Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 เรื่องน่ารู้ของ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
10 เรื่องน่ารู้ของ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย

เนื่องจากวันนี้ เมื่อ 232 ปีที่แล้วเป็นวันสถาปนาก่อตั้งเป็น กรุงเทพมหานคร เป็นการรวมของจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน นี่เป็นแค่คำกล่าวข้างต้น วันนี้เราจึงรวบรวม 10 เรื่องน่ารู้ของกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทย มาให้ชมกันไปดูกันเลยดีกว่า

ที่มา : ทีมงาน toptenthailand

10. คลองที่ยาวที่สุด

คลองแสนแสบ เป็นคลองที่มีความยาวมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร และเป็นคลองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยมีความยาว 65 กิโลเมตร ขุดขึ้นเมื่อสมัย ร.3

9. รถเมล์ที่มีระยะทางยาวที่สุด

รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่มีระยะทางยาวที่สุด คือ สาย 177 วงกลมบางบัวทอง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และสายที่สั้นที่สุดคือสาย 111 วงกลมเจริญนคร-ตลาดพลู

8. แหล่งท่องเที่ยว

กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระที่นั่งอนันตสมาคม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถนนสีลม สยามสแควร์มาดามทุซโซต์ กรุงเทพ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ (เจริญกรุง)

7. กรุงเทพมีกี่เขต ?

กรุงเทพมีทั้งหมด 50 เขต ได้แก่ เขตพระนคร, เขตดุสิต, เขตหนองจอก, เขตบางรัก, เขตบางเขน, เขตบางกะปิ, เขตปทุมวัน, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตพระโขนง, เขต, เขตมีนบุรี, เขตลาดกระบัง, เขตยานนาวา, เขตสัมพันธวงศ์, เขตพญาไท, เขตธนบุรี, เขตบางกอกใหญ่, เขตห้วยขวาง, เขตคลองสาน, เขตตลิ่งชัน, เขตบางกอกน้อย, เขตบางขุนเทียน, เขตภาษีเจริญ, เขตหนองแขม ,เขตราษฎร์บูรณะ, เขตบางพลัด, เขตดินแดง, เขตบึงกุ่ม, เขตสาทร, เขตบางซื่อ, เขตจตุจักร, เขตบางคอแหลม, เขตประเวศ, เขตคลองเตย, เขตสวนหลวง ,เขตจอมทอง, เขตดอนเมือง, เขตราชเทวี, เขตลาดพร้าว, เขตวัฒนา, เขตบางแค, เขตหลักสี่, เขตสายไหม, เขตคันนายาว, เขตสะพานสูง, เขตวังทองหลาง, เขตคลองสามวา, เขตบางนา, เขตทวีวัฒนา, เขตทุ่งครุ, เขตบางบอน

6. ประชากร



สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ปี 2549 มีประชากร 5,695,956 คน
ปี 2550 มีประชากร 5,716,248 คน 
ปี 2551 มีประชากร 5,710,883 คน
ปี 2552 มีประชากร 5,702,595 คน
ปี 2553 มีประชากร 5,701,394 คน 
ปี 2554 มีประชากร 5,674,843 คน
ปี 2555 มีประชากร 5,673,560 คน
ปี 2556 มีประชากร 7,791,000 คน

5. การศึกษา

กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยทั้งของภาครัฐและเอกชนตั้งอยู่ในหรือรอบ ๆ เมืองหลวง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศิลปากรปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น

4. ชื่อเมืองหลวงที่ยาวที่สุดในโลก

ชือเต็มของกรุงเทพมหานครก็คือ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก มีความหมายว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว 9 ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก “…บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…”

3. สถาปนากรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็นกรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ

2. ภูมิประเทศ

กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.7 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 68 ของไทย เป็นเมืองที่กว้างที่สุดของโลกและเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 73 ของโลก ด้วยมีแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งทอดตัวยาว 372 กิโลเมตรพาดผ่านจังหวัด ทำให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนมากในกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำพา มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1.50-2 เมตร โดยมีความลาดเอียงจากทิศเหนือสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ และเฉพาะลุ่มแม้น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1.50 เมตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้งในช่วงฤดูมรสุม

1. ตราของกรุงเทพมหานคร

เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)




PS. เม้นๆ โหวตๆ แล้วก็กดติดตามด้วยเน้ออออ จุ๊บๆ 

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

Suppaiy 23 เม.ย. 57 เวลา 14:40 น. 1

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ผมเป็นคนตจว.เข้ากรุงเทพทีนี่หลงครับ เขต ซอย นี่เยอะจริงๆ

0