Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สตาปัต VS วิศวกรรมโยธา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีค่ะคือก่อนอื่นขอบอกลายละเอียดและจุดประสงค์อยากคร่าวๆก่อนนะค่ะ

ตอนนี้เราอยู่ ม.3 กำลังจะขึ้น ม.4 ทางบ้านเปิดบริษัทเล็กๆเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง �อยากจะทราบว่าเรา ต้องเลือกเรียนสายอะไร ก่อนอันดับแรก ระหว่าง สถาปัต กับ วิศวกรรมโยธา คือส่วนตัวเรา เราชอบงานที่แบบลุย เราตามพ่อไปหน้าไซค์งานบ่อยๆ ไปดูหน้างาน ประมาณว่าควบคุมงาน �ตอนแรกตั้งใจว่าจะเป็นสถาปัต เพราะส่วนตัวก็ชอบศิลป่ะด้วย แต่พอได้อ่านบทความเกี่ยวกับการเป็นสถาปัตก็ได้รู้ว่า สถาปัติเรียน 5 ปี และงานเยอะมากกก �และเห็นบอกว่ามีการใช้คอมในการเขียนแบบด้วย (คือต้องเข้าใจก่อนว่าเราเป็นคนโลเทคมาก ตามพวกเทคโนโลยี การใช้โปรแกรมอะไรต่างๆไม่ค่อยทัน เรียนวิชาคอมก็ไม่ค่อยเข้าใจ เลยอยากรู้ว่าการเรียนคณะนี้มันใช้คอมในการเขียนแบบมากน้อยแค่ไหน แล้วถ้าหากคนที่ไม่ถนัดการใช้โปรแกรมเยอะๆจะเรียนได้ไหม อีกข้อคืดเราเกลียดภาษาอังกฤษมาก แล้วคณะนี้ได้ใช้ภาษาอังกฤษเยอะไหม) และอีกบทความนึงก็บอกว่า การเรียนวิศวกรรมโยธาก็ไม่ค่อยจะต่างกันมาก มีการออกไปดูหน้าไซค์งาน และควบคุมงาน คำณวนอะไรต่างๆสารพัด (ในความคิดเราเราคิดว่าคณะนี้จะมีพวกคำณวนและพวกฟิสิกส์เยอะ ส่วนตัวเราเราไม่ค่อยชอบซักหน่อย )


ที่พูดมาทั้งหมดนี้คือแค่อยากทราบว่าตัวเราควรจะเลือกคณะไหนดีที่ๆเราถนัด �เพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละคณะจริงๆแล้วมันเป็นยังไงบ้าง อยากรู้ให้ลึกและละเอียดดว่านี้ เลยอยากรู้จากพวกรุ่นพี่ที่กำลังเรียนอยู่หนะค่ะ เพราะจะได้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆได้ถูก

ถึงตรงนี้ ต้องขอบคุณมากๆนะค่ะที่สละเวลามาอ่านจนจบ และขอขอบคุณทุกความเห็นนะค่ะที่มาชี้แนะให้�\"\"

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

ยมฑูตแห่งรัตติกาล 19 ม.ค. 56 เวลา 01:56 น. 1

สถาปัตย์เน้นงานออกแบบมากกว่า คือสถาปัตย์ออกแบบให้วิศวะสร้าง
ภาษาอังกฤษค่อนข้างที่จะเป็นศัพท์ที่ใช้ในงานมากกว่า เป็นคำศัพท์เฉพาะสถาปัตย์ 
ส่วนงานเยอะจริงๆ บางคืนไม่ได้นอน แต่ถ้าแบ่งเวลาดีๆก็จะสบาย

"สถาปัตย์เป็นผู้สร้างฝัน ส่วนวิศวะทำฝันให้เป็นจริง ^_- "
PS.  *ผู้สนับสนุนยุนแจอย่างเป็นทางการ*
0
คุณหนูติสแตก 20 ม.ค. 56 เวลา 17:44 น. 2

ถ้าไม่ชอบคำนวนเลย อย่าเรียนวิศวะเลยค่ะ ไม่จบแน่ๆ
ที่คณะเรา(สถาปัตย์) ก็มีลูกรับเหมาก่อสร้างเยอะแยะเหมือนกันนะ
สถาปัตย์ใช้สมองซีกขวาประมาน 80% ซีกซ้ายอีก 20%
วิศวะใช้สมองซีกซ้ายประมาน 90% ซีกซ้ายอีก 10%
ลองเก็บไปคิดดูนะคะว่าเราสมองเราถนัดด้านไหนมากกว่ากัน สู้ๆค่ะ

0
Pinpick 20 ม.ค. 56 เวลา 18:04 น. 3

อยู่ม.4คิดเรื่องนี้ก็ดี เราว่าเธอชอบอะไรก็ไปทางนั้นเถอะ อย่างเรา เราชอบสถาปัตย์ก็เตรียมตัวเต็มที่แล้ว ไฟท์โตะ!


PS.  นักเลงอย่างกู ไม่แคร์แค่หมาอย่างมึง!
0
m-mier 20 ม.ค. 56 เวลา 20:47 น. 4

คำนวนสถาปัตย์ก็ใช่จะไม่เจอ T---T ไม่รู้ที่อื่นเป็นไหม? แต่ที่เราเรียน ก็มีนั่งคำนวนเหล็ก บลาๆ  ฟิสิกซ์ เหมือนกัน !! สถาปัตย์คือคิดเยอะ คิดให้คลอบคลุมที่สุดเท่าที่จะคิดได้ คิดระบบเกือบทั้งหมด ทั้ง น้ำ ประปา ไฟ บลาๆ (เพียงในด้านรายละเอียดส่วนลึกจริง ที่เราต้องให้วิศวะเป็นคนจัดการ อาจจะต้องรู้พท้นฐานไว้บ้าง)

ถามว่าโปรแกรมเขียนแบบคอมใช้เยอะไหม? บอกได้เลยว่าใช้เยอะ! ตอนเรียนอาจจะ เจอบ้างไม่เจอบ้าง แต่ตอนทำงานยังไงก็หนีไม่พ้น ออโตแคด เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเลยที่เดียว! ถามว่ายากไหม? ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด มันอาศัยความเคยชินมากกว่า เราก็เป็นคนไม่เก่งภาษาอังกฤษซะเท่าไหร่ ยังงูๆปลาๆ ใช้แคดได้เลย 55555555.

อย่างที่ คห. บนๆว่า คำนวนไม่ไหวอย่าเรียนเลยวิศวะ มันจะลำบากชีวิตเกินไป สถาปัตย์ยังพอแถๆ คำนวนไปได้บ้าง อังกฏษก็พอแถๆ ไปได้บ้าง แต่เรื่องงานเยอะมันเลี่ยงไม่ได้จริงๆ =..= คงต้องทำใจ

(ปล. ใจจริงไม่อยากแนะนำให้เรียนสถาปัตย์เลยยยยยยยยยยยย มันลำบาก ชีวิตม่นหมอง 555555. แต่อยากเรียนก็เรียน สู้ๆ เตรียมใจมาเยอะๆด้วยละ เดี๋ยวไม่พอ 5 ปี) 


PS.  อะเน้อ_____:๑:;x___สิ่งที่เคยมี... เหลือเพียงอดีตกับความว่างเปล่า :"{ ไปๆมาๆ ชั้นไม่ใช่ 7-11 นะหล่อน!!!
0
เจ้าฟอฝ้าย 20 ม.ค. 56 เวลา 21:24 น. 5
เรียนทุกอย่างยากหมด ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับความยากนั้นได้มากน้อยเท่าไหร่

ขอบอกว่าเราอายุประมาณเท่าจขกท. (ม.4) แต่เราก็หาข้อมูลไปทั่ว
ทั้งจากเน็ตและจากญาติ มีทั้งวิศวะกับสถาปัตย์

คำนวณวิศวะยากนรก ใครไม่เก่งเลขตายแน่ๆ
สถาปัตย์ มีคำนวณเหมือนกัน หนีไม่พ้นหรอก แต่พื้นฐานกว่าวิศวะ
ภาษาอังกฤษ คณะไหนๆ ก็ใช้เหมือนกันนั่นแหละ หนีไม่พ้นค่ะ
(บางคณะเช่นแพทย์ อ่านสอบใช้ text ภาษาอังกฤษเลย)
งานหนัก สถาปัตย์ชนะขาด ทำงานส่งอาจารย์หามรุ่งหามค่ำ ไม่ได้หลับได้นอน
แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถมนุษย์ ถ้าใจสู้ก็ต้องฝ่าไปให้ได้
ถ้ายากเกินไปคงไม่มีใครจบสถาปัตย์ออกมาแล้วล่ะ
เรื่องคอม ถ้าใจสู้และขยัน ของอย่างนี้มันฝึกกันได้
ตัวอย่างพี่ชายเรา โลว์เทคอย่างร้ายกาจ ม.6 ยังสมัครอีเมล์ไม่เป็น =_=
ตอนนี้เรียนสถาปัตย์ศิลปากร (มหาลัยที่การันตีว่านิสิตสถาปัตย์เป็นซอมบี้ืทุกคน - งานโคตรเยอะ)
แต่ตอนนี้ก็ฝึกใช้โปรแกรมออกแบบจนเป็นแล้วค่ะ AutoCAD บลาๆๆ

เอาเป็นว่า ไม่มีใครประสบความสำเร็จโดยไม่ผ่านความลำบากมาก่อน
จขกท.ก็สู้ๆ แล้วกันค่ะ ^_^
0
ธ ร ร ม ก็ อ ด. 21 ม.ค. 56 เวลา 09:29 น. 6

เรียนที่ชอบดีกว่าเรียนเพราะมันง่ายค่ะ

ไม่ต้องมาดูหรอกว่าเราไม่ถนัดอันนั้นอันนี้ แบบไม่ถนัดคอมใครๆก็ไม่เคยเรียนกันทั้งนั้นแหละค่ะการใช้คอมทำงานด้านถาปัตย์ต้องมาเริ่มต้นเรียนกันใหม่กันทั้งนั้นในปี 1 เท่าๆกัน

ไม่ชอบคำนวณแนะนำอย่าเรียนวิดวะ เรียนถาปัตย์ดีกว่าถ้าชอบศิลปะจริงๆนะ

งานเยอะก็จริงอยู่แต่ถ้าชอบจริงๆก็เรียนได้ ต้องอยู่ที่ความชอบความอยากเรียนด้วย อยากเป็นอะไร ชอบอะไรมากกว่ากัน ไม่ต้องกังวลหรอกว่าเราไม่ถนัดอะไร ขยันใครก็ทำได้ทั้งนั้น


PS.  KAT-TUN 6 人 who dont put on the fake mask 'clean-image' idols :D รักอคาเมะถวายหัวยิ่งชีพ.}}
0
เอ็ม 21 ม.ค. 56 เวลา 11:54 น. 7

เลือกเรียในสิ่งที่ใช่ทำในสิ่งที่ชอบ&nbsp  ทุกคณะ ทุกสาขา&nbsp  เรียนหนัก&nbsp  เหมือนกัน&nbsp  แต่ละ&nbsp  คณะ สาขา&nbsp  เน้นคนละด้าน&nbsp  ครับ&nbsp  ถ้าไม่ชอบ&nbsp  คำนวณ หรือ คณิตศาสตร์&nbsp  แนะนำ&nbsp  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์&nbsp  ไม่ว่าจะเรียน&nbsp  คณะ&nbsp  สาขา&nbsp  อะไร&nbsp  ต้องขยันเพิ่มเติม

เจาะใจ "เด็กสถาปัตย์ฯ" https://www.youtube.com/watch?v=qW09ZwQmPBc
เจาะลึกการเรียน "สถาปัตย์ฯ" https://www.youtube.com/watch?v=0r0ZVFCBukg
ตามติดชีวิต "เด็กสถาปัตย์ฯ" https://www.youtube.com/watch?v=XK9WYB3XRX0
อยากเรียนสถาปัตย์ ฟังทางนี้ ! https://www.youtube.com/watch?v=tJ5CkzE9v1Y

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คุณสมบัติของผู้เรียน หรือ บุคลิกภาพของผู้เรียน
1.มีความสนใจทางด้านศิลปะ&nbsp  การออกแบบ&nbsp  การประดิษฐ์ทางศิลปะ
2.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ&nbsp  ในการออกแบบ&nbsp  วางแผน
แก้ปัญหาในแนวทางใหม่&nbsp  ๆ
3.มีบุคลิกภาพที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง&nbsp  กล้าแสดงออกทางความคิด&nbsp  การนำเสนอ
4.เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมกระตือรือร้น&nbsp  ใจกว้าง&nbsp  สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่&nbsp  ๆ&nbsp  ที่อยู่รอบตัวเสมอ
5.เป็นบุคคลช่างสังเกต&nbsp  ตั้งคำถามและหาคำตอบกับปัญหารอบตัว&nbsp  ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน
1.นักออกแบบภายใน&nbsp  มัณฑนากร&nbsp  สถาปนิกภายใน
2.นักออกแบบเครื่องเรือน
3.นักออกแบบนิทรรศการหรือการจัดแสดงสินค้า
4.นักออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ
5.ผู้ควบคุมหรือบริหารงานก่อสร้างเพื่อการตกแต่งภายใน
6.ผู้บริหารโครงการออกแบบ
7.ผู้จัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบ&nbsp  ฯลฯ

.สาขาวิศวกรรมโยธา
&nbsp  สร้างวิศวกรที่มีความสามารถในการออกแบบ&nbsp  วิเคราะห์
และควบคุม&nbsp  งานในสาขาวิศวกรรมโยธา&nbsp  ซึ่งเป็นงานที่มีผล
กระทบต่อสังคมสูง&nbsp  ครอบคลุมความรู้หลายแขนง&nbsp  อาทิเช่น
วิศวกรรมโครงสร้าง&nbsp  วิศวกรรมปฐพี&nbsp  วิศวกรรมขนส่ง
วิศวกรรมแหล่งน้ำ&nbsp  วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม&nbsp  และรวมถึง
การบริหารงานก่อสร้าง

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด&nbsp  ชอบประดิษฐ์&nbsp  คิดค้นสิ่งต่าง&nbsp  ๆ
สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่&nbsp  ๆ&nbsp  โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ&nbsp  การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์&nbsp  และ&nbsp  คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน&nbsp  และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล
.ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้&nbsp  ฯลฯ

โอกาสทางวิชาชีพ
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกร อาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน เช่นการเป็นผู้ออกแบบ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การเป็นผู้ตรวจสอบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานในสาขาวิศวกรรมโยธามีแขนงย่อยลงไปอีกหลายแขนง ประกอบด้วย

แขนงวิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineering)
แขนงการบริหารงานก่อสร้าง (construction management)
แขนงวิศวกรรมปฐพี (soil engineering หรือ geotechnical engineering)
แขนงวิศวกรรมแหล่งน้ำ (water resource engineering) หรือวิศวกรรมชลประทาน (irrigation engineering)
แขนงวิศวกรรมขนส่ง (transpotation engineering)
แขนงวิศวกรรมสำรวจ (survey engineering)
แขนงวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (environmental engineering)
ดังนั้น วิศวกรโยธามีโอกาสเลือกเข้าไปทำงานอยู่ในส่วนงานต่างๆที่หลากหลายไม่จำกัดแค่งานก่อสร้างเท่านั้น ถือได้ว่าโอกาสในการทำงานจริงแล้วมีไม่น้อย เพียงแต่ผู้เรียนทางสาขานี้ต้องแสวงหาความรู้และติดตามข่าวสารต่อเนื่องเปิดโอกาสของตนเองให้กว้างขึ้น

หน่วยงานที่ต้องการวิศวกรโยธาในงานหลัก:

ภาครัฐ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมที่ดิน กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ รวมทั้งหน่วยงานในส่วนการปกครองท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น

รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปา ปตท. เป็นต้น

ภาคเอกชน เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหรือหน่วยงานบริการทางเทคนิค เช่น งานสนับสนุนการขาย งานบริการทดสอบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน
.วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร&nbsp  ทั้งในฐานะผู้ออกแบบ
ควบคุมการติดตั้ง&nbsp  หรือ&nbsp  บริหารการใช้งาน&nbsp  ในระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ&nbsp  สื่อสารโทรคมนาคม&nbsp  ระบบควบคุมอัตโนมัติ
รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.วิศวกรสนามในโครงการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบ
โครงสร้างอาคาร&nbsp  ระบบขนส่ง&nbsp  รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
และสิ่งแวดล้อมของเมือง
.วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น&nbsp  ๆ
.ผู้ออกแบบ&nbsp  หรือ&nbsp  บริหารควบคุมการใช้งาน&nbsp  เครื่องจักรอุปกรณ์&nbsp  เช่น
ยานยนต์&nbsp  เครื่องจักรการผลิต&nbsp  ระบบอาคารสถาน&nbsp  ฯลฯ
นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่าง&nbsp  ๆ&nbsp  ข้างต้นแล้ว&nbsp  พื้นฐานทางด้าน
วิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่น&nbsp  ๆ&nbsp  ได้เป็นอย่างดี
เช่น&nbsp  นักประดิษฐ์&nbsp  ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม
รวมถึงตำแหน่งงานอื่น&nbsp  ๆ&nbsp  ทั้งภาครัฐและเอกชน&nbsp  ฯลฯ

0
MyFairy 21 ม.ค. 56 เวลา 15:04 น. 8

ถ้าไม่ชอบคำนวณ สถาปัตย์น่าจะดีกว่านะคะ ... สถาปัตย์ไม่ใช่ว่าจบมาแล้วจะเป็นสถาปนิกอย่างเดียว มีพวกสายบริหารการก่อสร้างก็มี เป็นที่ปรึกษาก็ได้ เป็นคนคุมงานก่อสร้างก็ได้(คุมเวลา เงิน และคุณภาพงานให้ไปพร้อมๆกัน) เผื่อน้องอยากลงไซต์ 55

ถ้าการเรียนในมหา'ลัย(ที่เราเรียนอยู่) วิศวะจะเน้นสอบ อ่านหนังสือเป็นเตรียมสอบเดือน มีโปรเจคบ้าง (เท่าที่เห็นเพื่อนๆเรียนนะ) ส่วนสถาปัตย์จะเน้นทำงาน บางทีส่งงานรายวันก็มี มีช่วงทำงานหนักๆอาจจะเทอมละ 2-4 อาทิตย์ เรียนเลคเชอร์ชิวๆไม่ต่างจากมัธยมมาก อ่านหนังสือก่อนสอบไม่กี่วัน(ความหนักเบาของแต่ละมหา'ลัยก็คงต่างกัน แต่หลักๆก็น่าจะประมาณนี้)

ส่วนโปรแกรมคอม ถ้ามันจำเป็นต้องใช้จริงๆ เดี๋ยวสถานการณ์ก็ทำให้เราเป็นเองนั่นแหละค่ะ เพื่อนๆจะสอนกันเอง (บางที่อาจจะมีอาจารย์สอน)

ภาษาอังกฤษอย่าไปเกลียดมันนะ .... จำเป็นจริงๆ มันเปิดโอกาสให้เราในหลายๆเรื่อง เริ่มจากดูหนัง ติ่งซีรี่ ติ่งดาราก็ได้ ฮ่าๆ หาแรงบันดาลใจให้ตัวเองแล้วลืมอาจารย์ภาษาอังกฤษที่โรงเรียนไป

0
Felinonajang 21 ม.ค. 56 เวลา 22:06 น. 9

บางทีน้องอาจจะไม่ได้ชอบทั้งสองอย่างเลยก็ได้นะ
ลองหาตัวเองดูเยอะๆ อย่ายึดติด

ถ้ายังไม่รู้จะเป็นอะไร จะทำอะไรก็เข้าสายวิทย์ไปก่อน
แล้วเรื่องภาษาอังกฤษพี่อยากบอกน้องว่ามันจำเป็นทุกคณะ ทุกสาขาเลย
ส่วนเรื่องการใช้คอมฯอะ ส่วนใหญ่เดียวนี้ทำอะไรก็ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งนั้น
ฉะนั้น ถ้าน้องจะเรียนไม่ต้องกังวล มันไม่มีทางยากเกินความสามารถน้องแน่ๆ เพราะมันก็แค่โปรแกรมเฉพาะสำหรับคนที่ใช้งานเฉพาะ ฉะนั้นไม่ต้องกลัวนะคะ

ยังไงก็สู้ๆนะ หาตัวเองให้เจอ


PS.  http://writer.dek-d.com/Felinonajang/writer/view.php?id=199900 เมื่อเฟรินเจอคู่แข่งทางหัวใจที่ดูท่าคาโลเหมือนจะสนใจ แล้วทีนี้เฟรินจะทำยังไง ทั้งสองคนยังจะรักกันต่อไปหรือว่าจะแยกทางใครทางมันดีกว่า
0
ืnana 22 ม.ค. 56 เวลา 14:42 น. 10

ขอตอบในมุมวิศวะ
่้หลายคอมเม้น ได้ให้คำตอบค่อนข้างครอบคุมแล้ว แต่อยากให้คิดอีกประเด็นนึงค่ะ
ว่าเราเป็นผู้หญิง ถึงจะชอบออกไซต์งาน ชอบลุย แต่ด้วยสังคมไทย ก็ยังคงเป็นสังคมที่ผู้ชายมีความสำคัญมากกว่า ถึงจะเป็นสมัยนี้ก็ตาม และอนาคตข้างหน้า ผู้ชายก็จะยังคงมีบทบาทต่อไป การเรียนวิศวะ โดยเฉพาะโยธาด้วยแล้ว ต้องคุมคนงานที่เป็นผู้ชาย คนงานที่แก่กว่าเรา มีประสบการมากกว่าเรา ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ชาย เค้าจะไม่ค่อยยอมรับที่จะมีผู้หญิงเป็นคนสั่งการซักเท่าไหร่หรอกค่ะ (เป็นประสบการโดยตรง จบวิศวะมา โอกาสก้าวหน้าน้อยกว่าผู้ชายมากโข) แต่ไม่ใช่ว่าผู้หญิงอย่างเราจะทำไม่ได้นะ ถ้าเราชอบจริงๆ รักงานด้านนี้จริง และทำให้ทุกคนยอกรับได้ แต่บอกไว้ก่อนเลยว่าความกดดันค่อนข้างสูงมาก

สำหรับภาษาอังกฤษ วิศวะส่วนใหญ่ใช้หนังสือจากต่างประเทศค่ะ คือแบบเรียนส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ

สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนสำคัญเลยค่ะ ในการออกแบบ เป็นคอมพิวเตอร์ ได้ภาษาอังกฤษ ก็ประสบความสำเร็จในด้านการเรียนวิศวะแล้วค่ะ

คำนวนไม่ยากเครื่องคิดเลขอย่างเดียว ไม่เคยคิดจากสมองเอง 55

สรุปทั้งหมดทั้ง เชื่อว่าไม่ยากเกินความสามารถ ทุกอย่างเรียนรู้ได้ ไม่อยากให้เอาเรื่องภาษากะคอมพิวเตอร์มาคิดเพราะ มันจำเป็นอยู่แล้ว อยากให้คิดว่า เราชอบใช้ความคิดทางด้านสร้างสรรค์(ศิลปะ)ออกแบบมีความคิดริเริ่ม&nbsp หรือ&nbsp ชอบที่จะใช้ตรรกะยึดแบบแผนโครงสร้าง&nbsp เอาที่เราทำแล้วมีความสุข คนหาตัวเองให้เจอ ^^

0