Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น

“อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึงจากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 9 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 9 ประเภทดังกล่าวได้แก่

1 การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2 การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3 การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4 การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5 ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6 ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
7 การหลอกค้าขายลงทุนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การประกาศโฆษณา การชักชวนให้เข้าร่วมลงทุนแต่ไม่ได้มีกิจการเหล่านั้นจริง
8 การแทรกแซงข้อมูลโดยมิชอบ โดยการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตน เช่น การเจาะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปแล้วแอบล้วงความลับทางการค้า การดักฟังข้อมูล เพื่อนำมาเป็นประโยชน์กับกิจการของตนเองเป็นต้น
9 การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดัดแปลงข้อมูล โดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือการโอนเงินจากบัญชีหนึ่งเข้าไปอีกบัญชีหนึ่ง โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนถ่ายทรัพย์สินกันจริง

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์

1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ

1. การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่างๆ
2. การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการ รักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูลต่างๆ
3. เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ(Operating System)
4. เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด


1.อาชญากรรมที่เป็นการขโมยข้อมูล ซึ่งหมายรวมถึงการขโมยข้อมูลจาก internet service provider หรือผู้ให้บริการ หรือผู้ที่มีเว็บไซท์ในอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการขโมยข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ เช่นการขโมยข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์โทรศัพท์เพื่อที่จะสามารถควบคุมการใช้โทรศัพท์ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเอาข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์คือเป็นการแอบใช้บริการฟรี

2.อาชญากรนำเอาการสื่อสารผ่านทางคอมพิวเตอร์มาขยายความสามารถในการกระทำความผิดของตน เช่นอาชญากรธรรมดาทั่วไปที่ทำผิดเกี่ยวกับการขนหรือค้ายาเสพติด ใช้การสื่อสารผ่านทางคอมพิวเตอร์ติดต่อกับเครือข่ายอาชญากรรมของตนเพื่อขยายความสามารถในการประกอบอาชญากรรม ซึ่งรวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ปกปิด กลบเกลื่อนการกระทำของตนไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า encryption หรือการตั้งรหัสการสื่อสารขึ้นมาเฉพาะระหว่างหมู่อาชญากรด้วยกันซึ่งผู้อื่นไม่สามารถเข้าใจได้

สู้สู้

แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น