Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มธ. เผย 10 อันดับคณะ บัณฑิตจบใหม่ ได้เงินเดือนสูงสุด

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            มธ. เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ ชี้แพทย์ ได้เงินเดือน เงินเดือนสูงสุด ส่วนโอกาสทำงาน บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และสหเวชศาสตร์ มีงานทำสูงสุด 100%

            เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดเผยผลการสำรวจ "ภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554" ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 และติดตามภาวะการมีงานทําต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 โดยนําเสนอข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมรายกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

            โดยผลสํารวจภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554 พบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ สําเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 5,693 คน และได้ตอบแบบสํารวจภาวะการมีงานทํา 5,107 คน (ร้อยละ 90.75) ในจํานวนนี้

             มีงานทําแล้ว ร้อยละ 71.33 (3,643 คน)
             ยังไม่ได้ทํางาน ร้อยละ 1.53 (78 คน)
             ศึกษาต่อ/อื่น ๆ ร้อยละ 27.14 (1,386 คน)

            เมื่อพิจารณาข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิตในรายคณะ เรียงลําดับตามร้อยละการมีงานทําเทียบกับผู้สําเร็จการศึกษาสูงสุด

             อันดับแรก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตมีงานทําสูงสุด ร้อยละ 100 เท่ากัน
             อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57
             อันดับ 3 คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร้อยละ 98.54
             อันดับ 4 คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร้อยละ 98.26
             อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92

            ส่วนประเภทงานที่ทำ

             พนักงานบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 68.71 (2,503 คน)
             ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 12.93 (471 คน)
             ธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.91 (288 คน)
             ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 4.97 (181 คน)
             พนักงาน/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.78 (65 คน)
             พนักงานองค์การต่างประเทศ/ระหว่างประเทศ ร้อยละ 1.15 (42 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 2.55 (93 คน)


            โดยบัณฑิตที่ได้งานทําแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,059.69 บาท โดยคณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่

            1. คณะแพทยศาสตร์ 46,477.74 บาท
            2. คณะทันตแพทยศาสตร์ 38,030.85 บาท
            3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 23,577.91 บาท
            4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 23,532.06 บาท
            5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 22,902.01 บาท
            6. คณะเศรษฐศาสตร์ 20,142 บาท
            7. คณะศิลปศาสตร์ 19,813.05 บาท
            8. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 19,112 บาท
            9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ 18,826.75 บาท
            10. คณะสหเวชศาสตร์ 18,693.14 บาท
            11. คณะรัฐศาสตร์ 18,450.84 บาท
            12. คณะพยาบาลศาสตร์ 17,977.80 บาท
            13. คณะนิติศาสตร์ 17,577.93 บาท
            14. คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง 17,026.53 บาท
            15. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16,722.40 บาท
            16. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,638.21 บาท
            17. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 16,561.64 บาท
            18. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 14,552.77 บาท
            19. วิทยาลัยสหวิทยาการ 13,482.53 บาท


            โดยความรู้ความสามารถพิเศษที่ทําให้ได้งานทําสอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา คือ

             กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ด้านภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 44.04
             กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.31
             กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ อื่น ๆ (ซึ่งระบุว่า เป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาชีพ) ร้อยละ 25.67

            โดยบัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทําตรงสาขาที่สําเร็จ ร้อยละ 96.90 (3,530 คน) และสามารถนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทําได้ในระดับมาก ร้อยละ 37.47 (1,365 คน) และพึงพอใจต่องานที่ทํา ร้อยละ 85.59 (1,819 คน)


            ส่วนบัณฑิตที่ไม่พึงพอใจในงานที่ทํา มีสาเหตุเนื่องจาก

             ไม่พอใจค่าตอบแทน ร้อยละ 25.14 (132 คน)
             ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ร้อยละ 21.90 (115 คน)
             ระบบงาน ร้อยละ 20.00 (105 คน)
             ขาดความก้าวหน้า ร้อยละ 11.81 (62 คน)
             ขาดความมั่นคง ร้อยละ 8.95 (47 คน)
             สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 8.19 (43 คน)
             ผู้ร่วมงาน ร้อยละ 4.00 (21 คน)


            สําหรับบัณฑิตยังไม่ได้ทํางาน (78 คน) นั้น มีสาเหตุมาจาก

             ยังไม่ประสงค์จะทํางาน ร้อยละ 43.59 (34 คน)
             รอฟังคำตอบจากหน่วยงาน ร้อยละ 32.05 (25 คน)
             สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 21.79 (17 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 3.70 (2 คน)


            สําหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อ (1,371 คน) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ร้อยละ 70.75 (970 คน) โดย

             เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม ร้อยละ 49.23 (675 คน)
             เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาใหม่ ร้อยละ 47.12 (646 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 (50 คน)


            เมื่อพิจารณาแหล่งการศึกษาต่อ พบว่า

             ศึกษาต่อในประเทศ ร้อยละ 77.61 (1,064 คน)
             ศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 22.39 (307 คน)


            เหตุผลที่ตัดสินใจศึกษาต่อส่วนใหญ่เนื่องจาก

             งานที่บัณฑิตต้องการต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.97 (548 คน)
             เป็นความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ร้อยละ 26.55 (364 คน)
             เหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 24.29 (333 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 4.67 (64 คน)
             ได้รับทุนศึกษาต่อ ร้อยละ 4.52 (62 คน)

ที่มา kapook.com 

แสดงความคิดเห็น

>

16 ความคิดเห็น

ชัยนยน้เ 6 ส.ค. 56 เวลา 13:28 น. 3

ถูกเลยย เห็นเด็กสมัยนี้ชอบถามว่างานอะไรสบายเงินเดือน 7 หมื่น จะมีมั๊ะ?? ประสบการณ์ก็ไม่มีเค้าให้ 15000-17000 ก็บุญแล้ว

0
เหอๆ 6 ส.ค. 56 เวลา 18:33 น. 4

ต้องทำความเข้าใจอย่างหนึ่งนะครับ น้องๆ

ข้อมูลดังกล่าว ได้มากจาก การทำ"แบบสำรวจ" จากบัณฑิต ที่จบออกไป
ไม่ได้แบบ ไปดูว่า บัณฑิตที่จบไป มี งานทำจริงไหม ?
เงินเดือนเท่านี้จริงเปล่า ? อะไรแบบนี้

ข้อมูลทั้งหมด เกิดจากการตอบ "แบบสอบถาม"
ซึ่งก็จะมี นศ. มธ. ประเภท ชอบโกหกหลอกลวงเป็นอาจิณ รวมอยู่ด้วย

เอาง่ายๆ นะน้อง
บัณฑิต มีงานทำสูงสุด
อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57
อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92

น้องคิดว่า ข้อมูลนี้ มันจริงๆ ไหมละ = ='
ที่ 2 คณะนี้ จะติด Top Five มีงานทำสูงสุด ?

ตกใจ

เจอ ข้อมูลอะไร ต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ กันหน่อยนะจ๊ะ

ยิ่งมหาวิทยาลัยนี้ชื่อเก่าคือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการสร้างภาพ เอ๊ะ การเมือง
มหาวิทยาลัยที่ดังด้านการเมือง จะเก่งเรื่องสื่อ เรื่องการ PR ม. ตัวเองอยู่แล้ว

0
ดำำไดำไ 6 ส.ค. 56 เวลา 18:46 น. 5

ธรรมศาสตร์สร้างภาพไปครับ คณะสังคมวิทยาและมนุษวิทยา มีงานืำ97.92 ไปบอกคนไม่ได้รู้เรื่องเค้ายังรู้เลยว่าโกหด ไม่ต้องถามว่าทำไม เพราะเปอร์เซ็นสูงขนาดนั้ คณะเภสัชยังไม่ถึงเลยครับ(มธยังไม่เปิดแต่ดูจากมหาวิทยาลัยอื่นได้)

0
PHOCC 6 ส.ค. 56 เวลา 19:08 น. 6

อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ จบแล้วน่าจะทำงานแนว safety ไม่ก็สิ่งแวดล้อม เรียนต่อ นักวิชาการตามกระทรวงสาธารณสุขต่าง ๆ หรืออื่น ๆ แล้วแต่สาขา ไม่แปลกใจที่เปอร์เซนต์การได้งานจะมาก ความคิดเห็นที่ 3 คงไม่รู้จักคณะนี้จริง ๆ...ขอตอบแทนสา'สุข มธ.จากสา'สุขเหมือนกัน

0
เลิกหลอกตัวเอง 6 ส.ค. 56 เวลา 20:35 น. 7

พอดี มี ญาติ จบ คณะนี้

ชัวร์ ครับ ข้อมูลที่บอก มัน Fake

ขนาด สา'สุข มหิดล ยังมี คนตกงาน % สูง ในบรรดาวิทย์สุขภาพทั้งหมดของมหิดล

สา'สุข ธรรมศาสตร์ พึ่งเปิด ไม่เหลือหรอกครับ ?

สา'สุข มธ ที่พึ่งเปิด % มีงานทำ สูงกว่า มหิดล ทีเ่ปิดมาร่วม 60 กว่าปี

ตลกดี นะครับ เอ๊ะ หรือว่า มหิดล Drop ลงแล้ว ?

เยี่ยม

0
แต๋น 6 ส.ค. 56 เวลา 21:51 น. 8

อุแหม่ ถามเอง ตอบกันเอง มันก็ต้องสร้างภาพกันธรรมดา ถ้าทำงานในหน่วยงานรัฐ จะเป็นราชการ ลูกจ้าง ปริญญาตรี หมื่นห้าแน่นอน ไม่ว่าบัญชี วิศวะ เศรษฐ นิติ รัฐศาสตร์
คณะทีมีงานทำ ทุกคน มีแค่2คณะ หมอกับทันตะ ต้องรับราชการใช้ทุนทุกคน ทุกสถาบันในคณะแพทย์กับทันตะของม.รัฐ ถ้าไม่ยอมทำต้องโดนปรับ คนละ4แสนมั้ง
อย่าง สาธารณะสุข สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ รัฐศาสตร์ ก็รู้ๆหางานยากมาก มาบอกแบบนี้ ใครจะเชื่อ ที่เคยเห็นจบสังคม มานานแล้ว ตอนนี้ยังต้อง ทำส่วนตัวอยู่เลย เพราะที่เรียนจบมา ยังหางานไม่ได้ตกใจ

0
lllPatlll 6 ส.ค. 56 เวลา 21:58 น. 9

ที่เปอร์เซนต์ดูสูง เพราะจำนวนบัณฑิตที่จบของคณะนั้นๆอาจจะน้อยกว่าที่อื่นๆ เลยทำให้%การได้งานดูสูงกว่าที่อื่นๆก็เป็นได้

0
ดดดดด 6 ส.ค. 56 เวลา 22:52 น. 10

แล้วญาติคุณเรียน สาขา เอก ไรอ่าค่ะ หึ หึ ปล เบื่อจริงะวกไม่รู้จริง อ้างว่ามีคนรู้จักจบมา แล้วคุณรู้เกรอว่า สาขาไหนตกงาน สาขาไหนบ้างไม่ตกงาน แถมค่าตอบแทนสูงจนไม่น่าเชื่อ นี้แหละน้าความคิดแบบนี้ทำให้คนมองคณะนี้ไม่ดี น่าเศร้าจริงๆ ค่ะ

0
afaf 6 ส.ค. 56 เวลา 23:39 น. 11

ญาติผมเรียน occ
สาขา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ใช่ว่า จะได้งานทุกคน นิครับ

ค่าตอบแทนสูง มันก็แค่ไม่กี่คน ?
ก็เป็นพวกเกรดสูง ภาษาอังกฤษดี
ปีนึง เชฟรอน ปตท. เขารับ Safety กี่คน ครับ ?
บางปี เขาก็ไม่รับ
ยิ่งงานลงแท่น นี่ เขาแทบจะรับแต่ผู้ชาย
แต่ occ มีผู้หญิงเรียนเกินครึ่ง ?

Food ก็ไปแย่งงาน กับพวก Food Sci Food Tech ม.อื่น
์Nu ก็แย่งงานกับ Nu จุฬาฯ แถม จุฬาฯ เรียนวิชาภาค Nu ตั้งแต่ปี 2 แน่นกว่า
ComHealth ก็ไปแย่งงานกับ พวกสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
็ำHealth Ed. ก็ หลักลอย ถ้าสอบราชการก็ไปแข่งกะ ComHealth

สรุป คือมีเอกดีเอกเดียว คือ Occ. คืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ซึ่ง อัตราการได้งานและเงินเดือน ขึ้นอยู่กับ
1.เกรด
2.ภาษาอังกฤษ toeic ต้องไม่ต่ำกว่า 550 ถ้าจะเอาบริษัทดีๆ
3.เพศชาย โอกาสได้งาน จะดีกว่าเพศหญิง

0
แกงจืดหมูสับ 7 ส.ค. 56 เวลา 00:33 น. 12

ก่อนบอกว่า fake ต้องดูให้รอบด้านก่อนครับ
ที่บอกว่าได้งาน 90% กว่านี่ยังคือจาก 71% นะครับเพราะอีก 27% ศึกษาต่อ แล้วศึกษาต่อนี่ก็หมายความว่าบางส่วนอาจจะไม่ได้ทำงานด้วย อ่อแล้วก็ 100% ที่ว่านี่ก็ตอบเพียงแค่ 90% จากนักศึกษาทั้งหมดที่จบด้วยนะครับ แล้วถ้า 10% ที่ไม่ตอบเพราะไม่ได้งานแล้วถ้าไม่นับรวมพวกเรียนต่อก็จะถ่วงการมีงานทำลงไปอาจจะเหลือแค่ 60% นิดๆก็ได้นะครับ

แล้วอีกกรณีหนึ่งที่ว่าสังคมวิทยา 97.92% ไม่น่าเชื่อก็ให้มาดูเงินเดือนกันก่อนครับต่ำเป็นอันดับท้ายๆเลย ซึ่งมันอาจจะตีความได้ว่าการไม่เกี่ยงเงินเดือนอาจจะทำให้มีโอกาสมีงานมากขึ้นนะครับ อ่อแล้วอย่าลืมหักลบคนที่ไม่ตอบแบบสอบถามกับเรียนต่อด้วยล่ะอาจจะแค่ 90% ก็ได้นะครับ

เผื่อใครต้องการรู้ว่าแต่ละสาขามีจำนวนเท่าไหร่ ได้เกียรตินิยมกี่คนก็ไล่ดูได้เลยครับ
http://web.reg.tu.ac.th/registrar/GRADUATE_DATE.asp?acadyear=2554&facultyid=8

0
anakin 7 ส.ค. 56 เวลา 19:54 น. 13

จริงๆมา confirm คณะพาณิชย์ค่ะ
บัญชีบัณฑิต จบมามีงานทำ 100% แน่ๆ เพราะพวก Big4 KPMG, PWC, Deloite, EY มารับเข้าทำงานตั้งแต่ยังไม่จบเลยค่ะ ส่วนเวลาเริ่มงานก็เลือกได้ว่าจะเริ่ม พ.ย. หรือ เม.ย. หรือ ก.ค. อันนี้การันตีได้ขนาดเกรด 2.5 ก็ยังรับ แต่เค้าก็รับเฉพาะบางมหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะบริษัทออดิทพวกนี้คนขาด อัตราการลาออกสูง ต้องการคนเข้าไปทำเยอะ ทำงานหนัก เลิกเที่ยงคืนเป็นปกติ กลับเช้าค้างบริษัทก้มีมาแล้ว พวกเราถึก พวกเราเลยได้งานกัน ส่วนบางคนอาจจะมีไปทำสายบริษัทบ้างอย่าง ปตท scg ปูนอินทรีย์ uniliver ตามความชอบ ที่เหลือก็ไปเรียนต่อกัน
ส่วนบริหาร ที่รู้มาส่วนมากก็มีงานทำกันเยอะ ส่วนพวกไม่มีงานไม่เรียนต่อ ก็อ้างว่าทำกับที่บ้าน ซึ่งลูกเจ้าของบริษัทที่นั่งเรียนด้วยกันมาก็มีไม่น้อย

0
งงไร 7 ส.ค. 56 เวลา 20:54 น. 14

ก็น้อยกว่าวิศวะอยู่ดี ถึงแม้วิศวะ ธรรมศาสตร์จะยังไม่มีชื่อเสียงมากนักเท่าวิศวะสถาบันอื่นๆ ยิ่งถ้าวิศวะสถาบันอื่นคงเงินเดือนมากกว่านี้

0
anakin 8 ส.ค. 56 เวลา 10:34 น. 15

ขอไม่เทียบกับวิศวะนะคะ เพราะเรียนกันคนละแนวเลย เงินเดือนวิศวะย่อมมากกว่าอยู่แล้ว อันนี้แค่เล่าให้ฟังว่าที่เถียงกันเรื่องมีงานทำน่ะ มีชัวร์ แต่จะทำหรือเปล่าเพราะตลาดแรงงานเฉพาะกลุ่มมันขาด ขณะเดียวกันถ้าอยากเพิ่มเงินเดือนเรียน BBA ก็ได้ค่ะ ได้งานในบริษัทต่างชาติ บางคนเป็นเด็ก Case แข่งระดับโลก Start เป็นแสนก็มี แล้วแต่ใจใครไขว้คว้าตามความสนใจและความสามารถ เพราะเรียนที่นี่การแข่งขันสูง ต้องพร้อมตลอด ไม่งั้นโดนเหยียบค่ะ

0