Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

จิตตก!! บก.ใช้เวลาอ่านต้นฉบับแค่ 15 นาที...จริงหรือนี่?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ไปเจอบทความนี้มา...

http://porglon.exteen.com/20120308/entry

และเมื่อได้อ่านถึงตรงนี้ ถึงกับจิตตกเลยทีเดียว เพราะกำลังรอผลการพิจารณาอยู่พอดี

(เนื้อหาจากบทความ)

บรรณาธิการหลายสำนักพิมพ์เลยมีผู้ช่วยเพื่อคอยซัพพอร์ตเพื่อจะโฟกัสกับต้นฉบับจริงจัง แต่เอาเข้าจริงส่วนใหญ่ก็ไม่มีหรอกครับ เพราะนั่นคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อะไรที่บรรณาธิการทำได้ก็ทำไปก่อนเพราะการเซฟคอสเป็นหน้าที่สำคัญ เดี๋ยวหนังสือจะแพงเกินไป ในเมื่อคนไทยอ่านหนังสือเพียง 2% เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่อ่านกัน 10-15% การที่บรรณาธิการของไทยจะมีผู้ช่วยได้ก็ต้องอาศัยประสบการณ์มากๆ เป็นหลัก

เท่าที่รู้ มีเพียงสำนักพิมพ์แจ่มใสเท่านั้นที่ตั้ง กองบรรณาธิการคัดสรรต้นฉบับ ขึ้นมา เพื่อตะลุยอ่านต้นฉบับทั้งหมดก่อนนำเสนอบก. ขณะที่สำนักพิมพ์อื่นๆ บรรณาธิการส่วนใหญ่ก็ยังทำหน้าที่พิจารณาต้นฉบับกันต่อไป(ทั้งที่ไม่มีเวลา) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผลการพิจารณาจะไม่ได้รับการตอบรับแม้จะผ่านมา 2-3 เดือนแล้ว

หลายคนคงสังสัยใช่ไหมว่า แล้วแบบนี้บรรณาธิการจะได้อ่านต้นฉบับไหม?

คำตอบคือ ก็ได้อ่านครับ ทุกครั้งที่ไปรษณีย์ส่งมาบรรณาธิการจะเป็นคนเปิดซองเอง มองชื่อเรื่อง อ่านชื่อนักเขียน เปิดกวาดๆ หนึ่งรอบเพื่อดูความเรียบร้อยของต้นฉบับ ดูรูป(ถ้ามี) แล้วก็อ่านหน้าแรก (บางครั้งก็อ่านคำนำหรือจดหมายแนะนำตัวก่อน) ถ้าน่าสนใจก็อ่านหน้าต่อไปเรื่อยๆ ประมาณ 10-15 นาที ก่อนกลับไปทำงานของตัวเองต่อ

และการพิจารณาต้นฉบับดังกล่าวก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

หา!! อะไรนะ!! หลายคนคงอยากอุทานเป็นภาษาฮิบบรู

คนที่มีความฝันอยากเป็นนักเขียน อดตาหลับขับตานอนเขียนต้นฉบับมาเป็นแรมปี บรรณาธิการอ่านแค่เนี่ยเองเหรอ ทำงานชุ่ยเกินไปหรือเปล่าเนี่ย?

อ่านแค่นี้จริงๆ ครับ และยืนยันไว้ว่าไม่ชุ่ยหรอก

เพราะนักอ่านที่เลือกซื้อหนังสือตามแพง เขาอ่านไม่ถึง 3 นาที (ก่อนหยิบเล่มใหม่ไปเรื่อยๆ หยุดอ่านจริงจังเฉพาะเล่มที่สนใจ)

10-15 นาที ถือว่าบรรณาธิการให้โอกาสมากกว่าแล้ว เพราะบ.ก. ที่ทำงานมาหลายปีจะแบ่งเกรดต้นฉบับ A B และ C ได้แล้วครับ เพราะมันจะมีมาตราฐานการพิจารณาอยู่ คือ

หนึ่ง A คือ ต้นฉบับที่ทำหนังสือได้ ส่วนใหญ่บก. จะกลับมาอ่านต่อจนจบ และโทรกลับทันทีเพราะไม่อยากให้หลุดไปที่อื่น

สอง B คือ ต้นฉบับที่ก้ำกึ่ง อาจต้องเขียนใหม่หรือปรับปรุง อาจกลับมาอ่านต่ออีกครั้งหรือไม่ก็ลืม อาจอีเมลกลับหรือไม่อีกเมลกลับ แต่ถ้าชอบก็จะเมลไปชมนะ

สาม C คือ ลงตระกร้า อันนี้ไม่ติดต่อกลับแน่นอนเพราะไม่มีเวลาจริงๆ

การพิจารณาอย่างรวดเร็วนี้ เปรียบเทียบกับวงการฟุตบอลง่ายๆ ว่า สำหรับคนที่เล่นบอลเป็นหรือโค้ช แค่เห็นการจับบอลหรือเลี้ยงบอลของผู้เล่น นี่รู้เลยนะครับว่าเล่นเป็นหรือไม่เป็น อย่าง พวกนักบอลโรงเรียน ตัวยูลีก(มหาลัย) หรือพรีเมียร์ลีก การเคลื่อนไหวร่างกายทุกคนจะไม่มีส่วนที่สิ้นเปลืองพลังงาน ท่ามันจะออกมาเลยว่า ซ้อมมาเยอะ เล่นมานาน การล็อคบอลจะเนียนตามาก(เพราะล็อกมาเป็นหมื่นๆ ครั้ง) ต่างจากคนทั่วไปที่เล่นไม่นาน ท่ามันจะดูก๊องแก๊งพิกลๆ

ดังนั้นการพิจารณาต้นฉบับแบบอ่านคร่าวๆ ก็พอรู้แล้วครับ (และจะเลือกอ่านจริงจังเฉพาะอันที่สนใจ) ต้นฉบับเกรด A ส่วนใหญ่จึงไม่ต้องรอคอย ส่วนต้นฉบับเกรด B และ C ก็จะอยู่ในภาวสูญญากาศ ยิ่งถ้าเป็นช่วงงานหนังสือ ต้นฉบับเกรด B ก็จะถูกลืมไปเลย ถ้าไม่ทวงถามก็จะไม่ได้คำตอบ และจำนวนต้นฉบับที่มากมายมหาศาลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บรรณาธิการก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ ครั้นจะโทรไปบอกทุกคนว่า

“สวัสดีครับ ต้นฉบับที่ส่งมาไม่ผ่านการพิจารณานะครับ” ก็คงมีคนเข้าใจผิดกันได้ ทั้งที่จะบอกด้วยความหวังดีว่าจะได้ไม่เสียเวลา แต่คงจะเกิดเคสดราม่าแบบนี้ขึ้นได้

“โห สำนักพิมพ์ XXX ส่งต้นฉบับไปแค่ 7 วันโทรมาปฏิเสธซะแล้ว ไม่รู้ซะแล้วว่ากรูเป็นใคร กรูเจเคโรลลิ่งเมืองไทยนะเว้ยยยยยย สาดดดดด โห ส่งที่อื่นก็ได้วะ”

บรรณาธิการส่วนใหญ่เลือกเลยถนอมน้ำใจแทน ใช้ความเงียบเป็นคำตอบ และเชื่อมั่นว่าคนที่อยากจะเป็นนักเขียนจริงๆ จะโทรมาถาม หรือไม่ก็ส่งต้นฉบับที่สอง สาม สี่ และห้ามาให้อ่าน จนเห็นแค่ชื่อก็จำได้ว่า-หมอนี่มันเอาอีกแล้ว และบางทีเรื่องราวอาจกลายเป็นแบบนี้

“ฮัลโหล สวัสดีครับ เออ...นี่บรรณาธิการสนพ. XXX นะ เห็นส่งต้นฉบับมาหลายทีแล้ว พรุ่งนี้ว่างไหม เข้ามาคุยกันหน่อยสิ”

อยากให้เชื่อมั่นว่า... ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้นจริงๆ ครับ

--------------------------------------------------------------

มันเป็นความจริงหรือนี่! ที่ว่ากวาดสายตาอ่านคร่าวๆ แค่ 15 นาทีก็รู้ผลแล้ว งั้นสำหรับคนที่ไม่ผ่าน อันที่จริงแล้วผลพิจารณาก็ออกตั้งแต่วันแรกๆ แล้วสิ

แล้วกรณีที่ไม่ผ่านแต่ บก.เค้าวิจารณ์กลับมาหลายย่อหน้านี้คือ ??? จากการอ่านคร่าวๆ เท่านั้นหรือ

แล้วอยากรู้ว่า 15 นาทีเนี่ย อ่านจากหน้าแรกไปเรื่อยๆ หรือเปิดสุ่มดูแต่ละหน้า เปิดดูตอนจบ เปิดดูฉากไคลแมกซ์ท้ายๆ เปิดดูตอนสำคัญๆ

ที่หายเงียบไปเพราะต้องการให้นักเขียนโทรศัพท์ หรือส่งอีเมล์ไปทวงคำตอบเองนี่จริงหรือไม่ (มิน่าล่ะ คนส่วนใหญ่ที่ส่งเมล์ไปถามมักจะได้รับคำตอบกลับมาทันทีว่าไม่ผ่าน) เพราะถ้าผ่านก็คงไม่ต้องตามทวง เค้าคงรีบบอกเลย

และ...จริงหรือไม่ที่นามปากกาเดิมที่ส่งไปหลายครั้ง อาจมีผลต่อความสนใจในต้นฉบับมากขึ้น

และ...ทำไมการทำงานของ บก.ไม่เหมือนที่คิดไว้เลยอ่ะ เรานึกว่าอ่านจบทุกเรื่อง หรืออย่างน้อยก็ให้ได้สัก 1/3 ก็ยังดีถึงจะตัดสินผลได้เสียอีก

และ...สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่มีการดำเนินการแบบนี้เลยหรือเปล่า หรือเฉพาะสำนักพิมพ์ไหน จะได้รับรู้เอาไว้และเตรียมใจล่วงหน้า




แสดงความคิดเห็น

>

35 ความคิดเห็น

lilin4646 24 ม.ค. 57 เวลา 16:57 น. 1

เอาแง่การพิจารณาแบบเพียวๆ เลยนะครับ ไม่ปนเรื่องที่ บก. ต้องทำงานอื่นๆ อีกมากมายอีก

นิยาย 1 เรื่อง ผมคิดว่ามีลำคับการพิจารณาแบบนี้
1. อ่านเรื่องย่อ 1-2 นาที ถ้าไม่ตรงแนวสำนักพิมพ์ก็ไม่ผ่านเลย
2. อ่านตอนต้น แค่ 5-6 หน้า เพื่อดูสำนวนและการเปิดเรื่อง ถ้าดีก็อ่านต่อ ไม่ดีก็ไม่ผ่าน
3. อ่านไปเรื่อยๆ
เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าน่าเบื่อ - ไม่ผ่าน
มีเรื่องที่ตีพิมพ์ไม่ได้เขียนอยู่ - ไม่ผ่าน
เนื้อเรื่องออกทะเลแบบกู่ไม่กลับ - ไม่ผ่าน
คำผิดมากเกิน - ไม่ผ่าน
ไคลแม็กไม่มี - ไม่ผ่าน
จบไม่ดี(จบแบบปาหมอน ฯลฯ) - ไม่ผ่าน
ดีหมดทุกอย่าง - ผ่าน

บางครั้งยังไม่ต้องอ่านก็ไม่ผ่านก็มีนะครับ เช่น จำนวนหน้ามากหรือน้อยเกินไป

แล้วยังมีปัจจัยที่ไม่ได้มาจากนิยายอีก เช่น
1. สนพ. มีแผนออกนิยายยาวไปถึงปีหน้า บก. คงไม่สรรหาต้นฉบับตั้งแต่ต้นปีหรอกครับ
2. นักเขียนปัจจุบันกำลังเขียนเรื่องใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่านักเขียนที่ออกผลงานกับ สนพ. นั้นๆ เป็นประจำอยู่แล้วจะมีโอกาสที่ดีกว่า
3. งานหนังสือกำลังมา ก่อนงานหนังสือ 3 เดือน เป็นช่วงที่ "ไม่ควร" ส่งต้นฉบับมากที่สุด เพราะบก. ต้องอัดงานหนังสือเยอะมาก ทำหนังสือ ทำการโปรโมท ทำกิจกรรม บลาบลาบลา

คำถามคือ ทำยังไงนิยายถึงจะได้ตีพิมพ์ชิมิ ไปอ่านที่นี่ครับ 
http://www.dek-d.com/board/view/2701248

แต่ก็ยังมีทางลัดอยู่นะ กับการได้ตีพิมพ์
1. ยอดวิวในเด็กดี ดีมากกกกก
2. บก. บังเอิญเข้าไปอ่านแล้วชอบพอดี
3. ชนะการประกวดอะไรสักอย่าง

อืม...อ่านแล้วรู้สึกการจะได้ผ่านพิจารณานี่มันยากจังแฮะ...อยากให้คิดแบบนี้ครับ นักเขียนมีเป็นพัน หนังสือที่ได้ตีพิมพ์ต่อเดือนมีแค่หลักสิบ เราต้องพัฒนาตัวเองให้อยู่ยอดของพีระมิดให้ได้ ถ้าอยากประสบความสำเร็จ


0
หืมsn, 24 ม.ค. 57 เวลา 17:58 น. 2

ผมขอช่วยตอบแล้วกันนะครับ

ปัจจัยนั้นมีหลายปัจจัยครับ ยิ่งถ้าส่งสำนักพิมพ์ใหญ่ที่ บก.งานเยอะมากอยู่แล้วนี่ ไม่ต้องถึง 15 นาทีก็ได้ครับ

3 นาทีกวาดสายตาอ่านเรื่องย่อ (1 หน้า A4 บก.อ่านไม่ถึงนาทีครับ ความเร็วในการอ่านสูงมาก)

ถ้าไม่น่าสนใจ...จะลองอ่านการดำเนินเรื่องและเปิดปมให้ติดตาม

ถ้าภายใน 10 หน้า A4 ยังทำให้รู้เรื่องราวว่าเกิดที่ไหน พล๊อตคืออะไร ภาษาดีพอจะได้ตีพิมพ์ไหม

ก็ไม่ผ่านแล้วล่ะครับ....ลองคิดสภาพเวลาเราเปิดนิยายอ่านสิครับ เราทนอ่านจนถึง 30% ของเล่มเลยหรือครับถ้าไม่สนุก?

"มันจะสนุกเมื่อกลางเล่มไปแล้ว!" คำนนี้เก็บใส่กระเป๋าได้เลยครับในโลกความจริง

"30 หน้า (นิยาย) ถ้ายังตึงคนอ่านไม่ได้" นิยายเรื่องนั้นไม่ผ่านครับ นี่หลักสากลเลยครับ

"มันจะสนุกกลางๆ เล่มและตอนท้ายๆ" จะมีคำถามตามมาครับ "แล้วทำไมไม่ทำให้มันสนุกตั้งแต่ต้น"

ลองคิดดูนะครับ เราเดินไปเลือกซื้อนิยายสักเล่ม แต่เวลาอ่านไปสิบกว่าหน้าแล้วไม่สนุก โปรยปกหลังก็ไม่น่าอ่าน....จะอ่านต่อไปจนถึงเกือบครึ่งเล่มหรือครับ

ถ้ามีหนังสืออื่นให้เรารออ่านอีกเป็นร้อยๆ...

บก.เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามรถรับรู้ได้ว่าเรื่องไหนไม่ผ่านได้ใน 10 นาทีแรกแค่นั้นแหละครับ

แต่ถ้าเรื่องไหนจะผ่านน่ะ ใช้เวลาพิจราณากันชาตินึงแหละครับ ขั้นตอนหนังสือที่จะผ่านคือดังนี้น

บก.ที่อ่าน 2 คนเห็นตรงกันว่าผ่าน

บก.ใหญ่เห็นด้วย

เอาเข้าที่ประชุมใหญ่

ฝ่ายขายโอเคว่าน่าจะขายได้ไม่ขาดทุน

ที่ประชุมอนุมัติว่าผ่าน....

นั่นล่ะครับจึงใช้เวลา 3 เดือนสำหรับการพิจารณา (สำหรับเรื่องที่ผ่านแบบฉลุยนะครับ)

ส่วนเรื่องที่ไม่ผ่านนั้น อย่างที่บอกนั่นละครับ มันไม่ผ่านตั้งแต่ 10 กว่านาทีแรก ไม่ผ่านตั้งแต่เรื่องย่อ และไม่ผ่านตั้งแต่ 30 หน้าตรึงคนอ่านไว้ไม่ได้แล้วครับ

แต่คำถามก็คือมันต้องไปต่อคิวครับ...อ่านตามคิว (นอกจากพวกพล๊อตเจ๋งมากๆ น่าสนใจมากๆ นั่นละครับจึงจะถูกนำมาพิจรณาก่อน)


บก.สนใจไม่สนใจในครั้งแรกอยู่กับ "เรื่องย่อ" ครับ เรื่องย่อน่าสนจ...เขาก็อย่างอ่านก่อนครับ

0
เคย์เซย์ (Makoto-sang) 24 ม.ค. 57 เวลา 18:37 น. 4

ต้องเขาใจบ.ก.ล่ะครับ เขาไม่ได้มีหน้าที่แค่พิจารณาผลงานอย่างเดียว แต่ยังมีหน้าที่ประสานงานและจัดทำรูปเล่มด้วย เพราะอย่างนั้นเวลาอ่านจะลดน้อยลงไปโดยปริยาย

0
จิ้ง 24 ม.ค. 57 เวลา 18:46 น. 5

พยักหน้ายอมรับเรื่องการแบ่งเกรดต้นฉบับครับ ต้นฉบับบางเรื่องมองปราดเดียวก็รู้เลยว่ามันเหมาะหรือไม่เหมะกับสนพ เช่น สนพ นิยายรักใสๆ ส่งนิยายอิโรติกมา นิยายผีๆ ส่งนิยายวายมา นิยายแนวผู้ใหญ่ ส่งนิยายอีโมค่อนมา นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบภาษาบรรยาย บางคนมามีแต่บทพูด มุ้งมิ้งๆ นางเอกวี๊ดว๊ายๆ อยู่เดียว ไม่รู้ทำอะไรที่ไหนยังไง ผ่านไป 5-6ตอนยังไม่เข้าเรื่องเลย มันก็คัดได้งานๆ นะครับ ต้นฉบับบางเรื่องก่ำกึ่งก็อานพิจารณานานหน่อย บางเรื่องแปะน่าสนใจหรือคนเขียนมีดีกรีอยู่แล้ว มันก็ทำให้สนพ.วางใจที่จะหยิบมาพิมพ์

แต่-เรื่องอ่านต้นฉบับแล้วไม่ผ่านแต่ดองไว้เพราะอยากถอนมน้ำใจนักเขียน อาจจะมีผมว่าน้อยนะครับ และคงเก็บไว้ไม่ผ่านหรอก ส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นนิยายที่ในประเภทข้างต้นนั่นแหละ

0
Hokzee 24 ม.ค. 57 เวลา 20:16 น. 7

อื้ม... จากความคิดเห็นนี้ทำให้ผมเห็นอะไรๆ หลายอย่างในแวดวงนิยายไทยเลยครับ

ตัวผมเองอ่านเริ่มตั้งต้นเข้าวงการนิยายมาได้ไม่ถึงปี แต่เรื่องที่ทำให้ผมตัดสินใจเข้ามาในแวดวงนี้คือเรื่องที่ตอนแรกๆ อ่านแล้วดูจืดๆ จางๆ ไม่มีพริกมีเกลืออะไรเท่าไร(เป็นนิยายญี่ปุ่นนะครับ) แต่พออ่านไปตอนหลังๆ ผมพูดได้เพียงแค่ว่าสุดยอดและอยากปรบมือให้คนเขียน timeline เรื่องนี้จริงๆ เรื่องที่กล่าวถึงคือเรื่อง Steins-Gate ครับ

ในทางกลับกัน ผมเคยอ่านนิยายแปลของเกาหลีบางเรื่องที่เป็นแนวแฟนตาซีหน่อยๆ เหมือนกัน เปิดเรื่องดีมาก พูดตรงๆ ว่าบทแรก 30 กว่าหน้าผมวางไม่ลง น้ำตาคลอเป้าเลยครับ ทว่าหลังจากตอนนั้นมันก็ช่างจืดจางและไม่ทำให้ผมซื้อเล่ม 2 ได้

ถึงตรงนี้ผมคิดว่ามันก็เหมือนที่คนชอบพูดว่า "อย่ามองแต่รูปลักษณ์ภายนอก" แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้ล่ะมั้งครับ

0
Hichikata Yuri 24 ม.ค. 57 เวลา 21:37 น. 8

Steins Gate
ชอบมากเลยค่ะเรื่องนี้ แต่เราดูเป็นอนิเมะนะ
ตอนแรกดูแล้วก็เนือยชะมัด คิดว่าคงไม่สนุกแน่
แต่ก็ทนดูต่อจนถึงกลางเรื่อง

พระเจ้า
สุดยอดที่สุด
กลายเป็นเมะในดวงใจไปเลยค่ะ ><

แค่ไม่กี่ตอนมันตัดสินไม่ได้จริงๆนั่นแหละ

0
LLLLLL 25 ม.ค. 57 เวลา 08:29 น. 9

ผมว่าคุณไม่ได้ใจความที่ส่งไปทั้งหมดนะครับ

ที่บอกว่า 30 ฟหน้าแรกต้องตรึงคนอ่านได้...นั่นหมายความว่าทำให้เขาสนใจได้ หลังจากอ่านเรื่องย่อแล้ว

อย่างสเตนเกทที่คุณว่าม อันนั้นเขาผ่านตั้งแต่เรื่องย่อแล้วครับ...บางทีผมว่าการที่เราว่าเข้าใจอะไรหลายๆ อย่าง...อาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นก็ได้

0
LLLLLL 25 ม.ค. 57 เวลา 08:37 น. 10

บางคนก็บอกว่าต้องดูที่เนื้อใน....แต่บางทีผมก็มั่นใจว่า

ถ้าคุณมีเรื่องที่คุณบอกว่าสนุกกลางเรื่อง วางคู่กับนิยายไต้หวันที่คุณชอบตั้งแต่แรกวางคู่กันให้เลือกสองเล่ม โดยไม่ได้ไปยืนอ่านที่ร้านทั้งหมดเล่ม

ผมก็มั่นใจว่าคนจะซื้อ-นิยายไต้หวันที่คุณว่ามันดึงดูดนั่นมกกว่าครับ

ทุกวงการของที่ี 'ขายได้' มักได้รับโอกาสก่อนเสมอ

ส่วนของที 'ดี...แต่ขายยาก' ก็ต้องรอเวลาพิสูจน์กันไป

0
Hokzee 25 ม.ค. 57 เวลา 13:11 น. 11

ผมว่าผมก็เข้าใจแบบที่คุณว่าทั้งหมดนะครับ

แล้วก็ชื่นชมด้วยที่คุณทำให้ผมได้เข้าใจวงการนิยายไทยกว้างมากขึ้น มันก็แค่ธุระกิจไงครับ

ผมเจ้าใจผิดรึเปล่า?

0
ตอบนะ 25 ม.ค. 57 เวลา 15:33 น. 12

ผมว่าก็เข้าใจไม่ผิดนะครับ เพราะอย่างสเตนเกทก็คงไม่ได้ให้คุณดูฟรีๆนะ
เอ็ะ...หรือว่าโหลดเอา...เอ้อ...ถ้าอย่างนั้นไม่ธุกิจครับ
แต่ผมว่าที่คุณชอบเน้นว่า...วงการนิยายไทย?
หนังสือการ์ตููนญี่ปุ่น สเตนเกท หนังฮอลลีวูด คงทำให้ดูฟรีมั้งครับ...เมืองอื่นประเทศอื่นไม่ใช่ธุรกิจ?
ผมว่าที่มีปัญหาคือ..

อะไรก็..."อ้อ...เมืองไทยเป็นอย่างนี้เอง"

ถ้าอยากให้ดีขึ้่น ลงมือทำครับ ไม่ใช่พูดเหมือนเหยียดหยามวงการที่เขาทำงานกัน

0
Hokzee 25 ม.ค. 57 เวลา 15:48 น. 13

พูดถูกครับ 'ลงมือทำ' ผมว่ามันง่ายยกว่าจะไปเปลี่ยนคนอื่นหรือนั่งแพล่มอะไรโดยไม่เคยทำเอง

แต่ปัญหาคือผมไม่ชอบระบบของบ้านเราสักเท่าไร แค่นั้นแหละครับ

อ้อ... เมืองไทยเป็นอย่างนี้เอง << ส่วนตัวแล้วชอบคำนี้นะครับ

และผมเองก็เป็นคนไทยด้วย...

ปล. ถึงจะโหลดเอามันก็ธุระกิจอยู่ดีแหละครับ แค่คนละด้านเท่านั้นเอง

0
ผู้แอบอ่าน 25 ม.ค. 57 เวลา 16:11 น. 15

ชอบตอนที่ว่า

"เปรียบเทียบกับวงการฟุตบอลง่ายๆ ว่า สำหรับคนที่เล่นบอลเป็นหรือโค้ช แค่เห็นการจับบอลหรือเลี้ยงบอลของผู้เล่น นี่รู้เลยนะครับว่าเล่นเป็นหรือไม่เป็น อย่าง พวกนักบอลโรงเรียน ตัวยูลีก(มหาลัย) หรือพรีเมียร์ลีก การเคลื่อนไหวร่างกายทุกคนจะไม่มีส่วนที่สิ้นเปลืองพลังงาน ท่ามันจะออกมาเลยว่า ซ้อมมาเยอะ เล่นมานาน การล็อคบอลจะเนียนตามาก(เพราะล็อกมาเป็นหมื่นๆ ครั้ง) ต่างจากคนทั่วไปที่เล่นไม่นาน ท่ามันจะดูก๊องแก๊งพิกลๆ"

เป็นการเปรียบเทียบได้ดีมากๆเห็นภาพชัด อย่างที่มือใหม่อย่างผมเข้าใจ

บอกตัวเองว่า ... ฝึกเขียน ฝึกเขียน ฝึกเขียนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


ขอบคุณกระทู้นี้มากครับ ^__^

0
ผู้แอบอ่าน 25 ม.ค. 57 เวลา 16:18 น. 16

คิดว่าด้วยวิชาชีพ บ.ก เลเวลการอ่านสูง วิเคราะห์เรื่องออกอ่านทะลุ เรื่องไหนดีหรือแย่คงรู้ได้

แต่ผมก็เชื่อว่า พวกเขาต้องพลาดเรื่องดีๆไปบ้างแน่ๆ เอาใจช่วยทุกคนให้สู้ครับอย่าท้อ

0
lilin4646 25 ม.ค. 57 เวลา 16:36 น. 17

สนุกดีๆ เอาอีกๆ ...อ้าวไม่ใช่เหรอ

อย่าเอาญี่ปุ่นมาเทียบกับไทยครับ พฤติกรรมผู้บริโภค ตลาด รสนิยมมันไม่เหมือนกัน

บอกตรงๆว่า ถ้า Steins-Gate ไม่ได้เป็นอนิเมชั่น มันก็ไม่ได้ตีพิมพ์ในไทยหรอกครับ เพราะนิสัยคนไทยคือจะทดลองอ่านแต่ตรงแรกๆ เท่านั้นถึงจะซื้อ เนื่องจากหนังสือนับเป็นฟุ่มเฟือยที่แพงครับ เวลาเลือกก็ต้องเลือกเรื่องที่สนุกอยู่แล้ว

ถามจริงๆ ถ้าไม่ได้ดูอนิเมะมาก่อน จะซื้อไลท์โนเวลเล่มหนาเท่ากับพจนานุกรมแบบนั้นที่ 30% แรกโคตรน่าเบื่อไหมครับ

ส่วนถามว่ามันเป็นธุรกิจไหม ก็ใช่อะ สนพ. ไม่ใช่องค์กรการกุศล แต่เป็นองค์กรที่แสวงหากำไรอยู่แล้ว

คนไทยอยากเป็นนักเขียนหลักหมื่น คนที่ได้ตีพิมพ์มีแค่หลักสิบ เขาก็ต้องเลือกเรื่องที่สนุกตั้งแต่ต้นจนจบมากกว่าอยู่แล้ว

ฮา เมืองไทยเป็นแบบนี้นี่เอง คุณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มันเป็นแบบนี้เหมือนกัน จงภูมิใจซะละครับ

0
เคียงพิณ 25 ม.ค. 57 เวลา 17:22 น. 18

มัด บ.ก.ให้อยู่หมัดตั้งแต่ 3 บรรทัดแรกสิครับ ทำได้ไหม ถ้าทำได้ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง ส่วนตัวทำไม่ได้เพราะไม่มีความสามารถขนาดนั้น ก็เลยโดนปฏิเสธอยู่เรื่อยเลย T_T แต่มีตัวอย่างให้ดูครับ เป็นบทเปิดเรื่องที่ดูมีพลังดีครับ

- "นี่คือเรื่องราวของชายคนหนึ่ง ซึ่งได้หญิงม่ายไม่เต็มเต็งมาเป็นเมีย (เรื่องคงจบตรงนี้ได้ ถ้าหากว่าหญิงม่ายคนนี้ไม่เคยเป็นเมียพ่อของเขามาก่อน)"
          บทเปิดเรื่อง คำพิพากษา ชาติ กอบจิตติ


- หล่อนพับกระดาษแผ่นนั้นใส่คืนลงในซอง สีหน้าหม่นหมองด้วยความวิตกกังวล มันคือจดหมายเตือนจากธนาคารเรียกร้องให้ชำระค่างวดเงินกู้ก้อนใหม่ซึ่งมารดาของหล่อนกู้มาเมื่อปีที่แล้ว โดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน
        บทเปิดเรื่อง กลุรัตน์ - แหวนหมั้น

สักวันจะต้องทำได้แบบนี้บ้าง สู้ๆ


0
เคย์เซย์ (Makoto-sang) 27 ม.ค. 57 เวลา 05:50 น. 19

การมองในมุมตรงข้ามกันสามารถกระทำได้ครับ แต่ต้องเข้าใจว่าในสิ่งที่มองตรงกันข้ามนั้น สามารถเกิดขึ้นจริงในตลาดนิยายไทยในตอนนี้ได้หรือไม่ ตราบใดที่นิยายไทยยังเป็นอย่างในปัจจุบันนี้ มันก็ยากที่มุมมองตรงกันข้ามนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้

เชื่อหรือไม่ว่าไม่มีบ.ก.คนไหนไม่อยากออกนิยายดีๆ หรอกครับ ไม่มีบ.ก.คนไหนอยากอ่านนิยายแค่วันละ 10 กว่านาทีแบบนี้หรอก แต่ในเมื่อเขามีงานอื่นที่ต้องทำ งานมากมายกองสุ่มอยู่กับตัวเอง มันก็ไม่มีทางเลือก คิดว่าบ.ก.ชอบนักหรือครับ กับการอ่านแค่ 15 นาทีโดยที่ไม่ได้ ha เหวอะไรเลยสักอย่าง ไม่ได้สัมผัสนิยายอย่างเต็มที่เหมือนกับสมัยเป็นนักเขียนนักอ่านธรรมดา มันมีกรณีว่าอ่านแค่ต้น ๆ แล้วไปเจอหลังเซ็นสัญญาว่าตอนท้ายจบเศร้าต้องขอให้นักเขียนแก้ไขต้นฉบับมาแล้วด้วยซ้ำ บ.ก.ก็ไม่ปลื้มนักหรอกครับที่ต้องมานั่งอ่านแค่นี้ แต่ในเมื่อมันทำเป็นอาชีพแล้ว และตลาดบีบให้เป็นแบบนี้ ก็ได้แต่ทำใจ ใครอยู่สนพ.ใหญ่มีทีมอ่านก็ดีไป ใครอยู่สนพ.เล็กต้องอ่านเองก็ซวยหน่อย ทำแม่มสากกระเบือยันเรือรบ บางคนต้องรับบทแม่บ้านปิดเปิดสนพ.เองอีกต่างหาก

คุณจะมองในมุมงตรงกันข้าม มันก็เป็นสิทธิที่คุณพึงกระทำได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่คนซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้ามคุณจะแสดงความเห็นขัดแย้งกันออกมาถกกับคุณด้วย แต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกันไป มันอยู่ที่ว่าคุณเลือกที่จะทำความเข้าใจและยอมรับสภาพที่เป็นอยู่หรือเปล่า หรือจะยืนกรานว่ากรูอยู่ฝั่งตรงข้าม กรูคิดของกรูแบบนี้ และกรูจะด่าต่อไป

มันเป็นสิทธิของคุณ คุณทำได้อย่างใจคิด แค่ต้องยอมรับว่าคนที่อยู่ตรงกันข้ามกับคุณพร้อมจะปะทะกับคุณเช่นกัน

อนึ่ง ในฐานะของคนที่อยู่ในวงการนี้มาก็ค่อนข้างนาน ผมบอกได้เลยว่าเอาตลาดไทยไปเทียบกับตลาดนอกไม่ได้ ไม่ว่าจะมองด้วยมุมไหน มันก็ไม่เหมือนกัน แม้แต่ระบบการพิจารณาของไทยยังนับว่าสบายกว่าชาติอื่นๆ มาก แต่ตรงนี้มันก็เป็นผลมาจากกระแสการอ่านของคนในประเทศเหมือนกัน

0
บัวแดง 25 ม.ค. 57 เวลา 18:07 น. 20

เราว่า ปัจจัยที่คุณบอกว่า สนพ. มีแผนออกนิยายยาวแล้ว ต้นฉบับเลยไม่ผ่าน อันนี้ไม่น่าเป็นจริงนะคะ เพราะต้นฉบับไม่ใช่เนื้อสด ไม่เน่าไม่เสีย ให้ผ่านแล้วไปลงแผนการผลิตต่อเลยก็น่าจะได้
(แต่นักเขียนจะรอไหวหรือเปล่านี่สิ... คงต้องเลือกเอาระหว่างผ่านแต่ได้พิมพ์ปีหน้าเพราะติดคิวเล่มอื่น กับถอนต้นฉบับแล้วไปลุ้นกับที่อื่นต่อ)

เพราะลองคิดดูว่า ถ้าสนพ. เริ่มหาต้นฉบับแค่ตอนที่ไม่มีอะไรจะพิมพ์แล้ว คงเสี่ยงมากอะค่ะ กว่าจะเจอเรื่องที่ผ่าน กว่าจะเอาไปเข้า process ต่างๆ จนเป็นเล่มได้ เราว่าเค้าต้องหาต้นฉบับตุนไว้อยู่แล้วละค่ะ

0