Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

“หยุดใยหิน” รุกหนัก สวนกระแสจิตสำนึกรับผิดชอบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไปสำหรับปรากฏการณ์การรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินในประเทศไทย ที่กำลังขยายวงกว้างขยับลึกลงไปในภาคเอกชนและภาครัฐ โดยเฉพาะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่หลายฝ่ายเริ่มหันมาให้ความสำคัญ และเรียกร้องถึงสำนึกรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคม

ที่เป็นผลมาจากความร่วมมือของหลากหลายองค์กร โดยมี เครือข่ายรณรงค์ต่อต้านแร่ใยหินแห่งประเทศไทย หรือ ทีแบน เป็นแกนนำ กับยุทธศาสตร์ สร้างเครือข่ายกระจายออกไปในพื้นที่ในหลายจังหวัด เกี่ยวกับการให้ความรู้ความเข้าใจ ถึงพิษภัยจาก “แร่ใยหิน” ที่ปะปนอยู่กับ วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ที่เข้าไปสัมผัส กับความเสี่ยงกับ โรคทางเดินหายใจ และร้ายแรงถึง “โรคมะเร็งเยื้อหุ้มปอด”

โดยเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นไปทั้งเรื่องของ CSR และ ความรับผิดชอบร่วมกัน ที่ได้ผลตรงเป้า หลากหลายข้อมูลเริ่มเข้าไปถึงภาคเอกชน และลามเข้าสู่ภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งในฐานใหญ่แห่งโครงการหลากหลาย ที่จะต้องมีแร่ใยหินเข้าไปเกี่ยวข้อง ที่ออกมาพร้อมตอบรับกับกระแส “ยกเลิกแร่ใยหิน”

“สมบุญ สีคำดอกแค” ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย หรือ ทีแบน เปิดว่า “จากแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่คาดว่าจะสูงขึ้นในอนาคต และการขับเคลื่อนผ่านภาครัฐที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากมีการดึงเวลาในการบังคับใช้มติคณะรัฐมนตรีปี 2554 เพื่อให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ทางเครือข่ายฯได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวมาเป็นการรณรงค์ขอความร่วมมือให้กับภาครัฐและภาคเอกชนคู่ขนานไปกับการเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกแร่ใยหิน  

ซึ่งทางเครือข่ายฯ จะเน้น มาตรการทางด้านสังคม และกฏหมาย ให้กลายเป็นสำนึกแห่งความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของภาคสังคม โดยได้ มีการตั้งแกนนำในหลายจังหวัด จากกลางคือกรุงเทพมหานคร จังหวัด สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา และ จังหวัดชลบุรี ซึ่งต่อไปจะเป็นการขยายเครือข่ายฯไปยังภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินการในทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ

ด้านศ.ดร.อภิชัย พันธเสน สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม “นพดล แก้วสุพัฒน์” นายกสมาคมอบต.แห่งประเทศไทย ว่า “ยอมรับว่ายังไม่เคยได้รับการประสาน แต่หากจะมีการรณรงค์ และเรื่องของแร่ใยหินเป็นอันตรายก่อให้เกิดโรคมะเร็งจริง ก็อยากให้มีการประสานไปยังกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งหากเป็นคำสั่งออกมา ทางสมาคมฯ ก็พร้อมที่จะทำความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิก อบต.ทั่วประเทศ เพื่อรับนโยบายและนำไปปฏิบัติต่อไป ”

ขณะที่ภาคเอกชน ที่เป็นภาคส่วนใหญ่ที่จะเข้ามามีบทบาท ในการให้ความร่วมมือยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ซึ่งหลังจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ประกาศให้ “แร่ใยหิน” มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเท่ากับพลูโตเนียม หลายฝ่ายก็เริ่มหันมาพิจารณาเกี่ยวกับสินค้า ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน

“เทสโก้ โลตัส” ค้าปลีกข้ามชาติชื่อดังก็เป็นอีกหนึ่งในหน่วยงานภาคเอกชน ที่เริ่มมีความตี่นตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  “ชาคริตโลตัสสำหรับเทสโก้โลตัสเอง กับเรื่องของแร่ใยหินแม้จะยังไม่มีนโยบายจากภาครัฐที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม แต่สินค้าที่มีแนวโน้มเป็นอันตรายกับประชาชนและผู้บริโภค ทางเทสโก้ โลตัส ก็ยังจะคงต้องเข้มงวด และปฏิบัติตาม คำขอร้องของกรมอามัยอย่างเคร่งครัด โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าซื้อมาขายไป ซึ่งมีการพิจารณาถึงคุณภาพ และกำหนดหลักการเพื่อให้สินค้า เหมาะเจาะปลอดภัยอยู่แล้ว โดยเน้นให้เกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภคเป็นหลัก

ส่วนกระแสCSR โดยเฉพาะเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ทางเทสโก้โลตัสจะมีฝ่ายที่ดูแลโดยเฉพาะ ซีเอสอาร์เป็นความต้องการของชุมชน เรื่องแร่ใยหินในการพูดมาพักใหญ่แล้วและองค์การอนามัยโลกก็ได้มีการตรวจสอบและออกประกาศไปแล้ว แต่สำหรับประเทศไทย ยังอาจไม่เป็นกระแสมากที่ควร โดยทางเทสโก้โลตัสจะพิจารณาจาก ความอันตราย และในอนาคตก็มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับกระแสซีเอสอาร์ในเรื่องนี้” นายชาคริต กล่าว

ขณะที่ในส่วนขององค์กรชั้นนำในภาคเอกชน อย่างหอการค้าไทย ที่กำลังรอท่าทีความชัดเจนจากภาครัฐ เกี่ยวกับ “แร่ใยหิน” และการยกเลิกแร่ใยหิน โดยยืนยันความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ หากทั้งหมดมีความชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กล่าวว่า เรื่องของการยกเลิกแร่ใยหินในประเทศไทยนั้น หากเป็นนโยบายของรัฐบาล และมีการประกาศชัดเจน ทางหอการค้าก็ยินดีที่จะสนับสนุนให้สมาชิกดำเนินตามแนวทาง ซึ่งจริงๆ เรื่องดังกล่าวหอการค้าไทยเป็นเพียงปลายทาง คำตอบว่าจะยกเลิกหรือไม่ และการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนนั้นควรจะต้องไปถามทางกระทรวงอุตสาหกรรม และทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะเป็นสองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สุด”

และทั้งหมดนี้คือ ภาพรวมแห่งความคืบหน้า ของการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยปลอดจากแร่ใยหิน ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไปทั้งในส่วนภูมิภาค และในภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ทั่วประเทศ ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ “สร้างกระแสธารแห่งจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคม” ถึงพิษภัยที่เกิดจาก “แร่ใยหิน” ที่เป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดมะเร็งกับมนุษย์ที่เข้าไปสัมผัส

อ้างอิง : 
นสพ.สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม 2556 – 3 มกราคม 2557

แสดงความคิดเห็น

>