Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดยักษ์ที่"ประสบความสำเร็จ"สูงสุดเท่าที่เคยมีมา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในมหายุคมีโซโซอิกมีขนาดเล็กมาก พวกมันออกหากินในเวลากลางคืน และยังต้องซ่อนตัวจากสัตว์ขนาดมหึมาที่เราเรียกกันว่า"ไดโนเสาร์"แต่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ได้มีอุกกาบาตขนาดมหึมาปะทะกับโลกอย่างรุนแรง จนพวกไดโนเสาร์สูญพันธุ์ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถเอาชีวิตรอดจากการสูญพันธุ์
ครั้งใหญ่นี้มาได้ และครองโลกต่อจากไดโนเสาร์ ได้เวลาของมหายุคซิโนโซอิกแล้ว
ต่อไปนี้จะเป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดยักษ์ที่เคยครองโลกใบนี้
 
1.แมมมอธ(Mammotz)


แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย  แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว

2.สไมโลดอน(Smilodon)


หรือที่เรารู้จักกันดีคือเสือเขี้ยวดาบ ป็นสัตว์ที่มีชื่อเสียงเรื่องเขี้ยวดาบของมัน ฟอสซิลของมันค้นพบที่ทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ เดิมเป็นสัตว์ประถิ่นของอเมริกาใต้ มีชีวิตอยู่เมื่อหนึ่งหมื่นปีก่อนปลายยุคนีโอจีน มีความยาว 2 เมตร ดังนั้นสไมโลดอนถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มาก มันมีเขี้ยวยาว 2 ฟุต ที่ปาก ซึ่งน่าจะใช้กัดคอเหยื่อให้หมดลมหายใจ เขี้ยวนี้ทำให้มันหุบปากยากเช่นกัน สไมโลดอนใหญ่กว่าสิงโตในปัจจุบันเล็กน้อย แต่มันสามารถใช้เขี้ยวกัดเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่างแมมมอธได้เลยทีเดียว

3.เมกะเทอเรียม(Megatherium)


เมกะเทอเรียมเป็นบรรพบุรุษของสล็อทที่ตัวใหญ่พอๆกับช้าง มีความยาวประมาณ 5-6 เมตร มันอาศัยอยู่บนพื้นดิน ทำให้โครงสร้างร่างกายของมันจึงแตกต่างกับ
สล็อทในปัจจุบัน แม้มันจะดูอุ้ยอ้ายแต่มันก็มีกรงเล็บขนาดใหญ่ที่ใช้โน้มกิ่งไม้มากินใบไม้ แม่แต่ศัตรูตัวฉกาจของมันอย่างสไมโลดอนก็ยังหวาดกลัว

4.
บาซิโลซอรัส (Basilosaurus)
 
บาซิโลซอรัสปรากฏตัวขึ้นเมื่อ 35 ล้านปีก่อน เป็นวาฬดึกดำบรรพ์ขนาดยักษ์ รุปร่างของมันดูคล้ายสัตว์เลื้อยคลานทะเลที่เคยอาศัยอยู่ก่อนหน้านี้
มีรูปร่างเพรียวทำให้ว่ายนำ้ได้อย่างคล่องแคร่ว มีขนาด 18-20 เมตร กินพวกปลาหรือหมึกเป็นอาหาร แต่มันก็สามารถซุ่มโจมตีเหยื่อในนำ้ตื้นได้อย่างรวดเร็ว

5.
แอนดรูว์ซาร์คัส(Andrewsarchus)

แอนดรูว์ซารคัสเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายสุนัข แต่มีกีบเท้าเหมือนแกะ ฟันคล้ายวาฬยุคแรก หัวที่ยาวกว่า 84 เซนติเมตรนี้ยาวเป็น 2 เท่าของหัวเสือ
และสิงโต ความยาวถึงหางคือ 3.5 เมตร สูง 1 เมตรเท่ากับมนุษย์ แอนดรูว์ซาร์คัส
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

6.หมาป่าไดร์(Dire wolf)


เป็นหมาป่ายักษ์โบราณ ที่มีความสูงเฉลี่ย 1.50 เมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 65 กิโลกรัม ชื่อวิทยาศาตร Canis dirus อยู่ในตระกูล Canidae
เป็นหมาที่ตัวใหญ่กว่าหมาป่าสีเทา 4 เท่าตัว ปัจจุบัญ สูญพันธ์ไปหมดแล้ว เหลือแต่ซากฟอสซิล กับ โครงกระดูก

7.กลิปโตดอน(Gryptodon)


กลิปโตดอนเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอเมริกาใต้เมื่อประมาณ 1 ล้านปีก่อน ยาวประมาณ 3.3 เมตร มีลักษณะคล้ายกับอาร์มาดิลโล มีเกราะหุ้มลำตัว ช่วยป้องกันจากนักล่าอย่างสไมโลดอนได้อย่างดีเยี่ยม ปัจจุบันสูญพันธ์ุไปแล้ว

8.พ
าราเซอราเธอเรียม(Paraceratherium)


มีชื่อที่คุ้นเคยกันดีคืออินดริโคเทอเรียม เป็นสัตว์กินพืชขนาดยักษ์ที่สูง 8 เมตร
หนักกว่า 30 ตัน ทำให้มันปราศจากนักล่าที่จะกินมันเป็นอาหาร เคยเดินอยู่
บนพื้นดินทั่วทวีปอเมริกาเหนือและเอเชียเมื่อราว 28 ล้านปีก่อน 
แตมันก็ต้องสญูพันธ์ุไปจากโลกเมื่อ 23 ลา้นปีก่อนเนื่องจากสภาพอากาศ
ที่เปลื่่ยนแปลงอย่างรุนแรงจนพวกมันปรับตัวไม่ทัน

9.ไทลาโคลีโอ(Thylacoleo)

ไทลาโคลีโอเป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในทวีปออสเตรเลีย ดูเผินๆมันคล้ายกับสิงโตหรือเสือ
แต่จริงๆแล้วไทลาโคลีโอเป็นสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ มันมีเขี้ยวหน้าคล้ายกับ
หนูแต่ก็แหลมคมมาก ขายาวช่วยในการวิ่งล่าเหยื่อ มันมีคู่ปรับตัวฉกาจคือเมกะลาเลีย
ซื่งเป็นสัตว์จำพวกเ-้ยที่ใหญ่ที่สุด แต่เมื่อสิ้นสุดยุคนำ้แข็ง ไทลาโคลีโอก็สูญพันธ์ุไปพร้อม
กับสัตว์ยักษ์ตัวอื่นๆในออสเตรเลีย

10.ไดโปรโทดอน(Diprotodon)


เป็นชื่อเรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งเคยได้พบที่ทวีปออสเตรเลียเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน แต่ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว  ไดโปรโตดอน จัดอยู่ในสกุล Diprotodon มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัววอมแบท แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 2 เมตร ลำตัวยาว 3 เมตร น้ำหนักราว 3 ตัน ขณะที่วอมแบททั่วไปสูงเพียง 25 เซนติเมตร ยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักราว 20-45 กิโลกรัมเท่านั้น  ไดโปรโตดอน อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น ห้วยหนองคลองบึง ทั่วไป สาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโปรโตดอน ปัจจุบันไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน เนื่องจากนักบรรพชีวินวิทยามีทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี โดยทฤษฎีแรกเชื่อว่า มันสูญพันธุ์ไปเองโดยสาเหตุธรรมชาติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าสูญพันธุ์เพราะถูกล่าจากมนุษย์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย ทั้งที่มีหลักฐานบ่งว่ามนุษย์เพิ่งอพยพมาสู่ออสเตรเลียครั้งแรกเมื่อ 5,000 ปีก่อนนี้เอง
 
เครดิต
http://dinosaurs.about.com/od/otherprehistoriclife/tp/10-Giant-Mammals-That-Succeeded-The-Dinosaurs.htm


แสดงความคิดเห็น

>