Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ราชวงศ์จักรี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ราชวงศ์จักรี



ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทย ต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ยุคของราชวงศ์นี้เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"

ที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่ง สมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของ พระนารายณ์ พระบาทสมเด็จพระพุธทยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้าง พระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ ๑ สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชงวศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจุบัน

พระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์
รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒ ครองราชย์ ๒๗พรรษา พระชนมายุ ๗๔ พรรษา )
รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระปรมพงษเชษฐ์มเหศวรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านนภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗ ครองราชย์ ๑๕ พรรษา พระชนมายุ ๕๘ พรรษา)
รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสษฐ์มหาเจษฎาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ ๒๖ ปี พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา )
รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ ๑๖ ปี พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑ พระชมมายุ ๖๖ พรรษา )
รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ ๔๒ ปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓ พระชนมายุ ๕๘ พรรษา )
รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ฯ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ ๑๖ ปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ พระชนมายุ ๔๖ พรรษา )
รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก ฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ ๙ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗ พระชนมายุ ๔๘ พรรษา)
รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ฯ พระอัฐมรามาธิบดินทร์ (ครองราชย์ ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙ พระชนมายุ ๒๑ พรรษา)
รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ (ครองราชย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน)

แสดงความคิดเห็น

>