Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความเป็นมาของแซนวิช ซึ่งทุกคนอาจยังไม่รู้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
1.นายแซม เมเจอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษ ได้ออกเดินทางไปทั่วโลกเพื่อค้าขายสินค้าไปทั่วโลก โดยเอาของจากประเทศหนึ่ง ไปขายอีกประเทศหนึ่ง พอขากลับ ก็เอาสินค้าจากที่นั่นไปขายต่ออีกที่ ทำเรื่อยๆอยู่อย่างนี้ จนมีฐานะร่ำรวย

วันหนึ่ง เขาได้เดินทางมายังน่านน้ำเมืองไทย ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งการทูตของไทยกับต่างชาติกำลังบูม หลังจากอยู่ในเมืองไทยได้ 2 เดือน เขาก็ได้ลูกเรือคนใหม่เป็นชาวไทย ชื่อ นายสน และเขาก็กำลังจะกลับบ้านที่อังกฤษ

ระหว่างการเดินทางนั้น ก็มีการค้าขายสินค้าอยู่ที่เมืองระยอง ซึ่งเป็นเมืองต้นกำเนิดของเพลงสกา (รายละเอียดหาอ่านเอาในกระทู้ล่างๆ หรือกดที่ชื่อล็อคอินผม แล้วหากระทู้เอาเอง) จนได้เงินทองมามากมาย ข่าวก็ลอยไปถึงหูของโจรสลัดที่อยู่บริเวณนั้น จนกระทั่งหัวหน้าโจรสลัดพาลูกน้องขึ้นเรือมาดักปล้น ขณะที่เรือกำลังลอยคว้างอยู่กลางทะเล เพราะกำลังมุ่งหน้าไปแหลมมลายู นายแซม และนายสน และเหล่าลูกเรือทั้งหลาย ต่างก็ต่อสู้เพื่อรักษาเรือของตัวเองไว้อย่างสุดกำลัง แต่ก็ไม่อาจต้านทานความเก่งกาจของเหล่าโจรสลัดได้ แถมก่อนจะหนีไป -โจรใจร้ายยังได้เจาะเรือของพวกเขา จนเป็นรูน้อยใหญ่หลายจุด

โชคดีที่นายสนเป็นช่างเรือที่ ชำนาญพอสมควร จึงได้ซ่อมแซมรอยรั่ว แต่น้ำก็ยังทะลักเข้ามาไม่ยอมหยุด นายแซมจึงจะนำเรือไปซ่อมที่นครศรีธรรมราช ระหว่างทาง นายแซมต้องเกณฑ์ลูกเรือทั้งลำมาช่วยกันวิดน้ำออกจากเรือ ในตอนที่ซ่อมอยู่นี้ นายแซมเห็นลูกเรืออ่อนระโหยโรยแรง จึงได้นำปีกไก่มาประกบกับขนมปัง แล้วแจกให้คนงานที่วิดน้ำอยู่ได้ทานกัน เพื่อที่ว่าขณะที่กำลังกินอยู่ จะได้มีมืออีกข้างหนึ่งไว้วิดน้ำไม่ให้เข้าเรือด้วย สุดท้าย นายแซม สน และลูกเรือทั้งหลาย ก็พาเรือมาถึงนครศรีธรรมราชด้วยความเกือบปลอดภัย

ระหว่างที่รอเรือ ซ่อมอยู่นี่เอง นายสนเกิดความคิดดีๆขึ้น เขาได้นำขนมปังมาประกบกับปีกไก่แบบที่นายแซมเคยทำ แล้วนายสนก็ได้นำมาขาย ปรากฎว่า ชาวเมืองนครศร๊ธรรมราชถูกใจอาหารแปลกๆชิ้นนี้มาก จึงได้สอบถามนายสนว่านี่คืออะไร นายสนก็อธิบายไปว่า มันคือขนมที่นายแซมกินตอนวิดน้ำออกจากเรือ คนนครศรีธรรมราชก็เลยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า ขนมแซมวิดน้ำ

หลังจากไปถึงอังกฤษ นายแซม ก็ได้ทำขนมแซมวิดน้ำออกวางขายบ้าง แต่มีชื่อเรียกที่ยาวเกินไป ชาวอังกฤษเลยเรียกแบบสั้นๆว่า ขนมแซมวิช จนเพี้ยนมาเป็น แซนวิช จนถึงทุกวันนี้

______________________________________________________________________

หรืออีกประการหนึ่งของเเซนวิส


การกินขนมปัง (Bread) ควบคู่กับอาหารประเภทอื่นๆ นั้น มีมาตั้งแต่สมัยที่มีการผลิตขนมปังในช่วงยุคหินใหม่ (Neolithic; 10,000 ปีก่อน ค.ศ.) แล้ว ตัวอย่างเช่นนักบวชชาวยิวนามว่า ฮิลเลล (Hillel) ได้ใช้ขนมปังแมทซา (Matzah; เป็นขนมปังกรอบ (Cracker) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมปังทำจากแป้งผสมกับน้ำ) ห่อเนื้อลูกแกะและผักรสขมเพื่อใช้กินในช่วงเทศกาลในฤดูใบไม้ผลิ (Passover)

ในช่วงยุคกลาง (Middle Aga) มีการนำเอา เทรนเชอร์ (Trenchers; เขียง) ที่ทำจากแป้งหนาและหยาบมาใช้เป็นจานใส่อาหาร หลังจากกินเสร็จแล้วก็จะนำเอาเทรนเชอร์ไปให้สุนัขหรือขอทาน หรือบางครั้งเจ้าของก็อาจจะกินเสียเอง (or eaten by the diner) – เทรนเชอร์ถือเป็นต้นแบบของแซนดิช (Sandwich)

ต้นกำเนิดวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงมาสู่แซนวิชของชาวอังกฤษนั้น พบว่ามาจากในช่วงศตวรรษที่ 17 ในประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งนักธรรมชาติวิทยา (Naturalist) ที่ชื่อ จอห์น เรย์ (John Ray) ได้ลองทำตาม (Observe) โรงขายเหล้า (Tavern) ที่แขวนเนื้อวัวไว้กับคาน (Rafter) แล้วแล่เนื้อเป็นชิ้นบางๆ นำไปกินคู่กับขนมปังและเนย โดยวางเนื้อที่แล่ออกมาลงบนเนย

คำว่า แซนวิช ในภาษาอังกฤษปรากฏครั้งแรกในวารสาร (Journal) ของ เอ็ดเวิร์ด กิบบอน (Edward Gibbon) ซึ่งใช้อ้างถึง ชิ้นเนื้อเย็นๆ ชิ้นเล็กๆ (bits of cold meat) – ชื่อดังกล่าวตั้งตามชื่อของ จอห์น มอนทากู (John Montagu) หรือ เอิร์ลแห่งแซนวิชที่ 4 (4th Earl of Sandwich) ซึ่งเป็นขุนนางชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 18 – กล่าวกันว่า ลอร์ดแซนวิช ได้คิดค้นรูปแบบของอาหารชนิดนี้ขึ้นมา เพื่อให้สะดวกในการ "เล่นไพ่" โดยไม่ทำให้สำรับไพ่ของเขาเลอะเทอะจากการกินเนื้อด้วยมือเปล่า

ข่าวลือดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในหนังสือชื่อ Pierre-Jean Grosley’s Londres (Neichatel, 1770) และถูกแปลมาเป็น A Tour to London 1772 – ซึ่งกรอสเลย์ (Grosley) ได้มารู้จักกับอาหารชนิดนี้และเกิดความความประทับใจ ในช่วงที่เขามาอยู่ลอนดอนในปี 1765 – นอกจากนี้ เอ็น.เอ.เอ็ม ร๊อดเจอร์ (N.A.M. Rodger) ได้นำเข้ามาใช้ในกิจการราชนาวี แล้วจึงแพร่หลายเข้ามาสู่โต๊ะอาหารของคนทั่วไปในที่สุด

ความนิยมในการกินแซนวิชในประเทศสเปนและอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระหว่างศตวรรษที่ 19 เมื่อสังคมเปลี่ยนมาสู่สังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำได้เร็ว, สะดวกและราคาไม่แพง และในเวลาเดียวกัน แซนวิชก็เริ่มเป็นที่รู้จักในหลายประเทศนอกทวีปยุโรป จนกระทั่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ขนมปังกลายมาเป็นอาหารหลักของชาวอเมริกัน แซนวิชก็กลายมาเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม นอกจากนี้ความนิยมของแซนวิชยังได้แพร่ขยายไปจนถึงแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) อีกด้วย

______________________________________________________________________

ใครจะเชื่อตำนานเเซนวิสอันไหนเเล้วเเต่บุคคล #ฝากไลค์เเละคอมเมนต์ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

จขกท 27 ส.ค. 56 เวลา 21:13 น. 2

บ่ใช่ในไทยค่ะเพราะเเซนวิส ไม่ได้ถือกำเนิดในไทย เราเอาจากฝรั่งมาต่างหากละ ขอบคุณที่คอมเมนค์จากใจ จขกท ค่ะ

0
รุ่งโรจน์​ 29 ส.ค. 61 เวลา 11:06 น. 4

ไม่อยากให้เอาเรื่องแต่งเองมาใส่ในส่วนที่เป็นเกร็ดความรู้​ เพราะอาจมีคนเข้าใจว่าจริง เผยแพร่​ไปจะเป็นการให้ความรู้​แบบผิดๆ

0