Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ครูแห่งแผ่นดิน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระสมัญญานามหลายพระนาม พระสมัญญานามหนึ่งคือ “ครูของผู้คนในแผ่นดิน” จากการที่ทรงมุ่งมั่นทรงงานหนักและเสียสละพระองค์เองอย่างใหญ่หลวงในการพัฒนาการศึกษาของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ หลักเกณฑ์เดียวที่สำคัญของการพัฒนาประเทศที่ทรงเน้นย้ำอยู่เสมอคือ การพัฒนาประชาชนให้มีการศึกษา
จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในพระราชภารกิจของการให้การศึกษาและการเผยแพร่ความรู้แก่ชาวไทยทั้งปวง ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นแห่งหนใดในประเทศ ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระปรีชาญาณ และพระวิริยะมานะ ได้ทรงทำ “ทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับพสกนิกร” ดังที่ทรงมีพระราชปรารภถึงความสำคัญของการศึกษา “การศึกษาสำหรับประชากรทั้งปวง”ของพระองค์ท่าน จึงมีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุม ตั้งแต่การศึกษาของนักเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา การศึกษาระดับที่สูงขึ้นไปสำหรับนักศึกษาขั้นอาชีวศึกษาและ มหาวิทยาลัย การศึกษาขั้นสูงในต่างประเทศสำหรับนักศึกษาผู้แสดงความสามารถยอดเยี่ยมตลอดไปจนถึงการเรียนรู้ ผ่านการทดลองและการปฎิบัติจริงของชุมชนเฉพาะท้องที่และภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ การศึกษา“ทุกระดับ”ของพระองค์จึงหมายถึง โอกาสทางการศึกษาที่พระราชทานให้ ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายระดับนั้นๆ
การสร้างโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้ที่ทรงพระราชทานแก่ราษฎรมีทุกรูปแบบ อาทิเช่น ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้สร้างโรงเรียนต่างๆจำนวนมาก บางโรงเรียนก็ทรงให้อยู่ในความดูแลของมูลนิธิเพื่อการศึกษาในพระบรม ราชูปถัมภก พระราชทานทุนการศึกษา ทรงให้สร้างศูนย์ศึกษาและศูนย์สาธิตต่างๆ ด้านอาชีพ ตลอดไปจนถึงการให้มีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงทำหน้าที่ครูของผู้คนในแผ่นดิน โดยผ่านทางหนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์หรือทรงแปลด้วย อนึ่ง พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานในโอกาสต่างๆ ตลอดรัชสมัย ก็คือการทรงสอนโดยตรงเพื่อพัฒนาคนไทยของพระองค์ท่าน เช่นกัน
user
การเผยแพร่การศึกษาและความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ทรงให้แก่ประชาชนคือ หนังสือสารานุกรมไทยในพระราช-ประสงค์ ซึ่งมีสรรพวิชาการอันเป็นสาระครบทุกแขนง สำหรับเยาวชนและคนไทยที่จะหาความรู้โดยสะดวกตามประสงค์และตามกำลังที่สามารถ ทรงกำหนดหลักการของการทำสารานุกรมให้มีคำอธิบายเรื่องต่างๆ เป็น 3 ระดับ สำหรับเด็กรุ่นเล็ก รุ่นกลางและรุ่นใหญ่รวมถึงผู้ใหญ่ ให้เข้าใจได้เพิ่มเติมเป็นลำดับขึ้นไป หนังสือสารานุกรมนี้ นอกจากจะเป็นแหล่งความรู้ในวิชาการต่างๆ คละกันไปแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไทยๆ วัฒนธรรมไทย และคุณค่าภูมิปัญญาไทย เป็นไปตามแนวพระราชดำริที่ว่า ความรู้ไม่ว่าสาขาใดมีการเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น จึงควรศึกษาให้ครบถ้วนทั่วถึง หนังสือสารานุกรมไทยในพระราชประสงค์ จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทรงใช้ประกอบ “การสอนและพัฒนา” ประชาชนของพระองค์

แสดงความคิดเห็น

>