Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

        สวัสดีครับ ในครั้้งที่แล้ว ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระัแก้ว  ในคราวนี้ ผมจะได้นำเสนอวัดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ วัดโพธิ์

        สำหรับวัดโพธิ์นั้นเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาืทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เป็นวัดที่มีเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย  เป็นแหล่งรวบรวมความรู้แขนงต่างๆ เอาไว้ ทำให้ผู้ึคนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ จึงได้รับการยกย่องเป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ซึ่งจารึกความรู้เหล่านั้น ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกไปแล้ว

 

รูปปั้นหุ่นจีนนี้เรียกว่า ลั่นถัน นำเข้ามาจากประเทศจีน คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าเป็น ยักษ์วัดโพธิ์ ด้วยขนาดที่ใหญ่โตนั่นเอง




ยักษ์วัดโพธิ์ของจริงจะถูกเก็บอยู่ในตู้ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป ในภาพนี่เป็นยักษ์ชื่อ แสงอาทิตย์ มาจากรามเกียรติ์ ซึ่งมีตำนานเล่าว่า หลังจากที่ยักษ์วัดโพธิ์ต่อสู้กับยักษ์วัีดแจ้งจนเกิดเป็นท่าเตียนแล้ว ก็ถูกเทวดาสาปให้ตัวเล็ก และต้องมาอยู่ในซุ้มประตูแห่งนี้




ฤๅษีดัดตน เป็นหุ่นของฤๅษีในอิริยาบถต่างๆ เป็นตำราแก้เมื่อยขบ ลองทำท่าตามฤๅษีเหล่านี้ดู อาจจะหายเมื่อยก็ได้ ในภาพข้างล่างจะเห็นฤๅษีที่หน้าเป็นกวาง นั่นคือ ฤๅษีกไลโกฏ มาจากรามเกียรติ์เช่นกัน โดยที่ท่านมีมารดาเป็นกวาง ในรามเกียรติ์จะมีบทบาทคือเป็นผู้นำของคณะฤๅษีที่มาทำพิธีขอโอรสของท้าวทศรถ เกิดเป็นพระราม พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุด







เป็นวัดที่มีเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ ๙๙ องค์



ที่สำคัญที่สุดคือ มหาเจดีย์สี่รัชกาล



พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ประจำรัชกาลที่ ๑



พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน ประจำรัชกาลที่ ๒




พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร ประจำรัชกาลที่ ๓



พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย ประจำรัชกาลที่ ๔




พระอุโบสถ





พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ





กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ มีประติมากรรมนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ แต่ปัจจุบันสึกกร่อนมากแล้ว





พระปรางค์



พระพุทธไสยาส ประดิษฐานในวิหารพระพุทธไสยาส มีขนาดใหญ่มาก ผมเคยมาสัมภาษณ์คนญี่ปุ่นที่วัดนี้ คนญี่ปุ่นส่วนมากชอบพระพุทธไสยาสองค์นี้ ถามกี่คนกี่คนก็บอกแบบนี้ ผมคิดว่าชาวต่างชาติอื่นๆ ก็น่าจะชอบเหมือนกัน เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของวัดโพธิ์ ขนาดแผนที่ของฝรั่งที่มาเที่ยวเมืองไทย ยัีงใช้พระพุทธไสยาสเป็นสัญลักษณ์ของวัดโพธิ์






จิตรกรรมฝาผนังในวิหารพระพุทธไสยาส







จารึกวัดโพธิ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก จารึกความรู้แขนงต่างๆ เอาไว้ อย่างในภาพเ็ป็นจารึกตำราแพทย์แผนโบราณของไทย





พระวิหารคด มีสี่หลัง เ้รียงกันเป็นสี่ทิศ อยู่บริเวณระเบียงคดรอบพระอุโบสถ ข้างในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทิศต่างๆ ไว้ (ข้อมูลของพระพุทธรูป ผมได้ใส่ไว้ในความเห็นที่ ๑ ข้างล่างแล้ว เชิญอ่านได้ครับ)






อาคารพิพิธภัณฑ์ จะจัดแสดงสิ่งของ ประวัติ และเรื่องราวต่างๆ ของวัดโพธิ์ มีใบประกาศนียบัตรรับรองการเป็นมรดกโลกของจารึกวัดโพธิ์ด้วย






สระจระเข้ และเขามอ แต่ตอนที่ผมไปไม่เจอจระเข้เลยสักตัว เชื่อว่าในอดีตอาจจะมี แต่ตอนนี้คงจะไม่มีแล้ว




พระมณฑป จะเห็นว่าที่ซุ้มประตูมียักษ์วัึดโพธิ์ (ตัวจริง) ประดิษฐานอยู่




องค์พระมณฑปดูเก่าแก่และขลังมาก







ประตูพระมณฑป ซึ่งพระมณฑปนั้นดูเก่าแก่และขลังมาก

    ขอจบการนำเสนอวัดโพธิ์แต่เพียงเท่านี้ครับ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 14 ตุลาคม 2555 / 00:43
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 16 ตุลาคม 2555 / 21:48
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 30 มกราคม 2556 / 23:20
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 31 มกราคม 2556 / 17:45
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2556 / 02:27
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 26 พฤษภาคม 2556 / 01:44

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

ซูบารุโย 31 ม.ค. 56 เวลา 00:02 น. 1
     ขอเพิ่มเติมในเรื่องวิหารทิศทั้งสี่ ซึ่งจะประดิษฐานพระพุทธรูปประจำตามทิศต่างๆ ไว้


ในวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) มุขด้านหน้าพระวิหารประดิษฐาน "พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ์อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร" อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก









มุขด้านหลังพระวิหาร ประดิษฐาน "พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร"  เดิมประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา และรัชกาลที่ ๑ อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดโพธิ์แห่งนี้ พร้อมปฏิสังขรณ์เสียใหม่ ว่ากันว่า ก่อนกรุงจะแตก พระอุระ (อก) ของพระองค์นี้ได้แตกแยกออกเป็นสองส่วน คล้ายว่าจะเป็นลางบอกเหตุ



ทิศตะวันตก (ทิศนากปรก) ประดิษฐาน "พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรกดิลกภพบพิตร" จากสุโขทัย ซึ่งอัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช




ทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลยก์) ประดิษฐาน "พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร" ซึ่งรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่



ทิศใต้ (ทิศปัญจวัคคีย์) ประดิษฐาน "พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร" ปางปฐมเทศนา อัญเชิญมาจากสุโขทัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิีำีีพีเดีย และ http://www.watpho.com/th/data/place04.php?MenuID=2&SubMenuID=3 



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 30 มกราคม 2556 / 23:54
0