Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่อง สนุกๆ โบราณคดี 1

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
บทความนี้ผมเขียนให้กับเพจ บตน เอี้ย ในเฟสบุ๊ค เพจนี้เป็นเพจของค่ายโบราณคดีใต้น้ำของคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ถ้าสนใจเข้าไปคุย แลกเปลี่ยนกันได้ในเพจนะฮ๊าฟ                                                                                                              จะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายๆสนุกๆ นะ

เมื่อเราพูดถึงโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยส่วนมากมักจะเข้าใจว่าเป็นการทำงานในแหล่งที่มีเรือจม(เกือบทั้งหมดก็ในสมัยอยุธยาลงมาแล้ว) ...ก็คือในทะเลนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นการตีความภาพรวมของแหล่งโบราณคดีก็คือการศึกษาการค้าและวิถีชีวิตบนเรือ   จนทำให้เราไม่คุ้นชินกับลักษณะการศึกษาแหล่งโบราณคดีแบบอื่นที่อยู่ในงานโบราณคดีใต้น้ำเช่นกัน วันนี้เลยนำเรื่องแหล่งโบราณคดีใต้น้ำแปลกๆมาเล่าสู่กันฟัง(อ่านก็ได้)
เรื่องนี้มาจากหนังสือ underwater archaeology ของ J Y Blot เป็นเรื่องของแหล่งโบราณคดีชื่อ ชาลาไวน์ ที่อยู่ในทะเลสาป Swiss ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แหม ก็คงไม่ได้อยู่ที่เนปาลหรอกนะ ตาสีตาสาแถวนั้น(ซึ่งก็คงรวมนักโบราณคดีด้วย) เขาพบว่ามีเสาไม้หลายเสาอยู่ใต้ทะเลสาป(ใต้นี่หมายถึงริมๆ ฝั่งนะจ้ะ) บริเวณนั้นก็มีการพบโบราณวัตถุสมัยหินใหม่อยู่เนืองๆ หัวหน้างานโบราณคดีในพื้นที่นั้นเกิดไอเดียบรรเจิดตีความว่าเป็นชุมชนสมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่บนผิวน้ำโดยตอกเสาไว้ทำเป็นฐานรองรับโป๊ะ ใช่แล้วโป๊ะที่จะสร้างบ้านไว้บนนั้นด้วยสิ่    แนวคิดนี้เป็นที่ฮือฮาอยู่พักใหญ่จนกระทั่งในปีหนึ่ง เกิดฤดูแล้งทำให้น้ำในทะเลสาปถดถอยไปหลายเมตร ทีมงานนักโบราณคดีไม่รอช้าเข้าทำการขุดค้นทันที ผลจากการขุดค้นปรากฏว่า สิ่งที่เจอสะเทือนใจตาลุงจอมจิ้น คือเตาที่ทำจากดินและที่อยู่อาศัยที่สร้างติดอยู่กับพื้นดิน ที่ยิ่งช้ำคือเมื่อตรวจสอบชั้นดินในยุคหินใหม่พบว่าเป็นดินที่มั่นคงและแห้ง นักโบราณคดีแห่งนั้นได้ตีความแหล่งโบราณคดีนี้ใหม่โดยทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์กลุ่มนั้นจากหลักฐานว่า เริ่มแรกชุมชนนี้ตั้งพื้นที่ติดชายฝั่ง  ในสมัยนั้นชายฝั่งทะเลสาปยังไม่ขึ้นสูงเท่าทุกวันนี้ เมื่อถึงสมัยที่สองมีการสร้างบ้านที่มีเสาและรั้วแต่ยังเป็นชุมชนที่อยู่ติดชายฝั่งอยู่ดี แต่น้ำทะเลก็เริ่มสูงขึ้นมาเป็นบางช่วง จนถึงการล่มสลายของชุมชนนี้มีการกล่าวติดตลกว่า "ในวันสุดท้ายพวกเขาออกไปหาอาหารตามเคย และไม่เคยกลับมาเหยียบผิวน้ำอีกเลย"
           ในประเทศไทย ก็มีแหล่งโบราณคดีในลักษณะคล้ายๆ กันนี้ เห็นได้ชัดในภาคเหนือซึ่งมักตั้งชุมชนบนที่ราบแม่น้ำระหว่างช่องเขา และหลายๆเมืองก็พลาดท่า ไปตั้งในบริเวณที่ต่ำไปหน่อย ประมาณว่าไม่ปรึกษาเพื่อนก็จมน้ำไปตามระเบียบ เรื่องเหล่านี้ปรากฏในตำนานทางภาคเหนือ เช่นตำนานโยนก เวียงหนองล่ม เป็นราก เอ้ย ต้น เราศึกษาการตั้งชุมชนได้จากภาพถ่ายทางอากาศซ้ำยังรู้ด้วยว่ามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างไร การศึกษาเรื่องพวกนี้ช่วยให้เรารู้จักเลือกพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆนะจ้ะ ส่วนเรื่องการตั้งเมืองผิดที่ไว้ว่างๆจะมาลงเรื่องของเมืองสุโขทัยไว้ให้อ่านกันสนุกๆ

แสดงความคิดเห็น

>