Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การดำเนินการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน "ป่าเตรียมสงวน"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ทรงมีพระราชดำริว่า ปัญหาการบุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินของรัฐโดยราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นหลักแหล่งจะทวีความรุนแรงขึ้น จึงทรงพระราชทานแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ สำหรับที่ดินป่าสงวนที่เสื่อมโทรมและราษฎรได้เข้าไปทำกินอยู่แล้วนั้น รัฐน่าจะดำเนินการตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้กรรมสิทธิ์แก่ราษฎรในการทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่มิได้เป็นการออกโฉนดที่จะสามารถนำไปซื้อขายได้ เพียงแต่ควรออกใบหนังสือรับรองสิทธิทำกิน (สทก.) แบบสามารถเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทให้สามารถทำกินได้ตลอดไป และด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองและครอบครัว โดยไม่อาจนำที่ดินนั้นไปขายและจะไม่ไปบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนอื่น ๆ อีกต่อไป (สำนักงาน กปร., 2531: 96) พระองค์ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า ควรมีการประกาศเกี่ยวกับป่าสงวน ในกรณีที่สภาพป่ายังไม่เสื่อมโทรมมากนัก โดยเจ้าหน้าที่ควรวางมาตรการป้องกันมิให้มีการทำลายป่า และควรชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการมีป่า ทั้งนี้ การที่ให้เรียกว่า "ป่าเตรียมสงวน" นั้น ก็เพื่อป้องกันมิให้มีผู้บุกรุกเข้ามาจับจองที่ดินในป่า แต่หากเรียกว่า "ป่าสงวน" แล้ว ผู้ที่อาศัยอยู่ในป่ามาเป็นเวลานานแล้วจะถูกกล่าวหาว่าบุกรุกป่าสงวนและถูกไล่ที่ ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อทางราชการมากขึ้น (สุพัตรา, 2540: 126) โดยในส่วนของราษฎรที่อาศัยอยู่ในป่ามาเป็นเวลานานแล้วก็ให้ดำเนินการให้ได้รับเอกสารสิทธิ์ที่เรียกว่า สทก. เช่นเดียวกัน แนวทางนี้จะทำให้ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจขณะเดียวกันจะช่วยลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรและปัญหาทางสังคม ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ และน้ำ ไปพร้อมกันอย่างชาญฉลาด

จากแนวพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรที่ดินดังได้กล่าวทั้ง 3 ส่วน จึงได้มีการดำเนินงานในหลาย ๆ ท้องที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น แทบทุกโครงการมักจะมีเรื่องการพัฒนาจัดสรรปรับปรุงบำรุงดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมแทรกอยู่ด้วยเสมอ เป็นผลให้เกษตรกรทั่วไปมีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการและพัฒนาทรัพยากรที่ดินด้วยการปรับปรุงบำรุงดินและอนุรักษ์ดินและน้ำ จนทำให้พื้นที่ในหลาย ๆ แห่งเกิดความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ ทำให้การผลิตทางการเกษตรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อันหมายถึงรายได้และมาตรฐานความเป็นอยู่ของเกษตรกรเหล่านี้ย่อมดีขึ้นด้วย (สำนักงาน กปร., 2531: 96)

แสดงความคิดเห็น

>