Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เภสัชกรกับการตกงาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เพื่อนๆคะ พอดีเรากำลังตัดสินใจว่าจะยืนยันสิทธ์เข้าคณะเภสัช(สาขาการบริบาล) มหาลัยแห่งหนึ่งของภาคใต้ดีมั้ย โดยส่วนตัวเราอยากเข้าคณะนี้นะ แต่มีเพื่อนๆ ครูหลายท่านรวมทั้งพ่อแม่ของเราเองบอกว่าตอนนี้ถ้าจบออกมาจะเสี่ยงต่อการตกงานมาก เราเลยลังเลว่าจะยินยันดีมั้ย เพราะฐานะที่บ้านก็อยู่ในระดับปานกลาง ถ้าจบออกมาแล้วตกงานคงไม่ใช่เรืองดีเท่าไหร่ แต่ถ้าจะให้เปิดร้านขายยา เราคงไม่มีทุนพอสำหรับเปิดร้าน จึงอยากถามว่าถ้าจบเภสัชจะตกงานมั้ย?? ขอบคุณมากค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

Dekwatyaklen 4 พ.ย. 56 เวลา 17:52 น. 2
ส่วนอาชีพที่คาดว่าจะล้นตลาดในอีก 4 ปีข้าง
หน้านับจาก ปี 2555


1. เภสชัศาสตร์ เพราะอัตราการผลิตนักศึกษาที่มากเกินความต้องการ ต่อจำนวนอัตราบรรจุ โดยตำแหน่งงานในกรุงเทพส่วนใหญ่เต็ม ส่วนต่างจังหวัดก็คาดว่าจะเต็มในปี 2557  เพราะต้องแข่งกับประเทศอื่นด้วย พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ก็จบแล้ว!

2. เทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ เนื่องจากอาชีพนี้มีตำแหน่งบรรจุน้อย แต่อัตราการรับนักศึกษาเยอะมาก เปิดหลายที่อัตราการแย่งงานก็สูงตาม

3. สาธารณสุขศาสตร์

4. วิทยาศาสตร์ 
เขาคาดกันนะครับ
0
หมดยุคเภสัช 5 พ.ย. 56 เวลา 00:47 น. 3

เดียวนี้เภสัช แค่สมัครงานขายยา ก็ไม่ได้กันง่ายๆ เหมือนเมื่อก่อน เพราะสมัยนี้ เลือกเอาลูกจ้างวันละ 300 บาท มาขายยาสามัญประจำบ้านกันเยอะมากๆ เพราะจ้างเภสัช ต้องจ่ายค่าจ้างวันละ 1000 บาท ขั้นต่ำ ร้านยาหลายแห่งหัวหมอ อีกทั้งประเทศไทยไม่เคร่งกฏหมาย ลงโทษไม่หนัก แค่ปรับหรือตรวจตราไม่ถึง ร้านยาก็จ้างคนไม่จบมหาลัยแล้วมาสอนให้จำชื่อยาเอา จ้างเดือนละ 9000 บาท ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่เภสัชทยอยตกงานกันนะ

เศร้าจัง

0
Nocebo-[D] 5 พ.ย. 56 เวลา 13:04 น. 4

ปี ๆ นึงจะมีเภสัชกรจบใหม่ประมาณ 1700 คน
ปัจจุบันเค้าจะให้ทำสัญญาปลายเปิดชดใช้ทุน เรียนจบแล้วค่อยตัดสินใจได้ว่า จะใช้ หรือ ไม่ใช้ทุน ไม่ได้บังคับ ถ้าจะใช้ทุนแต่ละปีมีตำแหน่งให้จากทุกสังกัด (กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย) ประมาณ 700-800 ตำแหน่ง ส่วนคนที่เลือกไม่ชดใช้ทุน ก็สามารถไปสมัครงานเองได้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ร้านยา บริษัทยา โรงงานทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งกรณีหลัง ถ้าไม่เลือกงาน ไม่เลือกเงิน ก็มีงานทำอยู่แล้ว

ปัญหารานยาบางร้านที่ไม่มีเภสัชกรประจำ (ร้านที่เภสัชแขวนป้าย) ตอนนี้ทาง สสจ และองค์กรวิชาชีพกำลังจัดการอยู่ ซึ่งก็มีการออกจับไปเรื่อย ๆ (ตรงจุดนี้ ต้องให้เหล่าเภสัชกร ต้องตระหนัก และสำนึกต่อวิชาชีพบ้าง)

ส่วนเรื่อง AEC ตอนนี้เภสัชกรประเทศไทย อยู่ในอัตราเภสัชกรต่อประชากร 1:2100 สูงที่สุดในอาเซียน (เกณฑ์ปกติควรอยู่ที่ 1:3000 ที่ผ่านมี ไทย สิงคโปร์ อินโอนีเซีย) นอกนั้นขาดเภสัชกรทั้งนั้น โดยเฉพาะพม่า อยู่ที่อัตรา 1:400000 จุดนี้เราควรจะศึกษาภาษาและวัฒนธรรมประเทศในอาเซียนด้วย

เรื่องภาษาอังกฤษ คิดว่าไม่จำเป็นต้องกลัว ตราบใดที่อาเซียนไม่ได้ออกกฎหมายบังคับว่า ประชาชนในอาเซียนทุกคนต้องพูดเป็นภาษาอังกฤษนะ ลองคิด ๆ ดูนะว่า คุณเป็นเภสัชกรจบใหม่ กำลังจะไปทำงานที่พม่า พูด ฟัง สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม แต่พูดภาษาพม่าไม่ได้เลย ? เค้าจะจ้างคุณไปทำงานมั้ย ? คนพม่าส่วนใหญ่ก็ยังพูดพม่าอยู่ดี หรือในทางกลับกันเภสัชกรจากสิงคโปร์ไปสมัครเภสัชกร โรงพยาบาลโคกอีแร้ง ซึ่งตั้งอยู่บนดอยที่ต้องเดินเท้าเข้าไปสิบวันกว่าจะถึง เภสัชกรท่านนี้พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ชาวบ้านโคกอีแร้งเค้าพูดภาษาไทย เภสัชกรท่านนี้จะทำงานอย่างไร รัฐจะจ้างล่ามเพิ่มเติมกระนั่นหรือ ? ยกเว้นในโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะมีผู้ป่วยชาวต่างชาติจำนวนมาก ตรงนี้ต้องฝึกภาษาอังกฤษให้ช่ำชอง

ถ้าอยากไปทำงานต่างประเทศเพราะเปิดอาเซียน ให้ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ แต่ก็อย่าลืมภาษาอังกฤษอยู่ดี เผื่อมีผู้ป่วยชาวต่างชาติมา จะได้พูดคุยได้ถูกต้อง

สรุป ๆ ปัจจุบันเภสัชกร ไม่มีใครตกงาน และถ้าเป็น AEC แหล่งงานที่ต้องแน่นภาษาอังกฤษเพราะอาจโดนแย่งจากชาวต่างชาติ คือ ร้านยาแหล่งท่องเที่ยว เช่น ป่าตอง สมุย โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

แต่ภาษาอังกฤษก็สำคัญนะ ถ้าฝึกฝนได้ ก็ทำไปเถอะ ถือเป็นกำไรชีวิต
จะมีใครอ่านเข้าใจบ้าง ><

0
พี่เภสัช 5 พ.ย. 56 เวลา 23:04 น. 5

เรียนๆไปเถอะถ้ารัก ตกงานเรื่องใหญ่แต่ไม่ใช่ที่สุดเท่ากับความรักในวิชาชีพ อาชีพไหนก้อตกงานได้ทั้งนั้นต้อให้ขาดแคลนยังไงถ้ามันจะตกยังไงก้อต้องตก แต่คนเรามันไม่ตกงานไปตลอดชีวิตหรอครับ ต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องจริงที่ควรจะยอมรับให้ได้

0
no name 7 พ.ย. 56 เวลา 14:21 น. 6

เรื่องหางาน โปรดอ่าน web เภสัชคาเฟ่ ใน ห้อง โรบัสต้า ครับ เป็นวิชาชีพเดียว ที่ มีห้องประกาศหา คนทำงาน ในลักษณะนี้ครับ หนูลองคิดดูว่า เพราะอะไร

อนึีง
เภสัช ม.ศิลปากร ปีที่แล้ว รับตรง สอบกัน 13,000 คน รับไม่ถึงร้อย
ล่าสุด เมื่อเดือนที่แล้ว เภสัช ม.บูรพา รับตรง ค่าเรียน 1.2 ล้านบาท (6 ปี) คนสอบ 7,000 กว่าคน รับ ไม่ถึง 100 คน

ส่วน ที่ ขอนแก่น รับตรง เภสัช ไม่ถึง 100 คน 15 พ.ย.นี้ ผมโทรถาม เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน สมัครกัน 8,000 คนแล้ว

แต่ แน่นอนครับ มีวิชาชีพอื่นๆ ที่มีอัตราการแข่งขัน สอบเข้า มากกว่านี้อีกหลายๆวิชาชีพ
ผมเข้าใจว่า น้องคงมีเหตุผลอื่นๆที่ จะสละสิทธิ และเดาไม่ยาก ว่า อะไร แต่ เหตุผลเรื่อง กลัวตกงานไม่น่าจะใช่ ครับ
โชคดีครับ ตั้งใจสอบ 7 วิชาสามัญ และ เชื่อว่า น้องจะทำได้

0
แมวดำเก้าชีวิต 11 พ.ย. 56 เวลา 22:33 น. 7

พูดตามตรงมีคณะไหนบ้างที่คาดการณ์ว่าจะไม่ตกงานกันล่ะ ช่วยบอกที คณะเภสัช ยังไปได้อีกเรื่อยๆ ไม่ได้หวือหวา แต่ก็ไปเรื่อยๆ 

ร้านยา ก็แปลกนะ คนไทยรู้ แต่ไม่กลัว ว่าใครจ่ายยาได้ พอมีปัญหาถึงค่อยโวยวายก็แล้วแต่นะคะ 

ส่วน AEC อันนี้ก็เกินไป .... จริงๆ เภสัชไทยไปทำงาน สิงคโปร์ อังกฤษ ได้ ถ้าไปสอบให้ผ่าน ข้อสอบของเขา ก็ทำได้ แต่มันยุ่งยากพอสมควร สรุป ถึงไม่ AEC อยากทำงานเมืองนอกก็ไปได้ แล้วถามว่า จู่ๆ จะให้เภสัช ต่างประเทศมาทำงานในไทย มันก็มีเรื่องต่างๆเหมือนกัน 

มันก็ต้องถามกลับว่า.... แล้ว อาชีพไหนไม่ตกงานล่ะคะ ถามจริง 

0
ภก.มือใหม่ 20 ม.ค. 57 เวลา 09:20 น. 8

เห็นกังกล เลยยเอามาตอบให้นะครับบบ

1. การทำงานของเภสัชกรนั้น คือดูแลรักษา ผลิต ควบคุม ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และดูแลคนไข้บนหอผู้ป่วยยร่วมกับแพทย์ , เปิดร้านยาเพื่อให้การบริบาลเภสัชกรรมชุมชน หรือหลักสูตรใหม่ที่เรียกว่า PHARM.D. และ PHARM SCI เน้นด้านโรงงาน
2. จบมาแล้วหางานยากมั้ย ตอบว่า "ไม่" ขณะนี้มีแต่แย่งตัวเภสัชกัน เพราะถ้าไม่มีเภสัช พวกธุรกิจร้านยา หรือเชนร้านยาใหญ่ๆ ก็เปิดดำเนินการไม่ได้....รวมถึงร้านยาบริษํทเล็กๆ หรือร้านยาเอกชน หจก ต่างๆ ล้วนต้องการเภสัชทั้งนั้น

จะพอสรุป Rate อัตราเงินเดือนให้พอคร่าวๆ นะ
1. รับราชการ เงินเดือนประมาณ 17,900 (สำหรับ 6 ปี) +ค่าใบประกอบ 5000+พตส ประมาณ 3000+ขึ้นเวร ประมาณ 5000-10000 ก็ได้ประมาณ 2 หมื่นปลายๆ หรือ 3 หมื่นอัพ
2. เป็นผู้แทนยา อันนี้แล้วแต่ความสามารถที่จะเสนอยาเข้า รพ.หรือเพิ่มยอด รายได้หลักแสน
3. เภสัชกรร้านยา
- แยกเป็นดังนี้
- ถ้าร้านยาพวกเชนทั้งหลายที่เราเห็นตามห้างงนะ รายได้ประกอบด้วยเงินเดือน 17,000-20000+ค่าใบประกอบวิชาชีพ 10000-12000 + เปอร์เซนจากยอดขายอีก 5000-10000 รวมรายได้ประมาณ 30000 ต้นๆ ถึง 40000 บาท
- ร้านยาตามแหล่งท่องเที่ยวว เช่น พัทยา ภูเก็ต สมุย ตามเกาะในเขตจังหวัดระยอง ตราด....เงินเดือน 40000-45000+ที่พักฟรี+ค่าใบประกอบวิชาชีพ 10000-15000+เปอร์เซ็นการขาย 5000+OT 5000-10000 รวมพอประมาณ 40000 - 60000 บาท
4. โรงงานยา อันนี้ไม่ค่อยทราบรายละเอียดแต่พอจะเห็นบางที่ให้เงินเดือน 20000 up+ค่าใบ+ ค่าโน่นนี่นั่นนน ก็เยอะอยู่ หลักๆ ไม่ต่ำกว่า 30000-40000
5. โรงพยาบาล เงินเดือน 20000-25000 (เอกชนนะ) +ค่าใบ 10000 + ขึ้นเวร โดยรวมประมาณ 30000up

น้องอยากรู้ว่าเภสัชเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ น่าสงสารจริงๆหรือป่าวตามที่กระทู้บนบอก น้องไปที่เว็บ http://www.pharmacafe.com ไปที่ห้อง โรบัสต้า มีแต่งานให้เลือกสมัครตามใจชอบนะครับ ...


3. จบมาแล้วมีงานทำมั้ย ...จบมาแล้ว สอบใบประกอบวิชาชีพให้ผ่าน.....ถึงจะมีสิทธิไปจับฉลากเพื่อใช้ทุนรับราชการ แต่ก็อาจมีจำนวนให้ไม่ครบทุกคน เช่น บางปีจบ 1000 กว่า ขอใช้ทุนแค่ 500 คน มีตำแหน่ง 325 ตำแหน่ง เป็นต้น ไม่ใช่ว่าทุกคนอยากต้องการเป็นข้าราชการนะครับ

เขียวมะกอกยังสดใสโสภิณ
จากใจเภสัชกรน้อยๆ คนหนึ่ง อยากให้กำลังใจน้องๆ ภูมิใจและรักในวิชาชีพร่วมกัน ทำให้วิชาชีพเข้มแข็ง กล้าแกร่ง......อย่าย่อท้อ น้อยใจในความเป็นเภสัชกร จงภูมิใจ และภูมิใจ : )

..........ปัญหาการแขวนป้ายคือมะเร็งร้ายที่เกาะกิน วิชาชีพเภสัชกรรมมายาวนานกว่า 100 ปี แล้วว อาจต้องใช้เวลาแก้ไข โดยจิตสำนึกของเภสัชกรเอง ร่วมกันรักษาเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพไว้................


อยากสอบถามเพิ่มเติมตามเมล์ที่ให้ไว้เลยนะครับ ^^

สู้สู้

ว้าว

0
Nocebo-[D] 26 ม.ค. 57 เวลา 22:50 น. 9

แก้ไขเรื่องวุฒินะครับ
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ที่เรียน 6 ปี จะได้วุฒิ Doctor of Pharmacy หรือ Pharm.D. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสายการบริบาลทางเภสัชกรรม หรือสายเภสัชอุตสาหการ แค่วงเล็บชื่อด้านหลังจะต่างกันไป

เภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชอุตสาหการ ย่อเป็น ภ.บ. (เภสัชอุตสาหการ)
Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Sciences) ย่อเป็น Pharm.D. (Pharm Sci)

เภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม ย่อเป็น ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Care) ย่อเป็น Pharm.D. (Pharm Care)

ปล. เภสัชอุตสาหการ เป็นชื่อใหม่ของสาขาเภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม เทคโนโลยีเภสัชภัณฑ์ ตามประกาศของสภาเภสัชกรรม

0
Nocebo-[D] 6 มี.ค. 57 เวลา 12:32 น. 11

เอิ่มมม อ่านดี ๆ นะครับ

Pharm.D. (Pharm Sci) กับ Pharm.D. (Pharm Care) เห็นความต่างมั้ยครับ ?

คือ ความเห็นก่อนนู้น บอกว่า สายบริบาลจะเป็น Pharm.D. ส่วนโรงงานจะเป็น Pharm Sci ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทั้ง 2 สาขา จะเป็น Pharm.D. ทั้งหมดเลย ต่างเพียงชื่อในวงเล็บข้างหลังเท่านั้น

เมื่อก่อน สาขาบริบาลจะเรียน 6 ปี ได้วุฒิ Pharm.D. ส่วนสายโรงงาน จะเรียน 5 ปี ได้วุฒิ B.Pharm. นั่นทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด เรียกบริบาลว่า Pharm.D. ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ถูก แต่เมื่อสายโรงงานปรับหลักสูตรเป็น 6 ปี แล้ว จะเรียกแบบเดิม มันย่อมไม่ถูกต้องเท่าไรนัก เพราะทั้ง 2 เป็น Pharm.D. แล้ว

เมื่อก่อนเรียน 5 ปี กับ 6 ปี
ปัจจุบัน เวลาเรียกจะเรียกเป็น Pharm Sci กับ Pharm Care ครับ

พอจะเห็นภาพมั้ยครับ ?

0
มนตรี 16 เม.ย. 58 เวลา 02:54 น. 12

พี่เป็น นศ.ภ.ของมหาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ อาจารย์พี่บอกว่าเภสัชเราขาดเยอะมาก เคยได้ยินว่ารุ่นพี่ที่จบไปได้งาน 100% ยกเว้นเรียนต่อโท และที่มีคณะเภสัชศาสตร์เพิ่มขึ้น ก็เพราะต้องการจะผลิตเภสัชให้เพียงพอต่อความต้องการ ที่เค้าบอกว่าเภสัชล้นและจะตกงานเนี่ยมั่วนะครับ

1
NBEONE 11 พ.ย. 58 เวลา 18:56 น. 12-1

จริงครับ พวกที่บอกตกงานส่วนใหญ่คือสอบเภสัชไม่ติด แล้วกุเรื่องแง่ลบต่างๆนาๆเพื่อปลอบใจตัวเองตลกจัง

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

นำรูปถ่าย หรือข้อมูลของผู้อื่น ที่มิได้เป็นบุคคลสาธารณะมาลง โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม หรือมีลงเบอร์โทรศัพท์/ที่อยู่จริง

ตามหาเภสัชจบใหม่ 6 ก.ย. 59 เวลา 07:22 น. 15

ด่วนๆๆ!!! ต้องการเภสัชใบว่าง เริ่มแขวนป้ายได้เลย ร้านเปิดใหม่อยู่จ.สมุทรปราการ หรือนอกพื้นที่ก็ได้ที่สะดวกจ่ายเริ่มต้นเดือนละ 8,000-10,000 ราคาคุยกันก่อนได้แล้วแต่ตกลงหรือจ่ายล่วงหน้า ไม่ขายยาผิดกฎหมาย 100%เบอร์ 0922809171 คุณสา (lineID: sanon1993) ยังไงโทรมาคุยกันก่อนตามตกลงครับ

0