Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รู้จักกับ วิศวกรปิโตรเลียม อีกหนึ่งสายอาชีพที่น่าสนใจ ณ เวลานี้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วิศวกรปิโตรเลียมคืออะไร มีสาขาอะไรบ้าง

Petroleum engineer
วิศวกรปิโตรเลียม


วิศวกรปิโตรเลียม คือ วิศวกรที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมต้นน้ำ (upstream) โดยมีหน้าที่ในการสำรวจหาหรือออกแบบวิธีการที่จะผลิตน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียมที่สำรวจพบ นั่นคือหากมีการสำรวจพบชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตได้ ก็จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรที่จะพิจารณาและพัฒนาหาวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้สามารถผลิตปิโตรเลียมได้ในปริมาณที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดต่อเงินลงทุนมหาศาลที่ลงทุนไป

Reservoir engineer
วิศวกรแหล่งกักเก็บ




เป็นผู้ที่พิจารณาว่าในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมแต่ละแหล่งนั้นมีปิโตรเลียมที่จะสามารถนำขึ้นมาจากหลุมเพื่อใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณเท่าใดและวิธีการใดที่น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดที่จะสามารถนำก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขึ้นมาจากแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินได้มากที่สุด ทั้งนี้โดยการพิจารณาจากการกระจายตัวความดันและของเหลวตลอดบริเวณแหล่งกักเก็บ เพื่อการนี้วิศวกรแหล่งกักเก็บอาจจะต้องพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนเพื่อหารูปแบบ (สมการ) การไหลของของเหลวและค่าความดันภายในปิโตรเลียมที่สะสมตัวอยู่ ดังนั้นวิศวกรแหล่งกักเก็บจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการให้ค่าประมาณการของปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่จะสามารถนำขึ้นมาได้จากแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมแต่ละแหล่ง ซึ่งการประมาณการที่ดีนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถานภาพทางการเงินของบริษัท เนื่องจากความสามารถในการพัฒนานำปิโตรเลียมจากหลุมขึ้นมาใช้ประโยชน์ในอนาคตเป็นสิ่งที่นักการงินการธนาคารให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาในการให้เงินกู้แก่บริษัทหรือการประเมินค่าของบริษัทในอนาคต

Drilling engineer
วิศวกรขุดเจาะ




เป็นกกลุ่มคนที่ออกแบบและจัดทำกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้การเจาะหลุมสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมเป็นไปโดยประหยัดคุ้มค่าที่สุด หลุมที่เจาะไปจะเป็นเครื่องที่ยืนยันว่าสถานที่ซึ่งนักธรณีวิทยาและนักธรณีฟิสิกส์เลือกโดยอาศัยพื้นฐานทางวิชาการว่าน่าจะมีปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่นั้นมีปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่จริงหรือไม่ วิศวกรการเจาะจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัทที่ทำการเจาะ, ผู้ร่วมดำเนินการในงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิศวกรการเจาะจะต้องเข้าใจกระบวนการเจาะที่สลับซับซ้อน ซึ่งรวมทั้งการจัดการทางด้านคนและเทคโนโลยี เนื่องจากการเจาะหลุมสำรวจนั้นบ่อยครั้งที่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงถึงหลายร้อยล้านบาท ดังนั้นวิศวกรการเจาะจะต้องรับผิดชอบในการกำหนดวิธีการและควบคุมการทำงานให้สามารถลดค่าใช้จ่ายให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยที่ยังสามารถจัดหาข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์และประเมินแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ทำงานและผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง รวมถึงป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

Production engineer
วิศวกรการผลิด




หน้าที่ของวิศวกรการผลิตคือการจัดการให้หลุมที่เจาะไว้แต่ละหลุมสามารถทำการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงการติดตามและวิเคราะห์ความสามารถในการผลิตของแต่ละหลุมด้วย นั่นคือวิศวกรการผลิตจะเป็นผู้รับผิดชอบในการวางวิธีการในการที่จะนำปิโตรเลียมขึ้นมาจากหลุม โดยวิศวกรการผลิตจะเป็นผู้พิจารณาหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดมาใช้ในการพัฒนาแหล่ง ทั้งนี้โดยยังต้องพิจารณาถึงความหนืดของน้ำมันดิบ, อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดิบ, ความลึกและชนิดของปิโตรเลียมที่สะสมตัวอยู่ รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุนในโครงการดังกล่าว นอกจากนี้วิศวกรการผลิตยังมีหน้าที่พิจารณาหาระบบอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการแยกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำออกจากกันเมื่อนำขึ้นมาจากหลุมที่เจาะไว้แล้ว และเมื่อถึงระยะเวลาที่ความสามารถในการผลิตปิโตรเลียมของหลุมหนึ่ง ๆ ลดลงแล้ว วิศวกรการผลิตยังต้องเป็นผู้ที่จะต้องสำรวจหาเทคโนโลยีอื่น ๆ เพิ่มเติมที่จะนำมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของหลุมนั้น ๆ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวนั้นวิศวกรการผลิตจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิศวกรแหล่งกักเก็บและสายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพิจารณาดำเนินการในแต่ละแหล่ง

จบแล้วทำงานที่ไหน

National oil companies
บริษัทน้ำมันแห่งชาติ




บริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย มีที่เดียวคือ ปตท ครับ และ ปตท.สผ. ก็เป็นบริษัทลูกที่มีหน้าที่ในการสำรวจและผลิต

International oil companies
บริษัทน้ำมันข้ามชาติ




กลุ่มนี้จะเป็นบริษัทน้ำมันต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย หลักๆ ก็จะเป็น Chevron ครับ

Oilfield service companies
บริษัทที่ให้บริการทางด้านการผลิตปิโตรเลียม




บริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้แก่ Schlumberger, Halliburton, Baker Hugh, BJ Service, Scientific Drilling มีสาขาในไทยเกือบหมดแล้วนะ

เปิดสอนที่ไหนบ้าง

Chulalongkorn University
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




รับรุ่นละ 20 คน เลือกภาคตอนปี 2

Suranaree University of Technology
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี




รับรุ่นละ 40+ คน (ไม่แน่ใจตัวเลข) มีทั้งเลือกภาคตอนปี 2 และเข้าโดยตรง

รายได้และผลตอบแทน

อุตสาหกรรมปิโตรเลียมนับเป็นวงการหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนในระดับสูงแก่ผู้ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในภูมิภาคใดในโลก นอกจากนี้ลักษณะของตลาดแรงงานที่ไร้ขอบเขตยังนับเป็นความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของวงการนี้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของประเทศหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยบุคลากรที่มาจากหลากหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเพียงพลเมืองของประเทศนั้น ๆ เท่านั้น และจากการรายงานผลการสำรวจระดับและอัตราเพิ่มของรายได้ของบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของสมาคมวิศวกรปิโตรเลียม หรือ SPE (Society of Petroleum Engineer) พบว่าในหลาย ๆ ประเทศ/ภูมิภาค บุคลากรต่างถิ่นได้รับผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าบุคลากรที่เป็นประชากรของประเทศนั้น ๆ เสียอีก



จากผลการสำรวจรายได้ปี 2012 พบว่าเงินเดือนเฉลี่ยในภูมิภาคนี้จะอยู่ที่ 270,000 บาท/เดือน และสำหรับเงินเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 40,000 - 50,000 บาท

ดังนั้นอาชีพในวงการปิโตรเลียมจึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจแก่ผู้ที่มีความสามารถ ทั้งในแง่ของผลตอบแทนการทำงานที่ดีและความมั่นคงในอาชีพการทำงาน เนื่องจากปิโตรเลียมจะยังคงบทบาทในการเป็นทรัพยากรที่โลกต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สมดังสมญานามที่ได้รับมาแต่อดีตที่เปรียบปิโตรเลียม (โดยเฉพาะน้ำมันดิบ) เสมือน “Black Gold” ซึ่งคำกล่าวนี้จะยังคงเป็นจริงอยู่แม้ในปัจจุบันหรือในอนาคต

แสดงความคิดเห็น

>

33 ความคิดเห็น

PoPo 21 ธ.ค. 56 เวลา 13:55 น. 1

เพิ่มเติมนะครับ การทำงานในส่วนแท่นขุด ไม่จำเป็นต้องจบ วิศวกรปิโตรเลี่ยมเท่านั้น
จบเครื่องกลก็ได้ครับ เราจะเห็นการขุด การขุดก็ใช้ความรู้ด้านเครื่องกลนะครับ
ส่วนเงินเดือนอาจจะน้อยกว่าหน่อยเพราะว่า วิศวกรเครื่องกลหาง่ายกว่า ปิโตรเลียมนะครับ

และน้องคนไหนอยากทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ แต่อยากทำบนบกไม่อยากอยู่กลางทะเล
ก็สามารถทำได้ครับ ส่วนมากเท่าที่พี่เห้นคือ วิศวกรเคมี วิศวกรปิโตรเคมี หรือพวกจบเคมีวิทยามา
คนไปทำงานก็ส่วนมากก็จะเป็นเด็กที่จบจากสถาบันแนวหน้าด้านวิศวกรรมอยู่แล้ว
จุฬา ลาดกระบัง เกษตร บางมด ครับ

1
Chuan1997 21 ธ.ค. 56 เวลา 16:41 น. 2
พี่ครับ ผมอยากเรียนธรณีวิทยาแล้วก็ทำงานสายปิโตรเลียมนี่แหละครับ ผมอยากทำงานบนแท่นด้วย ถ้าจบธรณีมา จะทำงานบนแท่นได้ไหมครับ แล้วก็ธรณีกับวิศวะ อันไหนเรียนยากกว่าครับ
เยี่ยม


1
prawitr 30 ก.ย. 59 เวลา 10:03 น. 2-1

คุณก็ไปสมัครงานทีกรมทีดิน สิครับ จะอยากไปทำงานทำไหม บนแท่น ขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล

0
CcCccccc 29 ก.ย. 58 เวลา 11:04 น. 3-1

ทำไมจะเรียนคะเนี่ย ไม่ได้จำกัดเพศ เพศญ/ช ก็เหมือนกันค่ะ -0-

0
CcCccccc 29 ก.ย. 58 เวลา 11:06 น. 3-2

ทำไมจะเรียนไม่ได้คะเนี่ย ไม่ได้จำกัดเพศ เพศญ/ช ก็เหมือนกันค่ะ -0-

0
Popo 21 ธ.ค. 56 เวลา 20:11 น. 4

คงไม่ได้ทำบนแท่นขุดตลอดนะครับ เพราะธรณีส่วนมากจะไปอยู่ด้าน Reserch Survey
( วิจัย สำรวจ) มากกว่าครับ คงไปเป็นระยะ ๆ นะครับ
ถ้าน้องเรียนวิศวกรรมปิโตรเลี่ยม อันนี้ตรงสายแน่นอน คงยากอยู่แล้วครับ

แต่ถ้าเรียนธรณีวิทยา มันไม่ได้เน้นไปทางปิโตรเลี่ยมครับ มันเรียนเกี่ยวกับธรณี เกี่ยวกับดินนะ
ในไทยคงจะมีแค่ เกษตร กับ จุฬา ที่เปิด

เลือกที่ชอบดีกว่านะครับ ถ้าธรณี ก็จะเน้นไปทางวิจัยมากกว่าครับ

0
New Saranya 21 ธ.ค. 56 เวลา 20:25 น. 5

ถ้าเป็นผู้หญิงจะทำได้ไหมค่ะ 
คืออยากเรียนวิศวกรรมปิโตรเลียมอยู่แล้วว
แล้วมันยากไหมค่ะ
ต้องเรียนด้านไหนบ้างค่ะ ถึงจะมาต่อได้

0
Getitz.com 22 ธ.ค. 56 เวลา 04:15 น. 6

ผู้หญิงเรียนได้สบายมากครับ

การเรียนวิศวปิโตรเลียมไม่จำเป็นต้องอยู่บทแท่นครับ ทำงาน offlice ธรรมดาก็ได้ครับ

โกรธแล้วนะ

0
Getitz.com 22 ธ.ค. 56 เวลา 04:16 น. 7

ผู้หญิงเรียนได้สบายมากครับ

ถ้าจบปิโตรเลียมก็รับหมดครับ ไม่มีการเกี่ยงเรื่องเพศ

น้องไม่จำเป็นต้องอยู่บนแท่นครับ ทำงาน offlice ธรรมดาก็ได้ครับ

0
Getitz.com 22 ธ.ค. 56 เวลา 04:31 น. 8

ขอบคุณครับที่ช่วยเสริม

อยากให้น้องๆ เข้าใจก่อนว่า วิศวกรปิโตรเลียมก็คือวิศวกรปิโตรเลียม ไม่ได้สัมพันธ์กับแท่นขุด

กล่าวคือ ถ้าน้องอยากจะทำงานบนแทนขุด น้องไม่จำเป็นต้องเรียนวิศวกรรมปิโตรเลียม เรียนสาขาอะไรก็ได้ที่เค้าเปิดรับ โดยมากก็จะเป็น เครื่องกล ไฟฟ้า เคมี

แต่ถ้าน้องอยากเป็น วิศวกรปิโตรเลียม น้องก็ควรจะเรียน วิศวกรรมปิโตรเลียม จะตอนตรี หรือโทก็ได้ เช่น Chevron ตำแหน่งในกลุ่ม Petroleum Engineer โดยเฉพาะ Reservoir Engineer จะเน้นรับคนที่จบ วิศวกรรมปิโตรเลียมครับ ปตท.สผ. ก็เช่นกันครับ (อาจมีชื่อเรียกตำแหน่งแต่ต่างกันไป)

สรุปง่ายๆ คือ ถ้าเราเรียน วิศวกรรมปิโตรเลียม เราจะทำงานได้เกือบทุกส่วนในอุตสาหกรรมนี้ (upstream) แต่ถ้าเราจบสาขาอื่นเราก็ยังมีโอกาสได้ทำงานในวงการนี้อยู่ดีครับ แต่สำหรับ Reservoir Engineering นี่จะยากหน่อยครับ ส่วน Production engineer กับ Drilling engineer ไม่มีปัญหา

ว้าว

0
นักธรณีจุฬา 16 ต.ค. 57 เวลา 04:56 น. 12

ขอชี้แจงน่ะคับ...เผื่อน้องๆ รุ่นหลังเข้ามาอ่าน จะได้เปนประโยชน์ไม่มากก็น้อย
1.ตอนนี้ ธรณีวิทยา มี 6 มหาลัยคับ จุฬา มช ขอนแก่น สุรนารี มหิดล และ เกษตร
2.ธรณีวิทยา ไม่ได้เรียนเรื่องดินอย่างเด่วแน่ๆ คับ ต้องบอกว่าเราไม่ได้เรียนเรื่องดินด้วยซ้ำ
3.สายงานธรณีหลากหลายมากคับ เช่น สำรวจ(กรมทรัพ,กรมน้ำ ฯลฯ) เหมือง(EGAT,เพชร,ทอง) งานวิจัย(อาจารย์,ที่ปรึกษากรม/บริษัท ต่างๆ) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(GIS, ภัยภิบัติ) ฯลฯ และที่สำคัญใน oil&gas industry
4.ต่อเนื่องจากข้อ 3. น่ะคับ หากจบธรณีและอยากทำงานสายปิโตรเลียม มีที่รับแน่ๆ คับคือ geophysicist, geology ของ oil company (PTTEP,Chevron,Mubadala etc.) เน้นไปทางหาแหล่งสำรวจน้ำมัน เสมือนผู้ชี้เป้าหมาย อื่นๆ ของบริษัท services เช่น well planer, log analysis (Hali)
5.นักธรณีก้อมีตำแหน่ง หรือทำงานที่ rig น่ะคับ นั่นคือ wellsite geologist หรือนักธรีประจำแท่นเจาะ เปนคนจาก oil company จากบริษัท services ก้อมีน่ะคับ ex. mud logging(WTF, Schlum,DHI)

ประมาณนี้คับ

โดยส่วนตัวน่ะคับ มองว่าวิศวะ กับธรณี มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมพอๆ กันเลย ลองถามตัวเองดูคับว่าตัวเราชอบแบบไหน อันนี้ก้อต้องค้นคว้าขอมูลเอาน่ะ


อีกอย่างมองว่าเรียนวิศวะ มีตำแหน่งงาน และโอกาสที่จะทำงานบน rig เยอะกว่าแน่นอนไม่ว่าจะจบไฟฟ้า เครื่องกล ปิโตร เคมี ฯลฯ แต่ก็ต้องมองด้วยว่าจบมาแล้ว จะทำยังไงถึงจะเข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมได้ และปีๆ นึงวิศวะก้อจบเยอะน่ะะะะ

1
หญิง 4 เม.ย. 58 เวลา 23:51 น. 13-1

พี่ค่ะ ขอไอดี ไลน์หน่อยค่ะ ไม่งั้นก็แอดมาก็ได้น่ะ yp4241 อยากจะถามเรื่องเรียนหน่อยจะได้ตัดสินใจอะไรถูก

0
นักธรณีจุฬา 16 ต.ค. 57 เวลา 05:07 น. 14

จะเปนวิศวะ หรือธรณีวิทยา ก้อได้คับ แล้วแต่ชอบเลย

ขอเชียร์ คับว่า ผญ.ทำงานได้แน่นอน ยิ่งทำงานง่ายด้วยหากต้องลงริก เพราะจะมีคน support แน่ๆ 555 แต่ไม่ต้องกังวลไปน่ะคับ กดระเบียบมารยาทบนแท่นเจาะชัดเจนมาก ทุกคนจะให้เกียรติ ผญ. มากๆ

2
23112001 6 พ.ค. 59 เวลา 23:16 น. 14-2

ขอไอดีไลน์หน่อยได้มั้ยคะ อยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ หรือจะแอดมาก็ได้ค่ะ Cry2311

0
Nes. Tc 10 พ.ย. 57 เวลา 20:40 น. 15

พี่ครับ ตอนนี้ผมเป็นแค่เด็ก ม.4 เทอม2 แต่ผมดันมาสนใจเรื่องการจะเรียน วิศวกรรม ปิโตรเลียม ผมไม่รู้จะต้องเริ่มต้นยังไงดีน่ะครับ ถ้าให้ผมเริ่มเองผมว่าผมคงจะเริ่มไม่เป็น ขอคำสอนจากพี่ๆด้วยน่ะครับ
ปล. ขอขอบคุณมากครับ เยี่ยม

0
กฤตพล 6 เม.ย. 58 เวลา 07:44 น. 17

ขออนุญาตเรียนถามครับ ถ้าเราสนใจสอบต้องมีคุณสมบัติรับสมัครยังไงและสอบวิชาอะไรบ้างครับ

0
ศิริพร 13 ก.ค. 58 เวลา 11:12 น. 19

อยากทราบว่าอยากทำวิศวะปิโตรเลียม ต้องเรียนสายไหนคะ ตอนนี้เรียนชั้นชั้นม.2 อยากทราบแนวทาง ถ้าหากไปเรียนสายอาชีพแล้วจะผันมาเรียนสายสามัญได้ไหมเพ่อเข้าทำวิศวะปิโตรเลียมได้ไหมคะ ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

0