Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แอดมิชชั่นคันมือ ตอนที่ 5 : เห็นด้วยหรือไม่ ? กับการสอบ U-NET

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


น้องๆ ชาวเด็กดี คิดเห็นกันยังไง มาโต้วาทีกันได้เลย..


เห็นด้วยหรือไม่ ? กับการสอบ U-NET


เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
U-NET จะให้เกิดความยุติธรรม เด็กที่กำลังจะจบมหาวิทยาลัยและเริ่มต้นวัยทำงานทุกคน เริ่มต้นแข่งขันกันใหม่อย่างเท่ากัน โดยไม่มีคำว่าเกรดหรือสถาบันที่จบมาเกี่ยวข้อง
ที่ผ่านมาข้อสอบของ สทศ.ยังไม่มีคุณภาพ แล้วจะเชื่อมั่นในข้อสอบ U-NET ได้อย่างไร ? อีกอย่างการทำงานต้องอาศัยความสามารถหลายด้าน ไม่ใช่แค่วัดกันที่คะแนนจากข้อสอบ
68 โหวต
3,000 โหวต

แสดงความคิดเห็น

>

277 ความคิดเห็น

MochiHana 25 เม.ย. 57 เวลา 11:57 น. 3

ถึงจะยังเป็นนักเรียน แต่รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่

สอบเยอะไปแล้ว!!! ยังไงที่ทำงานก็ยังมีการสอบของที่ทำงานเอง ไม่ว่าทางรัฐหรือเอกชน

แต่ที่ว่า วัดกันที่เกรด หรือมหาลัย อันนี้ไม่ชัวร์แฮะ

เพราะการสอบแบบฝนแบบนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตในการทำงานดีขึ้นสักเท่าไหร่หรอกนะคะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

mampakka 25 เม.ย. 57 เวลา 11:45 น. 5

ไม่เห็นด้วยเพราะสทศ ไม่ออกมาบอกเหตุผลที่แน่ชัดว่าสอบ "เพื่ออะไร" ข้อสอบคัดกรองคนเข้าทำงานหน่วยรัฐก็มีอยู่แล้ว หน่วยเอกชนเขาก็มีวิธีของเขา

สรุปข้อสอบยูเน็ตมีมาเพื่ออะไร ยังงงในจุดประสงค์นัก -_-

ถ้ายังบอกว่าเพื่อทดสอบก่อนเข้าทำงานเราก็จะยังคงไม่เห็นด้วยเหมือนเดิม เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรเลย

และอย่างที่พี่ลาเต้เขียน การทำงานต้องอาศัยทักษะหลายด้าน(ซึ่งจะได้มาจากการเรียนและการลงมือจริง ไม่ใช่การสอบ)

และเราเชื่อว่าบริษัทคงไม่มานั่งดูคะแนนพวกนี้หรอก ยังไงเขาก็ดูมหาลัยจบกับเกรดเป็นหลักอยู่ดี เชื่อเลย สมมติเราจบมนุษยศาสตร์เอกญี่ปุ่น ดูจากวิชาที่สอบแล้วมันไม่เกี่ยวกับสายงานเราเลยซักนิด บริษัทเขาคงไม่พิจารณาที่คะแนนยูเน็ตหรอก

และที่สำคัญ ถ้าให้คัดคนเข้าทำงานโดยไม่ดูมหาลัย ไม่ดูเกรด อย่างนี้เรียนมหาลัยทำไม ลาออกมานั่งเรียนติวยูเน็ตดีกว่าไหม??

แล้วถ้าคนไม่เก่งล่ะ?? จะให้เขาสอบไปเรื่อยๆจนกว่าจำได้คะแนนดีเรอะ?

สรุป เปลืองเงินโดยใช่เหตุ มันไม่ได้ช่วยให้เด็กมีที่ยืนขึ้นเลย

0
ซันนี่ฮวกน้อย 25 เม.ย. 57 เวลา 12:01 น. 6
ก็ไม่ได้เดือดร้อนกับการสอบนะ แต่เดือดร้อนแทนคนที่เค้าไม่ค่อยจะเก่งอ่ะ ถ้าเรียนจบมายังต้องมาสอบสู้กับคนอื่นเพื่อเข้าทำงานอีกล่ะก็ คิดว่ามันไม่ค่อยจะยุติธรรมนะ เกิดบางคนเค้าทำงานเป็น มีความรับผิดชอบ แต่ด้วยอาจจะไม่ฉลาดเท่าพวกที่ไม่ทำอะไรเลยแต่เรียนเก่ง ยังงี้มันก็ไม่ยุติธรรมเนอะ การรับเข้าทำงานมันควรจะดูทั้งสองอย่าง คิดว่าคนที่คิดว่าต้องการการสอบมันดูเห็นแก่ตัวเกินไปนิดนึงนะ ปล.ย้ำว่าถ้าสอบตัวเองก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรแต่แค่คิดถึงคนที่เค้ามีโอกาสน้อยกว่าแค่นั้นเอง
0
mydirectioner 25 เม.ย. 57 เวลา 12:13 น. 7

ไม่เห็นด้วยกับ สทศ.

เห็นด้วยกับ ขหท1 

การทำงาน ต้องใช้ทั้งความรู้ เเละความสามารถ 

ถ้าคุณรับสมัครพนักงานโดยใช้ U-NET เป็นเกณฑ์นั้น

คุณก็จะเสี่ยงได้พนักงานที่มี IQ สูงเเต่ EQ ต่ำ คือ มีความรู้ดี เเต่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้กับการทำงาน หรือชีวิตประจำวันได้...

ยังจะอยากรับไหมคะ? ทุกวันนี้การสมัครงานเขาก็มีเกณฑ์การวัดขแงเขาอยู่เเล้ว ทำไมต้องไปวัดให้เขาอีกอ่ะ ไม่เข้าใจ??

0
amy-ida 25 เม.ย. 57 เวลา 12:15 น. 8

สทศยังคิดว่าข้อสอบตัวเองมีคุณภาพ อีกหรอคะ????

ออกข้อสอบอะไรมาเคยเช็คตัวเองมั้ยคะว่าตัวเองออกอะไรไปบ้าง

และการที่วัดU-NETแบบนี้อย่าอ้างเรื่องเกรด เรื่องสถาบันอะไรเลยค่ะ ถ้าอ้างแบบนั้นคุณลองไปเปลี่ยนค่านิยมของคนที่คิดว่าม.เอกชน ราม ราชภัฏไม่ดีดีกว่ามั้ยคะ??? อันนี้ยังดูมีประโยชน์ได้สาระกว่าการออกข้อสอบแบบนี้เลย

ยิ่งตอนตอบคำถามตอนข้อสอบมีอารมณ์ทางเพศ คุณป้า ไม่สิ น่าจะเรียกว่า มนุษย์ป้า ผอ สทศ ตอบว่าข้อสอบอิงความรู้ไม่อิงไปใช้ในชีวิตจริง

ถามจริงเหอะค่ะคุณป้าเอาอะไรมาคิดคะ??แสดงความคิดแต่เรื่องลามกของสถาบันมาก!! วิชาเพศศึกษาสอนให้คนเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง แต่คุณป้ากลับเอาความรู้มาใช้ในการออกข้อสอบน่าเกลียดมากและหยาบโลนกว่าการดูภาพยนตร์ลามกอีก

สอบU-NETไร้มาตรฐานมาก สทศคะเคยGETตรงจุดนี้มั้ย?? หรือเป็นพวกมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด? ลาออกจากการเป็นสทศเหอะค่ะถ้าจะปฏิบัติงานได้ ทุเรศ ขนาดนี้
สอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สถาบันอื่นๆมีสอบหมดแล้วค่ะเป็นสากลกว่าเยอะ
แต่ทุเรศคือการสอบคุณธรรมจริยธรรมค่ะสอบไปทำไมคะ? จะให้มานั่งท่องพระไตรปิฎกในการสอบหรอคะ??? คุณธรรมในตัวทุกคนมีหมดนั่นแหละค่ะ ยิ่งวัดแบบนี้คนออกข้อสอบนั่นแหละค่ะไร้คุณธรรม


0
Yottana Samal 25 เม.ย. 57 เวลา 12:17 น. 9

ไม่เห็นด้วยครับถ้าอย่างงี้พวกฉลาดเรียนแต่ทำงานไม่เป็นก้ได้เปรียบสิครับพวกที่หัวไม่ค่อยดีแต่มีฝีมือก้คงจะอดพิสูจฝีมือกับบรษัทดีๆใหญ่ๆเพราะพวกหัวดีคะแนนสูงก้คงจะได้รับเลือกก่อนอยู่แล้ว 
    อีกอย่างน่ะครับบริษัทอ่ะผมว่าเขาไม่ได้เอาคนคะแนนสอบสูงๆหรอกครับเขาเอาคนทำงานเป้น แค่คะแนนจะวัดอะไรได้ครับ

0
Bos Pharinya 25 เม.ย. 57 เวลา 12:32 น. 10

การสอบต่างๆๆ ก็เป็นการวัดผลทางการศึกษานับว่าเป็นสีงที่ดี แต่บางอย่างอาจจะไม่จำเป็นมาก เพราะในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียนการสอนการสอบที่เข้มข้นและประสิทธิภาพดีอยู่แล้ว ผมคิดว่านำเงินไปปรับปรุงการศึกษาให้ดีและหาทางออกให้กับเด็กอีกมากมายที่เขาไม่มีโอกาสได้เรียน ยังมีเด็กอีกมากมายที่รอระบบการศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพในที่ห่างไกล ในตอนนี้ก็บอกอยู่แล้วว่า การศึกษาไทย ยังสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะเน้นเด็กเก่งมากกว่าการนำความรู้ไปใช้ในชีวิต เห็นใจเด็กบ้าง

0
touchpatorn 25 เม.ย. 57 เวลา 12:33 น. 11

ปากก็บอกไม่อยากให้มีรร. พิเศษ แต่ไอระบบนี้นี่แหละจะทำให้กระทั่งนักศึกษามหาลัยก็ต้องไปนั่งติวข้างนอก
ข้อสอบคุณมีมาตรฐานมากกกกเลย ที่ออกข้อสิอบยากขึ้นเรื่อยๆด้วยเหตุผลว่า'มีคนทำได้คะแนนดีเยอะ' 'คนเขาเริ่มทำได้กัน'  สรุปคุณจะวัดความสามารถคนสอบหรือความสามารถคนแต่งโจทย์
ไม่เห็นด้วยกะu-netโดยเฉพาะสทศ. เป็นผู้ออก เข็ดกับข้อสอบที่ผ่านๆมาแล้วปล. เรียนไปเพื่อทำงานนะครับ ไม่ใช่เพื่อนั่งท่องตำราที่ไม่ได้ใช้ได้จริง

0
Meta-o By soul 25 เม.ย. 57 เวลา 12:40 น. 13

ถ้าจะให้เราสนับสนุน ต้องเปลี่ยนจากจัดสอบ U-NET เป็นจัดสอบ O-NET แบบสอบกี่ครั้งก็ได้สิ ชิชะ 

0
Anantakan 25 เม.ย. 57 เวลา 12:41 น. 14
เอางี้ไหม สทศ. ถ้าจะสอบ U-net

เริ่มที่ สทศ. เลยใครสอบไม่ผ่านออกจากงานไป

ยังงี้ดิแฟร์ดี สอบแบบปีต่อปีจะได้กระตือรือร้นไง

แล้วจะได้รู้ด้วยว่าข้อสอบมันเป็นไงจะได้แก้ไขถูกจุดสักที
0
Kamemaphat Huailuek 25 เม.ย. 57 เวลา 12:48 น. 15

หลายคนบอกว่า สทศ.ชี้แจงไม่ชัดเจน คือตอนนี้เป็นแค่หลักกว้างๆ ทำไมไม่รอให้เขาขี้แจงหมดก่อนถจะตัดสินใจเลือก ? 

หลายคนบอกว่าเวลารับเข้าทำงานต้องใช้หลายด้าน ถูกครับ เวลาเราเข้าทำงานที่ทำงานคงไม่ใช่แค่ดูเฉพาะคะแนน U-net เท่านั้น เหมือนกับเข้ามหาลัยที่ต้องใช้หลายคะแนน หนึ่งในนั้นคือ เกรดของเรา

ส่วนเรื่องมาตราฐานของสทศ.ผมแนะนำกลับไปดูมาตรฐานของโรงเรียนตัวเองก่อนว่าสอนตามหลักสูตรบ้างไหม? ที่สำคัญหากคุณเปิดใจรับฟังเหตุผลของสทศ.จะพบว่า คนออกข้อสอบไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่แค่ผอ.สทศ. แต่มีผู้มีคุณวุฒิ วัยวุฒิที่เหมาะสม เรื่องนี้คิดง่ายครับ ทำไมเราทำข้อสอบไม่ได้ทั้งๆที่คนอื่นหรือโรงเรียนอื่นทำได้ มันขึ้นอยู่ที่ตัวเรา โรงเรียน หรือข้อสอบกันแน่ ?? 

ส่วนเรื่องข้อสอบที่แต่ละมหาลัยจัดสอบเองเมื่อจบ ถามว่ามาตราฐานมันเท่ากันหรือเปล่า ถามคนรับทำงาน หากมีจบจากมหาวิยาลัยชื่อดังแต่คะแนนสอบก่อนจบ(หมายถึงทางมหาลัยจัดสอบเอง)ได้ไม่เยอะแต่ไม่น่าเกลียด แต่กับมหาวิทยาลัยชื่อไม่ดังกับคะแนนสอบก่อนจบ(มหาลัยจัดสอบเอง) ที้ทำงานจะเลือกใคร และนี้คือตัวมาทำให้เกิดมาตราฐานกลาง ว่าใครคุณภาพกว่าใคร ส่วนเรื่องเข้าทำงานดูแค่ iq อย่างเดียวเหรอ คงไม่ใช่หรอกครับ เช่นการสอบสายราชการ เราต้องสภาค ก. ภาค ข. ภาค ค. ก่อน แต่ผมคิดว่า การสอบ U-net มาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการคำนวณเกณฑ์เข้าทำงาน

ส่วนเรื่องข้อสอบคุณธรรม จริยธรรม คุณเปิดใจให้กว้างาิ๊ครับ เวลามหาลัยคุณธรรม จริยธรรมเขาสอนแต่เรื่องพระไตรปิฎกเหรอครับ ?? มีอีกมากมายที่เขาสอน 

แต่เรื่องที่ผมกังขาของการสอบ U-net คือ คนที่เรียนใกล้จะจบมักมีสิ่งที่ต้อวคิดหนักคือการทำวิจัย ฝึกงาน หากมีเรื่ิงการสอบเข้ามาเกี่ยวจ้องอาจจะหนักไป แต่ยังไงผมก็ยังไม่ตัดสินใจ(หรือแค่เหมือนจะเห็นด้วย) ว่าจะยังไง 

ปล.กระผมเป็นนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง เอกการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รหัสนิสิต 55 ผมเป็นนิสิตจริงๆนะครับ

0
raeymotnahp 25 เม.ย. 57 เวลา 13:11 น. 17

จะให้ ถ้าข้อสอบ U-net เหมือนกันทั้งหมด แต่ คณะในประเทศไทยมีเท่าไหร่แล้ว สาขาย่อยอีก... เราว่ามันไม่แฟร์ เหมือน มี ลิง ปลา นก ม้า ช้าง แต่ข้อสอบกลับ สั่งให้ปีนต้นไม้... มันแฟร์หรอ? 

0
me,dae 25 เม.ย. 57 เวลา 13:15 น. 18

แต่ละคณะ เขามีจัดสอบ Exit Exam ซึ่งเป็นความรู้ของแต่ละวิชาชีพ หลังจากการนำเสนอธีสิสอยู่แล้ว ไหนจะการสอบใบประกอบวิชาชีพอีกที่ต้องสอบ
บางคณะ แค่ทำธีสิสอย่างเดียว ยังเสียทั้งเงิน ทั้งเวลา จนเอาไปทำอย่างอื่นแทบไม่ได้แล้ว ยังต้องมาเสียค่าสมัครสอบยูเนต อ่านหนังสือ ติวสอบยูเนตอีก เราว่ามันไม่โอเคกับนิสิต นักศึกษาที่ผ่านความกดดันของธีสิสพวกนั้นมาทั้งเทอม ทั้งปีหรอกนะ
แล้วที่บอกว่าเพื่อให้ทุกคนเริ่มต้นใหม่ที่ศูนย์เหมือนกัน เพื่อไม่ให้วัดกันที่เกรด ที่ชื่อมหาวิทยาลัย งั้นถามหน่อย ตอนสมัครงานคือจะไม่ยื่นใบเกรดให้เขาดู บอกว่าเพื่อความเท่าเทียมของบัณฑิตทุกคน ให้ดูแต่ใบผลสอบคัแนนยูเนตเท่านั้นเพื่อความยุติธรรม งั้นเหรอคะ????
เลิกจัดอันดับโรงเรียน มหาวิทยาลัยจากคะแนนสอบก่อนเถอะค่ะ
อีกอย่าง แต่ละวิชาชีพเขาก็ประยุกต์ใช้ความรู้ในแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน อย่างการสื่อสาร คณะนึงเน้นพูดเยอะๆ ให้เข้าใจมากๆ อีกคณะนึงต้องใช้ตัวเลข สถิติ อีกคณะนึงต้องใช้แผนภาพ แบบจำลอง เพื่อให้พูดน้อยๆ เข้าใจง่าย ในเวลาที่จำกัด ฯลฯ
แนะนำ สทศ.ค่ะ ถ้าจะจัดสอบ เลือกจัดสอบจากภาคปฏิบัติไปเลยไหมคะ

0
Chewalia Derbermong 25 เม.ย. 57 เวลา 13:17 น. 19

ในฐานะที่เคยเห็นการสมัครสอบเข้าทำงาน ในหลาย ๆ ที่
จะใช้ข้อสอบเฉพาะของ บริษัท สมมุติว่าบริษัท A ก็แล้วกัน

บริษัท A เป็นบริษัท คอมพิวเตอร์  ข้อสอบ สมัครเข้าทำงานก็เป็นไอที 
แน่นอนว่าหากคุณทำข้อสอบได้ ร้อยละ 85 ขึ้น คุณก็เข้าทำงานได้  แต่ไม่ใช่ข้อสอบอย่างเดียว มีการสอบ ต่อหน้ากรรมการด้วย ทัศนคติ จิตวิทยาการทำงาน 


มาพิจารณา U - net ที่ว่ากันดีกว่า

มาในทำนองที่ว่า ให้ เด็กมหาวิทยาลัย เหมือนคอมพิวเตอร์ ทุุกคนที่จบออกมา ต้องมีคุณสมบัติ หรือ สเป็กค์ ตามที่ เขา กำหนดมาตรฐาน  เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่มาสนใจสถาบัน หรือ คะแนนจากมหาวิทยาลัยที่จบออกมา มันคือความยุติธรรม แต่ยุติธรรมหมดหรือไม่  คำถามเดียวกับ แก็ท แพท เลยล่ะ   แล้วก้อเรียนพิเศษ  เหอะ ๆ อยู่มหาลัยก็เรียนพิเศษ  เรียนพิเศษเพื่อสอบ บ้าเรียน บ้าท่องตำรา  บลา ๆ 
    
    ใช้ข้อสอบ ทำให้ทุกคนได้มาตรฐานตามที่กำหนด 

    ใช้ข้อสอบ... ใช้ความรู้ข้อเท็จจริงที่ตายตัวนี่นะ 

     เชื่อผมนะ   ถ้าไปถาม ร็อกกี้ เฟลเล่อร์  เขาต้องพูดแบบนี้แน่

บ้าหรือเปล่า

ความฉลาดกับจินตนาการวัดกันที่ข้อสอบได้ที่ไหน  แต่ถ้าวัดความอดทนถึกกับการอ่านหนังสือ ความรู้ข้อมูลหรือความขยันก็ไม่แน่    เพราะในไทย ทำข้อสอบสำหรับคนขยันโดยเฉพาะ   ถ้าได้ 100 เต็ม คนนี้ก็ขยันมาก รู้มาก      แต่ข้อสอบ สำหรับความฉลาดนั้น ไม่มีเลย  ความฉลาดกับความขยันต้องคู่กัน แต่ความฉลาดสำคัญกว่า 

เพราะเน้นแต่ความขยัน คนกลุ่มหนึ่งเลยเข้ารับราชการเยอะ  ไม่ต้องคิดละ ทำตามคำสั่งอย่างเดียว ไม่ยุ่งยาก
แต่คนต่างชาติไม่คิดแบบนี้นะ

การวัดความคิด ไม่ได้ตายตัวอยู่ที่ตัวเลข หรือคณิตศาสตร์
การวัดจินตนาการความสร้างสรรค์ก็ไม่ได้อยู่ที่ศิลปะเสมอไป 

ว๊าย ตายแล้ว มีอาจารย์ศิลป์ที่โด่งดังมาก ๆ คนหนึ่งของโลก เคยพูดว่า  ( ภาพวาดเขาตั้ง หลายล้านเหรียญแน่ะ )

      เขาให้ผมมาวาดภาพนะ ไม่ได้ให้มาตอบหลักการทฎษฎี ศิลปะ 

เผยเบื้องหลังว่า เขาไม่รู้จักหลักการศิลปะเลย  เขาไม่ต้องมาพะวงเรื่องการใส่จิตวิญญาณอย่างนั้นแบบนี้  เขาทำตามความรู้สึก และเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตนเอง พรสวรรค์ + พรแสวง เท่ากัน

ถ้าเอาข้อสอบ U net ไปสอบ อาจารย์คนนี้ แน่นอน เขาตกแน่ เพราะเขาใช้คอมพิวเตอร์ ไม่เก่งคุณธรรม ไม่เก่งการเทคโนโลยี

แต่เผอิญว่า ในราชอาณาจักรที่เจริญแล้ว 
เขาพิจารณากันที่ ผลงานฝีมือในการทำงานภาคปฎิบัติมากกว่า
เพราะเขาไม่ต้องการสารานุกรมเดินได้ 

ผลก็คือ ในการไปสอบที่บริษัทแห่งหนึ่ง  คะแนน ภาคหลักการ + ภาคข้อมูล ท่านแย่มาก
แต่ดูเหมือนพระเจ้าท่านดลใจกรรมการคนหนึ่ง
   ไหน ขอให้คุณลองวาดภาพให้ผมดูหน่อยหากผมประทับใจคุณเข้าทำงานได้

    กรรมการอึ้ง คุณทำได้ไง ทั้งที่คุณไม่รู้พวกหลักการ ทฤษฎีอะไรเลย

    อาจารย์คนนี้ตอบว่า " คุณให้ผมมาวาดภาพ ผมก็วาดภาพ ไม่เห็นต้องมีกฎหลักอะไรเลย "

ประสบการณ์ เกิดก่อนความรู้   มีประสบการณ์ก่อน แล้วเราก็สรุปความรู้ฉบับตนเอง ได้เอง เพราะความรู้เกิดจากประสบการณ์  

ความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถ จินตนาการ  ของไทย

จินตนาการ  ความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ ของอเมริกา หรืออังกฤษ

ไม่เห็นด้วย

IQ ตามเรฟบน EQ       หากดีจริง ต่างชาติต้องทำก่อนแล้วดิ   เราไม่ได้เห่อนอกนะ     

หากกระทรวงคิดว่ามันเจ๋งจริง ก็บอกหน่อยมีประเทศไหนทำบ้าง 
สมมุติว่าบอกได้ อ่ะ ๆ เห็นไหม เศรษฐกิจเขาจึงดี ได้คนมีความสามารถความขยัน บลา ๆ   แต่รู้ไหมท่านกระทรวงศึกษางี่เง่าที่รัก เขาเน้นพัฒนาระบบการศึกษา โรงเรียนให้ทั่วถึงมีความเท่าเทียมกันในระดับสูงสุดสำคัญเป็นอันดับแรก ถึงไม่ต้องสอบแย่งที่เรียนกัน เศรษฐกิจดี การศึกษาดี  เรียนพิเศษเสริมในห้องมีน้อยมาก ไม่มีพวกเรียนสอบแกท แพท บลา ๆ ปิดเทอมเฮฮา แต่ในไทยเรียนพิเศษจนป่วย สงสารเด็กปฐม 4 เรียนพิเศษ ของ ป.5 - 6 เตรียมสอบเข้า ม.1 

การแข่งขันทำให้เกิดการพัฒนา แต่ถ้าทำไม่ดี จะทำให้เกิดการเอาเปรียบกันขึ้น เกิดคนอีกหลายชนชั้น

เพราะการแข่งขันคือการยกระดับชนชั้นตนให้สูงเหนือผู้อื่น  ยิ่งสูงยิ่งหนาว

เพราะไม่แก้ไขเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องให้ดีก่อน 

เห็นว่าดีเลยเอามาทำบ้างโดย ไม่ปรับปรุงระบบของตัวเองให้ดีก่อน

กระทรวงงี่เง่า สิ้นดี ...














         


0