Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สงสัยคณะแพทย์ เวชกิจฉุกเฉิน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือ ถึงจะเป็นคณะเปิดใหม่ แต่คือเราก็สนใจอะ ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 ด้วย (เด็ก 57) คือเห็นคณะเปิดใหม่ ชื่อว่า คณะเเพทย์ศาสตร์ เวชกิจฉุกเฉิน  ถ้าเข้าใจไม่ผิดนี่ประจำอยู่ ER ตลอด 

ที่สงสัยคือ จบมาได้ ใบปริญญาเป็น วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ สถาบันแพทย์ ก็เลยสงสัยว่า จบออกมายังเรียกว่า หมออยู่หรือป่าว คำนำหน้ายังเป็น  นพ นพญ หรือเปล่า  หรือว่า เป็นแค่นักวิทยาศาสตร์

แลอาจจะไร้สาระหน่อยๆนะคริคริ

แสดงความคิดเห็น

>

65 ความคิดเห็น

Medical Student 6 เม.ย. 56 เวลา 16:00 น. 1

จบมาเรียก paramedic ครับ ภาษาไทยไม่แน่ใจ

ไม่ได้เป็นแพทย์นะ การทำงานคืออาจจะคล้ายๆพยาบาลแหละมั้ง ไม่แน่ใจ

ลองไปศึกษาเองดูนะครับ

2
Oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 22:37 น. 1-1

สรุปคือ เข้าใจผิดนะครับ 555
1.ผิด ที่ไม่ได้ประจำ ER ตลอด
2.ผิด ที่ไม่ได้เป็น นพ. นพญ. หรือ นักวิทยาศาสตร์ แต่เป็น Paramedic หรือที่เรียกกันว่า "นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์" ย่อ นฉพ. ขึ้นตรงกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)

ส่วนการทำงาน ทำอะไรได้บ้าง ก็ต้องตอบประมาณว่า ก้ำกึ่งระหว่างพยาบาลกับหมอ เพราะหัตถการบางอย่างก็เป็นหัตถการขั้นสูงคล้ายหมอ กระทำภายใต้คำสั่งหมออีกที ในฐานะ ผู้ช่วยเวชกรรม ส่วนรายละเอียดหัตถการอะไรบ้างที่สามารถทำได้ภายใต้ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน “ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง อํานาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจํากัดในการปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคําสั่งการแพทย์ หรือการอํานวยการ พ.ศ. ๒๕๕๖”

0
Nuttapon 2 มิ.ย. 58 เวลา 07:58 น. 1-2

ทางการแพทย์ฉุกเฉิน แบ่ง ออกเป็น
อาสาสมัคกู้ชีพเบื้องต้น (First Responder - FR)
เจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Emergency Medical Technician Basic - EMT-B)
เจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นกลาง (Emergency Medical Technician Intermidiate - EMT-I)
เจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นสูง (Paramedic) (Emergency Medical Technician Paramedic - EMT-P)
เจ้าหน้าที่สื่อสาร (Emergency Medical Dispatcher - EMD)
ถ้าเรียนเวชกิจมาแล้ว จะขึ้นตรงกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ สสจ ของจังหวัดนั้นๆครับ อาจจะทำงานที่ ER หรือ อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ ประจำอยู่ที่สสจ ( สาธรณสุขจังหวัด) ครับ เพราะส่วนใหญ่ที่ประจำอยู่ที่ER จะเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ไต่เต้า มาจาก FR ครับ ฝึกอบรมไปเรื่อยๆ จนจบเวชกิจครับ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

paratu 11 ส.ค. 58 เวลา 19:20 น. 2-1

เป็นพยาบาลก็ทำได้ แต่ต้องจบหลักสูตรเวชปฏิบัติฉุกเฉินซะก่อน ซึ่งโดยส่วนมาก ถ้าเป็นพยาบาลประจำการที่ ER จะต้องได้เรียนหลักสูตรนี้อยู่แล้วครับ โดยหน่วยงานจะส่งเรียนตามโควต้าของ โรงพยาบาล

0
ณเดชน์ คูกิมิยะ 6 เม.ย. 56 เวลา 18:14 น. 4

มีแต่เด็กๆมาตอบทั้งนั้น ฟังหูไว้หูนะจขกท.^^ ถ้าจะให้ชัวร์ต้องไปสัมภาษณ์คนที่เค้าเป็นเวชกิจจริงๆนะจะชัวร์กว่า



PS.  ณเดชน์ คุ้กกี้มั้ยยะ
1
oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 22:50 น. 4-1

เห็นด้วยครับ ที่สำคัญคือศึกษาข้อมูลดีๆครับ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ก็มี หาอ่านได้ครับ หรือมหาวิทยาลัยก็เปิดแล้วหลายที่ สอบถามข้อมูลโดยตรงก็จะได้ข้อมูลที่ตรงประเด็นมากกว่านะครับ

0
Belt 4 ธ.ค. 58 เวลา 16:12 น. 5-1

แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ต้องจบแพทย์ก่อนแล้วเรียนต่อเฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

0
anucheez 7 เม.ย. 56 เวลา 02:02 น. 6

ไม่ใช่แพทย์ครับ  ถ้าเป็นแพทย์ต้องเรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิต(พบ.) ก่อนแล้วค่อยมาต่อ เวชศาสตร์ฉุกเฉินอีก 3 ปีครับ

0
Biokiss.Bm 7 เม.ย. 56 เวลา 08:27 น. 7

อ๋อ เรียบๆเรียงๆเคียงๆ ดู คำตอบคือ ไม่ใช่แพทย์ ทำแทนไม่ได้ มากกว่าพยาบาล แต่ไม่ใช่แพทย์

ฮาฮา ก็สนใจอะคะ เลยศึกษาข้อมูล ตัวเองก็สนใจวิทย์สุขภาพด้วยเห็นเป็น คณะเปิดใหม่ 

0
fffff 12 เม.ย. 56 เวลา 18:58 น. 8

เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนมาถึงโรงพยาบาลนะครับ

ถ้ามาถึงโรงพยาบาลจะมีแพทย์ และพยาบาลER รับผู้ป่วยต่ออีกที

เอาจริงๆไม่ได้เก่งกว่าพยาบาลหรอกครับ&nbsp ใส่tube ปกติแพทย์ก็ให้พยาบาลใส่ = =

4
emo1 31 พ.ค. 58 เวลา 14:40 น. 8-1

มันเก่งคนละด้านกันครับ คุณเอาอะไรมาวัดว่าวิชาชีพไหนเก่งกว่ากัน

paramedic เขาก็เก่งด้านงานการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลของเขา
พยาบาล เขาก็เก่งด้านการรักษาพยาบาลของเขา
ไม่มีใครเก่งกว่าใครหรอก อย่าเหยียดวิชาชีพอื่นหน่อยเลย

0
Oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 22:47 น. 8-2

ผมก็อยากจะรู้หนอ ว่าเก่งไม่เก่งเขาวัดกันที่อะไร??? ทุกวิชาชีพล้วนมีเกียรติทั้งสิ้น เห็นด้วยกับ emo1 ครับ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือผู้ป่วยเป็นสำคัญ ไม่ใช่มานั่งวัดกันที่วิชาชีพหรือรู้มากรู้น้อยครับ เราทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยเอง

0
Oata 1 มิ.ย. 58 เวลา 23:11 น. 8-3

ในโรงพยาบาลพยาบาลเค้าก็ไม่ใส่ทิ้วกันหรอกครับ หน้าที่หมอ

0
เวชกิช 4 ธ.ค. 58 เวลา 16:14 น. 8-4

คุณเอาอะไรมาวัดว่าวิชาชีพไหนเก่งกว่ากัน
ไม่เทียบกันไม่ได้ที่เรียนคนละแบบกัน

0
jjjjj 18 เม.ย. 56 เวลา 09:51 น. 9

เป็นหลักสูตร EMT-P คับ(paramedic) ทำอะไรหลายๆอย่าง ทำได้มากกว่าพยาบาลด้วยซ้ำ อีกอย่างจบมาก็ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเหมือนกัน ตำแหน่ง นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือ นฉพ.
(บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชกิจฉุกเฉิน จะเป็นบุคลากรเฉพาะทางด้านการแพทย์ ฉุกเฉิน คุณวุฒินักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือ นฉพ. (Paramedic) ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างการนำส่งสถานพยาบาลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ในระดับมืออาชีพ (Professional))

5
พยาบาลER 1 มิ.ย. 58 เวลา 19:58 น. 9-2

ไม่ชอบคำพูดนี้จัง ทำได้มากกว่าพยาบาลด้วยซ้ำ ทั้งๆที่ทุกวันการเรียนการสอนอาจารย์ก็เป็นพยาบาลที่คอยสอนทั้งนั้น ถ้าทำได้มากกว่าพยาบาลแล้วจะมีพยาบาล ER ทำไมหล่ะครับ เดี๋ยวนี้วิชาชีพพยาบาลเขาพัฒนาแล้ว อบรมเพิ่มเติมก็ทำได้ละครับ วิชาชีพใหม่อย่าโอยว่าตัวเองเก่งเลยครับ เท่าที่รู้มายังไม่มีตำแหน่งนี้อย่างเป็นทางการหนิครับ เห็นเขาสู้เปิดตำแหน่งกันอยู่ตลกจัง

0
oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 22:57 น. 9-3

ทุกวิชาชีพสำคัญหมดครับ มีความชำนาญคนละด้านแตกต่างกันไป ทั้งนี้เราทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยครับ เยี่ยม

0
Dena 24 ส.ค. 58 เวลา 10:07 น. 9-4

อาจจะใหม่ในไทยแต่ ทางประเทศที่เจริญแล้วส่วนมากก้อจะมี paramedic อย่างทางยุโรปและอเมริกา แต่ไทย...ไม่ทราบ. และนักเรียนparamedic หรือparamedic ที่เมกาทุกคนก้อภูมิใจในตนเองและได้รับการยกย่องมากกว่าพยาบาลที่นี้ด้วยซ้ำ.

0
Loenghang Somphong 25 เม.ย. 56 เวลา 09:19 น. 10

ตอนนี้พี่ก็เรียนอยู่เวชกิจ ม.พะเยา ปี2 นะครับ ขออธิบายประเด็นที่คนชอบสงสัยกัน
1.เราไม่ใช่แพทย์ ได้วุฒิปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต ไม่มีเสื้อกราวน์ แต่ได้Stethoscope(หูฟังชีพจร)
2.เวชกิจฉุกเฉินในมหาวิทยาลัย(ปัจจุบันมี2แห่ง)คือม.มหาสารคามกับม.พะเยา เรียน4ปี มีอีกชื่อว่านักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือ Paramedic /EMT-Pที่อาจเคยรู้มา ส่วนหลักสูตรรองลงมาสอนที่วิทยาลัยคือEMT-Iนี้จะเรียน2ปีได้วุฒิปวส. Paramedic เป็นเวชกรฉุกเฉินระดับสูงสุดในEMSS(Emergency Medical Service System)
3.แพทย์>Paramedic>พยาบาล ในที่นี้คือการเทียบสมรรถนะในการช่วยเหลือผู้ป่วย พูดง่ายๆคือความสามารถในการใช้อุปกรณ์และะการใช้วิธีการต่างๆเพื่อนำมารักษาผู้ป่วย(ไม่ได้ว่าวิชาชีพอื่นๆแต่อย่างใด อย่าเข้าใจผิดกันนะครับ ทุกวิชาชีพมีความเท่าเทียมกันครับ แต่การมีสมรรถนะต่างกันก็เพราะว่าทำงานที่แตกต่างกันนะครับ) เราต้องช่วยชีวิตผู้ป่วยที่อาการฉุกเฉิน เหตุนี้จึงต้องมีสมรรถนะสูง ทำหัตถการได้ สอดท่อได้ อาจต้องมีความสามารถมากกว่าแพทย์ทั่วไปที่ไม่ได้ออกจุดเกิดเหตุด้วย ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการตรวจฟังชีพจรในสถานการณ์โดยรอบวุ่นวาย เสียงดัง(อันนี้ก็อปเขามาแล้วแก้นิดๆน่ะ)
4.หลักสูตรนี้เมืองนอกเขามีมานานแล้ว ส่วนหนึ่งเพื่อทดแทนแพทย์ฉุกเฉินที่มีน้อย แต่บางประเทศอย่างญี่ปุ่นเขาก็มีDr.Heliที่นำแพทย์ออกปฏิบัติงานเอง
5.เงินเดือนพอๆกับวิทย์สุขภาพอื่นๆ แต่ทั้งนี้อาจมากกว่านี้เพราะความสามารถในการทำงานของวิชาชีพนี้ ซึ่งต้องดูกันต่อไป ไหนจะมีเข้าเวรอีก ตอนนี้ยังบอกไม่ได้เพราะยังไม่มีคนจบ
6.มีงานทำ?ยังไม่มีใครจบเลย? คิดง่ายๆว่า EMT-Iเขายังมีงาน พยาบาลกู้ชีพยังมีงาน (พยาบาลที่ผ่านการอบรมเพื่อทำหน้าที่เทียบเท่าParamedic/ Paramedic Nurse) แล้วเราจะไม่มีงานได้ยังไง อีกอย่างวิชาชีพนี้สพฉ.กำหนดเป้าหมายให้มี1,860 คน ภายในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคนจบซักคน ตำแหน่งรออยู่ตรงหน้าแล้ว อีกหน่อยตามอนามัยต้องมีรถฉุกเฉินครับ เดี๋ยวนี้ก็มีเยอะแล้ว มีงานแน่ แต่เรียนให้จบเถอะ(สำคัญกว่าเยอะ)
7.ใบประกอบวิชาชีพ อยากได้ต้องสอบครับ เหมือนที่แพทย์สอบกัน คนออกข้อสอบคนเดียวกัน เจ๋งป้ะ!!
8.เรียนยากมั้ย สายสุขภาพเรียนยากทั้งนั้นล่ะครับ ขึ้นอยู่กับความพยายาม ปี1ก็พื้นฐานวิทย์ ปีสองก็วิชาคณะแพทย์ ฟิสิโอ อนาโตมี ยา และบลาๆๆๆ ปีต่อมาก็ลงลึกที่เรื่องงานฉุกเฉิน(วิชาสาขา)แล้ว
9.รับเฉพาะมอปลายพื้นฐานวิทย์คณิต และEMT-I+.(จำไม่ได้). ลองหาดูประกาศรับ จะเป็นประกาศรับชุดเดียวกัน
10.การทำงานจะออกจุดเกิดเหตุ(งานหลัก)และห้องฉุกเฉิน(งานรอง) ทำอะไรได้เยอะ แต่ต้องให้หมอสั่ง ตอนออกเหตุเหมือนกัน ถ้าจะทำไรที่มันแอดวานซ์ ก็ต้องปรึกษาหมอที่อยู่ศูนย์บังคับการ
11.อยากก้าวหน้า อันนี้ไม่รู้นะ ว่าแพทย์แนวใหม่เขารับรึเปล่า แต่ถ้าเป็นสายParamedicมีป.โทที่เมืองนอกครับ
12.เป็นข้าราชการมั้ย ขึ้นอยู่ว่าทำงานให้ใครครับ เอกชนหรือรัฐบาล
13.Para=ใกล้,กึ่ง medic=แพทย์ รวมแล้วParamedic=ผู้ช่วยแพทย์ ทำงานในรูปแบบpre-hospital unit(อย่างที่บอกว่างานหลักอยู่บนรถฉุกเฉิน) ถูกอบรมมาเพื่อออกเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะ
14.เราเป็นกู้ชีพนะครับ ไม่ใช่ กู้ภัย
 
หวังว่าคงช่วยได้ไม่มากก็น้อยนะครับ หากผิดพลาดจุดหนึ่งจุดใดบอกได้นะครับ คุยกันดีๆนะครับ 

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 25 เมษายน 2556 / 09:21

7
พยาบาลER 1 มิ.ย. 58 เวลา 20:03 น. 10-2

เรียนมหาสารคามน่าจะเจ๋งกว่า ข่าววงในบอกว่าพะเยายังหลักสูตรไม่โอเค สู้กันต่อไป
โกรธแล้วนะ

0
Oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 23:01 น. 10-3

ผมว่ายังใหม่ทั้งสองนะครับ ต้องพัฒนาในด้านต่างๆกันต่อไป

สิ่งที่ยากที่สุดคือการเริ่มต้น สู้ๆกันต่อไปครับ

0
Patatu 11 ส.ค. 58 เวลา 20:22 น. 10-4

แพทย์>Paramedic>พยาบาล ในที่นี้คือการเทียบสมรรถนะในการช่วยเหลือผู้ป่วย พูดง่ายๆคือความสามารถในการใช้อุปกรณ์และะการใช้วิธีการต่างๆเพื่อนำมารักษาผู้ป่วย(ไม่ได้ว่าวิชาชีพอื่นๆแต่อย่างใด อย่าเข้าใจผิดกันนะครับ ทุกวิชาชีพมีความเท่าเทียมกันครับ แต่การมีสมรรถนะต่างกันก็เพราะว่าทำงานที่แตกต่างกันนะครับ) เราต้องช่วยชีวิตผู้ป่วยที่อาการฉุกเฉิน เหตุนี้จึงต้องมีสมรรถนะสูง ทำหัตถการได้ สอดท่อได้ อาจต้องมีความสามารถมากกว่าแพทย์ทั่วไปที่ไม่ได้ออกจุดเกิดเหตุด้วย ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการตรวจฟังชีพจรในสถานการณ์โดยรอบวุ่นวาย เสียงดัง(อันนี้ก็อปเขามาแล้วแก้นิดๆน่ะ)

ประโยคนี้ แพทย์>Paramedic>พยาบาล น่าจะใส่ข้อความให้ชัดเจนนะครับ เช่นพยาบาล ทั่วไป ตามวอร์ดอะไรงี้ เพราะถ้าพยาบาล ที่จะหลักสูตรเฉพาะทาง พยาบาลประจำ ER ต้องได้เรียนแทบจะทุกคน พอจบมา สรรถนะจะเท่าๆ กันครับ แต่พยาบาลจะทำได้มากกว่า เนื่องจากขอบเขตงานและ พรบ วิชาชีพที่ชัดเจนครับ เช่น Nurse'Note การ Advice หรือการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นลักาาการส่งต่อเคส เป็นต้นครับ

หัตการใส่ท่อ คงไม่ต่างกัน ส่วนฟังชีพจร ถือเป็น BASic มากกกกกกกกกกกก ครับ ทุกคนต้องทำได้ แม้แต่คนงานในวอร์ด

ทุกอาชีพมีความสำคัญ และแตกต่างกันครับ ต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดใครไม่ได้หรอกครับ
ช่วยกันดีกว่าคับ เพื่อผู้ป่วย และระบบสาะารณสุขของไทยเรา :)

0
ผู้ให้ข้อมูล 28 ก.ย. 61 เวลา 01:02 น. 10-6

ฉีดยาหรือเปิดเส้นได้ไม๊ค่ะ ทำคลอดได้ไม๊ ทั้งๆที่ตัวเองยังเรียนรู้ไม่ถึงไหน ก็เข้าใจไปเองซะแล้ว งานพยาบาลไม่ได้มีแค่แผนกฉุกเฉินนะคะ มีOR ICU CCU ห้องคลอด ไตเทียม วิสัญญีพยาบาล GI ฯลฯ ขอบข่ายงานมากมาย เข้าเรียนยาก มีการแข่งขันสูง เรียนหนักและงานหนักมาก มีความรับผิดชอบสูงและมีเกียรติ​เป็นวิชาชีพหนึ่ง ซึ่งมีมายาวนานมาก ถ้าจะเทียบกับพยาบาลเฉพาะทางแน่นอนว่าต้องทำได้มากกว่าเวชกิจฉุกเฉิน แต่ไม่ได้มีคนเรียนเฉพาะทางด้านนี้มากมายขนาดนั้น คุณจะไปเทียบกับพยาบาลทุกคนไม่ได้ สายงานพยาบาลมีเยอะค่ะ ส่วนใหญ่ก็เรียนด้านอื่นกัน คุณคงจะเข้าใจอะไรผิดไปนะคะ เพจนี้เด็กๆเข้ามาอ่านเยอะ รบกวนช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องด้วยนะคะ

0
ผู้ให้ข้อมูล 28 ก.ย. 61 เวลา 01:19 น. 10-7

อีกอย่างนะคะ โรงพยาบาล​ใหญ่ระดับโลกในไทย ไม่ได้มีตำแหน่งงานให้คนกลุ่มนี้นะคะ เค้าเปิดรับเฉพาะแพทย์ (จริงๆ)​ พยาบาล รังสี เทคนิค​การแพทย์​ ผู้ช่วยพยาบาล ฯลฯ อันเป็นทีมที่เพียงพอกับโรงพยาบาลแล้ว ก็ต้องยอมรับความจริงนะคะ ถึงแม้จะอ้างว่าต่างประเทศก็มี แต่คุณก็คงไม่ได้มาตรฐาน​เดียวกับต่างประเทศหรอกค่ะ

0
รทยฟพฟทำกรแ 2 มิ.ย. 58 เวลา 23:29 น. 11-1

รับคับ แต่ต้องมาจากวิทยาศาสตร์สุขภาพ เหมือนกัน
แต่ก้ลองถามรายละเอียดอีกทีรักเลย

0
ประกายแก้ว 10 มิ.ย. 56 เวลา 19:25 น. 12

ขอถามหน่อยนะค่ะ
คืออยากเรียนเวชกิจฉุกเฉินที่เรียน2ปีนะค่ะของเชียงใหม่มีที่ไหนบ้าง
รายละเอียดการรับสมัครใครทราบรายละเอียดแนะนำด้วยค่ะ
หรือ๑มาด้วยนะค่ะkoonnaybenroo@hotmail.com ขอความกรุณาด้วยค่ะ

0
Paramedic 24 ก.ค. 56 เวลา 19:29 น. 13

คห.ที่8 Paramedic เป็นสายทางการรักษา ส่วน Nurse เป็นสายทางการพยาบาล แค่นี้ก็รู้แล้วใครมีขอบเขตที่ทำได้มากกว่ากัน แต่ก็ไม่ได้ว่าหรอกนะครับเพราะ Paramedicของไทยรุ่นแรกยังไม่ได้จบทำงานออกไปคุณคงยังไม่รู้ถึงขอบข่ายการทำงานที่แท้จริง(เจาะคอ เจอะปอด ก็ทำได้ครับ ใส่ tube นะเบสิก)555ตลกจัง

2
oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 23:04 น. 13-1

ศึกษาได้ตามนี้เลยครับ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง อํานาจหน้าที่
ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจํากัดในการปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคําสั่งการแพทย์หรือการอํานวยการ พ.ศ. ๒๕๕๖

0
paratu 11 ส.ค. 58 เวลา 19:33 น. 13-2

Paramedic เป็นสายทางการรักษา ส่วน Nurse เป็นสายทางการพยาบาล อยากให้ตึความประโยคนี้ดีๆ คนที่สนใจเรียนจริงๆ จะได้ไม่สับสน
คำว่าสายรักษา ผมมองว่า มันไม่น่าจะใช่นะครับ
เพราะการรักษา มันหมายถึง การที่เราดูแลคนคนนึงที่ป่่วย และมีภาวะต่างๆ แล้วรักษาโดยการ ให้ยา การฆ่าเชื้อในร่างกาย ตั้งแต่ต้น จนเขาหายป่วยจากภาวะนั้น ถึงจะเรียกว่ารักษา
เช่น ผู้ป่วยโดนรถชน กระดูกหัก หยุดหายใจ Paramedic จะช่วยได้แค่ใส่ท่อให้ O2 ก่อนถึง รพ (เพราะถ้าอยู่ รพ จะเป็นหน้าที่ หมอ ) ถ้าการรักษา มันจะหมายถึง หยุดหายใจ เราต้องให้ยา นู้นนั้นนี่ ปรับภาวะการเป็นกรดด่าง ในร่างกาย ตาม blood gass เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และแก้ ส่วนกระดูกที่หัก ถ้า paramedic ทำได้ก็คงดามส่วนที่หักอย่าถูกวิธี ส่วนการรักษากระดูที่หักคือ ต้องเข้าผ่าตัด ให้ยาฆ่าเชื้อ พื้นฟูทำกายภาพบำบัด (ซึ่งผมมองว่า อาจจะไม่ใช่หน้าที่ของ paeamedic ที่จะต้องมารักาอาการเหล่านี้ อย่าตีความว่ามีหน้าที่รักษาเลยครับ) ซึ่งหน้าทีที่ชัดเจนที่สุดคือ การช่วยเหลือขั้นสูงก่อนถึงโรงพยาบาล

0
oplus 1 มิ.ย. 58 เวลา 23:06 น. 14-1

ศึกษาข้อมูลได้ตาม พ.ร.บ การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลยครับ
ส่วน competency ศึกษาได้จาก “ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง อํานาจหน้าที่
ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจํากัดในการปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคําสั่งการแพทย์หรือการอํานวยการ พ.ศ. ๒๕๕๖”

0
สายฟ้างูดิน 9 ส.ค. 56 เวลา 15:54 น. 15

ลองไปหาข้อมูล ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง อํานาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจํากัดในการปฏิบัติการแพทย์ ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคําสั่งการแพทย์หรือการอํานวยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ในเว็บประกาศของราชกิจจานุเบกษาดูน่ะครับ เค้าประกาศสมรรถนะการทำงาน(competency)ออกมาแล้วว่าแต่ละระดับทำอะไรได้บ้าง เรื่องจิงไม่อิงนิยาย!! ถูกต้อง

0
เด็ก 30 ส.ค. 56 เวลา 16:58 น. 16

ถ้า เรียน Paramedic จบแล้วทำงานมีชื่อนำหน้า ยัง ไง เหรอ ค่ะ อย่างเช่น เแพทย์ ก็จะเป็น นพ. แต่ Paramedic เรียกว่าอะไร เหรอค่ะว๊าว

0
P'POP 25 ก.ย. 56 เวลา 06:37 น. 17

นฉพ..คับ..ย่อมาจาก นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์..ตามพรบ การแพทย์ฉุกเฉิน...........แต่ได้ข่าวว่า...กพ.ไม่ให้ตำแหน่งนี้..เพราะ..อะไรหลายอย่างลองศึกษาดู...........แต่อะไรมันก็ไม่แน่นอนคับ..ไม่อยากให้โลกสวย..และก็อย่าลืมว่ายังไม่มีใครจบไปเลย..ลองลุ่นดูคับ..สาขาวิชาชีพใหม่ที่ต้องพัฒนาอีกยาวไกลคับสู้สู้

0
Puppppp 31 ต.ค. 56 เวลา 00:47 น. 18

ศึกษากันไปก่อนนะครับ แต่ชื่อที่ได้แน่นอน คือ นฉพ. นักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์
สาขาวิชาชีพนี้ขอบอกว่าคัดเด็กที่อยากเรียนจริงๆ รักในสายงานนี้จริง เพราะจบไปต้องสอบ ใบประกอบวิชาชีพ(license)ความยากง่าย กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้าเพราะสอบเป็นรุ่นแรก แต่เรียนแล้วจบไปไม่ตกงานเพราะสาขาวิชาชีพนี้มีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินคอยสนับสนุน และอีกอย่างการแพทย์ฉุกเฉินไทยยังหล้าหลังเมื่อเทียบกับหลายประเทศในยุโรบ และเอเชียเราเอง จึงต้องการบุคลากรเฉพาะด้านเป็นอย่างมาก
ขอแก้ข้อสงสัย ไม่ได้ดูถูกวิชาชีพไหน แต่ EMT-P เราเป็นการรักษาชีวิต เน้นชีวิตผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุก่อนนำส่งสถานพยาบาล การรักษาก็ต้องทำได้มากกว่าพยาบาลอยู่แล้ว ไม่งั้นพยาบาลERคงไม่มาอบรมเพิ่มเติม40ชั่วโมงก่อนจะมาทำงานฉุกเฉินหรอกครับ

สงสัยตรงไหนโพสถามนะครับ สาขานี้ไม่ได้เข้าเรียนง่ายเหมือนสาขาอื่น โดนไทน์ต่อปีเยอะนะครับถ้าไม่เก่งจริง เพราะเราทำงานกับชีวิต!

0
Pupppp 31 ต.ค. 56 เวลา 00:51 น. 19

ผมเรียนเวชกิจฉุกเฉินอยุ่นะครับ อีกไม่กี่ปี ชื่อหลักสูตรอาจเปลี่ยนเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ครับ

0
เท่าที่รู้มา 25 พ.ย. 56 เวลา 19:37 น. 20

ภาษาอังกฤษ เรียกว่า paramedic

จบมาทำงานเรียกว่า นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

คำย่อคือ นฉพ.

ก้ำกึ่งกันระหว่าง พยาบาลกับแพทย์

0