Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คิดว่าคนทำงานสายวิทยาศาสตร์ จำเป็นแค่ใหนกับรัฐบาล

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ตามนั้นครับ คิดว่าคนทำงานสายงานนี้ จำเป็นต้องให้มีในรัฐบาลหรือเปล่า
ฝ่ายที่สนันสนุนก็บอกว่าต้องมี เพราะวิทยาศาสตร์ คือกระบวนการค้นหาความจริง
โดยตัดอคติออกไปทั้งหมด สามารถทำซ้ำและอธิบายหลักการได้
ดังนั้นการมีคนสายวิทย์ที่เก่งจริงๆ อยู่ในคณะรัฐบาลจึงถือเป็นเรื่องจำเป็น
เพราะเขาจะสามารถมองอะไรแบบใช้ตรรกะ และเหตุผล ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด
แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็บอกการบริหารรัฐมันเรื่องของสายสังคม จะเอาสายวิทยมายุ่งทำไม
ท่านละ ว่ายังใงกับประเด็นนี้
จำเป็นอย่างที่สุด
ไม่จำเป็นเลย
ต้องเป็นคนทำงานสายวิทย์ที่เก่งด้วยนะ
เพราะคนที่เขาเข้าใจวิทย์อย่างถ่องแท้นี่
เขาจะมีระบบการคิดที่ดีด้วย ซึ่งจำเป็นกับรัฐบาลมาก
การบริหารรัฐบาล คือการบริหารมนุษย์นะ ซึ่งมนุษย์ก็ไม่
ใช่อะไรที่จะสรุปเป็นวิทยาศาสตร์ได้อยู่แล้ว
การบริหารรัฐ ไม่ต้องใช้นักวิทย์หรอก
125 โหวต
49 โหวต

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

lzanagi 30 มิ.ย. 56 เวลา 09:31 น. 1

ไม่ใช่ว่าไม่จำเป็นครับ แต่มันออกจะผิดประเภทไปหน่อย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะใช้ได้กับนโยบายบางประเภทเท่านั้น แต่เรื่องบริหารคนนี่เอาผู้ชำนาญด้านอื่นมาเถอะครับ

0
☜ธิญโณ☞ 30 มิ.ย. 56 เวลา 12:06 น. 2

มีเป้นกลางไหมครับ เรียกว่าจำเป็นโดยทางอ้อมมากกว่าครับ
เพราะบางประเด็นก็จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์ออกมาทำการยืนยันอยู่ดี

รวมไปถึงการวางแผนพัฒนาในแต่ละด้าน ก็ต้องมีนักวิจัยรองรับครับ

0
K.W.E. 30 มิ.ย. 56 เวลา 13:54 น. 3

ตั้งโพลแบบนี้ทำเอาโหวตไม่ถูกเลยครับ...

เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งที่ประเทศยังคงต้องการเสมอ
แต่ในการทำงานภาครัฐนี่ความต้องการจะแตกต่างกันไป ซึ่งไปดูเงื่อนไขของการรับสมัครข้าราชการหรือพนักงานราชการแล้ว วุฒิที่ต้องการจะแตกต่างไปกับหน่วยงานที่รับสมัครด้วย

ฉะนั้นมันก็จำเป็นทุกสายนั่นล่ะครับ ขึ้นกับช่วงเวลาและสถานการณ์

ส่วนจุดหนึ่งที่ผมว่า จขกท. ทำโพลมาผิดก็คือ
การคิดแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นภาพรวมของนักวิทยาศาสตร์นะครับ และอาชีพอื่นๆที่ไปอยู่ในโพลฟากไม่เห็นด้วยเช่นรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่นิติศาสตร์ที่ไปทางการเมืองการปกครองเอง ก็เป็นสายวิชาที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาเอี่ยวด้วย
โดยเฉพาะการคิดแบบเป็นเหตุและผล การใช้สถิติมาเป็นเหตุสนับสนุน การศึกษาผลงานเชิงคุณภาพมาเป็นข้อคิดในการออกนโยบาย การคิดเชิงตรรกะศาสตร์ ซึ่งมันก็เป็นหนึ่งในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ด้วยครับ

บางเรื่องสำคัญเลยล่ะ แล้วก็ไม่ได้จบมาแบบสบายๆชิลๆเสียด้วยซ้ำ
ยากพอๆกับพวกวิทย์ทางสายชีวะเคมีเสียด้วยซ้ำ คนเรียนสถิติมาจะหัวระเบิดเอา


ยิ่งการบริหารแล้ว การตึงเกินไปยิ่งทำให้จัดการได้ยาก
อย่าว่าแต่วิทยาศาสตร์เลย เอาแค่รัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์เท่านี้ ถ้าเคยศึกษาคร่าวๆมาจะเข้าใจครับว่าทำไมศาสตร์สองส่วนที่เน้นเรื่องการปกครองเหมือนกันถึงมีความแตกต่างกัน

แต่อย่างไรก็ตามการยืดหยุ่นมันก็ต้องมีหลักคิดที่ถูกจุด หากจะเลี่ยงหรือผ่อนผันก็ต้องถูกจุดด้วยเช่นกัน
ดังนั้นถ้าบางหน่วยงานหรือกระทรวงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มันก็ต้องมีผู้ชำนาญเรื่องวิทย์มาให้ข้อเท็จจริงประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้องด้วย

สรุปว่าจำเป็น แต่ว่าต้องว่ากันเป็นกรณีๆไป
เหมารวมไม่ได้ครับ เพราะการบริหารจำต้องใช้ศาสตร์และศิลป์เข้าร่วมผสมกัน จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเดี่ยวไม่ไหวหรอกครับ


ปล. มองว่าการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลจำเป็น และต้องโหวตถึงจะโพสได้ ก็ขอเลือกด้านซ้ายแก้ขัดไปก่อนก็แล้วกัน

0
Solstice 30 มิ.ย. 56 เวลา 14:09 น. 4

วิทยาศาสตร์ให้ในบางกรณี หรือบางนโยบายเท่านั้น

แต่วิธีคิด วิธีการบริหารจัดการต้องมีการนำการคิดแบบวิทยาศาสตร์มาประยุคก์ใช้ในการจัดการปัญหา

แต่ไม่ว่าจะเอาความสามารถด้านไหนมาจับใช้ในการบริหารประเทศ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากการที่ผู้นำ "ยอมรับ" ถึงปัญหานั้นว่ามีอยู่จริงก่อน จึงจะสามารถเห็นปัญหาและจึงจะลงมาแก้ไขสิ่งบกพร่องนั้นได้นั่นเอง

นั่นจึงขอโหวตฝั่งขวาจ้า

0
ZnekS 30 มิ.ย. 56 เวลา 14:41 น. 5

ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของเจ้าของกระทู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะกระบวนการคิดของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายที่เรียนหรือทำงานมาทั้งหมด (บางคนก็เรียนวิทย์ทำงานศิลป์ บางคนก็เรียนศิลป์ทำงานวิทย์) คนที่ทำงานสายวิทย์ก็เป็นแค่คนธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้ตัดสินใจไปตามเหตุผลซะทุกเรื่อง รวมไปถึงการจะมีอคติกับอะไรซักอย่างมันก็เป็นเรื่องธรรมดา

คนที่ทำงานสายศิลป์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถใช้หลักตรรกะหรือเหตุผลได้ดีเทียบเท่ากับสายวิทย์ อาชีพบางอย่างที่ไม่ใช่สายวิทย์นั้นจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการนำหลักเหตุผลมาประยุกต์ใช้มากกว่าอาชีพสายวิทย์บางประเภทซะด้วยซ้ำ

ดังนั้นถ้าวัดกันที่กระบวนการคิดนั้นข้าพเจ้าว่าไม่จำเป็น
แต่เนื่องจากหัวข้อโพลล์คือ คิดว่าคนทำงานสายวิทยาศาสตร์ จำเป็นแค่ใหนกับรัฐบาล
ดังนั้นคำตอบของข้าพเจ้าคือจำเป็นอย่างมาก เพราะผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นจควรจะเป็นบุคลากรสายวิทย์ที่มีความสามารถ

0
Prisma Dominatus 30 มิ.ย. 56 เวลา 14:44 น. 6

ผมเห็นว่านักวิทย์ ควรจะมีส่วนตัดสินชะตาของประชาคมตัวเอง ด้วยการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาล

ควารู้ความชำนาญไม่เกี่ยวครับ ของพวกนี้ต้องเรียนรู้ ต่อให้เป็น ศ. แต่ถ้าเข้าการเมืองก็คงไม่ได้ทำงานด้านวิจัยแล้วครับ ต้องให้คนอื่นทำแทน (บริหาร) แต่เรื่องการเป็นตัวแทนผลประโยชน์ จะมีใครทำได้ดีกว่าคนที่เจอจริง เจ็บจริงมาก่อน

0
K[i]S{E}R 30 มิ.ย. 56 เวลา 23:13 น. 8

ผมเข้ามาบอกว่า ผมเรียนสายวิทย์

เมื่อก่อนเคยอุตริถามอาจารย์เหมือนกันว่า

"ถ้าคณิตศาสตร์สอนให้ผู้เรียนมีเหตุผลจริง... คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้(หรือเรียนไม่เก่ง)เป็นคนไร้เหตุผลงั้นหรือ?"

แล้วอาจารย์ก็ตอบกลับมาว่า
"ไม่เกี่ยวกันหรอก วิชาฟิสิกส์,คณิตศาสตร์ ที่ให้แก้โจทย์ยากๆ เป็นแค่การฝึกให้สมองทำงานเท่านั้น กระบวนการคิดของคนเราจะสมเหตุสมผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองต่างหาก"

อันนี้ความเห็นส่วนตัว 
จริงๆ แล้วไม่ต้องเรียนวิทย์ก็มีวิธีคิดแบบวิทย์ได้  แค่ไตรตรองถึง เหตุและผล ก็ถือเป็นกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์แล้ว

เข้ามาดิทเพิ่ม ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องกระบวนการความคิดต่อการบริหาร หรือทำงานในสภาแล้ว ท่านเคยได้ยินคำว่า
"อำนาจของราชาไหมครับ"
คิดว่าผู้ที่ครอบครองอำนาจนี้ จำเป็นต้องเก่งที่สุดในทุกด้านหรือเปล่า???

ถ้าถามความเห็นผม ราชาไม่จำเป็นต้องเก่งกาจในทุกด้านเลย แต่ราชาคนนั้นควรจะมีอำนาจที่ดึงดูดให้เหล่าบริวานหลอมรวมเข้าเป็นปึกแผ่นได้ พูดง่ายๆ ก็คือการเป็นที่รักสำหรับบริวานทุกคน คือสิ่งสำคัญที่สุด

ยกตัวอย่างก็เช่น คนที่มีความสามารถล้นเหลือ แต่อุปนิสัยของเขาไม่ดีพอให้คนรอบข้างอยากติดสอยห้อยตามไปตลอดได้ ก็ถือว่า คนผู้นั้นขาดคุณสมบัติของราชา...

ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้นำอะไรก็ช่างโปรดอย่ามองว่าเขาคือคนเก่งที่สุด แต่จงมองว่าเขาคือบุคคลอันเป็นที่รักของเหล่าบริวานของเขาจะดีกว่า 

0
Ryoma_Kung 24 ส.ค. 56 เวลา 22:22 น. 9

สายวิทย์ทำงานพัฒนาประเทศ
สายศิลป์ทำงานวางเเผนบริหารประเทศ
ถ้าไม่มีสายวิทย์ประเทศไม่พัฒนาหรือพัฒนาช้า
ถ้าไม่มีสายศิลป์ไม่มีคนวางเเผนให้เข้ากับความต้องการของประชาชนว่าตอนนี้ประชาชนต้องการอะไรเเล้วควรทำอะไรก่อนหลัง
คิดดูดีๆทั้งสองสายสำคัญเหมือนกันขาดสิ่งใดไปก็เหมือนคนพิการทำอะไรไม่ถนัด

0
Nutty4U ^^ 24 ม.ค. 58 เวลา 02:15 น. 11

ผมว่ากระทู้นี้มันออกเอียงๆ ไปนิดนึง

แต่โดยรวมคือ ผมต้องการให้ "มี" ครับ แต่ทีนี้ คำถามที่ตามมาคือ
- มีแล้วเอาไปทำอะไรต่อ
- แล้วทำอะไรบ้าง
- นอกจากบุคลากรทางวิทย์แล้ว เราสามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มไหนได้อีกบ้าง?

อย่าลืมนะครับ คนเราขาดสมดุลไปได้ แต่ไม่ขาดจะดีกว่า
เหมือนเรามีตาข้างเดียวอีกข้างนึงบอด โอเคว่าเราอาจจะมองเห็นสิ่งรอบตัวอยู่ แต่ทว่าในสายตาคนภายนอกเขามองว่าเราขาดสมดุล เรามีองค์ประกอบไม่ครบอะไรแบบนี้

ผมเข้าใจว่า เจ้าของกระทู้ดีเบตมี main quote อย่างนึงในอุดมคติคือ...

"วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมีเหตุผล และการมีหลักการ"

อะไรประมาณนี้ เพราะผมเห็นสิ่งที่ผู้ตั้งกระทู้อภิปรายมาพยายามสื่อให้เห็นเช่นนั้น
แต่ นั้นย่อมไม่ใช่สิ่งที่เป็นประเด็นหลักทั้งหมดแน่

เพราะฉะนั้น ผมอยากแนะนำให้เจ้าของกระทู้ดีเบตไปศึกษาประวัติของคนคนนึงดูครับ

"แองเกลา แมร์เคิล"

และเจ้าของกระทู้ดีเบตจะรู้เองครับว่า ที่จริงแล้วมันไม่เสมอไปครับ ที่ฝ่ายบริหารประเทศจะมาจากสายศิลป์หรือสายอื่นๆ อยู่แล้ว


0
aokspan5 25 ส.ค. 58 เวลา 17:29 น. 12

ผมขอเลือกบริหารมนุษย์สำคัญกว่าวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆมันจำเป็นด้วยกันทั้งหมดองค์รวมมันเกี่ยวเนื่องกันหมด 

          ประเทศชาติจะเจริญได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์สูงสุด  แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรในประเทศ

           สมมุติประเทศเก่งชิบเป๋งเรื่องวิทยาศาตรฺฺ์  แต่ขาดคุณธรรมเอารัดเอาเปรียบเห็นแก่ตัวแข่งขันกัน อย่างนี้หละจะเป็นยังไง !

 
       เมื่อเราวางโครงสร้างพัฒนาคนมาก่อนสิ่งอื่นนั่นคือพัฒนาตั้งแต่เด็ก สอนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม แบ่งปัน ไม่ใช่การแข่งขันสอบให้ได้คะแนนมากๆอย่างทุกวันสังคมไทยเรียนเยอะแต่ทำไมจัดอันดับคุณภาพห่วยแตก ! 

        สอนให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้  สอนให้คิดอย่าไปคัดขวางไม่ใช่เรียนกันแต่ตำรา  พอจบมาทำอะไรไม่เป็นซึ่งก็เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน  การลงมือทำสำคัญมากเพราะจะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  

         อย่างเช่นญี่ปุ่นประชากรมีคุณภาพอย่างเห็นได้ชัดประเทศก็เจริญเร็วอย่างก้าวกระโดด


สรุปได้เลยว่า  การปกครองบริหารมนุษย์นั้นสำคัญที่สุดในการจะต่อยอดทำสิ่งต่างๆ
         

0