมกล้องแบบซับเจ็คทีฟ ( subjective ) เป็นมุมกล้องแบบที่จะดึงดูดคนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกคล้อยตามไปกับตัวละคร
3. การเคลื่อนไหวกล้อง ( Camera Movement )
- มีการใช้การเคลื่อนไหวของกล้องแบบ Pan  มีการเคลื่อนกล้องในแนวระนาบจากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้าย หรือการรักษาการเคลื่อนไหวของตัวละครให้อยู่ในกรอบเพราะฉากในภาพยนตร์ ส่วนใหญืจะเดินเข้าหากัน
4.องค์ประกอบภาพเพื่อสื่อความหมาย ( Mise-en-scence)
- มีการใช้องค์ประกอบของภาพแบบจุดเด่น อะไรเป็นจุดเด่น จุดเด่นรอง ส่วนใดเป็นจุดเด่นหลักจะอยู่หน้า Fore- ground ส่วนฉากหลัง และจังหวะความห่างและความสัมพันธ์ต่อเนื่องที่สม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความกลมกลืน และความตัดกัน
5 การตัดต่อ
-มีการตัดต่อเพื่อสร้างความต่อเนื่องของเหตุการณ์ เพื่อกระตุ้นอารมณ์ให้ผู้ชมคล้อยตาม อาทิเช่น ฉากที่แดงสร้างชื่อจากการสังหารเฮียหมา นักเลงท้องถิ่นในงานฉลองวันขึ้นปีใหม่ ศึก สิบสามห้าง บูรพา ระหว่างแก๊งไบเลย์ และ แก๊งระเบิดขวด
 6. การจัดแสงและการใช้สี
- มีการจัดแสดงแบบ High key  และ Low  key อยู่ในส่วนของแสงที่สว่าง แสงนุ่มนวล ให้ความรู้สึกเด่นชัด ในกลางวัน
7. การใช้เสียง
- มีการใช้เสียงในการสนทนาระหว่างตัวละครเพื่อดำเนินเรื่องและการนำเสียงเพลElvis ที่โด่งดังในยุคนั้นมาใช้ประกอบในฉากที่สำคัญของเรื่องเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชม อย่างฉากทะเลาะวิวาทก็ใช้ เสียง SFx ปืนและระเบิด
8. ฉาก เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบฉาก
- สะท้อนถึงยุคสมัย ของวัยโก๋ในยุค พศ 2500 ที่ต้องใส่ กางเกงยีนส์ บุหรี่ Luky Strike  น้ำส้ม ไบเลย์ รองเท้าผ้าใบ คอนเวิสต์
9. นักแสดงและการแสดง
- นักแสดงมีการแสดงที่สมจริง เข้าถึงบทบาท สามารถ นำอารมณ์ ของการทะเลาะวิวาท และคตวามใจเย็นและใจร้อน อารมณ์ทางสีหน้าออกมาได้อย่างเข้าถึงสามารถทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ดุดันขึ้นมาก ทั้งบทคำพูด และท่าทาง
10. การออกแบบตัวอักษรและงานการฟิก
- เป็นแบบบุคลิกของตัวละคร เลือกใช้ตัวอักษรแบบปกติ แต่ชื่อเรื่อง จะใช้ตัวหนา เพื่อเน้น และโปสเตอร์ มีการเว้นช่องไฟ ของ ชื่อเรื่อง 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

สายลมหนาว[Blackcat] 14 ก.ย. 55 เวลา 12:02 น. 1

............?............?...........คือ.........?


PS.  ความมืด....มีอะไรอยู่ข้างในนั้นหรอ...ลึกลับใช่ไหม...น่าค้นหาใช่ไหม...มาสิ...อย่ากลัว....ความมืดไม่เคยทำร้ายใคร....
0
-Saber- 14 ก.ย. 55 เวลา 19:31 น. 2

งานส่งอาจารย์?


PS.  ถ้าเขาว่าผิดผมว่าไม่ผิดแล้วผมต้องผิดใช่ไหม ถ้าเขาว่าถูกผมว่าไม่ถูกแล้วผมต้องเชื่อหรือไง
0