Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปัญหาการว่างงานกับสังคมไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีคะ จะมานำเสนอ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาของโรงเรียนบางกะปิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2555
วิชา IS24 เสนอ อาจารย์ สมนึก กำลังเดช  
จัดทำโดย

1. น.ส. ธัญญัฐ        โสภิญนิวัติวงศ์        ม.4/8      เลขที่  29
2. น.ส. จิรวิวิศน์       แตงวิเชียร             ม.4/8      เลขที่  42

สมมุติฐาน

   1.การว่างงานเกิดจากการเลือกงานไหม? 

  ปัจจัยที่นำมารองรับสมมุติฐานข้อนี้คือ
กลุ่มอายุ 18 - 30 ปีสนใจทำงานในบริษัท/องค์กรกำลังขยายกิจการหรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตมากที่สุด ในขณะที่คนในวัย 31 – 40 ปีให้ความสำคัญน้อยที่สุด

เหตุผลในการเลือกงาน 
อันดับ เหตุผลในการเลือกงาน คะแนน 
1 บริษัท/องค์กรที่มั่นคง ใหญ่โต มีชื่อเสียงมายาวนาน 193 
2 มีโอกาสก้าวหน้าและเติบโต 180 
3 เงินเดือนและสวัสดิการ 121 
4 มีสิ่งน่าสนใจให้เรียนรู้ 106 
5 ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 83 
6 บริษัท/องค์กรกำลังขยายกิจการหรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต 75 
7 บริษัท/องค์กรมีบทบาทช่วยเหลือสังคม 68 
8 เป็นบริษัท/องค์กรข้ามชาติหรือมีทีมงานเป็นชาวต่างชาติ 58 
9 สถานที่ทำงานใกล้บ้าน 48 
10 สถานที่ทำงานติดหรือใกล้รถไฟฟ้า/รถใต้ดิน 23 

ผลสำรวจพบด้วยว่า “ทัศนคติในการเลือกงาน” ของคนรุ่นใหม่ยุคนนี้ ให้ความสำคัญกับบริษัทหรือองค์กรที่มั่นคงใหญ่โต มีชื่อเสียงมายาวนาน อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต หรือได้ทำในองค์กรข้ามชาติ ทำงานแล้วมีโอกาสก้าวหน้าและเติบโต มากกว่าการเลือกที่เงินเดือนและสวัสดิการ 
             การว่างงาน (Unemployment) หมายถึง ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงานที่พร้อมจะทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย รองานใหม่ หางานที่เหมาะสมไม่ได้ บุคคลในวัยแรงงานจะพิจารณาผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ส่วนแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักบวช ผู้ที่เกษียณอายุ ผู้เจ็บป่วยพิการทางร่างกายและสติปัญญา และผู้ทำงานอยู่ในครัวเรือน ซึ่งขนาดของบุคคลในวัยแรงงานเล็กกว่าขนาดของประชากรของประเทศ (Total Population) เพราะประชากรของประเทศประกอบด้วยเด็ก ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน และผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน

ขณะที่การทำงานในองค์กรที่มีความน่าสนใจให้เรียนรู้ และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการจราจรอันติดขัดที่ต้องเผชิญอยู่ ทำให้การเลือกสถานที่ทำงานที่อยู่ใกล้บ้าน และเดินทางสะดวก ใกล้กับรถไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งที่คนยุคนี้ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน หากลงลึกถึงรายละเอียด พบว่า ผู้หญิงต้องการทำงานได้ใช้ภาษาต่างประเทศมากกว่าผู้ชาย และต้องการเดินทางสะดวกมากกว่าเพศชาย แต่ทั้งหญิงและชายต่างก็ต้องการทำงานใกล้บ้านเหมือนๆ กัน



    2.การว่างงานเกิดจาก การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันไหม? 

การที่ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ทำให้เจ้าของธุรกิจเลือกแรงงานต่างด้าว มาทำงานมากกว่าแรงงานไทยขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดจันทบุรีจำนวนมาก ได้หันมาใช้วิธีจ้างแรงงานต่างด้าวแรงงานต่างด้าวเฉพาะผู้มีหนังสือผ่านแดนอยู่ในไทยในระยะสั้น และปรับขึ้นค่าแรงจากวันละ 150 บาท เป็น 200 บาทเท่านั้น เพราะแรงงานที่อยู่ได้ระยะยาวซึ่งต้องจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาท สูงเกินกว่าจะจ้างไหว ด้านผู้ประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระนองจำนวนมากเริ่มทยอยปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทแล้ว

ขณะที่หอการค้าจังหวัดระนองคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีแรงงานพม่าจะไหลทะลักเข้าไทยอีกนับล้านคน เนื่องจากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานในพม่าตกเพียงวันละ 30 บาท หรือเดือนละ 900 บาท เท่านั้น ซึ่งต่างกับค่าแรงขั้นต่ำของไทยถึง 10 เท่าตัว จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทย 

 

4 ผลกระทบของการเกิดวิกฤติระบบการเงินโลก 

           วิกฤติการณ์การเงินโลก ในขณะนี้ได้อยู่ในระดับที่เกิดบาดแผลฉกรรจ์ อาบเลือดที่ลึกเข้าไปถึงมันสมองของระบบ จนเป็นเหตุให้อวัยวะบางส่วนของมันต้องเป็นพิการ และเส้นโลหิตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องแข็งตัว และส่งผลกระทบที่เลวร้ายดังนี้

1. เกิดภาวะหวั่นวิตกโกลาหล และขาดสติกับมนุษย์โดยทั่วไป จึงขอยกตัวอย่างกลุ่มบุคคลที่ประสบกับภาวะดังกล่าวที่เลวร้ายดังนี้คือ

- ผู้นำ นักปกครอง และบุคคลในระดับรัฐมนตรี

- เจ้าของสถาบันการเงิน และผู้ที่ดำเนินกิจการในตลาดการเงิน

- เจ้าของสถาบันการเงินที่เป็นตัวแทน

- เจ้าของเงินฝากในธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ

- ลูกหนี้ของธนาคาร และผู้ที่มีพันธะกิจการธนาคาร และเช่นเดียวกับเจ้าของเงินฝาก

- ผู้บริโภคต้องประสบกับการเสี่ยงของภาวะสินค้าราคาสูง

- เจ้าหน้าที่ และคนงานต่างก็เสี่ยงต่อภาวะการตกงาน

- บุคคลผู้ยากไร้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับการได้รับการสงเคราะห์ และเงินบริจาคทาน

     วิกฤติการณ์เหล่านี้ประดุจดังมะเร็งในเม็ดเลือดที่เริ่มขยายตัวอยู่ในสายเลือด ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของระบบเศรษฐกิจ

 

2. การล้มละลายของสถาบันการเงินต่างๆ ด้วยกับสาเหตุที่ขาดสภาพคล่อง และอัตราการถอนเงินคืนของผู้ที่ฝากเงิน จนเป็นเหตุให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องเข้ามากู้วิกฤติโดยผ่านธนาคารกลางของรัฐเข้ามาอุ้มชูธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เหลืออยู่ เพียงเพื่อพยุงความอยู่รอดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ และรัฐก็อาจจะตกอยู่ในสภาพที่ล้มละลาย

 

3. การล้มละลายของบริษัทต่างๆที่ดำเนินธรุกิจบนบรรทัดฐานของการระดมทุน โดยการกู้หนี้ด้วยระบบดอกเบี้ย หรือบางบริษัทอาจจะต้องหยุดกิจการลงในบางภาคส่วนของการผลิต และในทำนองเดียวกันบางบริษัทก็เริ่มสะสางกิจการด้านการประกันและหลักทรัพย์ประกันต่างๆ ดังกล่าวนี้คือสาเหตุของการความระส่ำระส่ายทางแรงกระตุ้นทางเม็ดเงินของบริษัทพานิชย์ดังกล่าว

 

4. อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการจ้างงานที่น้อยลง แต่อัตราการเรียกร้องการช่วยเหลือทางสังคม และจากภาครัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเพิ่มภาระที่หนักอีกด้านหนึ่งให้กับงบประมาณของรัฐบาล จนเป็นเหตุให้รัฐต้องระงับโครงการการลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากต้องมาโอบอุ้มสังคมโดยรวม

 

5. ในบางประเทศต้องหาทางออกด้วยกับการเพิ่มอัตราการเก็บภาษี เพื่อชดเชยกับเม็ดเงินงบประมาณแผ่นดิน เนื่องจากรัฐบาลต้องทุ่มเม็ดเงินในการช่วยเหลือและพยุงบริษัท และธนาคารต่างๆที่อยู่ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการล้มเหลว ต่อการล้มละลาย หรือเข้าไปช่วยเหลือเงินฝากและอื่นๆ

 

6. ผู้เป็นหนี้ได้สูญเสีย ทรัพย์สมบัติและที่อยู่อาศัย เนื่องจากการถูกยึดด้วยกับการเป็นหนี้ จนทำให้พวกเขาต้องไร้ที่อยู่อาศัย ผู้ยากไร้ขัดสน และเป็นผู้พลัดถิ่นลี้ภัย

 



           สรุปการว่างงานนั้น 
ค่อนข้างจะมีผลกระทบอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้เพราะคนที่ว่างงานหรือตกงานนั้น มักเห็นได้ทั่วไป ที่ต้องการงานดีๆและมีเงือนเดือนเยอะๆ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือหาเลี้ยงตัวเองไปวันๆ ดังนั้น เราก็ควรที่จะดุสภาพความเป็นจริงด้วยว่า เรามีความสามารถพอไหมที่จะทำงาน ดีๆกับเงินเดือนแพงๆ เพื่อความอยู่สบายของตัวเราเอง

          การว่างงานมีสาเหตุต่างๆ ซึ่งทำให้สังคมต้องเสียผลประโยชน์จากทรัพยากรแรงงานที่รัฐบาลลงทุนสร้างประสิทธิภาพโดยเฉพาะการศึกษา รัฐบาลจึงมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานดังนี้
การแก้ปัญหาการว่างงานชั่วคราว ทำได้โดยการให้บริการข่าวสารแก่คนงานและนายจ้างเพื่อให้ทราบแหล่งงานหรือจัดตลาดนัดแรงงานเพื่อให้คนงานและนายจ้างพบกันขึ้นสะดวก 
การแก้ไขปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล ทำได้โดยการกระตุ้นให้คนงานทำงานอื่นๆ เมื่อพ้นฤดูกาลทำงานประจำ 
การแก้ปัญหาการว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถ้าหากมีการนำมาใช้โดยไม่จำเป็น รัฐบาลก็อาจต้องมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกัน ต้องมีการศึกษาฝึกหัดอบรมคนงานให้มีความสามารถที่จะโยกย้ายงานได้

นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานขยายตัว 
นโยบายการคลัง รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้จ่ายและลดอัตราภาษีให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการผลิตการส่งออกและการบริโภค ส่งผลให้การจ้างงานสูงขึ้น 
นโยบายการศึกษา การวางแผนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกำหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ตรงความต้องการของตลาด และความจำเป็นของประเทศ
 

  

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น