Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

บูชาพญายม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พญายมมีปรากฏในวัฒนธรรมต่างๆของหลายชนชาติทำให้่มีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ทุกตำนานที่มีพญายมปรากฏมักบอกเสมอว่าพญายมเป็นเจ้าแห่งนรก เป็น นายแห่ง ภูติผี ปีศาจ อสูร ยมทูต ยมบาล ทั่งปวง มีหน้าที่ตัดสินดวงวิญญาณคนตายว่าใครจะได้ขึ้นสวรรค์หรือลงนรก มีอำนาจในการกำหนดความตายให้กับมนุษย์(กำหนดอายุไข) ชื่อที่ปรากฏมี พญายม,พญามัจจุราช,พระยายมราช,เทพรา,เทพแพน,บาโฟเมต(Baphomet)

พระยายมราช หรือ พระยายม หรือ พญายม หมายถึง ผู้เป็นใหญ่เหนือยมบาลทั้งหลาย
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เจ้าหรือนาย แห่งภูตผีปีศาจ

ตำนานท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เจ้าหรือนาย แห่งภูตผีปีศาจ
ถ้าหากจะพูดถึง "เจ้า" หรือ "นาย" แห่งภูตผีปีศาจทั้งหลายแล้ว เรามักจะเอ่ยนาม "ท้าวเวสสุวัณ" หรือที่พราหมณ์เรียกกันว่า "ท้าวกุเวร" และทางพุทธเรียก "ท้าวไพสพ" ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นล่างสุดของฉกามาพจร ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ
รูปร่างหน้าตาของท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษส และภูตผีปีศาจ คนโบราณจึงมักทำรูปท้าวเวสสุวัณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวนเด็กเล็ก และนิยมทำผ้ายันต์รูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)  หรือจำหลักเป็นด้ามของมีดหมอที่สัปเหร่อใช้กำราบวิญญาณ เนื่องจากสมัยก่อนเวลาเผาศพก็ยกขึ้นกองฟอนแล้วใส่ไฟเผา พอร้อนเข้าเส้นเอ็นก็ยึดถึงขนาดลุกขึ้นนั่ง สัปเหร่อเลยต้องใช้มีดกรีดตามเส้นเอ็นก่อน ทีนี้พอยกขึ้นเผาศพก็จะไม่กระดุกกระดิก เลยเป็นความเชื่อว่ามีดหมอจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณสามารถปราบผีได้

คติความเชื่อแบบไตรภูมิ เชื่อว่ามีท้าวโลกบาลประจำอยู่ 4 ทิศ จึงนิยมจำหลักอยู่ตามบานประตูโบสถ์ วิหาร เรียกว่า "ทวารบาล" หมายถึง ผู้ดูแลประตู บางครั้งพบทวารบาลบางแห่งเป็นแบบจีน แทนที่จะเป็นรูปเทวดาแบบไทยถือพระขรรค์ กลับเป็นเทวดาจีนคล้ายตัวงิ้ว ถือ หอก ดาบ หรือง้าว เหยียบอยู่บนสิงโตจีน เราเรียกว่า "เสี้ยวกาง" หรือ "เซี่ยวกาง" เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลของจีนที่เข้ามาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระองค์นิยมงานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบจีน

ท้าวจตุโลกบาลประจำทิศทั้งสี่จะประกอบด้วย
"ทิศตะวันออก" พราหมณ์เรียก พระอินทร์ พุทธเรียก ท้าวธตรฐ มี คนธรรพ์ เป็นบริวาร
"ทิศตะวันตก" พราหมณ์เรียก พระวรุณ พุทธเรียก ท้าววิรูปักษ์ มีนาค ครุฑ และเทวดา เป็นบริวาร
"ทิศใต้" พราหมณ์เรียก พระยม พุทธเรียก ท้าววิรุฬหก มี กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์มีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อตาลเป็นบริวาร
และ "ทิศเหนือ" ได้แก่ ท้าวเวสสุวัณ พราหมณ์เรียก ท้าวกุเวร พุทธเรียก ท้าวไพสพ มี อสูร รากษส และภูตผีปีศาจ เป็นบริวาร
นอกจากนี้ ในตำราโบราณและงานวรรณคดีกล่าวตรงกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)  เป็นยักษ์ที่มีพัสตราภรณ์และผิวกายสีเหลืองทอง จิตใจดีงาม ดำรงอยู่ในสัตยธรรม ถึงขนาดอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และองค์พระพุทธเจ้า เช่น รูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ก็ทำเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)  ส่วนด้านขวาเป็นยักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ "อาฬาวกยักษ์" เหตุที่เรียกกันว่า "ท้าวกุเวร" เนื่องจากพระพรหมเห็นว่ามีรูปร่างไม่ดี ร่างกายพิการต้องถือไม้เท้า จึงตั้งชื่อให้ดังนั้น ที่บ้านเรามาจำหลักเป็นยักษ์ถือตะบองยันพื้น ก็คงจะมีเค้าเงื่อนมาจากเรื่องดังกล่าว
ความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวัณ" นั้น เวส แปลว่า พ่อค้า หมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)  เคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่าเวสาวัณ ด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน
บ้านเรารู้จักกันในชื่อ "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" หรือในชื่อ "ธนบดี" แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ หรือ "ธเนศวร" แปลว่า เจ้าแห่งทรัพย์ อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดรขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวงเทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้าง หรือ จำหลักรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) และเคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย
วัตถุมงคลที่นิยมทำเป็นรูปท้าวเวสสุวัณก็จะมีมากมาย อาทิ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ของท่านเจ้าประคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น

ท้าวพญายมราช (พระยม) ในเทวตำนานยุคต้น ท้าวจตุโลกบาลแห่งทิศทักษิณ กล่าวไว้คือพระยม เป็นองค์เดียวกัน ทรงกระบือเป็นพาหนะ พระหัตถ์ขวาถือบ่วงยมบาศ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้ท้าวยมทัณฑ์ ส่วนลัทธิข้างจีนฝ่ายมหายานว่า พญายมเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์หนึ่ง ทำหน้าที่พิพากษาแก่ดวงวิญญาณทั้งหลาย ในเถรวาทแสดงไว้ว่ายมบาลมี 4 ท่าน และเป็นเปรตชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเวมานิกเปรต แต่ทั้งนี้อาจปฏิสนธิได้ทั้งอเหตุกปฏิสนธิ ทวิเหตุกปฏิสนธิ และติเหตุกปฏิสนธิ (โดยอย่างหลังจึงจะสามารถบรรลุธรรมหรือทำฌานได้)

ประวัติของพระนาม

คำศัพท์ ยม มาจาก คำศัพท์ ยมล (เทวนาครี: ยะมะละ) นั้นเป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า ฝาแฝด

จากพระไตรปิฎก
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ ที่ปกครองสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา เป็นราชาแห่งยักษ์
ยมบาล หรือพระยายามราช คือผู้มีหน้าที่พิพากษากรรมของสัตว์นรกในยมโลก ส่วนใหญ่ เป็นเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา สายกุมภัณฑ์ อยู่ใต้ปกครองของท้าวทตรถ หนึ่งในผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา เป็นราชาราชาแห่งคนธรรพ์ แต่ที่มาจากสาย ครุฑ สายนาค และ จากสายยักษ์ ก็มี ในยมโลกจะมียมบาลทั้งสิ้นจำนวน 5120 ตน

ยมฑูต หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในยมโลก มีจำนวนมากมาย ที่มาเช่นเดียวกับยมบาล แต่มีบุญน้อยกว่า

คติในการบูชาองค์พญายม
พญายมเป็นเทพแห่งความตาย การเคารพบูชาพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นพญายมราชหรือพระกาฬไชยศรี รวมทั้งเจ้าพ่อเจตคุปต์ หรือสุวรรณ สุวาณก็เพื่อมีคติระลึกไว้คือ ให้พิจารณาการกระทำของตัวเราเอง ว่าเป็นไปในทางหรือบุญ เป็นคุณหรือโทษ ในระหว่างช่วงชีวิตที่ยังมีอยู่ นอกจากนี้ในการระลึกบูชาองค์พญายมยังมีอานิสงค์ที่สำคัญ คือเพื่อความเป็นสิริมงคลในด้านของการต่ออายุให้ยาวนาน หรือให้หายจากโรคภัยต่างๆ


เครื่องบูชาองค์พญายม
ในการบูชาองค์พญายมให้จัดหารูปภาพของอองค์พญายมมาตั้งไว้ แล้วบูชาในตอนเช้าโดยจุดธูป 5 ดอก จัดหาข้าวตอกดอกไม้ โดยเฉพาะดอกไม้ที่มีสีแดง พวงมาลัยดาวเรือง ข้าวสวย อาหารคาว 2-3 อย่าง นม เนย ขนมหวาน ผลไม้ 3 อย่าง หรือ 5 อย่างก็ได้ แต่ผลไม้ที่ควรจะมีได้แก่ กล้วยสุก อ้อย และมะพร้าวอ่อน ธงสีแดง 7 ผืน ผ้าแพรสีแดง 3 ผืน ตุ๊กตารูปปั้นนกแสกหรือควาย


คาถาบูชาองค์พญายม
โอม พะยามะราชะ อุปาทะวะตายะ มะหิสสะ พาหะนายะ ทักขิณะทิสะ ฐิตายะ อาคัจฉัญภุญชะตุ ขิปปะยะตุ วิปปะยะตุ สะวาหะ สะวาหะยะ สัพพะ อุปาทะวะ วินาสายะ สัพพะ อันตะรายะ วินาสายะ สุขขะวัฑฒะโก โหตุ อายุ วัญญะ สุขะ พะลัง อัมหากัง รักขันตุ สะวาหะ สะวาหายะ

(ท่องคาถา 3 จบ แล้วจึงเป่ามนต์ที่ท่องใส่เครื่องบวงสรวงจนครบ 3 ครั้ง) จากนั้นให้ยกเครื่องบูชาไปตั้งวางไว้ที่ทางสามแพร่งหรือสามแยกทางทิศใต้
สำหรับการสวดเพื่อขอความเป็นสิริมงคลก็ให้ท่องตามกำลังวันเกิดหลังจากที่ทำพิธีบูชาข้างต้นแล้ว โดยให้สวดวันละ 1 จบก่อนเข้านอน หรือตอนเช้าก็ได้


คาถาขอพรองค์พญายม (แบบที่1)
โอม ทักษิณะ ทะสะเทวะตาสะหะ คะณะ ปะริวารายะ อาคัจฉัญตุ ปะริภุญชะตุ สวาหะ โอม สัพพะอุปาทะวะ สัพพะทุกขะ สัพพะโสกะ สัพพะโรคะ สัพพะภะยะ สัพพะปัททะวะวินาสายะ สัพพะศัตรูวินาสายะ ปะมุจจันติ โอม ยะมาเทวะตา สะทา รักขันตุ สะวาหะ สะวาหา สะวาหายะ


คาถาขอพรองค์พญายม (แบบที่2)
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธานัง
อัตถิกาเยกา ยายะ เทวานัง สัตถังสุตตะวา
อิติปิโส ภะคะว่ ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุขะโต นะโมพุทธายะ


คาถาป้องกันอันตราย
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโต จุติ
จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโต จุติ

ยามเดินทางให้ภาวนาในใจว่า “อะระหัง” จักปลอดภัยทุกประการ บังเกิดสวัสดิมงคลด้วยประการทั้งปวง

อนิสงค์ในการบูชาพญายม เหล่า ภูติผี ปีศาจ อสูร มาร จะไม่มาราวีคุณ เนื่อด้วยอำนาจของท่านพญายมปกป้องท่านไว้

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

อำนาจ 27 ต.ค. 55 เวลา 23:54 น. 1

อมอน ( Amon )

เทพประจำเมืองทีเบส ( Thebes ) เศียรประดับมงกุฎขนนก บางครั้ง
รูปร่างของเทพอมอก็มีลักษณะต่างๆ เช่น ตัวเป็นคนหัวเป็นแพะ เป็นงู
เป็นแกะ ชาวอียิปต์นิยมนำชื่อ Amon ไปรวมกับ Ra เป็น Amon – Ra
เทพอมอนมีมเหสีชื่อ Mut มีลูกชายชื่อ Khonsu คำว่า Amon
จึงหมายถึงมีอำนาจบารมี เป็นต้นกำเนิดแห่งพลังงาน อำนจผู้ยิ่งใหญ่

0
กิจจา 17 ม.ค. 61 เวลา 16:41 น. 4

คาถาขอพรองค์พญายม (แบบที่2)


อิติปิโส ภะคะว่ ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุขะโต นะโมพุทธายะ

....บทนี้เป็นของท้าวเวสสุวรรณนี่ครับ

0