Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทุกมหาวิทยาลัยเหมือนกันหมดจริงเหรอ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

 

ทุกมหาวิทยาลัยเหมือนกันหมดจริงเหรอ?

 

วันนี้คุยกับคุณพี่สาว เลยได้หัวข้อตั้งกระทู้มาอีกหนึ่งกระทู้

ในขณะที่เรากำลังวางแผนชีวิตในอนาคตของตัวเองอย่างสนุกสนาน?

ท่านพี่ก็ถามว่า จะเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรจริงเหรอ?

เราก็ตอบว่า จริง

พี่เลยถามว่า แล้วถ้าไม่ติดล่ะ?

เราก็ตอบอีกว่า ก็เสียใจไง ถามแปลก

โอ๊ย!! มหาวิทยาลัยไหนก็เหมือนกันหมดแหละ จะเลือกทำไมมากมาย สอบไม่ติดก็เข้าที่อื่นจะไปเสียใจทำไม?


นี่เป็นคำพูดของคุณพี่สาว ที่กระตุกต่อมความอยากรู้ของเราอย่างแรง

ทำให้เราคิดว่า ทุกมหาวิทยาลัยมันเหมือนกันหมดเหรอ?

ก็จริงที่หลักสูตรมันคล้ายกัน แต่ว่าทัศนคติ มุมมอง มันจะไม่แตกต่างรึไง?

เราเลยอยากถามทุกท่านว่า

ทุกมหาวิทยาลัยเหมือนกันหมดจริงเหรอ?

 

อีกอย่าง ไหนๆ ก็ตั้งกระทู้แล้ว ไม่ต้องไปตั้งเพิ่มอีก รวบยอดไปเลยดีกว่า!!(มามุขนี้อีกและ)

 

ข้าน้อยคาดว่า มีบางท่านในบอร์ดนักเขียนแห่งนี้

ต้องมีประสบการณ์ เฟรชชี่หน้าใหม่ เป็นแน่แท้

อยากให้ทุกท่าน ร่วมแชร์ความรู้สึกตอนขึ้นปีหนึ่งครั้งแรกให้ข้าน้อยได้รับรู้ทีเถอะ ว่ามันเป็นอย่างไร? หรือถ้าใครพึ่งขึ้นปีหนึ่งมาสดๆ ร้อนๆ ก็มาร่วมแชร์ก็ได้นะเจ้าคะ ข้าน้อยอยากรู้ว่าพวกท่านมีความรู้สึกอย่างไรในการรับน้อง

มีการประทับใจมากแค่ไหน?

 

ป.ล จับเนียร์คืออะไร?

ป.ล อีกรอบ  ได้บูมคณะรึเปล่า? แล้วมีความรู้สึกอย่างไรตอนบูม

ป.ล อีกรอบของอีกรอบ คำถามเยอะเนอะ


ดิท. ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบจนทำให้ข้าน้อยกระจ่างและบรรลุธรรม?
      ถึงแม้จะมีบางคำตอบที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็ได้รู้ในสิ่งที่อยากรู้มากขึ้น(ว่ายังมีคนคิดเหมือนเรา) 
      สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณท่านซ่อนเป็นพิเศษที่มาตอบหลายเม้นต์ซะเหลือเกิน ทำให้ข้าน้อยรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก(เกี่ยว?) ในตอนนี้จะขอสมัครเป็นแฟนคลับท่านซ่อนซะ(เริ่มกลายเป็นเรื่องซวยที่มีข้าน้อยเป็นแฟนคลับ)
      สุดท้ายของสุดท้ายอีกที ขอขอบทุกท่านอีกครั้ง..


แสดงความคิดเห็น

>

37 ความคิดเห็น

ไอราวัณ 5 ต.ค. 56 เวลา 21:35 น. 1

มหาวิทยาลัยก็คือมหาวิทยาลัยเเหละครับ เหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะเรียนรามฯ จุฬาฯเกษตรฯ จุดมุ่งหมายของการเรียนคือต้องการความรู้ เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เเต่สิ่งที่ต่างกันก็คือชื่อเสียงเเละความหนักเบาในเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัยที่เราเรียน บางมหาวิทยาลัยเข้มเรื่องวิทยาศาสตร์ วิศวะ สถาปัตย์ ก็เเตกต่างกันออกไป

ส่วนเรื่องระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง มันก็สำคัญนะสำหรับบางคน บางคณะสาขาวิชา เมื่อเรียนจบมาจะมีรุ่นพี่ที่อยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ คอยรับรุ่นน้องเข้าทำงาน นี่คือข้อดีของมัน

เรื่องเฟรชชี่หน้าใหม่ อันนี้ไม่ขอตอบล่ะกัน เพราะผมรับน้องเเค่อาทิตย์เดียวก็ไม่ไปอีกเลย (ของคณะนะครับ ของสาขาผมรับอยู่ เพราะถือว่าเป็นพี่น้องสาขาเดียวกัน ช่วยเหลือกันได้)

ทั้งหมดนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองเเล้วล่ะครับ ไม่มีใครบังคับเราได้หรอก อนาคตเรา เราต้องเขียนมันเอง จริงไหมครับ

0
Drowsy'tikk 5 ต.ค. 56 เวลา 21:37 น. 2
มหาลัยข้าน้อย คณะข้าน้อย ไม่มีการจับเนียร์เจ้าค่ะ (มันคือกิจกรรมที่รุ่นน้องลากรุ่นพี่ไปเที่ยวมั้ง 55555)

บูมคณะ ข้าน้อยก็ไม่มีเจ้าค่ะ มีแต่บูมเอก หรือถ้าเป็นองค์การนักศึกษา เป็นสโมสรนักศึกษา เป็นลีดคณะ ก็อาจมีบูมของส่วนนั้นเพิ่มเติมขึ้นมา (ข้าน้อยเป็นลีดคณะเจ้าค่ะ ก็เลยมีบูมลีดเข้ามา)

ตอนบูม ก็รู้สึกฮึกเหิมเจ้าค่ะ ยิ่งบูมรับน้องใหม่ คนที่เป็นน้องที่นั่งตรงกลางจะรู้สึกภูมิใจ(มั้ง) ส่วนคนบูม(ข้าน้อยเอง)จะรู้สึกฮึกเหิมจริงๆ แต่บางมหาลัย บูมเสร็จ ก็รุมว้ากกดดันรุ่นน้องต่อเจ้าค่ะ แกล้งน้อง 5555

มหาลัยทุกมหาลัย เมื่อก่อนข้าน้อยคิดว่า ก็เหมือนกันแหละ
แต่พอมาเรียนจริง ๆ ถามเพื่อนถามแฟน ที่อยู่อีกมหาลัย ถึงได้รู้ว่า มันไม่เหมือนกัน

ไม่เหมือนกันตรงที่ ประสบการณ์ชีวิตในรั้วมหาลัยค่ะ
บางมหาลัยกิจกรรมภายในเอกภายในคณะมีมากมาย รับน้องโหด รุ่นพี่ว้ากโหด
แต่บางมหาลัย บางเอก (อย่างตอนนี้ที่ข้าน้อยเรียนอยู่) ก็แทบไม่มีอะไรเลย

แต่ไม่ว่าจะมหาลัยใดก็ตาม เพียงแค่คุณตั้งใจเรียน ไม่ทำตัวเหลวแหลก
จบมาก็มีงานดี ๆ ทำ อนาคตก้าวหน้าแน่นอนเจ้าค่ะ
0
MuI2asaki 5 ต.ค. 56 เวลา 21:42 น. 3

ส่วนตัวเราก็ว่าเหมือนพี่สาว จขกท. นะ

ขอแค่มีที่เรียนก็น่าจะพอแล้ว เพราะถ้าเข้าไป มันก็ตัวเราเองทั้งนั้นที่จะเก็บเกี่ยวเอาวิชาที่เรียน มันขึ้นกับความสนใจของเรานะ มันไม่เหมือนเรียนชั้นมัธยม ที่จะมีใครมาช่วยเรา ถ้าจะตามเพื่อน ก็ต้องเลือกเพื่อนที่จะพาเรารอดด้วย

ถ้ามัวคาดหวัง แล้วเกิดไม่ได้ เราจะเสียใจเปล่าๆ มันจะพาให้เราคิดว่าที่อื่นไม่น่าเรียน...

> จับเนียร์ คณะเราไม่มี
> งานเฟรชชี่เหรอ เราโดด...รู้จักทั้งคณะกันตั้งแต่วันแรกแล้ว จำได้ เนียนรุ่นพี่เลี้ยงข้าวต้ม
> บูมเหรอ? จำไม่ได้ เคยแต่โดน...ว๊าก!! นี่แหละรับน้องของเรา (เรื่องปกติคณะศิลปกรรม) //ทุกวันนี้หน้าหนาอย่างกับอะไรดี ไฟท์ติ้งกับหัวหน้างานสบาย พวกนินทาเหรอ ไม่กระเทือนติงสักนิด แต่คงไม่มีหรอกเพราะโดนเราสวนก่อน ตอนรับน้องเราเป็นพวกเน้นส่งเพื่อนออกไปแทน เช่นบูมก็นั่งดู ว้ากก็นั่งดู ตัวเองส่งเสียงแบร็คกราวด์พอ ...ห่วย!!!!! ไรเงี่ย



ปล. แล้วแต่คณะ แล้วแต่มหาลัยนะ รับไม่เหมือนกันหรอก

0
redroadMF (น้องเต้าเจี้ยว) 5 ต.ค. 56 เวลา 22:01 น. 4
เหมือนกันตรงที่มีอาจารย์  มีคณะ  มีนักศึกษาครับ!!! =w=
คือจริงๆ แล้วพลาดจากมหาลัยที่หวังนี่มันก็เศร้าเป็นธรรมดา  ผมเองก็เจอเหตุการณ์นี้  แต่สุดท้ายตอนนี้ผมต้องนั่งคิดว่าจะต้องเก็บความรู้จากการเรียนให้คุ้มค่าที่สุดกับการได้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาครับ


สาระไม่มี  ประสบการณ์ยังน้อย  แต่เรื่องเฟรชชี่นี่พอตอบได้ ฮ่าๆ

-จับเนียร์คือการจีบรุ่นพี่ติดหรือเปล่าหว่า (ตีความเอง  เชื่อถือไม่ได้ =w=)
-เชียร์มหาลัย  เชียร์คณะ  ขึ้นแสตนด์  รับน้อง  เปิดสายรหัส  ผ่านมาหมดแล้วครับ  สัมผัสได้ถึงความถึกที่เพิ่มขึ้นมากทีเดียว
-ตอนนี้เหลือบูมคณะเทอมหน้าที่เขาว่ากันว่าโหดมากที่สุดในกิจกรรมทั้งหมด 
                                  
                               
0
Hemm 5 ต.ค. 56 เวลา 22:02 น. 5

ทุกมหาลัยไม่เหมือนกันหมดหรอก ต่างคณะ ต่างสาขายังไม่เหมือนกันเลย มีค่านิยม ธรรมเนียม แตกต่างกันไป  แต่ที่เหมือนกันคือ ความรู้ ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนเราก็ขวนขวายหาความรู้ได้เหมือนกัน
เราจบจากเกษตรนะ  เมื่อก่อนที่นี่จะรับน้องโหดมาก (แต่ถ้าเทียบกับที่ม.อื่นก็ไม่ได้โหดไปกว่ากันหรอก) จนกระทั่งมีรุ่นน้องซึ่งอาจไม่พอใจกับการรับน้องที่แรงไป มีเรื่องมีราว จนการรับน้องสมัยนี้ อ่อนลงเยอะ  จริงๆแล้ว รับน้องก็แค่จะทำให้รุ่นพี่ รุ่นน้อง รุ่นเดียวกัน สนิท รักและรู้จักกัน สร้างความสามัคคี และรักในมหาลัย อย่างตอนบูม หรือร้องเพลงคณะ เพลงมหาลัยงี้ จะหึกเหิมมากๆ แถมภูมิใจในสถาบันอีกตะหาก  แต่ก็ต้องยอมรับว่า รุ่นพี่บางคนก็เล่นสัปดนเกินไป(โดยเฉพาะการรับน้องหอ)
แต่ยืนยันนะว่าเกษตรก็ดี  ...เกษตรไม่มีเดือนไม่มีดาว มีแต่ดิน จ้า

0
ซ่อนนาม 5 ต.ค. 56 เวลา 22:30 น. 6

ยืนยันว่าไม่เหมือน

อันดับแรก คุณภาพไม่เหมือนกัน
อย่ามาซึนเดเระว่าเหมือน ยังไงมันก็ไม่เหมือน
อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนไม่เหมือน อาจารย์ที่สอนไม่เหมือน บางที่ก็มีอ.ระดับโลกมาสอน แต่บางที่ก็ไม่มี บางที่วุฒิของอาจารย์ที่สอนดีและมากพอจะเปิดสอนป.เอกได้ แต่บางที่ป.โทก็ยังทำไม่ได้ ฯลฯ
การจะบอกว่าขึ้นกับตัวเอง อยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน เป็นการปลอบใจตัวเองเท่านั้น หากลองคิดให้ดี ถึงจะขึ้นกับตัวเองก็จริง แต่ระหว่างที่เรียนกับมหาลัยชั้นสอง กับมหาลัยชั้นหนึ่ง ที่ไหนคิดว่าจะทำให้เราเก่งมากกว่ากันล่ะ ? ถ้าไม่สนความเก่ง ขอแค่ให้เรียนผ่าน ๆ โดยจบไปในระดับดาษ ๆ ความสามารถพื้น ๆ ไม่ได้สนใจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเก่งกาจระดับประเทศหรือระดับโลกนั่นถึงไม่ต้องสนว่าจะไปเรียนมหาลัยอะไร

ต่อมา แนวทางของแต่ละมหาลัยไม่เหมือนกัน
อย่างเช่นมหิดล ต้องทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ หรือคณะสถาปัตย์ของศิลปากร ดูยังไงก็น่าจะเน่นไทยจ๋ามากกว่ามหาลัยอื่นแน่ ๆ

หรือกระทั่งเรื่องหอพัก ที่อยู่
เช่นมีหอพักรับรองมากแค่ไหน ห่างไกลตัวเมืองไหม ใกล้บ้านเราหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สมควรจะสนใจด้วยเช่นกัน

และกระทั่งเรื่องของค่าเทอมและทุนก็มีส่วน ลองดูให้ดี บางคนอาจจะไม่สนใจ แต่ค่าเทอมนี่ก็เป็นอะไรที่สำคัญเหมือนกันนะ มากเกินกว่าจะจ่ายได้จนหามาเรียนต่อไม่ไหว ก็นับเป็นปัญหาด้วยเหมือนกัน

0
ซ่อนนาม 5 ต.ค. 56 เวลา 22:39 น. 7

แต่ก็นั่นแหละ
มหาลัยไหนก็เหมือนกัน เป็นคำปลอบใจที่ดีในเมื่อตกอยู่ในจุดที่ผ่านไปแล้ว
เพราะการไปคิดว่าเสียดายที่ไม่ได้เข้ามหาลัยที่ต้องการ จะทำให้ท้อแท้และสิ้นหวังจนรู้สึกลบกับมหาลัยที่ติดแทนเสียเอง ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่ ๆ
ยังไม่รวมถึงการที่ติดมหาลัยที่ต้องการแล้วยกตัวสูงอวดอ้างความเก่งความโก้หรูของตนเอง รวมถึงไปตัดสินคุณค่าของคนอื่นจากมหาวิทยาลัยที่เขาเรียน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ดี อย่างแน่นอน
ดังนั้นจึงเป็นการสมควรจะคิดว่า "มหาลัยไหนก็เหมือนกัน" เมื่อตอนที่ผ่านพ้นจุดนั้นไปแล้ว

ทว่าหากยังไม่ติด ยังไม่ได้เรียนมหาลัย และคิดว่าจะเรียนมหาลัยไหน รวมถึงให้คำแนะนำคนอื่นที่ยังไม่ถึงจุดนั้นว่าสมควรจะเข้ามหาลัยไหนดี
"มหาลัยไหนก็เหมือนกัน" เป็นถ้อยคำที่ดีแต่ฉุดให้คนที่คิดเช่นนี้ตกต่ำไม่กะตือรือร้นที่จะขวนขวายและพัฒนาตนเอง ดังนั้นจึงไม่สมควรใช้


สำหรับกระทู้นี้ จขกทยังไม่รู้ผลว่าจะเข้ามหาลัยไหนใช่ไหม ? เป็นกระทู้ที่จะแนะนำคนที่ยังไม่สอยเข้ามหาลัยให้เลือกมหาลัยใช่ไหม ?
ดังนั้นคิดว่า "แต่ละมหาลัย" ไม่เหมือนกัน ไปซะ

ทว่าหากจขกทรู้ผลแล้วว่าติดมหาลัยใดแล้วบ่นเรื่องมหาลัยที่ติดกันในภายหลัง
ก็ค่อยคิดว่า "มหาลัยไหนก็เหมือนกัน" แทน

0
p.t.dreamm 5 ต.ค. 56 เวลา 23:08 น. 8
ถ้าถามถึงเรื่องเรื่องจากเรียนการสอนแล้ว ตอบแบบไม่คิดมาก ทุกมหาวิทยาลัยเหมือนกันค่ะ เพราะแต่ละหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีคณะกรรมการประเมินหลักสูตรอยู่ ตรวจติดตามคุณภาพกันเป็นระยะ

แต่เอาเข้าจริง ถามว่าเรียนแล้วเหมือนไหม ตอบอย่างนี้ได้ไหม...บางทีก็เหมือนกัน บางทีก็ไม่เหมือนค่ะ บางทีเป็นคณะเดียวกัน แตาต่างมหาลัยก็เน้นกันไปคนละด้านนะ ดังนั้นก่อนเข้าควรศึกษาก่อนค่ะ

แต่อย่าลืมว่าถึงจะเน้นต่างด้านกันก็จริง แต่จริงๆ แล้วพื้นฐานมีเหมือนกันค่ะ และไม่ใช่ว่าทำงาน คุณศึกษามาจากมหาลัยทางด้านนี้น้อย แล้วจะอ้างอย่างนั้นได้ จะเรียนมามากน้อยแค่ไหน เน้นไปทางอะไรตอนเรียน สุดท้ายตอนทำงานการศีกษาของเราก็ยังไม่สิ้นสุด ต้องเรียนกันต่อไปนั่นแหละค่ะ

มหาลัยให้ความรู้แก่เรา แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุดอยู่ที่ตรงนั้นนะคะ เรื่องไหนมหาลัยเน้นน้อยก็ค้นคว้าด้วยตัวเอง+ปรึกษาผู้รู้ต่อไป


จบเรื่องเรียนแล้ว เข้าเรื่องสังคมบ้าง อันนี้ตรงๆ เลยว่าแต่ละที่ไม่เหมือนกันแน่ๆ ค่ะ

จากประสบการณ์ที่เคยอยู่มาสองมหาลัย ที่แรกมีอิสระเปิดกว้างมาก ส่วนอีกทีถึงจะเคร่งในกฎระเบียบ แต่ก็จัดการงานอย่างมีระบบค่ะ  ยิ่งเรื่องเฟรชชี่/รับน้อง อันนี้ยิ่งหลากหลายมาก บางที่รับน้องไม่มีอะไรเลย สนุกเฮฮาปาร์ตี้ แต่บางที่ก็โหดกินนะคะ นี่ยังไม่รวมกิจกรรมว๊าก

แต่ถึงจะต่างกัน แล้วสำคัญยังไงล่ะคะ พูดดูเป็นนามธรรมเนอะ แต่เอาเข้าจริง สุดท้ายชีวิตเราก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เราอยู่ด้วยอยู่ดี

ถ้า จขกท. ติดมหาลัยที่อยากได้ โอเคชีวิตแฮปปี้หน่อย เพราะเรามีแรงผลักดันพื้นฐานอยู่แล้วว่าอยากจะกระโดดเข้าไปร่วมสังคมนั้น  แต่ถ้าไม่ติดล่ะ? อันหลังนี่แค่อย่าปิดกั้นตัวเองก็พอค่ะ เข้าไปรวมแจมกับสิ่งที่เราได้รรับเลือกแล้วเลย สนุกให้เต็มที่ แล้วจะไม่เสียใจค่ะ

อาจเพราะแบบนี้มั้งคะ เขาถึงว่า 'ทุกมหาลัยเหมือนกัน' น่ะคะ

แล้วหลังจากนั้น เมื่อเราทำทุกอย่างอย่างเต็มที่แล้ว ค่อยมาว่ากันอีกที ต่อไปนเพ้อนิดๆ นะคะ แต่เราเชื่อว่าทุกคนมีโชคชะตาของตัวเองค่ะ ถึงเราเลือกโชคชะตาของเราเองได้ แต่จริงๆ ลึกๆ แล้ว เราคิดว่ามีใครบางคนกำหนดเอาไว้แล้วค่ะ 55+ เพียงแต่ว่าเค้าคนนั้นเปิดโอกาสให้เรารู้สึกว่าได้เลือกมากน้อยเท่าไรแค่นั้นเอง

...แต่ถึงอย่างนั้นก็ปล่อยมันไปสิคะ สำคัญอะไร  

แต่ละคนย่อมมีสถานที่ที่เหมาะสมกับตัวเองค่ะ อาจจะช้าเร็วที่จะหามันเจอไม่เท่ากัน แต่ในชีวิตนี้...ณ ช่วงเวลานึง เราต้องหอมันเจอแน่ๆ ค่ะ  เช่นว่าทุกคนอาจคิดว่ามหาลัย ก. (นามสมมติ) ดี แต่พอเอาเข้าจริง เราเข้าไปในมหาลัยนั้น มันอาจไม่เหมาะกับเราก็ได้ เราอาจเหมาะกับมหาลัย ข. ที่เราไม่ได้เลือกมากกว่า แต่เรื่องนั้นไม่ว่าเราจะได้มหาลัย ก. หรือ ข. ใครจะไปรู้ล่ะค่ะ 55+

/เพ้ออะไรของชั้นเนี่ย = ="

ท้ายนี้ ขอให้ จขกท. ติดคณะที่อยากเข้า ได้มหาวิทยาลัยที่โดนนะคะ Fighto!!!

ปล. ถ้าแต่งนิยายได้ยาวแบบนี้ จะดีใจมาก เฮ้อ...
0
ต.แทนฉัน 5 ต.ค. 56 เวลา 23:10 น. 9

คือก็เห็นด้วยกับความคิดท่านนะว่าแต่ละมหาลัยไม่เหมือนกัน แต่ขอแย้งท่านสักนิดหนึ่งว่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ศิลปากรไม่ได้เน้นไทยจ๋ามากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นนะท่าน (ยกเว้นหลักสูตรสาขาสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งต้องเน้นเป็นธรรมดา) แต่ถ้าสถาปัตยกรรมเฉยๆนั้นก็มีหลักสูตรคล้ายคลึงกับมหาลัยอื่น โดยไม่ได้เน้นว่าต้องไทยจ๋า ตอนที่เรียนอาจารย์ก็ไม่เคยเน้นว่าต้องทรงไทยหรือคอนเซปต์ต้องเป็นไทย ขอเพียงแต่ให้เหมาะสม ถึงจะแปลกหรือแหวกแนวก็ขอให้เป็นไปได้อย่าเพ้อฝันจนเกินไป ก็ประมาณนี้แหละท่าน

0
ซ่อนนาม 5 ต.ค. 56 เวลา 23:18 น. 10

#6-2
คงใช้คำพูดผิดสินะ

เอาเป็นว่า "ไทย" กว่าคณะสถาปัตย์ของมหาลัยอื่น ๆ ก็แล้วกัน
เคยไปคุ้ยวิทยานิพนธ์ดู เห็นว่าของศิลปากรมีผลเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยมากกว่าของมหาลัยอื่นอย่างเห็นได้ชัด

(เอ... แล้วสาขาอื่นที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรมไทยมีวิชาเรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยด้วยหรือไม่ ? ของมหาลัยอื่นเราไม่เห็นว่ามีนะ)

ดังนั้นแน่นอนว่า หากอยากจะเรียนสถาปัตย์สายสถาปัตยกรรมไทย ยังไงก็ควรไปเรียนศิลปากรมากกว่ามหาลัยอื่น ใช่ไหมล่ะ ?

0
ต.แทนฉัน 5 ต.ค. 56 เวลา 23:42 น. 11

ที่ตอบท่านช้าเพราะต้องไปนั่งนึกดู รู้สึกว่าจะมีประวัติศาตร์สถาปัตยกรรมไทย 1 วิชา และก็ การออกแบบสถาปัตยกรรมไทยอีก1 วิชาที่พอให้ได้รู้ว่าบ้านทรงไทยมีองค์ประกอบอะไรบ้าง หรือองค์ประกบของสถาปัตยกรรมไทยเป็นอย่างไร (แต่วิชาประมาณนี้มหาลัยอื่นไม่มีจริงๆหรือท่าน)
และเห็นด้วยที่ท่านว่า หากอยากเรียนสาขาสถาปัตยกรรมไทย ควรไปเรียนที่ศิลปากรแต่ก็ใช่ว่ามากกว่ามหาลัยอื่นนะท่าน

0
Zombie Butterfly 6 ต.ค. 56 เวลา 00:04 น. 12

สังคมของแต่ละมหา'ลัย ไม่เหมือนกันค่ะ
การปลูกฝังแนวคิดในมหา'ลัยก็ไม่เหมือน
 
บางที่สนับสนุนโซตัส บางที่แอนตี้โซตัส
บางที่บอกว่าเครื่องแบบคือความภูมิใจ
บางที่บอกว่าเครื่องแบบคือสัญลักษณ์ของการเป็นทาส

แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ทุกมหา'ลัยเป็นสถาบันที่มีขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้กับประเทศค่ะ 

ถ้า จขกท.เป็นคนตั้งใจเรียน อยู่มหา'ลัยไหนก็ได้ดีค่ะ
แต่ถ้าเป็นคนไม่ตั้งใจเรียน ถึงอยู่มหา'ลัยระดับท็อปก็ไม่ช่วยอะไร

สำคัญอยู่ที่ตัวเราเองค่ะ

0
Lucia 6 ต.ค. 56 เวลา 00:05 น. 13

ไม่เหมือนค่ะ

ระบบ การเรียน คนสอน สถานที่
ยังไงมันก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

แต่ประโยชน์อะไรกับการมานั่งเสียใจถ้าไม่ได้
แต่ละที่ล้วนมีข้อดีและเสียต่างกัน ขึ้นกับว่าเราจะมองเห็นรึเปล่า
สู้เอาข้อดีของแต่ละที่มาใช้ให้มากที่สุดไม่ดีกว่าเหรอ

0
ซ่อนนาม 6 ต.ค. 56 เวลา 00:07 น. 14

ยืนยันได้ที่นึงคือ ธรรมศาสตร์ไม่มีชัวร์ ๆ
แต่ที่อื่นเช่นลาดกระบัง เกษตร อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีหรือเปล่า

0
originalBlueSin 6 ต.ค. 56 เวลา 00:11 น. 16
ไม่เหมือนครับ "ทุก" มหาวิทยาลัยไม่เหมือนกันแน่นอน บางมหาวิทยาลัยอาจจะคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันหมดทุกมหาวิทยาลัยแน่นอนครับ

อย่างผมเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมบอกได้เลยว่ารูปแบบสังคม วิธีการเรียนการสอน กำหนดการเวลาปฏิธินการศึกษา การลงทะเบียน การเรียน จะต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นแน่นอนครับ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ฯ เองก็เช่นกัน มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นในหลาย ๆ จุด

มหาวิทยาลัยเอกชนกับมหาวิทยาลัยรัฐบาลก็ต่างกัน ดังนั้นมหาวิทยาลัยแต่ละที่รับรองว่าไม่เหมือนกันครับ

ป.ล. ผมไม่พูดถึงประเด็นที่ว่ามหาวิทยาลัยไหนดีหรือว่าด้อยนะครับ เดี๋ยวตีกันตาย
0
รสดา 6 ต.ค. 56 เวลา 01:15 น. 17

ขอคุยด้วยคนค่ะ

มหาวิทยาลัยไหนๆ ก็คงต้องมีทั้งความเหมือนและความต่าง

ถ้าประเด็นที่คิดว่าสำคัญ คือ ประเด็นวิชาการ ก็คงต้องสนใจมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง หรือ เก่าแก่ที่ดังในด้านนั้นๆ ในสาขาที่คุณอยากเรียน เพราะแต่ละที่ก็เด่นในบางเรื่อง  

ถ้าสนใจการช่วยเหลือดูแลได้ใกล้ชิด ทั้งอาจารย์ เพื่อน  สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียน การอยู่ไม่แก่งแย่ง  มหาลัยเล็กหน่อย หรือ อยู่ต่างจังหวัดก็น่าจะดีกว่าที่อยู่ในเมือง  การได้อยู่หอพัก ความสนิทสนมรักใคร่ของเพื่อนจะแน่นแฟ้นกว่าเพื่อนไปเช้าเย็นกลับ (ถ้าที่บ้านไม่ว่าอะไร)

มหาวิทยาลัยของรัฐ ในยุคนี้  ทุกแห่งแทบจะเท่าเทียมกันในทุกๆ ด้าน  (อาจขอยกกลุ่มราชภัฏไว้ ไม่ใช่ว่าเขาไม่ดีนะคะ เพียงแต่เป็นคนละกลุ่ม)
อาจารย์ก็จบสูงๆ พอๆ กันทุกที่  

ถ้าจะให้ดี เน้นที่สาขาที่ตัวเองชอบก่อนเป็นหลัก  ชื่อมหาวิทยาลัยเป็นรอง  
อยากเข้าที่เยี่ยมยุทธก็ต้องพยายามมากหน่อย  

เรื่องรับน้อง โน่น นี่ นั่น อย่าได้แคร์  ได้ทำบ้างก็เป็นสีสันของชีวิต เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้โหดเหมือนเมื่อก่อน  (เคยโดนพวกรุ่นพี่แกล้งปล่อยเชียร์ช้า ให้ต้องวิ่งตามรถไฟเที่ยวสุดท้ายอยู่บ่อยๆ  คนขับรถไฟก็ใจดีจอดรอบ้าง บางทีก็ยอมจอดเวลาพวกเราหลายสิบคนโบกกลางทางเพราะเขาสงสารเด็กๆ ก็ได้มีเรื่องไปเล่าให้น้องนุ่งฟังแบบไม่เหมือนใคร เกิดมาก็เพิ่งเคยโบกรถไฟ แถมจอดซะด้วย)  

ที่บอกได้ก็เพราะเจอมาเยอะแล้วค่ะ ตอนนี้ก็ยังเจออยู่ทุกปี เพียงแต่เราอยู่ในอีกบทบาทหนึ่งแค่นั้นเอง



 

0
อะไรจ๊ะ 6 ต.ค. 56 เวลา 02:12 น. 18

พี่เจ้าของกระทู้พูดถูกแล้วล่ะ
ที่เค้าบอกว่าเหมือนๆ กันก็เพราะว่า ทุกมหาวิทยาลัยทีได้รับรองคุณภาพการศึกษาฯ นั้นแปลว่า
"เมื่อคุณสามารถเรียนจบ = คุณได้รับการเพื่มระดับทางการศึกษาอย่างเป็นมาตรฐานติดตัวชีวิตคุณ"
เรียนที่ไหนก็จบปริญญาได้เหมือนกัน (ถ้าเค้ามีหลักสูตรปริญญาด้วยล่ะนะ-เดี๋ยวจะหาว่าเหมารวม)
ซึ่งหลังจากนั้นจะเอาไปใช้ทำอะไรในโลกคนทำงานนั่นมันก็อีกเรื่องหนึ่งด้วยสิทธิระดับปริญญาเท่าเทียมกันกับทุกคนที่จบมาระดับเดียวกัน และข้อเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับสาขาทางการศึกษาอะไรก็ว่าไป

แต่ถ้าถามว่า ชีวิตการเรียนในแต่ละมหาวิทยาลัยมันต่างกันมั้ย? ชื่อปริญญาคณะเดียวกันนี้ แต่หลักสูตรการสอนสาขาย่อยเฉพาะทางต่างกันไหม? สภาพแวดล้อมและความสะดวกในการใช้ชีวิตของแต่ละที่ต่างกันไหม? ฯลฯ นั่นล่ะ "แตกต่าง" แน่ๆ

แต่ท้ายที่สุด...มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเองล้วนๆ
ทุกคนล้วนมีโอกาสไขว่คว้าอนาคตเช่นเดียวกันแม้จะจบจากมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม
และเมื่อมีโอกาสอยู่ในมือ จงใช้มันให้คุ้มค่าที่สุดเพื่อจะไม่ต้องเสียใจภายหลัง

ขอให้คุณโชคดีและสนุกสนานกับชีวิตวัยเรียนในรั้วมหาลัยนะ ^^

0
Prisma Dominatus 6 ต.ค. 56 เวลา 02:23 น. 19

มันมีส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ทุกมหาลัยฯ แหละครับ โดยมากปีหนึ่งพบเจอจะเป็นเรื่องสังคมมากกว่าวิชาการ จบมาแล้ว ได้ทำงานหรือเรียนต่อนั่นแหละครับถึงจะรู้ซึ้งว่าวิชาการที่ได้รับมามันแข็ง/อ่อนเพียงใด แถมเรื่องของเครือข่ายศิษย์เก่าก็มีผลเยอะ (ถ้าใช้เป็น)

ตอนรับน้อง ปี.1 ผมทำงานครับ ไม่ได้เข้าครับ

จับเนียร์? เนียร์จับคิระไม่ใช่เหรอ สลับกันแล้วมั้งครับ

ไม่ได้บูมคณะเหมือนกันครับ ทำมาหากินอยู่

0
Praewaa 6 ต.ค. 56 เวลา 02:34 น. 20
ส่วนตัวคิดว่าไม่เหมือนกันเช่นกันค่ะ
ไม่ใช่เพราะว่าที่ไหนดีกว่าหรือแย่กว่านะคะ เราไม่พูดเรื่องคุณภาพค่ะ 
ในส่วนนี้เราว่าแล้วแต่มุมมองของผู้เรียนนะคะ
อย่างเรา เราก็ไม่อยากเรียนมหาวิทยาลัยในกทม. ทั้งที่เรามาจากกทม.
(อารมณ์อยากหนีออกจากบ้านมั้งคะ ฮ่าๆๆๆ)
เราติดมหาวิทยาลัยในกทม.รอบรับตรง ทั้งเกษตร ศิลปากร บางมด 
แต่เราก็สละสิทธิ์เพราะเราอยากมาเรียนเชียงใหม่
เราไม่ได้บอกว่ามหาวิทยาลัยนั้นไม่ดีนะคะ แน่นอนว่าดี แต่ว่าความชอบส่วนบุคคลก็ต่างกันไป เราชอบเชียงใหม่ อยากสัมผัสอากาศหนาว ปุยเมฆลอยคลอเคล้า เคลียยอดดอยโอบเขา ฮ่าๆๆ


ในเมื่อนี่คือสิ่งที่เราเลือก และเป็นสิ่งที่เราชอบ
เราก็ไม่สนใจว่าที่นี่จะเป็นมหาวิทยาลัยบนดอย หรือจะมีโปรเฟสชั่นนอลมาสอนมั้ย
เราไม่ได้สนใจว่าจบไปเราจะต้องเป็นเบอร์หนึ่ง ยืนแนวหน้าหรืออะไร
เราเลือกความสุขและความสบายใจของเราค่ะ ไม่อยากแข่งขันกับใคร ฮ่าๆ


ปล. มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความเก่งนะคะ
คนเรียนมหาวิทยาลัยดังๆ จบออกมาเปิดร้านขายข้าวราดแกงธรรมดาก็มีถมไป
ดังนั้น เราคิดว่าขึ้นกับตัวเองจริงๆค่ะ 
คุณคิดว่าต่อให้จบมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งมีชื่อเสียง แล้วคุณจะเก่งมากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมดาจริงๆหรอคะ เราว่าไม่นะ...
ถ้าคุณจะ "เก่ง" จริงๆ คุณต้องเป็นหัวราชสีห์ค่ะ ไม่ใช่หางราชสีห์

ส่วนเรื่องรับน้อง ประสบการณ์เยอะมากกก สามารถเขียนพ็อคเก็ตบุคได้เลยค่ะ ฮ่าๆๆ
ทั้งโดนว๊าก ไฮเปอร์ขึ้นจนรุ่นพี่เกือบต้องพาส่งโรงพยาบาล เข้าค่าย บูมภาควิชา บูมคณะ บูมมหาวิทยาลัย รับน้องขึ้นดอยก็สนุกนะคะ เดินจนน้ำหนักลด น่องปูด

สุดท้ายละ.. ถ้าจขกท. ชอบเกษตร ก็เลือกเกษตร ไม่ติดก็เลือกที่ชอบรองลงมา ความเสียใจเป็นเรื่องธรรมดา แอบคิดเหมือนกันว่าพี่สาวคุณน่าจะพูดปลอบใจเผื่อคุณไม่ติดเกษตร


สู้ๆ นะคะ ขอให้ติดตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ :)



EDIT เว้นบรรทัดค่ะ ตัวหนังสือติดกันเป็นพรืดเลย =_=
0