Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ไม่สามารถ ทำการบำบัด ทางจิตวิทยาได้ ถือว่าผิดกฏหมาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สถาบันที่ได้รับรองหลักสูตรปริญญาตรี ให้ สอบใบประกอบโรคศิลป์ได้มีแค่ 4 สถาบันเท่านั้น
1.ม.เกษตร
2.ม.ธรรมศาสตร์
3.ม.เชียงใหม่
4.ม.ราม

อ้างอิงจาก
http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/download/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2.pdf

สถาบันอื่นๆ ไม่สามารถ สอบใบประกอบโรคศิลป์ ได้ เพราะ หลักสูตรไม่ได้รับรอง
เมื่อไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ไม่สามารถ ทำการบำบัด ทางจิตวิทยาได้ ถือว่าผิดกฏหมาย


เอามาจากกระทู้หนึ่งใน dek d

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

ดโฤฤโ 17 เม.ย. 56 เวลา 15:52 น. 1

เด๋วก่อนนะ&nbsp จิตวิทยาคลินิก เนี้ย
ทำได้อย่างมาก ก็แค่ แบบสอบถาม กับ ให้คำปรึกษา แค่นั้นละ

นอกนั้น เป็น งานจิตแพทย์

ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเล้ย ในโรงพยาบาล

เทียบกับพวก พยาบาล เทคการแพทย์ กายภาพบำบัด ไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว

1
PK นี่แหละชั้น 9 ม.ค. 60 เวลา 12:06 น. 1-1

รู้ได้ยังไงคะว่าไม่มีความสำคัญ รู้จักจิตวิทยาคลีนิคมากแค่ไหน?
ไม่รู้อะไรอย่าพูดค่ะ

0
KAo JiTLHON 18 เม.ย. 56 เวลา 00:16 น. 2

ขอแก้ไขความเข้าใจผิดหน่อยนะครับ ที่บอกว่าถ้าไม่มีใบประกอบโรคศิลปไม่สามารถทำจิตบำบัดได้ ก็ถูกเพียงบางส่วนนะครับ การทำจิตบำบัด(psychotherapy)นั้นจะทำก็ต่อเมื่อเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช แต่กระบวนการเทคนิกและทฤษฎีนั้นก็ไม่ต่างจากการปรึกษาทางจิตวิทยา(counseling)ต่างกันตรงความสามารถในการจัดการปัญหาของผู้ป่วยที่จะมีอาการป่วยเข้ามาเกี่ยวข้องจึงต้องอาศัยความรู้ทางด้านการดำเนินโรคทางจิตเวชด้วย ที่ต่างประเทศจะมีใบประกอบวิชาชีพของทั้งสองสาขานี้แต่เมืองไทยในปัจจุบันยังมีแค่ของนักจิตวิทยาคลินิกเท่านั้น (ที่อเมริกายังมีอาชีพนักบำบัด(therapist)แยกออกมาอีกด้วย) จะเรียกว่าผิดกฏหมายจึงแยกยากถ้าพบว่าบุคคลที่ป่วยไปพบนักจิตวิทยาการปรึกษาก่อนเพราะคนทั่วไปก็ไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนบ้าจึงพบนักจิตวิทยาการปรึกษามากกว่า แต่ถ้าพบว่ามีอาการป่วยนักจิตวิทยาการปรึกษาก็จะทำการส่งต่อครับ สิ่งที่กฏหมายคุ้มครองหลักๆเลยคือเรื่องการทำแบบทดสอบและประเมินทางจิตวิทยาในระดับ A level ครับ เช่นพวก WAIS WISC TAT Rorschach เป็นต้น ที่แม้แต่จิตแพทย์ก็ไม่มีสิทธิทำครับต้องเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบประกอบวิชาชีพเท่านั้น
ต่อมาเรื่องสี่มหาวิทยาลัยเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากๆครับ สี่มหาวิทยาลัยนั้นมีการเปิดสอนสาขาจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่ยังไม่มี พ.ร.บ ใบประกอบวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทยครับ(เพิ่งจะมีมาไม่กี่ปีเอง) ดังนั้นผู้ที่มีสิทธิสอบรุ่นแรกๆก็จะเป็นผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยทั้งสี่เท่านั้น ปัจจุบันมีสถาบันที่เปิดสอนเพิ่มขึ้นอีกสองสามแห่งในภายหลัง การจะเปิดหลักสูตรระดับอุดมศึกษาได้จะต้องมีคณะกรรมการร่างหลักสูตร มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายมาวิพากษ์หลักสูตร และต้องผ่านทั้งสภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัย การออกมาบอกว่าหลักสูตรเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองเป็นการทำให้หลักสูตรนั้นๆเสียหายนะครับ ทางที่ดีควรตรวจสอบกับทางสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกแห่งประเทศไทยที่ดูแลเรื่องใบประกอบวิชาชีพนักจิตวิทยาคลินิกดีกว่านะครับ
เรื่องสุดท้ายคือความเห็นที่1 ความสำคัญของวิชาชีพต่างๆนั้นมีความสำคัญแน่นอนครับ ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องทำงานกัน ในการรักษาผู้ป่วยนั้นต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพ ซึ่งมีหลากหลายวิชาชีพต้องมาช่วยกัน การบอกว่าจิตแพทย์ทำหมดนั้นเป็นการลดคุณค่าของวิชาชีพอื่นโดยไม่เป็นจริง ถ้าเราดูตามประวัติศาสตร์แล้ว วิชาชีพทางการแพทย์ทั้งหลายก้แยกมาจากแพทย์ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการทำงานแต่ละส่วนอย่างแท้จริงนะครับ

0
oORaiSaRaOo 12 ส.ค. 56 เวลา 14:31 น. 4

จริงๆแล้วลิ้งที่ให้มามันตั้งแต่ 2550 แล้วนะครับ

ปัจจุบันมี 6 สถาบัน (เพิ่มมาอีก 2 สถาบันแล้วครับ (ป.ตรี))
ม.เชียงใหม่
ม.รามฯ
ม.มหิดล
ม.ธรรมศาสตร์

ม.นเรศวร
ว.เซนต์หลุยส์

ส่วน ป.โท ก็ยังเป็น 2 สถาบันเหมือนเดิม
ม.ราม
ม.มหิดล

อีกอย่างสถาบันที่ขอรับรองหลักสูตร ก็ขอ ปี 2552 นะครับ

ตอนนี้ก้อ 2556 แล้วครับ ปลายปี 2557 นี้ 3 สถาบันที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรก้อจะต้องขอเข้าไปใหม่นะครับ

เนื่องจากการรับนั้นหมดอายุ
ตั้งใจ

0
โถน้องเอ๊ย 20 พ.ค. 57 เวลา 14:54 น. 5

ต่างกับแค่จิตแพทย์แค่สั่งยาไม่ได้แค่นั้นค่ะน้อง และการบำบัดทางจิตไม่จำเป็นต้องใช้ยาเสมอไปค่ะ บางครั้งนักจิตวิทยาจะใช้ใน สำนักงานต่างๆนอกจากโรงพยาบาล เช่นการบำบัดผู้ได้รับผลกระทบทางจิตใจค่ะ

แล้วก้เลิกเอาอาชีพมาเปรียบเทียบกันได้แล้วนะคะ เมื่อเวลาหิวข้าวแม่ค้าก็มีค่ามากกว่านายกรัฐมนตรีที่หุงข้าวไม่เป็นนะคะน้อง

0
phitharat 27 มิ.ย. 57 เวลา 15:10 น. 6

ทำแบบทดสอบ วัดไอคิว ประเมินสถาพจิต บุคลิกภาพ จิตบำบัด กลุ่มจิตบำบัด
น้องครับ ถ้าไม่รู้จริง ไม่รู้จัก ไม่มีข้อมูล อย่าโพสต์เลย อายคนอื่นเค้่า

0
นักจิตตัวน้อยๆ 5 พ.ย. 57 เวลา 14:46 น. 7

เห็นด้วยกับน้องเค้านะครับ อันนี้จากคนที่จบ ป เอก ทางจิตวิทยาเลยครับ

ถ้าคุณอยู่ใน โรงพยาบาล บทบาทนักจิตวิทยาคลีนิค คือ ทำงานตามเเพทย์สั่ง
ไม่ว่าจะทำแบบคัดกรองความผิดปกติ ซึ่งจิตเเพทย์จะ diagnosis ก่อน
แล้วถ้าสงสัย ไม่มั่นใจ ก็จะส่งต่อให้ นักจิตวิทยาทำแบบทดสอบ แบบวัด ฯลฯ

แต่เดี๋ยวก่อน จิตเเพทย์ ไม่มีเวลามาทำกระบวนการการบำบัดทางจิตวิทยากับคนไข้มากนัก เวลาเป็นเงินเป็นทอง ดังนั้น กระบวนการปรึกษาทางจิตวิทยา กลุ่มบำบัด ฯลฯ จะเป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยา เสียเกือบ 100%

ดังนั้น กระบวนการดูแลรักษาทางกาย เป็นหน้าที่ของพยาบาลและเทคนิคการเเพทย์
วินิจฉัยและจ่ายยา คือ จิตเเพทย์
แต่ทางจิตใจ นั้นนักจิตวิทยาจะเข้ามาดูตรงส่วนนี้

ส่วนคุณนักจิตวิทยาข้างบนครับ ยอมรับความจริงด้วยครับ ว่า ใน รพ จิตเเพทย์มีบทบาทมากกว่าวิชาชีพเรามากครับ และเขาได้รับการยอมรับด้านการรักษามากกว่าเรา แล้วไม่ต้องไปเหวี่ยงเด็กมัน อย่าไปโชว์ อีโก้ เพราะ คุณจะไม่ต่างอะไรกับ
"คนที่ไม่ยอมรับความจริง แล้วพยายามที่จะชูคอ ชูหาง"

ทุกวิชาชีพใน รพ มีความสำคัญกับผู้ป่วยครับ แต่กรุณาให้ข้อมูลเด็กให้มันถูกต้องด้วย
ไม่ใช่ ยกวิชาชีพตัวเอง อย่างไม่มีใครเเตะต้องได้ พอใครพูดไม่ถูกใจ ก็เหวี่ยงเศร้าจัง

0